ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 8438
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เหรียญพระหลักเมืองกรุงเทพมหานครและเทพารักษ์ทั้ง ๕ ครบทุกพระองค์

[คัดลอกลิงก์]



เหรียญโลหะชุบทองขัดเงา ออกเมื่อปี 2518 (สามสิบกว่าปีมาแล้ว)
ทางศาลหลักเมืองนำมาบรรจุใหม่ออกอีกครั้งปี 2547 ฉลอง กรุงเทพอายุครบ 222 ปี
เหรียญจัดเป็นชุดอยู่ในเล่มสมุดสวยงาม มี 6 เหรียญ คือ
1.พระหลักเมือง ด้านหลังเป็นดวงเมือง
2.พระเสื้องเมือง ด้านหลังเป็นรูปเสาหลักเมือง
3.พระทรงเมือง ด้านหลังเป็นรูปเสาหลักเมือง
4.พระกาฬไชยศรีด้านหลังเป็นรูปเสาหลักเมือง
5.เจ้าพ่อเจตคุปต์ ด้านหลังเป็นรูปเสาหลักเมือง
6.เจ้าพ่อหอกลองด้านหลังเป็นรูปเสาหลักเมือง

พร้อมประวัติศาลหลักเมืองและความสำคัญของเทพารักษ์ทั้ง 5 พระองค์ผู้พิทักษ์รักษาแผ่นดินสยามให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ตราบถึงทุกวันนี้
ทรงคุณค่าน่าเก็บ หรือมอบให้ลูกหลาน เพราะมีพระหลักเมืองและเทพารักษ์ครบทั้งห้าพระองค์
บูชาดีเป็นศรี เป็นสิริมงคลและครอบครัว เพื่อความมีหลักฐานมั่นคงของชีวิต.............................เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น ซึ่งศาลหลักเมืองเป็นสถานที่ที่คนนิยมมาเคารพสักการะเพื่อขอพร ตัดเคราะห์ ต่อชะตา เสริมวาสนา บารมี ให้ชีวิตมั่นคง มีหลักชัยในชีวิต
หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงปราดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักกรี และทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังฝั่งพระนครแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธีนาครสถานเพื่อยกเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช 2325
เสาหลักเมือง ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ด้านนอกประดับด้วยไม้แก่น กำหนดให้ตัวเสาสูงพ้นดิน 108 นิ้ว ฝังในดิน 79 นิ้ว มีหัวเม็ดเป็นยอดสวมไว้ด้านบน ยอด "เสาหลักเมือง" ลงรักปิดทอง ภายในบรรจุดวงพระชันษาพระมหานคร
เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริว่า "เสาหลักเมือง" ทรุดโทรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นใหม่ เนื่องจากพระองค์ทรงเชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ จึงทรงแก้ไขดวงเมือง โดยทรงประกอบพิธีจารึกดวงพระชันษาพระนครลงบนแผ่นทองคำหนัก 1 บาท ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และให้สร้างศาลขึ้นใหม่ โดยก่อสร้างเป็นยอดปรางค์ตามอย่างศาลาที่กรุงศรีอยุธยา จากนั้นบรรจุดวงพระชันษาพระนครไว้ที่ "เสาหลักเมือง" แล้วจัดให้มีการสมโภชฉลองด้วย
ด้วยเหตุนี้ภายในศาลหลักเมืองจึงมีเสาหลักเมืองอยู่ 2 ต้น โดยเสาต้นสูงคือครั้งรัชกาลที่ 1 ซึ่งได้ทำพิธีถอนเสาแล้ว ส่วนเสาต้นที่สูงทอนลงมาเป็นเสาหลักเมืองครั้งรัชกาลที่ 4 นั่นเอง
เมื่อเข้ามาในบริเวณศาลหลักเมืองแล้ว สามารถซื้อชุดสักการะที่ทางศาลจัดไว้ซึ่งมีด้วยกันหลายแบบหลายราคา ควรเริ่มด้วยการไหว้พระที่ "หอพระพุทธรูป" ก่อน โดยจุดธูปเทียน กราบไหว้พระ ถวายพวงมาลัย ดอกไม้ ปิดทอง และใส่บาตรพระประจำวันเกิดลงในบาตรพระ ภายในหอพระพุทธรูปยังมีการ "ยกพระเสี่ยงทาย" ซึ่งหากใครอยากรู้ว่าสิ่งที่ปรารถนาจะสำเร็จหรือไม่ ให้ลองยกพระพุทธรูปดู ในการเสี่ยงทายนั้นให้ยกองค์พระ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกถ้าประสบความสำเร็จในเรื่องที่ถาม ขอให้ยกพระองค์ขึ้น และในครั้งที่ 2 ถ้าประสบความสำเร็จในเรื่องที่ถาม ขอให้ยกพระองค์นี้ไม่ขึ้น ถ้าเป็นไปตามนี้แสดงว่าเรื่องที่ถามจะสำเร็จตามปรารถนา
