พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ นวโลหะเรียกกันว่า “หลวงพ่อแสน” เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบปรางมารวิชัย หน้าตักประมาณ ๒ ศอกเศษ หรือประมาณ ๒๕ นิ้วครึ่ง เป็นโลหะเนื้อสัมฤทธิ์สีทองต่างกันเป็น ๔ชนิดดังนี้ เบื้องพระศอตอนบนจนถึงพระเศียรและพระพักตร์สีทองเป็นนวโลหะสัมฤทธิ์แก่ เบื้องพระศอตอนล่างลงมาจนถึงพระองค์ และฐานรองสีทองสัมฤทธิ์เนื้ออ่อนกว่าตอนพระเศียรและพระพักตร์ เนื้อทองจีวรเป็นอีกสีหนึ่งเข้มกว่าเนื้อทองส่วนพระองค์ แต่ไม่เข้มกว่าตอนพระพักตร์และพระเศียร ส่วนผ้าทาบสังฆาฏิก็เป็นเนื้อทองอีกชนิดหนึ่ง แตกต่างจากจีวรและสีพระองค์ พระพักตร์และพระเศียร แต่เป็งสังฆาฏิชนิดยาวทาบลงมาถึงพระนาภีแบบลังกาวงศ์พระเกตุมาลาหรือพระรัศมีเป็นเปลวยาวขึ้นแบบลังกาวงศ์o รอบฝังแก้วผลึก ๑๕ เม็ดนิ้วพระพัตถ์ไม่เสมอกันแบบพระเชียงแสน และสุโขทัยยุคแรก พระเศียรโตเขื่องกว่าส่วนพระองค์จนสังเกตเห็นชัด พระเนตรฝังแก้วผลึกในส่วนสีขาวและฝั่งนิลในส่วนสีดำฐานรองเป็นแบบบัวคว่ำบัวหงายประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถเบื้องหน้าพระองค์พระประธานออกมา> จัดเป็นพระพุทธรูปสำคัญและงามเป็นพิเศษแตกต่างจากบรรดาพระพุทธรูปอื่น ๆ มีลักษณะเป็นชนิดหนึ่งหาเหมือนพระพุทธรูปในที่อื่นไม่เป็นพระเก่าโบราณ หลวงพ่อแสนองค์นี้เป็นพระที่ขึ้นชื่อลือชาเป็นที่นับถือชาวบ้านวัดถิ่นนี้ทั่วกันก และถือว่าศักดิ์สิทธิ์นัก อำนวยความสำเร็จให้แก่ผู้ปรารถนาได้นานาประการและเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก จนเป็นนิยามเล่ากันปรัมปราสืบ ๆ มาว่าหลวงพ่อแสนองค์นี้จะลอยน้ำมามีคนอัญเชิญขึ้นหลายแห่ง ถึงกับใช้แรงคนดึงลากขึ้นเป็นจำนวนแสนคนก็ไม่เสด็จขึ้นเมื่อลอยมาถึงวัดหงส์ ฯนี้ แล้ว เพียงอาราธนาอัญเชิญก็เสด็จขึ้นด้วยกำลัง ๔ – ๕คนเท่านั้น ดังนั้นหลวงพ่อองค์นี้จึงมีนามว่า “หลวงพ่อแสน” คือคนเป็นแสนแสนดึงไม่ขึ้นนั่นเอง ก็อัศจรรย์อยู่ถึงกับมีเรื่องอัศจรรย์ปรัมปราเป็นนิยายประจำพระพุทธรูปองค์นี้ ทั้งนี้เห็นจะเนื่องด้วยหลวงพ่อแสนองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธาศักดานุภาพเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปนั่นเองุ ตามตำนานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดไว้ในประเภทพระพุทธรูปสำคัญทรงพระนิพนธ์ประวัติไว้ในตำนานจองพระองค์ท่านดังนี้ฐ “พระแสน”(เมืองเชียงแตง) พระพุทธรูปองค์นี้ เชิญมาแต่เมืองเชียงแตงเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๑ ประดิษฐานไว้ในอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม” คิดเป็นเวลาขวบปีได้๑๐๐ ปี แล้วจนบัดนี้ อนึ่งหลักฐานการอัญเชิญมาก็เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นมูลเหตุน ดังพระบรมราชาธิบาย ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหนังสือชุมชนพระบรมราชาธิบายในพระองค์ท่าน เพื่อให้ผู้อ่านทราบเรื่องเกี่ยวกับหลวงพ่อแสน ซึ่งมีพระราชดำรัสเป็นลักษณะทรงโต้ตอบกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ใจความว่า “ถ้าฉันพอใจจะให้มีพระพุทธรูปสำคัญมีชื่อที่คนนับถือ อยู่ที่วัดหงส์ ฯเป็นของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ให้เป็นพระเกียรติยศแล้ว พระชื่อพระแสนอยู่เมืองเชียงแตงอีกพระองค์หนึ่งงามนักหนา ถ้าฉันจะมีตราไปเชิญมาท่านจะให้พระยาราชโยธาที่ครั้งนั้นเป็นพระยาสุเรนทร์ใช้คนให้นำไปชี้องค์พระให้ร ฉันเห็นว่าท่านประสงค์ดังนั้น ไม่มีเหตุที่ควรจะขัดฉันก็ไม่ได้ขัด ฉันก็ได้ให้มหาดไทยมีตราไปเชิญพระนั้นลงมา พระยาสุเรนทร์ใช้พระลาวรูปหนึ่งเป็นผู้รับอาสานำไป ฉันก็ได้ให้ผ้าไตรไปถวายพระสงฆ์ลาวรูปนั้นหนึ่งไตร แล้วก็ให้นำทองตราไป ได้เชิญพระแสนลงมาถึงกรุงเก่าแล้ว ฉันก็ได้บอกถวายวังหน้า ให้ท่านจัดการไปแห่รับมาไว้วัดหงส์ทีเดียว แลฐานที่จะตั้งพระนั้น ฉันให้ท่านทำเป็นการช่างในพระบรมราชวัง ฉันจะเป็นแต่รับปิดทอง ฐานพระนั้นก็ยังทำค้างอยู่บัดนี้ก็ยังไม่ได้ปิดทอง ว่ามาทั้งนี้เป็นการเล่าถึงเหตุที่เป็นแลถ้อยคำที่ได้พูดกันแล้วแต่ก่อนนี้ไป ให้ท่านทั้งปวงทราบ” ดังนี้
|