..หลังจากที่ท่านมหาพลาสูรดับสังขารลงแล้ว ปรากฏว่าส่วนต่างๆของร่างกายท่านได้ แปรสภาพเป็นรัตนชาติต่างๆเพื่อความเป็นมงคลแก่โลกโดยเทพยดาทั้งหลายได้อัญเชิญ ไปสถิตในดินแดนต่างๆเช่นนิลไปประดิษฐานในประเทศสิงหล (ประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน) นัยน์ตาข้างขวาบังเกิดเป็นแก้วไพทูรย์ประดิษฐานไว้ในเขตเมืองพิรุญนคร เป็นต้น ในตอนที่ท่านมหาพลาสูร สิ้นชีพนั้นได้มีพญานาคชื่อ พาสุกินนาคราช ผุดขึ้นจากนาคพิภพเพื่อสูบโลหิตของท่านมหาพลาสูรเป็นมังสาหาร ต่อมาพาส ุกินนาคราชถูกพญาครุฑพากินถึงเมืองตรุษดาษเมื่อพญานาคจะสิ้นชิวิต ได้สำรอกโลหิต กลายเป็น รัตนชาติชื่อนากสวาดิ และ มรกต (มรกฏ) ส่วนน้ำลายที่สำรอกออกกลายเป็น ครุทธิการ รวมเป็นสามชนิดซึ่ง ที่ท่านหลวงนรินทราภรณ์(ชู) ได้บรรยายไว้อย่างสละสลวยด้วยเชิงวรรณกรรมลิลิตกำเนิดเนาวรัตน์ไว้ดังนี้
ร่าย |
อังคตเธอเทียรแถลง | บรรจงแจงเจียรจัด |
ดำหรับรัตนในเรื่อง | แนะนำเนื่องเนาวรา |
มาแต่มหาปฐมกัปป์ | สำหรับราชประยูร |
หวังนุกูลสัตว์โลกย์ | โดยยุติโยคเพ็ญญาณ |
มีอนุสารสุนทรสาสน์ | ปางอศิรราชอสุรินทร์ |
ดับกสิณสิ้นชีพิตร | มีมหิทธิอุรคพ |
เข้าสู่ศพสูบเลือด | ดื่มดูดเดีอดแห้งหาย |
แล้วลาศผายเลื่อนเลื้อย | เร็วเรื่อยเรื้อยโดยสดอก |
ไปสำรอกราบเรือง | ประเทศเมืองตรุษดาษ |
เปนนากสวาติทั้งผอง | เคารพสองมรกฏ |
เขฬะหยดครุทธิการ | ครบเอาวสานสิ้นสุด |
นาคม้วยมุดวายชนม์ | ในสิงหฬประเทศ |
เพื่อผลเหตุโลหิต | อสุรต้องติดพิศม์โสรมศรี |
เขียวขจีพรายเพริศ | กำเนิดรัตนาสาม |
มีพรรณงามเงื่อนเเต้ม | ควรคู่ขวัญเนตรแย้ม |
อย่างไว้คุงวัน | นี้นา ฯ |
(อักขระวิธีโบราณ) |
จะเห็นได้ว่าท่านหลวงนรินทราภรณ์ (ชู)นั้นเป็นกวีชั้นเยี่ยมยอดท่านหนึ่งในสมัยนั้น วรรณกรรม ลิลิตกำเนิดเนาวรัตน์หรือลิลิตนพรัตน์ที่ท่านแต่งนั้นมีสำนวนคำประพันธ์ ที่ไพเราะสละสลวยไม่แพ้กวีใดใดเลยแสดงว่าท่านผู้นี้นอกจากเป็นช่างทองหลวง ผู้มีฝีมือเเล้วยังคงเป็นผู้คงแก่เรียนซ้ำยังเชี่ยวชาญอักษรศาสตร์เป็นอย่างดีด้วย เรื่องที่ท่านพรรณนานั้นถึงแม้เป็นเพียงตำนานก็จริงแต่ตัวแก้วต่างๆที่ท่านบรรยาย ไว้นั้นเป็นของที่ชาวสยามโบราณเชื่อถือและแสวงหามาเป็นเครื่อง ประดับเพื่อความเป็นสิริมงคลมาช้านาน ตามที่ได้เผยแพร่เรื่องราวไปในฉบับที่แล้ว มีผู้พยามยามสอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องแก้วรัตนะของไทย โดยพยายามนำไปเทียบเคียงกับการเล่นหารัตนชาติในปัจจุบันที่อ้างอิงข้อมูลกับต่างประเทศ จึงขอชี้แจงอีกครั้งว่าเป็นคนละเรื่องกันอย่านำมาคิดเป็นเรื่องเดียวกันเพราะอาจจะสับสน ควรทราบว่าคนโบราณท่านดูลักษณะแก้วด้วยผิวพรรณ วรรณะ และคุณสมบัติบาง ประการเป็นคนละวิธีกันกับปัจจุบันที่ใช้วิธีนำไปเปรียบเทียบกับรัตนะ ชาติที่มาจากต่างประเทศแล้วเอาของเขาเป็นหลัก เอาของเราไปเทียบเรื่องถึงได้อลวนวุ่นวาย การเขียนบทความนี้คือขอ ให้คิดอย่างชาวสยามมิใช่เดินตามชาติอื่นแต่ถ่ายเดียว อย่าให้คุณค่าผู้อื่นจนเกินไป ของเขาดีก็รับไว้ใช้ประโยชน์ได้แต่ไม่ควรทิ้งของ ของเราที่ดีดีซึ่งก็มีอีกหลายประการแบบสมุนไพรไทยหลายชนิดยกตัวอย่างเช่น “หัวบุก” พืชสมุนไพรที่ใช้ลดความอ้วนอย่างมีประสิทธิภาพดีเยี่ยมที่ถูกต่างชาตินำ ไปจดทะเบียนเป็นลิขสิทธิ์ของเขาอย่างน่าเสียดายที่คนไทยเราเองไม่รักษา ให้เป็นมรดกของชาติเข้าทำนอง “ใกล้เกลือ กินด่าง”
จากเนื้อความของลิลิตที่ยกมาอ้างอิง จะเห็นได้ชัดเจนว่า รัตนะชาติไทยเรามีความเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับนาคราชนั้นมีถึงสามประการ โดยจัดนากสวาดิไว้แยกประเภทจาก “มรกต”(มรกฏ) โดยชัดเจน(ซึ่งจะกล่าวเปรียบเทียบต่อไป)ทั้งนี้จากการ ค้นคว้าและสอบถามผู้รู้หลายท่านก็ยังมีมติบางประการไม่ตรงกันเพราะ บางท่านจัดมรกตที่มีสีเหมือนน้ำแตงกวา เป็นรัตนะชาติที่เรียกว่า นากสวาดิ ซึ่งจะขัดกับเนื้อความลิลิตอย่างเห็นได้ชัดเจน ที่ว่า “ กำเนิดรัตนสาม มีพรรณงามเงื่อนแต้ม” จึงขอจำแนกรัตนะชาติทั้งสามตามตำราดังนี้