ส่วนการสักการะองค์หลักเมืองจะจัดอยู่บริเวณด้านนอกของศาล ทำได้โดยจุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ ปิดทอง และผูกผ้าแพรสามสี จากนั้นเข้าไปกราบไหว้ และถวายพวงมาลัยองค์หลักเมืององค์จริงซึ่งอยู่ภายในศาลหลักเมือง (ชุดสักการะ 40 บาท)
บริเวณด้านข้างของศาลหลักเมือง เป็นที่ตั้งของ "หอเทพารักษ์" โดยเทพารักษ์สำคัญสำหรับพระนคร นอกจากพระหลักเมืองแล้ว ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง เทพารักษ์จะทำหน้าที่ดูแลรักษาพระนครและประเทศชาติ ซึ่งพระมหากษัตริย์และประชาชนให้ความเคารพนับถือแต่โบราณกาลว่า สามารถอำนวยความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ป้องกันภัยพาลพิบัติ อุปัทวทุกข์ ทุกประการแก่ผู้เคารพบูชาได้
หน้าที่ของเทพารักษ์ทั้ง 5
  • พระเสื้อเมือง เป็นเทพารักษ์คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูรุกราน
  • พระทรงเมือง เป็นเทพารักษ์ รักษาการปกครอง และกระทรวง ทบวงกรม ต่าง ๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุข สวัสดี
  • พระกาฬไชยศรี เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก
  • เจ้าเจตคุปต์ เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไป และอ่านประวัติของผู้ตายเสนอพระยม
  • เจ้าพ่อหอกลอง เป็นเทพารักษ์ประจำหอกลอง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่าง ๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่าคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน เกิดอัคคีภัยหรือมีข้าศึกศัตรูยกมาประชิดพระนคร
สำหรับการสักการะเทพารักษ์ทั้ง 5 ทำได้โดยการกราบไหว้และถวายพวงมาลัย
นอกจากนี้บริเวณพระประจำวันเกิด เราสามารถใส่บาตรพระประจำวันเกิด (ใส่เงินตามจำนวนกำลังลงในช่องที่กำหนด) และเติมน้ำมันตะเกียงพระประจำวันเกิด (ชุดสักการะ 60 บาท จะมีขวดน้ำมันตะเกียงให้ หรือสามารถซื้อได้ในราคาขวดละ 20 บาท) เพื่อสะเดาะเคราะห์ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการสักการะ
สักการะหลักเมือง ไหว้พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง ประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์ ตามธรรมเนียมเพื่อความเป็นสิริมงคล
ขั้นตอนของการสักการะ
  • ไหว้พระที่หอพระพุทธรูป
  • ไหว้และปิดทองผูกผ้าแพร 3 สี ที่องค์หลักเมืองจำลอง และนำพวงมาลัย เข้าไปถวายที่องค์หลักเมืองจริง
  • ไหว้และถวายพวงมาลัยองค์เทพารักษ์ทั้ง 5
  • เติมน้ำมัน พระประจำวันเกิดและสะเดาะห์เคราะห์

มีเก็บบูชากับเขาด้วยชุดหนึ่ง พอดีบูชาไว้เมื่อคราวไปไหว้ขอพรปีใหม่เมื่อหลายปีมาแล้ว...
สาธุครับ
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-10-19 16:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
morntanti ตอบกลับเมื่อ 2015-10-18 23:30
มีเก็บบูชากับเขาด้วยชุดหนึ่ง พอดีบูชาไว้เมื่อคราวไปไหว้ขอพรปีใหม่เมื่อหลายปีมาแล้ว...

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้