ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3233
ตอบกลับ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สุข เพิ่ม พูน

[คัดลอกลิงก์]
สุข เพิ่ม พูน

หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต   วัดโพธิ์ทรายทอง
                    
พระครูภาวนาภิมณฑ์
(หลวงปู่สุข ธมฺมโชโต)
วัดโพธิ์ทรายทอง ตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
                     
ชาติกำเนิด
                 พระครูภาวนาภิมณฑ์ หรือหลวงปู่สุข ธมฺมโชโต เดิมชื่อ   สุข นามสกุล ยอดเยี่ยมแกร เป็นบุตรของ นายโฮ และนางแฮม ยอดเยี่ยมแกร      อาชีพทำนา ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕    เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๒๑ แรม ๕ ค่ำ ปีเถาะ เกิดที่บ้านละหานทราย  หมู่ที่ ๒ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ มีพี่น้องร่วมสายโลหิตจำนวน   ๖ คน หลวงปู่สุขเป็นคน ที่ ๔ มีรายนามดังต่อไปนี้
                        ๑.นายหีบ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต
                        ๒.นายเต็บ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต
                        ๓.นายเกต ยอมเยี่ยมแกร เสียชีวิต
                        ๔.หลวงปู่สุข มรณภาพ ๓๑ธ.ค.๒๕๑๕
                        ๕.นายแป๊ะ ยอดเยี่ยมแกร เสียชีวิต
                        ๖.นางอ้ม ยอดเยียมแกร เสียชีวิต
                        
                        การศึกษา
                        
                        ในสมัยนั้นการเรียนหนังสือต้องอาศัยวัด อำเภอละหานทราย ยังเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่ในป่าดงพงพี ถนนหนทางก็ไม่สะดวก เด็กชายสุข เรียนหนังสือขอมที่วัดโพธิ์ทรายทอง  จนสามารถ อ่านออกเขียนได้ เมื่ออายุ ๑๗ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ทรายทอง บรรพชาอยู่ได้ ๕ พรรษา
                        
                        การอุปสมบท                          
                         เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ทรายทองตำบลละหานทราย    อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๔๒ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีกุน มีเจ้าอธิการนิ่ม วัดสายน้ำไหล  เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการกลิ่น เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอธิการเกิดเป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่า “ธมฺมโชโต” แปลว่า แสงสว่างแห่งธรรม เมื่อหลวงปู่สุขท่านอุปสมบทท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ทรายทอง  ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนปริยัติธรรมแต่ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นภาษาขอม จนมีความรู้ แตกฉานสามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี ท่านศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยที่วัดโพธิ์ทรายทองจนแตกฉานดีแล้ว ท่านก็ตั้งใจที่จะออกธุดงค์เพื่อปลีกวิเวก เพราะหลวงปู่เห็นว่า การที่เล่าเรียนเฉพาะพระธรรมวินัยภายในวัดแต่เพียงอย่างเดียว มันเป็นเพียงแค่เปลือกนอก ไม่ก่อประโยชน์แก่ตัวเองมากนัก ท่านจึงตัดสินใจออกเดินธุดงค์ไปกลายแห่ง ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน  ท่านได้เรียนกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และด้านพระเวทย์วิทยาคมต่าง ๆ ท่านได้ศึกษากับ พระอาจารย์อินทร์ ภิกษุชาวเขมรซึ่งได้ธุดงค์มาจาก เมืองศรีโสภณ และได้มาสร้าง วัดหนองติม อยู่ในเขต อ.ตาพระยา  ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับ จังหวัดปราจีนบุรี หลวงปู่สุขท่านได้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานและก็สมถภาวนาอยู่เป็นประจำ      ปฏิบัติธรรมด้วยความเคร่งครัดจนชาวบ้านกล่าวขานกันว่า ท่านสำเร็จถึงขั้น “อภิญญา” ด้วยวัตรปฏิบัติที่ดีงาม ความสำเร็จทั้งหลายเหล่านี้   ทำให้ขาวบ้านเล่ากันปากต่อปาก ถึงกับมีผู้เสื่อมใสหลวงปู่ ในหลายจังหวัดเดินทางมากราบมนัสการและสนทนาธรรมอยู่อย่างเนืองนิตย์ถนนหนทาง ในสมัยนั้น การคมนาคมยังไม่เจริญเท่าทุกวันนี้ บางคน บางคณะอาจต้องค้างแรมกันหลายคืนทั้งยังบุกป่าฝ่าดงเผชิญกับสัตว์ป่าดุร้าย มากมาย    แต่กลุ่มผู้ศรัทธาก็ไม่ยอมย่อท้อ ต่อความยากลำบาก เดินทางมาจนถึงตัวท่านให้ท่านเป่ากระหม่อมบ้าง   รดน้ำมนต์บาง เพื่อความเป็นสิริมงคล
                     
