ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5357
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

มอม สัตว์หิมพานต์ที่บอกเล่าความเป็นไทย

[คัดลอกลิงก์]
มนุษย์มีคุณสมบัติที่พิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ “จินตนาการ” มีคนเคยกล่าวว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความคิด” แต่สำหรับผมเชื่อว่าทั้งจินตนาการและความคิดล้วนต่อยอดและมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำอย่างไหนมาใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์หรือบริบทของสังคมในขณะนั้น
ซึ่งการที่มนุษย์มีความสามารถด้านจินตนาการนี้เองทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ผลงานทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
มอม คือรูปประติมากรรมของสัตว์ประเภทหนึ่ง ถือว่าเป็นรูปธรรมที่สะท้อนออกมาจากนามธรรมคือความเชื่อ ความศรัทธา
ตามความหมายของ “พจนานุกรมล้านนา ฉบับแม่ฟ้าหลวง” ได้ให้ความหมายไว้ว่า มอมคือรูปสัตว์ครึ่งลิงครึ่งเสือ มีแขนยาว ตัวดำ บางทีก็ว่าคล้ายสุนัขปักกิ่ง บางแห่งก็แปลว่าเสือดำ
หรือถ้าจะว่ากันตามคติความเชื่อของคนภายอีสานก็อธิบายความว่า ส่วนใหญ่แล้วมอมน่าจะเป็นสัตว์ครึ่งสิงห์ครึ่งลิงมากกว่า เพราะมอมได้ถูกกล่าวไว้คู่กับสิงห์ ดังที่มีบันทึกไว้ใน “โครงท้าวฮุ่งขนเจือง
“แต่นั้นท้าวคาดผ้า ผืนดาย ดอกเครือ
ของแพงมวลแม่เมือง  ประสงค์ให้
ลายเจือเกี้ยวสิงห์มอม  เมียงม่าน
ทรงอยู่เค้าดูเข้ม  ทบเหลียว..”
ในขณะที่ “วิกิพีเดีย” ก็ได้ให้ความหมายที่ยังคงรอความสมบูรณ์เพิ่มเติมว่า มอมเป็นสัตว์ในตำนานที่มีรูปร่างคล้ายแมวผสมสิงโต มอมเป็นพาหนะของเทพปัชชุนนะเทวบุตร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งฝนตามคติความเชื่อของคนล้านนา เราสามารถพบเห็นมอมได้ตามบันไดวัดหรือตามศาสนสถานทางแถบล้านนา
จากการให้คำอธิบายความของหลายๆที่ ทำให้เราเห็นถึงความแตกต่างด้านความคิดและขัดกันในด้านความรู้สึก
กล่าวคือในภาคอีสานถึงบทบาทของมอมจะมีไม่มากแต่กับคำพูดที่ว่า “สิงห์มอม” กับมามีบทบาทในด้านเป็น “ชื่อเรียก” ที่คนทั่วไปรู้สึกคุ้นเคย แต่เมื่อเราย้อนมาดูที่แผ่นดินล้านนาซึ่งเน้นให้ความสำคัญกับมอม พร้อมกับอธิบายลักษณะว่า มอมเป็นสัตว์ครึ่งเสือครึ่งลิง แต่ก็ไม่เรียก “เสือมอม” กลับเรียกว่า “มอม” หรือ “สิงห์มอม” และถ้าเราไล่ลงมายังภาคกลางจรดภาคตะวันออก การหาคนที่จะเข้าใจว่ามอมคืออะไรค่อนข้างจะลำบาก ยิ่งภาคใต้แล้วไม่ต้องพูดถึงเลยครับแทบจะไม่ใช่ดินแดนอิทธิพลของมอมเอาเสียเลย....


