ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2683
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ดาว 12 นักษัตร

[คัดลอกลิงก์]

                “ระบบสุริยจักรวาล” และ “โลกของเรา” เป็นองค์ประกอบที่เล็กจิ๋วขนาดเชื้อไวรัสที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นรวมอยู่ภายในโครงสร้างของ “ระบบดาราจักรทางช้างเผือก” และยังมี “ดาราจักรเพื่อนบ้าน” ขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างอยู่อีกราว 30 ดาราจักร รวมเรียกว่า “กระจุกดาราจักรท้องถิ่น” (Local Group) ไกลออกไปจาก กระจุกดาราจักรท้องถิ่น ยังมีดาราจักรอื่นอีกมากมาย นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศขนาดใหญ่ส่องออกไปนอกขอบเขตดาราจักรทางช้างเผือก คาดหมายว่ามีดาราจักรอยู่ในจักรวาลประมาณ 8 หมื่นล้านดาราจักร จึงเรียกความกว้างใหญ่ไร้ขอบเขตของจักรวาลที่ประกอบด้วยดาราจักรทั้งหมดเสียใหม่ว่า “เอกภพ” (The Universal)
                แต่ไม่น่าแปลกใจอะไร เพราะว่านักดาราศาสตร์ในอดีตเกือบทุกชาติทุกภาษา แม้แต่นักปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ชาวกรีกที่โลกยกย่อง มีชื่อเสียงอยู่ในพุทธกาล เช่น ไพธากอรัส, อริสตาคัสแห่งซามอส, เอราโทสธีนีส, ฮิบปาร์คัส, อริสโตเติล จนกระทั่งถึงนักดาราศาสตร์ยุคสุดท้ายของกรีกได้แก่ “คลอดิอุส ปโตเลมี” ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ใน พ.ศ.687 เป็นผู้เขียนแผนที่การเดินเรือระหว่าง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มายังเมืองท่าอเล็กซานเดรีย ทางตอนใต้ของประเทศอียิปต์ ข้ามทะเลทรายซีไนลงสู่ทะเลแดง ผ่านประเทศอาหรับ อินเดีย แหลมทอง ไปสิ้นสุดการเดินทางที่ประเทศจีน ที่เรียกกันว่า “เส้นทางสายไหมทางทะเล” หรือว่าเป็นแผนที่โลกฉบับเก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวกรีกคนนี้ ได้รวบรวมวิชาความรู้ทางดาราศาสตร์ในอดีตไว้ ตำราดาราศาสตร์ชุดใหญ่มีจำนวน 13 เล่ม รวมเรียกชื่อว่าคัมภีร์ “แอลมาเกสท์” (Almagest) รวมทั้งนักดาราศาสตร์ชาติอื่นอีกมากมาย ก็ไม่เคยมีใครมีความรู้ในเรื่อง “ดาราจักรทางช้างเผือก” และ “ดาว 12 นักษัตร” มาก่อนเลย คงมีแต่โหราจารย์ชาวอินเดียใน “ยุคพระเวท” เท่านั้นที่กล่าวถึง “ระบบดาราจักรทางช้างเผือก” ที่ทอแสงระยิบระยับวับวาวยาวเหยียดไปในท้องฟ้า จนนักกวีโบราณกล่าวเปรียบเปรยอุปมาว่าดุจดัง “เชือกดาว” ที่ขึงพาดผ่านท้องฟ้าในยามค่ำคืน เฝ้าศึกษาสังเกตติดตามเรียนรู้จนกระทั่งค้นพบความลับแห่งห้วงเวหาว่า “ดาว 12 นักษัตร” เป็นกลุ่มดาวฤกษ์ที่รวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม ซึ่งนักดาราศาสตร์ยุคใหม่เรียกว่า “กระจุกดาราจักร” (Cluster) ตั้งอยู่ในห่างไกลกัน แต่อยู่รวมกันเป็น “กระจุกดาราจักรยวดยิ่ง” (Super Cluster) ซึ่งรวมอยู่ในโครงข่ายแห่งหนึ่งของ “ดาราจักรทางช้างเผือก”