                        ตำแหน่ง   และสมณศักดิ์ (ประวัติการปกครอง)
                        พ.ศ. ๒๕๘๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทรายทอง(เป็นเจ้าอาวาส ๓๓ ปี)
                        พ.ศ. ๒๕๙๘ เป็นเจ้าคณะตำบลละหานทราย
                        พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระอุปัชฌาย์
                        พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาภิมณฑ์
                        พ.ศ. ๒๕๑๕ มรณภาพ (๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕) รวมสิริอายุได้ ๙๕ ปี
                        วัดโพธิ์ทรายทองเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ สมัยยุคต้นรัตนโกสินทร์

อ้างอิง http://www.web-pra.com/Amulet/หลวงปู่สุข-วัดโพธิ์ทรายทอง

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-7 11:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่เพิ่ม ปุญญวสโน
วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
ประวัติ
ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ จุลศักราช 1248 ตรงกับวันที่ 28 มกราคม 2429 ณ ตำบลไทยวาส หมู่ที่ 3 อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม บิดาชื่อ เกิด มารดาชื่อ วรรณ นามสกุล พงษ์อัมพร

บรรพชา
ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 8 ปี สืบต่อมาจนถึงอายุครบบวช

อุปสมบท
อุปสมบทเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2450 อายุ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ครั้งพระองค์ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ (ผัน) วัดสรรเพชญ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา

สมณศักดิ์
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2481 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดกลางบางแก้ว
วันที่ 4 ธันวาคม 2482 ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ในเขตอำเภอนครชัยศรี
วันที่ 8 เมษายน 2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี
วันที่ 1 มีนาคม 2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูราชทินนามว่า “พระครูพุทธวิถีนายก”
วันที่ 5 ธันวาคม 2495 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
วันที่ 5 ธันวาคม 2503 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมีราชทินนามว่า “พระพุทธวิถีนายก” ปี พ.ศ. 2520 เนื่องจากความชราภาพมากทางคณะสงฆ์จึงยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์

มรณภาพ
ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2526 เวลาใกล้รุ่ง (04.50 น) รวมอายุ 97 ปี 76 พรรษา

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-7 11:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อพูน ฐิตสีโล

ประวัติ หลวงพ่อพูน ฐิตสีโล (พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ) ชาติภูมิ

พระครูสุวรรณศีลาธิคุณ หรือหลวงพ่อพูน ฐิตสีโล มีนามเดิมว่า ทองพูน นามสกุล สัญญะโสภี ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๕ (แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก) โยมบิดาชื่อแบน โยมมารดาชื่อสมบุญ สัญญะโสภี ณ บ้านสามกอ หมู่ ๑ ตำบลสามกอ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การศึกษา