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-4 19:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
บางทีนะครับเรื่องของค่านิยมหรือทัศนคติมันก็สามารถนำมาวัด”ความเป็นอัตลักษณ์”ของคนในพื้นที่ได้
ดังนั้นในเรื่องของการพ้องกันในด้านลักษณะหรือชื่อเรียก มันจึงไม่สามารถอธิบายความทางด้านวิชาการได้ชัดเจนนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่ควรด่วนวินิจฉัยเรื่องที่ยังคงเป็นสีเทาๆแบบนี้   
แต่เชื่อไหมครับว่าความเป็นคนไทย  วัฒนธรรมไทย มันมีจุดที่ทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกันหรือสามารถอธิบายในเรื่องที่ยากๆให้เข้าใจได้อย่างไม่ต้องมานั่งโต้เถียงกัน จุดที่ผมพูดถึงนี้เราเรียกกันว่า “ความเชื่อ ความศรัทธา
คนไทยโดยส่วนมากมักจะเคยผ่านหูกับคำว่า “ไตรภูมิพระร่วง” หรือ “ป่าหิมพานต์” ทั้งสองคำนี้ล้วนนำมาซึ่งจินตนาการในการสร้างประติมากรรมโดยเฉพาะประติมากรรมรูปสัตว์
กล่าวคือสัตว์ที่มนุษย์นำมาสร้างเป็นรูปเหมือนนั้นจะมีทั้งสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริงและสัตว์ที่ไม่มีตัวตนอยู่เลย   
จะว่าไปแล้วผมคิดว่าคนไทยฉลาดในการจัดกลุ่ม หากว่าเป็นสัตว์ที่มีตัวตนอยู่จริงก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่มีตัวตนอยู่จริงระบบความเชื่อและคตินิยมของคนไทยจะนำเอาสัตว์เหล่านี้ไปรวมอยู่ในป่าหิมพานต์
ซึ่งป่าหิมพานต์ตามความเชื่อคือที่อยู่อาศัยของบรรดาสัตว์ลูกผสม เช่น บัณฑุราชสีห์ ไกรสรนาคา มอม ฯลฯ หากว่าเป็นคน ก็จะเป็นคนจำพวกที่มีฤทธิ์ มีเดช มีคาถาอาคมเหนือมนุษย์ปกติ เช่นพวกคนธรรพ์ นักสิทธิวิทยา ฯลฯ
เราอาจอธิบายความได้ง่ายๆว่า พวกที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์คือ  
พวกที่สวรรค์อยู่ไม่ไกลแต่ก็ยังไปไม่ถึง ครั้นจะลงมาอยู่ในโลกมนุษย์ก็ดูจะไม่สมศักดิ์ศรีเอาเสียเลย”   
ดังนั้นไม่ว่าคนหรือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์จึงอยู่ในอารมณ์ที่สามารถสร้างทั้งบุญและบาปได้ตลอดเวลา
จะว่าไปแล้วในเรื่องของความเชื่อ ความศรัทธานี่แหละครับทำให้เราต้องชมเชยภูมิความรู้ของคนในยุคโบราณที่สามารถนำเอาความเชื่อ ความศรัทธามาผูกเข้ากับรูปสัตว์เพื่อให้เกิดผลทางด้านจิตใจ...
และด้วยเหตุที่มอมเป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ ที่มีรูปลักษณ์องอาจผึ่งผายราวราชสีห์ แข็งแกร่งดังเสือ นิ่มนวลเหมือนแมวและแคล้วคล่องว่องไวดุจลิง......
มอม”จึงถูกนำขึ้นมาผูกเข้ากับอักขระเลขยันต์เพื่อให้ส่งผลด้านคงกระพัน มหาอำนาจ และตามที่ผมได้อธิบายไปข้างต้นว่าดินแดนล้านนาคือเขตอิทธิพลของมอม ดังนั้นจึงไม่แปลกว่ารอยสักยันต์รูปมอม จึงกระจุกอยู่เฉพาะในเขตภาคเหนือตอนบนและกระจายอยู่ในกลุ่มคนล้านนา รวมไปถึงชนชาวไทยบางกลุ่มเท่านั้น.....
ว่ากันว่าด้วยความที่มอมเป็นสัตว์ที่มีอำนาจมาก ทำให้มอมมีความหยิ่งลำพอง ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ไม่ดีเหล่านี้จึงฉุดให้มอมไม่สามารถบรรลุธรรมก้าวสู่ความหลุดพ้น
คนล้านนาจึงได้นำเอารูปประติมากรรมมอม มาตั้งไว้บริเวณทางขึ้นหรือทางเข้าโบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสติให้คนเรามีจิตสำนึกลดความมีอคติและมุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อให้ตนเองหลุดพ้น ตามหลักของพระพุทธศาสนา...
สุระณันตุ  โภนโต  ปัชชุนนะเทโว
ข้าแต่เทพไธ้  ตนเปนใหญ่แก่เทวา
เป็นเจ้าแก่เฆมะธาราฟากฟ้า
กาละบัดนี้ก็เปนระดูวัสสา  อันควรมีน้ำฟ้าสายฝน
หยาดตกจากบนสู่ลุ่มใต้ ชุ่มเย็นแก่มวลหมู่ไม้รุกขา
บัดนี้นาก็ยังว่าไป่เปนดั่งอั้น  โขงชมพูนั้นก็ขาดกลั้นสายฝน
น้ำจากพายบนบ่ตกลุ่มใต้….....ฯลฯ
