ลักษณะพระพักตร์ของรูปประติมากรรมพระนาคปรกในยุคบายนนี้ มีเค้าหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มีสีพระพักตร์ดูอ่อนโยน มีรอยยิ้มมุมปากแสดงความเมตตากรุณา หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ยิ้มบายน” (Bayon Smile)เป็นแบบแผนสำคัญ คล้ายคลึงกันไปทั่วทั้งจักรวรรดิบายน แต่ถึงแม้ว่ารูปสลักที่สร้างขึ้นในดินแดนที่ห่างไกลจากเมืองพระนครธม หรือรูปสลักพระพุทธรูปในยุคหลัง จะมีความแตกต่างของเค้าโครงพระพักตร์ไปอยู่บ้าง หรือแตกต่างมาก แต่ทั้งหมดก็ยังล้วนแสดงให้เห็นร่องรอยของการสืบทอดรูปของพระพักตร์ที่นิ่งสงบ ดูเคร่งขรึม มีรอยยิ้มเล็ก ๆ ที่ตรงมุมปาก ส่งต่อจากจักรวรรดิบายนมาสู่แว่นแคว้นโบราณในภาคกลางของประเทศไทยอย่างชัดเจนครับ . . ภาพถ่ายเก่าในช่วงรัชกาลที่ 5 แสดงภาพพระพุทธรูปนาคปรกศิลปะบายนในกลุ่มลวะปุระจำนวน 4 – 5 องค์ ภายในวิหารหน้าปราสาทปรางค์สามยอด . . พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะตามแบบ ”พระชัยพุทธมหานาถ” ศิลปะแบบบายน พบที่อำเภอศรีณรงค์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ . . พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะ รูปแบบเดียวกันกับ “พระชัยพุทธมหานาถ” ศิลปะแบบบายน – กลุ่มลวะปุระ สภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ . . พระพุทธปฏิมากรนาคปรกแบบมีอุษณีษะ รูปแบบเดียวกันกับ “พระชัยพุทธมหานาถ” ศิลปะแบบบายน – กลุ่มลวะปุระ สภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
|