ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1554
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ดาวหางแคทารินาเยือนโลก หลัง 15 พ.ย. เริ่มมองเห็น 22 พ.ย.เห็นชัดสุด

[คัดลอกลิงก์]
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเผย ดาวหางแคทารินาเยือนโลก หลัง 15 พ.ย. เริ่มมองเห็น 22 พ.ย.เห็นชัดสุด อยู่ยาวไปถึงปีใหม่ มองเห็นด้วยตาเปล่า ตั้งแต่ตีสามถึงเช้า ทางท้องฟ้าทิศตะวันออกใกล้กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ความสว่างโชติมาตรที่ 3









วันที่ 14 พฤศจิกายน นายศรัณย์  โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) เปิดเผยว่าในช่วงปลายปี 2558 นี้ จะมีดาวหาง ชื่อ ดาวหางแคทาลินา เคลื่อนที่ผ่านโลกในบริเวณซีกฟ้าด้านเหนือ ทำให้คนไทยมีโอกาสเห็นดาวหางดวงนี้ด้วยตาเปล่า ทางทิศตะวันออก ช่วงประมาณ ตี 3 หรือราวรุ่งเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนจนถึงช่วงปีใหม่








"โดยตั้งแต่หลังจากวันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นต้นไป ดาวหางดวงนี้จะโคจรผ่านตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด คาดการณ์ว่าจะมีความสว่างเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณการเบื้องต้นคาดว่าจะมีแมกนีจูด หรือค่าความสว่าง หรือค่าโชติมาตรที่ระดับ +3 โดยค่าโชติมาตรนี้ ยิ่งน้อยแสดงว่ายิ่งสว่างมาก โอกาสที่จะมองเห็นก็มากขึ้นไปด้วย  ตาของมนุษย์สามารถมองเห็นวัตถุสว่างน้อยที่สุดประมาณแมกนิจูด +6 เช่น ความสว่างของดวงจันทร์มีค่าโชติมาตรที่ -12 หรือ -13 เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เรื่อยๆ ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงค่าความสว่างได้  ที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ ในค่ำคืนวันส่งท้ายปีเก่า วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ดาวหางแคทาลินาจะปรากฏอยู่เคียงข้างดาวดวงแก้ว (Arcturus) ของกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์เป็นของขวัญรับวันปีใหม่ให้กับ ผู้สังเกตการณ์ในซีกโลกเหนืออีกด้วย ผู้สนใจสามารถใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เล็งไปยังทิศตะวันออกบริเวณใกล้กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ในช่วงรุ่งสางตั้งแต่เวลาตีสามจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวยังสามารถสังเกตเห็นดาวเคราะห์ได้อีกสามดวงคือ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดีอีกด้วย"นาย ศรัณย์ กล่าว







ดาวหางแคทาลินา หรือ C/2013 US10 Catalina นี้ ถูกค้นพบด้วยกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวแคทาลินาสกายเซอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมาดาวหางดวงนี้ปรากฏอยู่บนซีกฟ้าใต้มาตลอด แต่ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม 2558 ที่ผ่านมาดาวหางดวงนี้มีความสว่างเพิ่มขึ้น มีค่าโชติมาตร ประมาณ  +7 และเคลื่อนที่เข้าไปในตำแหน่งใกล้ขั้วฟ้าใต้ ทำให้ดาวหางดวงนี้ไม่ตกลับขอบฟ้ากลายเป็นดาวหางค้างฟ้า ปรากฏให้ผู้คนในซีกโลกใต้สามารถสังเกตเห็นได้ตลอดทั้งคืน จนกระทั่งปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ดาวหางดวงนี้ได้เพิ่มความสว่างจนสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยมีค่าโติมาตรที่ +6 และหลังจากวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 ดาวหางแคทาลินาจะโคจรผ่านตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ปรากฏในท้องฟ้าซีกเหนือ และมีความสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าจะมีค่าความสว่างมากที่สุดถึงประมาณโชติมาตรที่ +3





นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการ สดร.กล่าวว่า ภายหลังจากที่ดาวหางแคทาลินา เคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ไปแล้ว หลังวันที่ 15 พฤศจิกายน คาดกันว่าจะมีความสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ วันที่สามารถสังเกตดาวหางดวงนี้ได้ดีที่สุดน่าจะเป็นช่วงเช้ามืดวันที่ 22 พฤศจิกายน และช่วงตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมก็น่าจะเป็นช่วงเวลาที่สามารถสังเกตดาวหางแคทาลีนาได้ดีอีกช่วงเวลาหนึ่ง





"ความสว่างที่ 3 นั้นเราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ยิ่งหากไม่มีแสงไฟใดๆรบกวนก็จะยิ่งมองเห็นได้ดี อย่างไรก็ตาม หากต้องการเห็นชัดมากขึ้น แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ช่วยคือ กล้อง 2 ตา ที่มีกำลังขยาย 7 เท่าเป็นต้นไป"นายศุภฤกษ์ กล่าว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1447500306
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้