                “ระบบสุริยจักรวาล” อันประกอบด้วยโลกของเราและดาวพระเคราะห์ทั้งหลาย ต้องโคจรจากกลุ่มดาวนักษัตรหนึ่งไปยังอีกกลุ่มดาวนักษัตรหนึ่ง ใช้เวลาเท่ากับโลกของเราโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบพอดี เรียกว่า 1 ปีนักษัตร เท่ากับ 365.25636042 วัน หรือในราว 365 วัน 6 ชั่วโมง 9 นาที 9.5 วินาที นักโหราศาสตร์เห็นว่า เวลาของปีนักษัตรจะค่อยๆเพิ่มขึ้นทุกปีในอัตรา 0.01 วินาที และเชื่อว่า “ดาว 12 นักษัตร” มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อ โลก ธรรมชาติ และมวลชีวิตทั้งหลายในโลก จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ สำหรับใช้ในการคิดคำนวณไว้ใน “คัมภีร์โชติยศาสตร์” และ “คัมภีร์สุริยาตร” ดังจะเห็นได้จากการกำหนดให้ “ดาวนักษัตร” เป็นดาวประจำปี “ปีนักษัตร”
            ประวัติพุทธศาสนาของจีนจดบันทึกว่า ภิกษุต่างชาติรูปหนึ่งมีชื่อว่า “พระกุมารชีพ” ได้นำพุทธศาสนาเข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีนมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 ชาวจีนส่วนใหญ่ได้หันไปนับถือพุทธศาสนามากขึ้น ภิกษุนักจาริกชาวจีนในยุคต่อมา เช่น หลวงจีนฟาเหียน, หลวงจีนถังซำจั๋ง, หลวงจีนอี้จิง ได้เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่ “มหาวิทยาลัยนาลันทา” ในประเทศอินเดีย จากบันทึกของ หลวงจีนอี้จิง ทำให้ทราบว่ามหาวิทยาลัยนาลันทามีการสั่งสอนวิชาดาราศาสตร์ โดยสร้างท้องฟ้าจำลองเหมือนดังโครงการที่แท้จริงของจักรวาล เพื่อให้นักศึกษาค้นคว้าจนสามารถคิดคำนวณการโคจรของดวงดาวได้ถูกต้องแม่นยำ สามารถสร้างปฏิทินทั้งในทาง “สุริยคติ” และ “จันทรคติ” ได้อย่างสมบูรณ์ หลวงจีนอี้จิง ได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระจักรพรรดิถังไทจง พระองค์ทรงโปรดให้ยึดถือเป็นปฏิทินของทางราชสำนัก มีหลักฐานว่า หลวงจีนอี้จิง ได้นำความรู้วิชาดาราศาสตร์เกี่ยวกับ “ดาว 12 นักษัตร” จากมหาวิทยาลัยนานลันทาไปเผยแพร่ในประเทศจีนมาตั้งแต่พุทธศักราชที่ 12 ทำให้ชาวจีนมีความรู้เกี่ยวกับ “ดาว 12 นักษัตร” นำไปใช้ในการพยากรณ์สืบมาจนถึงทุกวันนี้
                “ดาว 12 นักษัตร” เป็นกลุ่มดาวฤกษ์จำนวน 12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มตั้งอยู่ในระยะทางห่างกันประมาณ 1 ปีนักษัตร หรือ 365 วัน 6 ชั่วโมง 9 นาที 9.5 วินาที ด้วยความเร็วของดวงอาทิตย์ที่โคจรไปรอบศูนย์กลางของ ดาราจักรทางช้างเผือก ในอัตราเฉลี่ย ประมาณ 220 กิโลเมตร ต่อ 1 วินาที หรือในราว 13,200 กิโลเมตร ต่อ 1 ชั่วโมง เท่ากับความเร็วของโลกโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ กลุ่มดาว 12 นักษัตรแต่ละกลุ่มโหราจารย์ในอดีตจินตนาการมองเห็นเป็นรูปสัตว์ 12 ชนิด คล้ายกับสัตว์ที่มีอยู่ในโลก ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนกับกลุ่มดาวฤกษ์จำนวน 27 กลุ่ม ที่เรียงรายติดต่อกันไปในจักรราศี ซึ่งนักโหราศาสตร์ เรียกว่า “ฤกษ์บน” หรือ “นภดลฤกษ์” จินตนาการมองเห็นเป็น คน รูปสัตว์ รูปเครื่องมือ เครื่องใช้ของมนุษย์ ถือว่าเป็นกลุ่มดาวฤกษ์ประจำอยู่ในราศีต่างๆ 12 ราศี มองเห็นเหมือนดังว่าไม่เคลื่อนที่ไปไหนเลย นักดาราศาสตร์เรียกว่า “ดาวฤกษ์ประจำที่” (Fix Star) แต่ตามความเป็นจริงกลุ่มดาวฤกษ์ดังกล่าวนี้ เคลื่อนที่ไปตลอดเวลาอย่างเชื่องช้ามาก เพราะอยู่ห่างไกลจากโลกของเราเหลือเกิน จึงกำหนดให้เป็น “ดาวประจำเดือน” โดยขนานนามไปตามรูปสัญลักษณ์ของดาวฤกษ์นั้น เช่น กลุ่มดาวฤกษ์ที่มีรูปลักษณ์เหมือนปู เรียกว่า เดือนกรกฏาคม กลุ่มดาวฤกษ์ที่มีรูปลักษณ์คล้ายแมงป่อง เรียกว่า เดือนพฤศจิกายน กลุ่มดาวฤกษ์ที่มีรูปลักษณ์คล้ายมังกร เรียกว่า เดือนมกราคม ดังนี้เป็นต้น