ว่ากันว่าเมื่อถึงฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ชาวนาจะเริ่มทำนา หากฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวล้านนาจะมีคติความเชื่อในเรื่องของการบวงสรวงเทพเจ้าที่ชื่อว่า “ปัชชุนเทวบุตร” ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งฟ้าฝน สถิต ณ สรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทรง “มอม” เป็นสัตว์พาหนะ
ปัชชุนนะ แปลว่า “เมฆฝน” ผู้ที่ครองเมฆ ก็คือผู้ที่ครองฝน ด้วยฝนเกิดจากเมฆ ทำให้เทพปัชชุนนะ มีบทบาทสำคัญในการร้องขอฝน เมื่อบ้านเมืองขาดน้ำฟ้าในการทำนา
แม้แต่พระพุทธเจ้าในกาลเสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อน ก็ยังได้ร้องขอฝนต่อเทพปัชชุนนะ
ปัชชุนนเทพ ท่านจงคำรณคำรามให้ฝนตกมา
ทำลายขุมทรัพย์ของฝูงกา ทำฝูงกาให้ได้รับความเศร้าโศก
และช่วยปลดเปลื้องข้าพเจ้าและหมู่ญาติ ให้พ้นจากความเศร้าโศกเถิด....
ด้วยความไม่แน่นอนใจว่า”ข้าว” จะได้ผลดีหรือไม่ อำนาจลึกลับและความเชื่อที่จะช่วยบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ จึงถูกตอบสนองผ่านพิธีกรรมแห่งท้องทุ่ง...
สาธุการ ยกมือหว่านไหว้ พุทะเทพไท้ต๋นสัพพัญญู
ชุมหมู่ข้าตู่ตกแต่งแป๋งสร้าง บอกไฟขึ้นก๊างจิเป็นบูชา
หื้อหันกับต๋า ขึ้นปล๋อมเมฆฟ้า
บ่าวสาวแหวนหน้า ต๋าปอมือบัว
เสียงไหว้ดังรัว ปานดอยจะปิ๊น
ฮ้าวสาวท่าวดิ้นสลบไสล ยอดสายใจ๋ ฝอด้วยเน้อเจ้า....
หากแม้ใกล้ฤดูกาลทำนายามใด ลำนำบทสวดที่ถือปฏิบัติทุกปี ก็หวนกลับดังก้องทุ่งนาเพื่ออ้อนวอนขอน้ำฟ้าอีกครั้งหนึ่ง
สิ่งสำคัญในการทำนาที่ชาวนานึกถึงคือ “น้ำ” กล่าวคือเมื่อใกล้ฤดูทำนาหนใด หากท้องฟ้ายังไร้ฝน ชาวบ้านจะเริ่มบอกกล่าวขอฝนกับอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของ “ปัชชุนเทวบุตร” ผ่านทาง “มอม” เพื่อเป็นการย้ำถึงความมั่นใจว่าการบอกกล่าวครั้งนี้ปัชชุนเทวบุตรต้องได้รับแน่
พิธีกรรมในการขอฝนจากมอม เริ่มจากชาวบ้านจะแห่มอมไปตามท้องถนน ระหว่างทางที่แห่มอม ชาวบ้านข้างทางจะร่วมประพรมน้ำให้กับมอมและคนที่ร่วมในพิธี
ด้วยความเชื่อที่ว่าหากพวกเขาเซ่นไหว้มอมแล้ว มอมจะนำความเดือดร้อนของชาวบ้านไปบอกกล่าวแก่ “ปัชชุนนะเทวบุตร” เพื่อบันดาลให้ฝนฟ้าตกลงมาให้ความชุ่มฉ่ำแก่ชาวบ้าน
ถึงเรื่องเล่าข้างต้นจะไม่ใช่เรื่องราวทั้งหมดของมอม แต่ผมก็เชื่อว่าเรื่องราวบางส่วนเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจในตัวตนของมอมมากขึ้น ถึงแม้บางคนจะว่ามอมเป็นสัตว์ในจินตนาการ แต่ก็ยังไม่มีใครออกมายืนยันว่าสัตว์ในจินตนาการจะไม่ได้มีอยู่ในโลกนี้จริงๆ
อย่าลืมนะครับว่ายังมีอะไรอีกหลายอย่างในโลกที่ไม่แบนใบนี้ที่เรายังไม่รู้ สัตว์อีกหลายพันธุ์ หลายประเภทที่รอการค้นพบ แน่นอนครับทุกอย่างคงต้องรอการพิสูจน์
แต่ไม่ว่ามอมจะมีจริงหรือไม่มีจริง ผลจากการมีมอมขึ้นมาได้ก่อให้เกิดเรื่องจริงขึ้นสองประการคือ หนึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความเป็นคนไทยและวัฒนธรรมไทย สองคือเป็นการบอกเล่าว่าคนไทยมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน สวัสดีครับ.....
ขอขอบคุณ
เอกสารอ้างอิง – หนังสือ “ข้าวบนแผ่นดินกลายเป็นอื่น” โดยเมียงซอ คีรีมัญจา,ปกรณ์ คงสวัสดิ์
ภาพมอม – จากเวปไซด์หลายๆแห่ง คุณพรชนก สุขพงษ์ไทย กับข้อมูล เพื่อนต่อกับคำแนะนำ และคุณสมบูรณ์ ร้านนายอ้อ สระบุรี สำหรับกำลังใจ

สงสัยต้องไป ป่าหิมพานต์บ้างแล้ว
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-7-4 21:30 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
AUD ตอบกลับเมื่อ 2013-7-4 21:23
สงสัยต้องไป ป่าหิมพานต์บ้างแล้ว  ...

ผมว่าพี่ไม่ไปดูพวกสัตว์พวกนี้หรอก

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
oustayutt ตอบกลับเมื่อ 2013-7-4 21:30
ผมว่าพี่ไม่ไปดูพวกสัตว์พวกนี้หรอก ...

มัคนารีผล ???
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้