ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ดาวหางแคทารินาเยือนโลก หลัง 15 พ.ย. เริ่มมองเห็น 22 พ.ย.เห็นชัดสุด
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1573
ตอบกลับ: 0
ดาวหางแคทารินาเยือนโลก หลัง 15 พ.ย. เริ่มมองเห็น 22 พ.ย.เห็นชัดสุด
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2015-11-15 07:32
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเผย ดาวหางแคทารินาเยือนโลก หลัง 15 พ.ย. เริ่มมองเห็น 22 พ.ย.เห็นชัดสุด อยู่ยาวไปถึงปีใหม่ มองเห็นด้วยตาเปล่า ตั้งแต่ตีสามถึงเช้า ทางท้องฟ้าทิศตะวันออกใกล้กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ความสว่างโชติมาตรที่ 3
วันที่ 14 พฤศจิกายน นายศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) เปิดเผยว่าในช่วงปลายปี 2558 นี้ จะมีดาวหาง ชื่อ ดาวหางแคทาลินา เคลื่อนที่ผ่านโลกในบริเวณซีกฟ้าด้านเหนือ ทำให้คนไทยมีโอกาสเห็นดาวหางดวงนี้ด้วยตาเปล่า ทางทิศตะวันออก ช่วงประมาณ ตี 3 หรือราวรุ่งเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนจนถึงช่วงปีใหม่
"โดยตั้งแต่หลังจากวันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นต้นไป ดาวหางดวงนี้จะโคจรผ่านตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด คาดการณ์ว่าจะมีความสว่างเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณการเบื้องต้นคาดว่าจะมีแมกนีจูด หรือค่าความสว่าง หรือค่าโชติมาตรที่ระดับ +3 โดยค่าโชติมาตรนี้ ยิ่งน้อยแสดงว่ายิ่งสว่างมาก โอกาสที่จะมองเห็นก็มากขึ้นไปด้วย ตาของมนุษย์สามารถมองเห็นวัตถุสว่างน้อยที่สุดประมาณแมกนิจูด +6 เช่น ความสว่างของดวงจันทร์มีค่าโชติมาตรที่ -12 หรือ -13 เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เรื่อยๆ ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงค่าความสว่างได้ ที่น่าจับตามองมากที่สุดคือ ในค่ำคืนวันส่งท้ายปีเก่า วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ดาวหางแคทาลินาจะปรากฏอยู่เคียงข้างดาวดวงแก้ว (Arcturus) ของกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์เป็นของขวัญรับวันปีใหม่ให้กับ ผู้สังเกตการณ์ในซีกโลกเหนืออีกด้วย ผู้สนใจสามารถใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เล็งไปยังทิศตะวันออกบริเวณใกล้กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ในช่วงรุ่งสางตั้งแต่เวลาตีสามจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวยังสามารถสังเกตเห็นดาวเคราะห์ได้อีกสามดวงคือ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดีอีกด้วย"นาย ศรัณย์ กล่าว
ดาวหางแคทาลินา หรือ C/2013 US10 Catalina นี้ ถูกค้นพบด้วยกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวแคทาลินาสกายเซอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมาดาวหางดวงนี้ปรากฏอยู่บนซีกฟ้าใต้มาตลอด แต่ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม 2558 ที่ผ่านมาดาวหางดวงนี้มีความสว่างเพิ่มขึ้น มีค่าโชติมาตร ประมาณ +7 และเคลื่อนที่เข้าไปในตำแหน่งใกล้ขั้วฟ้าใต้ ทำให้ดาวหางดวงนี้ไม่ตกลับขอบฟ้ากลายเป็นดาวหางค้างฟ้า ปรากฏให้ผู้คนในซีกโลกใต้สามารถสังเกตเห็นได้ตลอดทั้งคืน จนกระทั่งปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ดาวหางดวงนี้ได้เพิ่มความสว่างจนสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยมีค่าโติมาตรที่ +6 และหลังจากวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 ดาวหางแคทาลินาจะโคจรผ่านตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ปรากฏในท้องฟ้าซีกเหนือ และมีความสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าจะมีค่าความสว่างมากที่สุดถึงประมาณโชติมาตรที่ +3
นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการ สดร.กล่าวว่า ภายหลังจากที่ดาวหางแคทาลินา เคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ไปแล้ว หลังวันที่ 15 พฤศจิกายน คาดกันว่าจะมีความสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ วันที่สามารถสังเกตดาวหางดวงนี้ได้ดีที่สุดน่าจะเป็นช่วงเช้ามืดวันที่ 22 พฤศจิกายน และช่วงตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมก็น่าจะเป็นช่วงเวลาที่สามารถสังเกตดาวหางแคทาลีนาได้ดีอีกช่วงเวลาหนึ่ง
"ความสว่างที่ 3 นั้นเราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ยิ่งหากไม่มีแสงไฟใดๆรบกวนก็จะยิ่งมองเห็นได้ดี อย่างไรก็ตาม หากต้องการเห็นชัดมากขึ้น แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ช่วยคือ กล้อง 2 ตา ที่มีกำลังขยาย 7 เท่าเป็นต้นไป"นายศุภฤกษ์ กล่าว
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1447500306
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...