                การโคจรของ “ดาว 12 นักษัตร” และ “ดาวพระเคราะห์” เคลื่อนที่ไปในจักรราศีผ่านกลุ่ม “ดาวฤกษ์ประจำที่” ในราศีต่างๆ 12 ราศี แตกต่างกัน คือ “ดาว 12 นักษัตร” โคจรไปแบบตามเข็มนาฬิกา หรือโคจรเวียนจากทางขวามือไปทางซ้ายมือ แต่ดาวพระเคราะห์โคจรไปในแบบทวนเข็มนาฬิกา คือโคจรจากทางซ้ายมือไปทางขวามือในแบบสวนทางกัน โหราจารย์จึงกำหนดให้ “ดาว 12 นักษัตร” สถิตในรูปวงกลมของจักรราศีซ้อนทับกัน “กลุ่มดาวฤกษ์ประจำเดือน” และ “ดาวพระเคราะห์ ดังนี้
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-8-29 15:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
1.      “นักษัตรชวด” เป็นรูปหนู สถิตใน “ราศีกรกฏ” ธาตุน้ำ เรือนเกษตรดาวจันทร์ เป็นรูปปู
2.    “นักษัตรฉลู” เป็นรูปวัว สถิตใน “ราศีมิถุนา” ธาตุลม เรือนเกษตรดาวพุธ เป็นรูปคนคู่ชายหญิง
3.     “นักษัตรขาล” เป็นรูปเสือ สถิตใน “ราศีพฤษภา” ธาตุดิน เรือนเกษตรดาวศุกร์ เป็นรูปวัว
4.     “นักษัตรเถาะ” เป็นรูปกระต่าย สถิตใน “ราศีเมษา” ธาตุไฟ เรือนเกษตรดาวอังคาร เป็นรูปแพะแกะ
5.     “นักษัตรมะโรง” เป็นรูปพระยานาค สถิตใน “ราศีมีนา” ธาตุน้ำ เรือนเกษตรดาวพฤหัสบดี เป็นรูปปลา
6.      “นักษัตรมะเส็ง” เป็นรูปงูเล็ก สถิตใน “ราศีกุมภา” ธาตุลม เรือนเกษตรดาวราหู เป็นรูปคนโทน้ำทิพย์
7.     “นักษัตรมะเมีย” เป็นรูปม้า สถิตใน “ราศีมังกร” ธาตุดิน เรือนเกษตรดาวเสาร์ เป็นรูปมังกร
8.     “นักษัตรมะแม” เป็นรูปแพะ สถิตใน “ราศีธนู” ธาตุไฟ เรือนเกษตรดาวพฤหัสบดี เป็นรูปคนยิงธนู
9.      “นักษัตรวอก” เป็นรูปลิง สถิตใน “ราศีพิจิก” ธาตุน้ำ เรือนเกษตรดาวอังคาร เป็นรูปลิง
10.  “นักษัตรระกา” เป็นรูปไก่ สถิตใน “ราศีตุลา” ธาตุลม เรือนเกษตรดาวศุกร์ เป็นรูปคันชั่ง
11.  “นักษัตรจอ” เป็นรูปสุนัข สถิตใน “ราศีกันยา” ธาตุดิน เรือนเกษตรดาวพุธ เป็นรูปหญิงงาม
12.“นักษัตรกุน” เป็นรูปสุกร สถิตใน “ราศีสิงหา” ธาตุไฟ เรือนเกษตรดาวอาทิตย์ เป็นรูปสิงโต
สาเหตุที่โหราจารย์ชาวอารยันค้นพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มดาวฤกษ์ “ดาว 12 นักษัตร” ซึ่งเป็น “ดาวประจำปี” และ “ดาวฤกษ์ประจำราศี” ซึ่งเป็น “ดาวประจำเดือน” สันนิษฐานว่ามาจาก ความพยายามเฝ้าติดตามศึกษาความเคลื่อนไหวของดวงดาวที่โคจรไปในท้องฟ้า ซึ่งเป็นรูปทรงกลม เรียกว่า “รูปทรงกลมฟ้า” หรือ “จักรราศี” โดยสังเกตจากการโคจรของ ดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่ไปประมาณวันละ 1 องศา คิดคำนวณเวลากลางวันได้ในราว 12 ชั่วโมง เวลากลางคืน 12 ชั่วโมง รวมเวลา 1 วันเป็น 24 ชั่วโมง จึงแบ่งวงกลมแห่งจักรราศีออกเป็น 12 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า “ราศี” โดยตั้งชื่อราศีไปตามลักษณะของรูปกลุ่มดาวฤกษ์ที่ปรากฏให้เห็นตามจินตนาการเป็น “กลุ่มดาวฤกษ์ประจำราศี” หรือ “ดาวฤกษ์ประจำเดือน” จำนวน 12 เดือน แต่เมื่อ ดวงอาทิตย์ โคจรไปได้ 360 องศา หรือ 1 รอบวงกลมแห่งจักรราศีแล้ว ปรากฏว่าเวลากลางวันและเวลากลางคืนยังไม่เท่ากัน คือเวลากลางวันอาจยาวเกินไป หรือเวลากลางคืนยังยาวเกินไป ต้องรอคอยให้วันเวลาล่วงไปกว่า 365 วันคือ ดวงอาทิตย์โคจรไปใน ราศีเมษายน ได้ประมาณ 13 องศา เวลากลางวันและเวลากลางคืนจะเท่ากันพอดี นับจากจุดที่วันเวลาในโลกเท่ากันพอดี “ฤดูกาล” ในโลกจะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลง เช่น จากจุด 0 องศาในราศีเมษ เป็นช่วงเริ่มต้น “ฤดูฝน” เวลากลางวันจะเริ่มสั้นลงไปเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน เวลากลางคืนจะยาวมากขึ้น จนกระทั่งดวงอาทิตย์โคจรไปได้ 15 องศา ในราศีตุลาคม เวลากลางวันและเวลากลางคืนจะเท่ากันพอดีอีกครั้งหนึ่ง เป็นช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ “ฤดูหนาว” เมื่อลากเส้นจากกึ่งกลางราศีเมษายนตรงไปยังกึ่งกลางราศีตุลาคม เป็นเส้นแบ่งครึ่งวงกลมในรูปแนวตั้ง เส้นผ่าศูนย์กลางนั้นจึงเป็นแกนกลางของวงกลมแห่งจักรราศี
                จึงทำให้รู้แน่นอนว่าดวงอาทิตย์โคจรไปในรูปวงรีเกินรัศมี 360 องศา จำต้องเป็น ขยาย “รูปวงกลมแห่งจักรราศี” ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงสอดคล้องกับการโคจรของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้น ณ. 0 องศา ในราศีเมษายน ไปสิ้นสุด 360 องศา ณ. 0 องศา ในราศีเมษายนดังเดิม โดยเพิ่มวันเวลาในบางราศีให้มากขึ้นเป็น 31 วันบ้าง ลดวันเวลาในบางราศีลงให้เหลือ 27 วันบ้าง 29 วันบ้าง เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปได้ 365.25636042 วัน ถือว่าเป็นวันที่ ดวงอาทิตย์โคจรไปได้ 1 รอบจักรราศี เรียกว่า “1 ปีสุริยาตร” จึงกำหนดให้จุดบรรจบที่ 0 องศาในราศีเมษายน ซึ่งเป็นวันครบรอบปีสุริยาตร เป็นจุดสำคัญในวันสิ้นสุดปีเก่าและเป็นจุดเริ่มต้นปีใหม่ โหราจารย์เรียกจุดสำคัญนั้นว่า “สงกรานต์” แปลว่า เวลาที่พระอาทิตย์ทอแสงขึ้นที่จุด 0 องศาในราศีเมษายน และกำลังจะโคจรผ่านจุดนั้นไป
                ตรงจุดบรรจบที่ 0 องศาในราศีเมษายนของทุกวันครบรอบปี คิดคำนวณการโคจรของดวงอาทิตย์นับได้ 365 วัน 6 ชั่วโมง 9 นาที 9.5 วินาที นอกจาเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ของธรรมชาติหลายประการดังกล่าวแล้ว ยังบังเกิดปรากฏการณ์อันน่าพิศวงขึ้นอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทุกครั้งที่เป็นวันเวลาสิ้นสุดปีเก่ากำลังจะเริ่มต้นปีใหม่นั้น ตรงกับการเปลี่ยนแปลงของ “ดาว 12 นักษัตร” จากดาวนักษัตรหนึ่งไปยังอีกดาวนักษัตรหนึ่งอย่างบังเอิญที่สุดทุกครั้ง โหราจารย์จึงกำหนดให้นับการโคจรของดวงอาทิตย์ที่โคจรครบรอบจักรราศี หรือ “1 ปีสุริยาตร” ว่าเป็น “1 ปีนักษัตร” ด้วยเหตุนี้ “ดาว 12 นักษัตร” จึงกลายเป็น “นามปี” ซึ่งมีอยู่แต่เฉพาะในวิชาโหราศาสตร์ไทยเรียกกันว่า “ปีนักษัตร”
พลตำรวจโท สรรเพชญ ธรรมาธิกุล
(สรรเพชญ ธรรมาธิกุล)
4 มิถุนายน 2551
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้