ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

“พระชัยพุทธมหานาถ” พระพุทธปฏิมากรนาคปรก ...พลานุภาพแห่งจักรวรรดิบายน

[คัดลอกลิงก์]
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-8 21:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ส่วนรูปแบบที่สามเป็นรูปเคารพที่มีความคล้ายคลึงกับพระศากยมุนีแบบเถรวาท แต่ไม่ “อาจหาญ” กล้าพอที่จะใส่มวยพระเกศาหรืออุษณีษะไว้ที่กลางกระหม่อม ตามแบบ “มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ” จึงทำเพียงรูป“เหมือน” ของพระพักตร์ ในรูปแบบของพระพุทธรูปปลายมวยผมแบบขนมโมทกะ นั่งขัดสมาธิราบในท่าธยานะมุทรา (ปางสมาธิ) ประทับบนบัลลังก์ขนดนาค 3 ชั้น อย่างที่พบจำนวนมากในเขตชั้นใน และที่ปราสาทหินเมืองพิมาย และลพบุรี  รวมทั้งรูปที่ไม่มีนาคปรกอย่างที่พบที่เมืองทรายฟอง แขวงนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ตามที่ปรากฏพระนามในจารึกว่า “พระสุคต” ในจารึกของปราสาทพระขรรค์ รูปเคารพนี้น่าจะมีความหมายถึง “พระองค์ทรงบรรลุสู่พระนิพพาน บรรลุสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า” ดังพระนาม “มหาบรมสุคตบท” ภายหลังการสวรรคตของพระองค์

.

.

“พระสุคต” ที่มีส่วนปลายกระหม่อม (พระเกตุมาลา) ทำเป็นยอดแหลมคล้ายขนมโมทกะ

พบที่เมืองทรายฟอง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ระเบียงคดของวัดพระธาตุหลวง เวียงจันทน์

.

.

ใบพระพักตร์ของ “พระสุคต” ที่เวียงจันทน์มีเค้าหน้าเดียวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อย่างชัดเจน

.

.

รูปจำลองเต็มองค์ของ “พระสุคต” แห่งวิษัยวิมายุปุระ (พิมาย)
ในคูหาครรภคฤหะของปราสาทประธาน ปราสาทหินพิมาย

.

         และแบบสุดท้าย เป็น “รูปเหมือนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แบบลอยตัวโดยตรง” ในท่าประทับนั่งสมาธิ เอียงตัวก้มพระเศียรลงมาทางด้านหน้าเล็กน้อย พระเกศาหวีเรียบผูกเป็นมวยรัดเกล้าอย่างนักบวช นุ่งกางเกงขาสั้นรัดเข็มขัด พระเพลา (แขน) และพระหัตถ์ยกวางซ้อนกันอยู่ในมุทธาสมาธิ บางรูปสลักก็อาจอยู่ในท่าของ “อัญชลีมุทรา” (พนมมือ) ในระดับพระอุระ (อก) เพื่อถวายการเคารพพระชัยพุทธมหานาถ และบางรูปก็อาจอยู่ในท่าของการยกพระคัมภีร์ขึ้นอ่านหรือสวดมนตรา ในความหมายของการปฏิบัติโพธิญาณบารมี ซึ่งทั้งแบบรูปพนมมือและแบบรูปยกคัมภีร์ขึ้นอ่านนั้น ยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของนักวิชาการสายฝรั่งเศส ที่ยังคงไม่พบหลักฐานของส่วนแขนที่ (ถูกทุบทำลาย) หักหายไปอย่างชัดเจนนักในในปัจจุบันครับ

.

.

ประติมากรรมรูปเหมือนจริงของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
พบที่โกรลโรมัส (Krol Romeas - คอกแรด) อาคารแนวรูปวงกลมใกล้ประตูทางทิศเหนือของเมืองพระนครธม ในสภาพที่ยังแกะสลักไม่เสร็จและถูกทุบทำลาย
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัมพูชา

.

.

ภาพจินตนาการ – สันนิษฐาน ตามแนวทางการศึกษาของนักวิชาการสายฝรั่งเศส
(วาดโดย Maurice Fiévet ในปี 1950)
ที่เชื่อว่า แขนที่หักหายไปของประติมากรรมรูปสลักเหมือนจริงของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ควรยกขึ้นในท่า “พนมหัตถ์” เพื่อนำรูปเคารพไปตั้งหันหน้าเข้านมัสการรูปพระชัยพุทธมหานาถ ประธานของปราสาท

22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-8 21:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

.

