ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4602
ตอบกลับ: 17
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

มิตรแทน มิตรเทียม

[คัดลอกลิงก์]
ธรรมะกับชีวิตประจำวัน



เรื่อง



มิตรแท้ มิตรเทียม ดูอย่างไร









อันเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย
ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา
เหมือนมีเกลือนิดหน่อยน้อยราคา
ยังดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-9 08:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
มงคล 38 ประการ (highest blessings)

สิ่งที่ทำให้ชีวิตมีโชคดี, ธรรมอันนำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ชีวิต เรียกเต็มว่า อุดมมงคล คือมงคลอันสูงสุด นั้น


มงคลข้อแรก คือ ไม่คบคนพาล





ด้วยเหตุนี้ การเลือกคบเพื่อน จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อโชคชะตา ที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อม ความพินาศ หรือ นำความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต    จะเลือกคบเพื่อนได้อย่างไร   เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เพื่อนคนไหน คือ เพื่อนแท้ เพื่อนคนไหน คือ เพื่อนกิน  มีหลักในการพิจารณา ดังนี้:




มิตรปฏิรูปก์ หรือ มิตรเทียม 4 (false friends; foes in the guise of friends)

ได้แก่ มิตรเทียม หรือ ศัตรูผู้มาในร่างของมิตร  มี 4 ประเภทคือ


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-9 08:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
1. คนปอกลอก (the out-and-out robber) (อัญญทัตถุหร)


คนขนเอาของเพื่อนไปถ่ายเดียว  มีลักษณะ ดังนี้ คือ


           1.1) คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว

           1.2) ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอามาก

           1.3) ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน

           1.4) คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์


4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-9 08:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
2. คนดีแต่พูด (the man who pays lip-service) (วจีบรม)มีลักษณะ ดังนี้ คือ






           2.1) ดีแต่อ้างเอาสิ่งที่ผ่านไปแล้วมาพูด

           2.2) ดีแต่อ้างสิ่งที่ยังไม่มี ยังไม่เกิดขึ้นมาพูด

           2.3) สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้  เอาของที่ตนเองไม่ต้องการแล้วไปให้เพื่อน

           2.4) เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
         


5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-9 08:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
3. คนหัวประจบ (the flatterer)  (อนุปปิยภาณี)มีลักษณะ ดังนี้ คือ




           3.1) จะทำชั่วก็เออออ ไม่เคยห้ามปราม

           3.2) จะทำดีก็เออออ  พูดคล้อยตามไปอย่างนั้นเอง

           3.3) ต่อหน้าสรรเสริญ

           3.4) ลับหลังนินทา


6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-9 08:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
4. คนชวนฉิบหาย (the leader to destruction)  (อปายสหาย)มี ลักษณะ ดังนี้ คือ



          4.1) คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา

           4.2) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน

           4.3) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น

           4.4) คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-9 08:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สุหทมิตร หรือ มิตรแท้ 4 (true friends; true-hearted friends)
ได้แก่   มิตรที่มีจิตใจดี, มิตรที่จริงใจ มีแต่ความปรารถนาดีต่อเรา

     
  1. มิตรอุปการะ (the helper) (อุปการกะ)
มีลักษณะ ดังนี้ คือ


           1.1) เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน
           1.2) เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สินของเพื่อน
           1.3) เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้
           1.4) มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
           
      
2. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ( the man who is the same in weal and woe)  (สมานสุขทุกข์)

มีลักษณะ ดังนี้ คือ


           2.1) บอกความลับแก่เพื่อน
           2.2) ปิดความลับของเพื่อน
           2.3) มีภัยอันตราย ไม่ละทิ้ง
           2.4) แม้ชีวิตก็สละให้ได้
         
      
3. มิตรแนะประโยชน์ (the man who gives good counsel) (อัตถักขายี)

มีลักษณะ ดังนี้ คือ


           3.1) จะทำชั่วเสียหาย คอยห้ามปรามไว้
           3.2) คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
           3.3) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง
           3.4) บอกทางสุขทางสวรรค์ให้
         
   
   4. มิตรมีน้ำใจ (the man who sympathizes)  (อนุกัมปกะ)

มิตรมีความรักใคร่ หรือมิตรผู้รักใคร่เอ็นดู มีลักษณะ ดังนี้ คือ


           4.1) เพื่อนมีทุกข์ พลอยไม่สบายใจ (ทุกข์ ทุกข์ด้วย)
           4.2) เพื่อนมีสุข พลอยแช่มชื่นยินดี (สุข สุขด้วย)
           4.3) เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้
           4.4) เขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยพูดเสริมสนับสนุน

8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-9 08:54 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จากลักษณะของมิตรเทียม และ มิตรแท้ที่ยกมาข้างต้นนี้  เราสามารถพิจารณาได้ว่า บรรดาเพื่อนๆที่เราคบอยู่นั้น  คนไหน คือมิตรเทียม คนไหนคือมิตรแท้  เพราะเหตุไร  และยังใช้พิจารณาตัวเราเองด้วยว่า  เราเป็นมิตรประเภทใดสำหรับเพื่อนๆของเรา




มงคลข้อที่สอง คือ คบหาบัณฑิต  
บัณฑิต หมายถึงผู้รู้ดี รู้ชั่ว  ผู้มีความรู้ มีสติปัญญาดี มีคุณธรรมสูง ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ชอบ  ที่ถูกต้อง ที่สมควร ที่ดีงาม


บัณฑิต มีลักษณะเป็น กัลยาณมิตร  ซึ่งมีคุณสมบัติ ดังนี้

      
กัลยาณมิตรธรรม 7 (qualities of a good adviser)
คุณสมบัติของบัณฑิต ที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ มีดังนี้คือ


9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-9 08:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
    1. ปิโย (lovable; endearing)น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม

      
2. ครุ (estimable; respectable; venerable)
น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย

      
3. ภาวนีโย (adorable; cultured; emulable)
น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยความซาบซึ้งภูมิใจ

     
  4. วตฺตา จ (being a counsellor)
รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร พูดอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี

     
  5. วจนกฺขโม (being a patient listener)
อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว


10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-9 08:55 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
    6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา (able to deliver deep discourses or to treat profound subjects)แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆ และทำให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปได้

   
   7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย (never exhorting groundlessly; not leading or spurring on to a useless end)

ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย





กัลยาณมิตรนี้  คือ มิตรแท้ในข้อที่ 3 มิตรแนะประโยชน์  สำหรับเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นที่ปรึกษาและขอคำแนะนำ


ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน ได้คบหาสมาคมกับมิตรอุปการะ  หรือ มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข หรือ มิตรแนะประโยชน์ หรือ มิตรมีน้ำใจ  เพื่อความสุขความเจริญของชีวิต  เนื่องจากเวลาของคนเรามีเพียง 24 ชั่วโมงในแต่ละวัน เราจำเป็นต้องบริหารเวลาของเราให้ดี  เลือกใช้เวลากับเพื่อนที่ดี  ไม่ควรไปเสียเวลากับเพื่อนเทียม  ซึ่งมีแต่่จะนำความไม่สบายใจ และ ความเสื่อมมาสู่ตัวเรา



ที่มา...http://www.oknation.net/blog/print.php?id=248819

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้