หลวงพ่อพูนหรือเด็กชายทองพูนในขณะนั้นได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนศรีรัตนานุกูล หรือปัจจุบันนี้คือโรงเรียนวัดบ้านแพน “ศรีรัตนานุกูล” จนกระทั่งจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ จึงได้ออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อแม่ทำงานอย่างขยันขันแข็ง จนกระทั่งอายุได้ ๑๔ ปี จึงได้ติดตามหลวงปู่คำปัน พระธุดงค์มาจากจังหวัดลำพูน ขึ้นไปเมืองเหนือเป็นเวลา ๑ ปี จึงได้กลับมายังบ้านเกิดโดยสำเร็จวิชาด้านโหราศาสตร์กลับมา เมื่ออายุเพียง ๑๕ ปี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ นายทองพูนจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านแพน จากคำชวนของหลวงพ่อวาสน์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแพนในขณะนั้น เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๙๒ โดยมี พระปลัดแจ่ม วัดโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งในปีนั้นเองสามเณรทองพูนก็สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี และหลังจากบรรพชาเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยได้ ๓ ปี สามเณรทองพูนจึงได้อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ปีมะโรง โดยมีพระครูปริยัติคุณูปการณ์ (วาสน์) วัดบ้านแพน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูวิบูลย์ธรรมศาสน์ (หลวงพ่อสังวาลย์)วัดกระโดงทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สำเร็จเป็นพระภิกษุสงฆ์เวลา ๐๘.๐๐ น. ได้รับนามฉายาว่า “ฐิตสีโล” จากนั้นจึงได้ตั้งใจสอบนักธรรมชั้นโทและ ชั้นเอกได้สำเร็จภายใน ๒ ปี

การศึกษาพุทธาคม

ในด้านพระเวทย์วิทยาคมหลวงพ่อพูนท่านได้สนใจและได้ศึกษาในเรื่องพุทธเวทย์มหามนต์ซึ่งเป็นศาสตร์แห่ง “พุทธ” มาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี โดยในเวลานั้นได้ติดตามหลวงปู่คำปัน พระธุดงค์ที่มาจากภาคเหนือขึ้นไปอาศัยอยู่ภาคเหนือเป็นเวลา ๑ ปี จึงได้กลับมาบ้านเกิดพร้อมทั้งตำราการดูดวงที่ถือได้ว่าแม่นยำอย่างหาใครเปรียบได้ยาก ไม่เพียงแค่นั้นหลวงพ่อพูนท่านยังได้ฝึกเรียนกรรมฐานกับอาจารย์พริ้งฆราวาสจอมขมังเวทย์ในย่านบ้านแพน และได้รับการถ่ายทอดวิชาการทำน้ำมนต์มาจากอาจารย์พริ้งจนจบหลักสูตรวิชา จึงเป็นเหตุให้น้ำพระพุทธมนต์ที่หลวงพ่อพูนทำขึ้นมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก สามารถใช้ขับไล่ภูตผี ปีศาจ เสนียดจัญไรได้อย่างชะงัด

นอกจากอาจารย์พริ้งแล้วหลวงพ่อพูนยังได้ร่ำเรียนวิชามาจากอาจารย์ลพ เกตุบุตร ซึ่งเป็นพี่ชายของหลวงพ่อวาสน์พระอุปัชฌาย์ของท่าน และเป็นศิษย์เอกของอาจารย์จาบแห่งตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยหลวงพ่อพูนได้รับการถ่ายทอดวิชาการลงยันต์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นยันต์ที่หลวงพ่อมักใช้จารลงในแผ่นยันต์หรือแหวนอยู่เสมอ ๆ สำหรับครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์นั้น หลวงพ่อพูนได้ศึกษาวิชามาจากหลวงพ่อมี วัดมารวิชัย ที่เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน จนมีความเชี่ยวชาญด้านพระเวทย์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายวิชาพระคาถาชินบัญชรอันลือลั่นของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่แม้ว่าหลวงพ่อมีจะมีความเชี่ยวชาญในพระคาถานี้อย่างหาผู้ใดเทียบได้ยาก เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ยังชมหลวงพ่อพูนว่า “มีความเชี่ยวชาญพระคาถาชินบัญชรมากกว่าท่าน”

อ้างอิง http://watbanpan.net/main/หลวงพ่อพูน-ฐิตสีโล/

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-2-2 13:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้