ภาพจินตนาการ – สันนิษฐาน ประติมากรรมรูปเหมือนจริงของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
หากอยู่ในสภาพสมบูรณ์ จะทรงท่องสวดมนตรา
พระเพลาทั้งสองจะยกขึ้นถือคัมภีร์ปุราณะไว้ในพระหัตถ์

.

          รูปแบบประติมากรรมที่สองจนถึงรูปแบบที่สี่ในท่าประทับนั่งไขว้เท้า(ปางสมาธิ) จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันตั้งแต่ส่วนของพระอุระลงมา คือจะไม่สวมเสื้อ นุ่งกางเกงขาสั้น มีเข็มขัดรัดโดยรอบ  หรือบางรูปก็จะมีลักษณะห่มจีวรเรียบไม่มีริ้ว ดูคล้ายกับว่าไม่มีอะไรปกคลุม ช่องระหว่างพระวรกายและพระพาหาด้านขวาเจาะทะลุ ส่วนช่องแขนทางด้านซ้าย ทำเป็นช่องทึบคล้ายกับมีชายผ้าจีวรปกคลุมลงมาด้านหลัง  

.

        ส่วนพระอูรุ (ต้นขา) ไปจนถึงปลายพระบาท ทำเลียนแบบกล้ามเนื้อมนุษย์ คล้ายคลึงกับพระวรกายของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ดูอวบอั๋น พระชงฆ์ (แข้ง) ทำเป็นสันคมตามแนวสันกระดูกหน้าแข้ง ที่พระชานุ (หัวเข่า) ก็ทำเลียนแบบกระดูกสะบ้ากลมมีกล้ามเนื้อล้อมรอบคล้ายรูปดอกไม้ ดังเช่นรูปสลักที่แตกหักที่พบที่โกรลโรมัส (คอกแรด) พิมาย พระขรรค์แห่งกำปงสวาย และชิ้นส่วนหน้าตักที่พบในปราสาทวัดพระพายหลวง ทางทิศเหนือของเมืองโบราณสุโขทัย เป็นรูปเคารพเหมือนจริงของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

.

.

ชิ้นส่วนของประติมากรรมรูปเหมือนจริงของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ประทับนั่งในปางสมาธิ (ธยานะมุทรา) นุ่งกางแกงขาสั้น รัดเข็มขัด

แข้งคมและมีลูกสะบ้าที่พระชานุเหมือนรูปดอกไม้

พบที่ปราสาทวัดพระพายหลวงปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง

.

.

ประติมากรรมรูปเหมือนจริงของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 รูปล่าสุดที่พบโดยบังเอิญ

ส่วนของพระวรกายพบในตัวเมืองโบราณนครธมในสภาพถูกทุบทำลาย

และส่วนพระเศียรก็พบมาตั้งแต่ยุคฝรั่งเศสและนำไปจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงพนมเปญ

เมื่อนำมาต่อก็เข้ากันได้พอดี

เป็นรูปแสดงท่านั่งปางสมาธิแบบเดียวกับชิ้นส่วนหน้าตักที่พบที่สุโขทัยอย่างชัดเจน

ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Angkor National Museum เมืองเสียมเรียบ

.

.

มณฑปจัตุรมุขประดิษฐานรูปสลักของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ที่สร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบันที่จังหวัดเกาะกง
นิยมทำเป็นท่านั่งปางสมาธิ (ธยานะมุทรา) ตามหลักฐานที่พบใหม่ไม่นานนี้

.

         จากวันที่รุ่งเรืองของจักรวรรดิที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงเวลาหนึ่งของอุษาคเนย์ สู่กาลเวลาที่เสื่อมสลายทั้งจากอำนาจภายในที่ยอมลดขนาดของจักรวรรดิแห่งพระโพธิสัตว์กลับมาสู่ความเป็นอาณาจักรแห่งทวยเทพ เปิดโอกาสให้เหล่าพระญาติพระวงศ์และผู้ปกครองแว่นแคว้นแดนไกลนอกแดนกัมพุชเทศะแยกตัวออกไปจนหมดสิ้น  และโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญผ่านเรื่องราวการทำลายล้างพระพุทธปฏิมากรนาคปรกศิลปะแห่งบายน

.

         อำนาจแลพลานุภาพมากมายทั้งทางโลกและทางธรรมที่เพียรถูก“สมมุติ” สร้างขึ้นในครั้งรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่เพียงภายหลังจากการสวรรคตในเวลาไม่นาน ทุกสิ่งทุกอย่างก็คงเหลือแต่เพียง “ความว่างเปล่า”

.

