ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
คณะศิษย์หลวงปู่ชื่น ติคญาโณ (คศช.)
›
พูดคุยตามประสา คศช.
»
เห็นด้วยหรือไม่..ยำรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ?
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2055
ตอบกลับ: 2
เห็นด้วยหรือไม่..ยำรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ?
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2015-9-16 05:34
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
เห็นด้วยหรือไม่..ยำรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ?
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระบุว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะร่างใหม่ไม่ผ่านประชามติ จะนำรัฐธรรมนูญปี 2540 ปี 2550 และฉบับที่เพิ่งถูกคว่ำไปมายำรวมกัน
นักวิชาการเห็นด้วยกับแนวคิดนี้หรือไม่
สุขุม นวลสกุล
อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง
ควรตั้งต้นว่าสังคมไทยอยากได้บรรยากาศการอยู่ร่วมกันแบบไหน ถึงจะมองออกว่ารัฐธรรมนูญจะมีหน้าตาอย่างไร ไม่ใช่ว่าจะเอารัฐธรรมนูญฉบับนั้นฉบับนี้มายำรวมกัน แล้วคนจะอยู่ร่วมกันได้ปกติไม่ขัดแย้ง เพราะความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ
แต่รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยจะจัดการความขัดแย้งได้มีประสิทธิภาพมากกว่ารัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
แน่นอนว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นั้นมีความเป็นประชาธิปไตยสูง และผ่านการยอมรับของคนทั้งสังคมมาแล้วก่อนจะถูกฉีกไปตอนปี 2549
ข้อดีที่น่านำกลับมาคือการเลือกตั้งส.ว.ทั้งหมด ยึดโยงกับประชาชน แต่อีกฝ่ายจะมองเหมือนเดิมว่าให้อำนาจนักการเมืองมากไป
ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 นั้น ชนชั้นนำอาจจะชอบ เพราะมีการจำกัดอำนาจนักการเมืองสูง และให้อำนาจองค์กรอิสระสูงจนกลายเป็นตุลาการภิวัฒน์ไป
กลับมาที่เป้าหมาย คือ ถ้าผู้มีอำนาจในสังคมต้องการประชาธิปไตย ก็ต้องไปเริ่มตั้งแต่ที่มาของการร่างรัฐธรรนูญ แต่เชื่อว่า คสช. ต้องการความสงบและความมั่นคงก่อนความเป็นประชาธิปไตย
ซึ่งความสงบที่อ้างนั้นเป็นเพียงความสงบของคนบางกลุ่ม ไม่ใช่ความสงบของทั้งสังคม ที่มีกลุ่มคนโวยวายไม่พอใจกันเมื่อก่อนรัฐประหารนั้นก็เป็นเพียงกลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่สังคมทั้งหมด
ส่วนการนำรัฐธรรมนูญมายำรวมกันจะลดแรงกดดันได้หรือไม่นั้น คสช. ต้องตีโจทย์ให้แตก หากยอมรับว่าสังคมไม่มีทางเลี่ยงประชาธิปไตยได้ ก็ควรมีบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญที่กำลังจะร่างกันนี้
เช่น คสช.ต้องการความมั่นคงในระยะแรก อาจจะ 1-2 ปี เช่น ต้องการให้นายกฯเป็นคนนอกได้ แต่ต้องเผื่อให้เกิดการคลี่คลายได้ ให้สังคมมีพลวัตที่จะเรียนรู้แก้ไขปรับปรุง มีการแก้รัฐธรรมนูญได้ในอนาคต ไม่ใช่เขียนมาวันนี้เพื่อไม่ให้เกิดการแก้ไขได้เลย ก็จะกลับมาเกิดความขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองใหม่ๆ ในอนาคตอีก
เชื่อว่า คสช. ต้องการให้รัฐธรรมนูญผ่านประชามติให้ได้ เพื่อประกาศแก่นานาชาติว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยเอารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะฉะนั้น คสช. มีบทเรียนแล้วว่า ร่างรัฐธรรมนูญล่าสุดที่เพิ่งคว่ำไปนั้นยึดโยงกับประชาชนมากน้อยเพียงใด
รัฐธรรมนูญที่ผ่านมามีการหยิบฉบับเก่าๆ มาพิจารณาทั้งนั้น เป็นการต่อยอดเพื่อให้พัฒนาขึ้น
เข้าใจว่าการพูดว่าจะนำฉบับปี 2540 และปี 2550 มายำรวมกันนั้นคงมองว่าการร่างรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องง่าย
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ไม่แน่ใจว่าพล.อ.ประยุทธ์ เสนอไอเดียนี้ในฐานะอะไร จะพูดในฐานะนายกฯ หรือหัวหน้า คสช. แต่รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา ก็ว่าไปตามหลักกฎหมาย
ประเด็นอยู่ที่ความชอบธรรมในการร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาในการร่างเป็นอย่างไร รัฐธรรมนูญก็จะมีหน้าตาเป็นอย่างนั้น คำถามคือที่มาของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะเกิดขึ้นใหม่นี้จะยึดโยงกับประชาชนและเป็นประชาธิปไตยหรือไม่
คสช. มองเห็นแรงกดดันทั้งจากภายนอก คือ ต่างประเทศที่ทวงถามเรื่องสิทธิมนุษยชน ส่วนภายในคือประชาชนจำนวนมากต้องการเลือกตั้งและสิทธิเสรีภาพ
แต่เหมือน คสช. ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแรงกดดันดังกล่าว จึงมองผิดประเด็นว่าการนำฉบับปี 2540 กับปี 2550 มายำรวมกันแล้วน่าจะดี แต่ความจริงไม่ใช่
สาระสำคัญไม่ได้อยู่ที่ฉบับไหนดีกว่ากัน ประเด็นอยู่ที่กระบวนการยอมรับความแตกต่างหลากหลายมีหรือไม่
อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญปี 2540 แม้จะมีเนื้อหาที่ยังบกพร่องอยู่ แต่มีความชอบธรรมมากที่สุด เพราะมีที่มาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเลือกตั้งโดยประชาชน
ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับไหนในโลกนี้ดีที่สุด แต่การยอมรับกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย สามารถพัฒนารัฐธรรมนูญให้ดีขึ้นเหมาะสมกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้
ซึ่งฉบับปี 2540 เปิดโอกาสให้มีกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยมากที่สุด ขณะที่ฉบับปี 2550 ไม่มี และที่มาก็มาจากการรัฐประหารในปี 2549 ด้วย
ทางออกวิกฤตในเวลานี้ คสช. ควรเลิกแบกภาระในการร่างรัฐธรรมนูญเอง แล้วนำฉบับปี 2540 มาประกาศใช้ จากนั้นตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ใหม่ ส่วนจะปรับแก้เนื้อหาอย่างไรให้ถูกใจคนทุกฝ่ายก็ค่อยๆ ทำกันไป
ถ้าทำให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมได้จริง แรงกดดันจะคลี่คลายลง เพราะระยะเวลาของโรดแม็ป คสช. ที่ยืดยาวนั่นเองที่สร้างแรงกดดันให้สังคมไทย
เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
ตอนนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดว่าจะเอามารวมกันอย่างไร คิดว่าควรเลือกฉบับใดฉบับหนึ่งมาเป็นหลักหรือเป็นกรอบในการแก้ไขและปรับปรุง เพราะจะได้รวดเร็วและไม่ยากเหมือนการร่างใหม่
ที่สำคัญต้องให้ประชาชนช่วยกันเลือกและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่แค่หน้าที่ของคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างเดียว แต่เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่ต้องให้ความใส่ใจกับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กระทบกับทุกคน
โดยอาจให้ทำประชามติว่า ประชาชนจะเลือกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 หรือปี 2550 มาเป็นหลักในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับมีข้อดีต่างกัน
คือ ฉบับปี 2540 มีกระบวนการคัดเลือกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดตั้งแต่รับร่างรัฐธรรมนูญมา ส่วนรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ
จึงต้องให้ประชาชนเลือกว่าต้องการรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วม หรือรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงมติ
จากนั้นจึงกำหนดให้มีส.ส.ร.เพื่อจะได้นำรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ มาปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทของสังคมปัจจุบันและใช้งานได้ในอนาคต
แล้วกำหนดให้ชัดเจนว่าจะใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ เช่น กำหนดเวลา 180 วันในการปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ก่อนนำเสนอข้อมูลในวงกว้างและรับฟังความคิดเห็น กำหนดวันลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หากทำตามกระบวนการนี้น่าจะใช้เวลาไม่นาน ประชาชนจะได้เห็นทางออก
หากนายกฯ คิดแบบนี้แล้วรัฐบาลสามารถเดินหน้าทำให้เกิดกระบวนการขึ้นอย่างจริงจังได้ น่าจะช่วยลดอุณหภูมิที่กดดันรัฐบาลลงได้บ้าง
ที่มา..
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1442333014
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
majoy
majoy
ออฟไลน์
เครดิต
24696
2
#
โพสต์ 2015-9-16 06:54
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กลิ่นอายบางอย่าง ลอยคละคลุ้ง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
lnw
lnw
ออฟไลน์
เครดิต
1686
3
#
โพสต์ 2015-9-16 18:44
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คือ ฉบับปี 2540 มีกระบวนการคัดเลือกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดตั้งแต่รับร่างรัฐธรรมนูญมา ส่วนรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ
จึงต้องให้ประชาชนเลือกว่าต้องการรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วม หรือรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงมติ
จากนั้นจึงกำหนดให้มีส.ส.ร.เพื่อจะได้นำรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ มาปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทของสังคมปัจจุบันและใช้งานได้ในอนาคต
แล้วกำหนดให้ชัดเจนว่าจะใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ เช่น กำหนดเวลา 180 วันในการปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ก่อนนำเสนอข้อมูลในวงกว้างและรับฟังความคิดเห็น กำหนดวันลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หากทำตามกระบวนการนี้น่าจะใช้เวลาไม่นาน ประชาชนจะได้เห็นทางออก
หากนายกฯ คิดแบบนี้แล้วรัฐบาลสามารถเดินหน้าทำให้เกิดกระบวนการขึ้นอย่างจริงจังได้ น่าจะช่วยลดอุณหภูมิที่กดดันรัฐบาลลงได้บ้าง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...