       รูปลักษณ์ของวัตถุและคำลวงที่ช่วยสร้างเสริมให้ดูยิ่งใหญ่ เป็นเสมือน“หัวโขนแห่งอคติ” ที่ทุกคนแสวงหาและภาคภูมิ ในวันหนึ่งของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามก็ย่อมจะเดินทางจากลาไปสู่กาลแห่งความเสื่อมสลายและดับสูญ

.

.

พระพุทธปฏิมากรนาคปรกขนาดใหญ่
ประดิษฐานในมหาปราสาทนครวัด ศิลปะในยุคหลังสมัยบายน ?
ถูกทุบทำลายที่พระพักตร์ในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 หรือในยุคของ "เขมรแดง" ?

23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-8 21:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

  ที่อาจจะคงเหลืออยู่บ้าง ก็คงเพียงว่า “มนุษย์” ผู้นั้นได้เคยสร้างสิ่งใดไว้ให้กับโลก ได้สมตามตำแหน่งของมายา “หัวโขน” ที่หลงใหลได้ปลื้ม ยึดติดเมื่อครั้งตอนอยู่มีชีวิตอยู่บนโลกกันอย่างไรบ้าง

.

         และเมื่อสิ้นสุด “กายสมมุติ” ลงไปสู่โลกนิรันดร์ที่ปลายภพ ผู้คนในรุ่นต่อไปจะเล่าขานเรื่องราวของมนุษย์ที่เคยมี “ชีวิต” อยู่ผู้นั้นอย่างไร

.

         ดังเช่นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่เคยถูกสาปแช่งและทำลายล้างรูปเคารพอย่างรุนแรงในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8  ในวันนี้ ผู้คนจะเลือก “จดจำ”และ “เล่าขาน” สิ่งใดของเรื่องราวในอดีต

.

.

พระพุทธปฏิมากรนาคปรกหินทรายขนาดใหญ่ ของปราสาทตาพรหม

ในสภาพถูกทุบทำลายที่ส่วนพระเศียรและพังพานนาค

.

         แต่ที่แน่ ๆ ในวันนี้ หน่วยงาน JST โดยความสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่นและชาวกัมพูชา กำลังเลือกแนวทางที่จะนำพระพุทธปฏิมากรประธานแห่งปราสาทบายน กลับขึ้นไปประดิษฐาน ณ ที่แห่งเดิมในวันที่เคยรุ่งเรืองอีกครั้ง

.

.

มหาปราสาทบายน ปราสาทที่สร้างขึ้นตามแผนผังของ “พุทธมณฑล” (Buddha Mandala)

กำลังได้รับารบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ภายหลังยุค EFEO ของฝรั่งเศส

โดย JST ที่มีรัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนเงินทุน

.

         แต่นั้นก็ยังไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักที่จะต้องยกรูปสลักความสูงเกินกว่า 4 เมตรที่ผ่านการซ่อมแซมประกอบชิ้นส่วนที่แตกหักทั้งองค์ ผ่านช่องประตูขึ้นไปด้านบนของปราสาทประธาน

.

.

บรรยากาศภายในมุขคูหาด้านหน้าของห้องครรภคฤหะ
ปราสาทประธานของปราสาทบายนในยุคปัจจุบัน

.

         หรือจะใช้แนวทางสลักรูปประติมากรรมหินเลียนแบบรูปศิลปะของเดิมขึ้นไปติดตั้งใหม่ ซึ่งมันอาจจะง่ายกว่า ?





Reference

http://www.oknation.net/blog/voranai/2012/07/18/entry-1.

http://www.efeo.fr

http://www.jst-cambodia.net

(Joint Support Team for Angkor. Preservation and Community Development)

http://www.kume-ru.com

.


ขอบคุณครับ. ขอมูลแน่นมากๆ
สวยจังเลยครับ
พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต
ธัมมะบูชา มหาปัญโญ
สังฆะบูชา มหาโพควาโหติ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2013-11-29 19:58
metha ตอบกลับเมื่อ 2013-11-29 19:12
พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต
ธัมมะบูชา มหาปัญโญ
สังฆะบูชา  ...



พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต
ธัมมะบูชา มหาปัญโญ
สังฆะบูชา มหาโภคะวาโหติโลกะนาถัง อภิปูชะยามิ


รามเทพ ตอบกลับเมื่อ 2013-11-29 19:57
พุทธะบูชา มหาเตชะวันโต
ธัมมะบูชา มหาปัญโญ
สังฆะบูช ...


ขอบพระคุณครับ
30#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-1-4 20:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้