ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4751
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ประกาศใช้แล้ว! ก.ม.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ทำซ้ำ ดัดแปลง เพื่อการค้าโทษหนัก

[คัดลอกลิงก์]

ประกาศใช้แล้ว! ก.ม.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ทำซ้ำ ดัดแปลง เพื่อการค้าโทษหนัก

วันนี้ (4 ส.ค. 2558) พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558 บังคับใช้อย่างเป็นทางการวันแรก หลังจากที่เหล่าผู้สร้างสรรค์ผลงานรอคอยกันมานาน โดย พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับใหม่นี้ มีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ผลงานทุกประเภทที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต พร้อมทั้งยังสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันที่มีอัตราการใช้งานสูงขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกัน ก็มีผู้ที่แสวงหาประโยชน์จากผลงานเหล่านั้นไม่น้อยทีเดียว
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงขอต่อสายตรงไปยังบุคคลผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายคอมพิวเตอร์เรียกได้ว่าเป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย เพื่อพูดคุยถึงเรื่อง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่นี้ ว่ามีข้อควรระวังในการแชต การแชร์ บนโซเชียลมีเดียอย่างไรบ้าง
                 จะใช้ภาพจากอินสตราแกรม ก็ต้องมีชื่อเจ้าของรูปด้วย‘มาอย่างไร ไปอย่างนั้น’ นักกฎหมาย ยัน แชต-แชร์ได้ปกติ ห้ามแก้ไขหรือลบเครดิตออก !
อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมาย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ เปิดเผยกับทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ว่า กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่จะเพิ่มเพียง 2 ข้อ คือ 1. ห้ามใช้เทคโนโลยีในการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการไปแคร็กรหัสอะไรต่างๆ 2. ถ้ามีข้อมูลแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น จะต้องคงไว้เหมือนเดิมห้ามไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่จะดีกว่าฉบับเก่า คือ เพิ่มมาตรการทางด้านการกระทำละเมิดทางเทคโนโลยีว่าสามารถจับกุมได้ บล็อก ปิด ได้ ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น
สำหรับข้อควรระวังเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ การแชต การแชร์ หรือการใช้งานผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ สามารถทำได้ตามปกติไม่มีปัญหา เพียงแต่มีเรื่องต้องระมัดระวังเพิ่มเติมคือเรื่องของข้อมูลบริหารสิทธิ์ ข้อมูลที่แสดงแหล่งที่มาหรือแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างเช่น ชื่ออินสตาแกรม ชื่อผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อผู้อัพโหลดคลิปวิดีโอ หรือกรณีที่ภาพนั้นมีลายน้ำและเครดิตภาพอยู่นั้น ห้ามลบหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยเด็ดขาด เพราะหากลบหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลพวกนั้น จะมีความผิดตามกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ทันที
                 อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์                  ต้องมีชื่อผู้ใช้เป็นเจ้าของภาพนี้ด้วยอ.ไพบูลย์ กังวล ข้อมูลบริหารสิทธิ์ โทษหนัก คุกสูงสุด 2 ปี
อ.ไพบูลย์ ระบุว่า สิ่งที่น่ากังวลสำหรับกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ คือ ข้อมูลบริหารสิทธิ์ เนื่องจากมีโทษค่อนข้างสูง ขณะที่ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเยอะ บางครั้งผู้ใช้ทั่วไปไม่ได้เจตนาที่จะไปลบหรือแก้ไขงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน รวมทั้งการที่มีโทษในอัตราที่สูงก็จะเป็นปัญหากับตัวผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปได้ จึงเป็นข้อที่น่าวิตกกังวลที่สุดในกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องเหล่านี้สามารถยอมความได้ แต่จะต้องดูเป็นกรณีๆ ไป
สำหรับบทกำหนดโทษถ้าเป็นกรณีที่ไม่ได้ใช้เพื่อการค้า มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท และหากกระทำเพื่อการค้า จะมีโทษปรับตั้งแต่ 50,000-400,000 บาท หรือจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
“ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้ง และไม่ควรไปลบหรือแก้ไข เปลี่ยนแปลงอะไรที่มีอยู่เดิมก็จะไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ส่วนข้อกฎหมายอื่นไม่มีอะไรน่ากังวลเป็นไปตามกฎหมายฉบับเก่าที่มีอยู่แล้ว” นักกฎหมายคอมพิวเตอร์ผู้มากประสบการณ์ กล่าว
                 แคปมาทั้งหมด โดยห้ามลบชื่อผู้อัพโหลดข้อมูลออก                 ใช้เพื่อการศึกษา หรือส่วนตัวย่อมทำได้ ถ้าไม่ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์เสียหาย!ไขข้อคาใจ ทำเพื่อการค้า VS ไม่ได้ทำเพื่อการค้า ?
น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไขความกระจ่างในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ว่า ถ้าทำเพื่อเกิดประโยชน์ต่อผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเอาไปใช้เพื่อหารายได้นั้น หรือทำให้มีผลเสียต่อเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นผิดกฎหมายแน่นอน โดย น.อ.สมศักดิ์ อธิบายต่อว่า
ทำเพื่อการค้า คือ แสวงหาประโยชน์จากผลงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น โหลดเพลงอัดแผ่นขาย, โหลดรูปภาพเพื่อทำปฏิทินขาย, นำเพลงไปจัดคอนเสิร์ตเก็บเงินเพื่อเข้าชม
ไม่ได้ทำเพื่อการค้า คือ ไม่ได้แสวงหาประโยชน์จากผลงานอันมีลิขสิทธิ์ การนำผลงานอันมีลิขสิทธิ์ไปใช้ส่วนตัวหรือใช้เพื่อการศึกษา เช่น โหลดรูปเป็นภาพพื้นหลังในโทรศัพท์มือถือ, โพสต์ให้เพื่อนในอินเทอร์เน็ต
ก๊อบปี้รูปมาใช้แสวงหาประโยชน์ แต่ไม่ได้ลบชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ผิดหรือไม่ ?
แหล่งข่าวจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา (ไม่ขอเปิดเผยชื่อ) ขอตอบแทนว่า เข้าข่ายทำซ้ำ ผิดเช่นกัน ถึงแม้ไม่ได้ลบชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตาม ถือว่าไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของรูปที่ถ่ายมาด้วยความตั้งใจ และนำผลงานอันมีลิขสิทธิ์ไปใช้เพื่อการค้า
                 นำข้อมูลมาใช้เพื่อการค้า โดยไม่ขออนุญาต แต่ให้เครดิต ก็ผิดก.ม.                 แชต แชร์ ได้ตามปกติ แต่ต้องระวังอย่าดัดแปลงข้อมูลลิขสิทธิ์ใส่ ‘ขอบคุณ-ที่มา’ ให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ยังทำเพื่อการค้าผิดหรือไม่ ?
ขอบเขตการใส่เครดิตทำได้ในระดับไหนนั้น   แหล่งข่าวระดับสูงของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า จะต้องดูวัตถุประสงค์ว่าจะนำไปใช้เพื่ออะไร หากนำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ใส่แค่ชื่อที่มาก็คงไม่มีปัญหาอะไร
นอกจากนี้ ลิขสิทธิ์เป็นเรื่องของเจ้าของสิทธิ์ ในกรณีนี้เป็นสิทธิ์ทางเศรษฐกิจ คือ ขาดทุนตัวเงินและโอกาสที่จะได้ขายก็ไม่ได้ขาย ยกตัวอย่างเช่น ถ่ายรูปมาสวยมากกว่าจะถ่ายได้ขนาดนี้ จากนั้นก็อัพรูปลงเฟซบุ๊กโชว์เพื่อนๆ แต่มีคนมาก๊อบปี้รูปไปโดยให้เครดิตว่านาย ก เป็นคนถ่าย พร้อมทั้งขายรูปๆ นี้ด้วย นาย ก จะรู้สึกดีไหมที่เขาให้เครดิตและเขาก็ได้เงินจากภาพของตัวเอง นาย ก ก็ต้องไปห้ามไม่ให้เขาขายรูปเพราะเป็นรูปของนาย ก ฉะนั้น การใส่คำว่า ขอบคุณ หรือที่มา รวมถึงลิงก์ของเจ้าของภาพนั้นอาจจะไม่เพียงพอ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนว่าจะนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
                 ปัจจุบันพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีอัตราการใช้งานสูง                 ขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนจะปลอดภัยที่สุดศาลสั่ง แจ้งไอซีที บล็อก ปิดเว็บไซต์ !
แหล่งข่าวจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ชี้แจงต่อว่า การบล็อกหรือปิดเว็บไซต์นั้น กระทรวงไอซีที จะดำเนินการตามคำสั่งศาล ฉะนั้น ศาลต้องเป็นผู้สั่งว่าการละเมิดลิขสิทธิ์นี้ผิด และจึงจะแจ้งกระทรวงไอซีทีให้ปิดหรือบล็อกเว็บไซต์นั้นได้ในส่วนของกรณีละเมิดลิขสิทธิ์
หากเป็นเช่นนั้น จะกระทบการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนหรือไม่นั้น ผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ระบุว่า “สื่อก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปละเมิดลิขสิทธิ์ของคนอื่น ทุกคนเป็นประชาชน ทุกธุรกิจเป็นนิติบุคคลที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไม่มีอำนาจพิเศษอะไรทั้งสิ้น ในขณะเดียวกัน สื่อก็เป็นเจ้าของภาพ หากถูกผู้ไม่ประสงค์ดีดึงภาพของสื่อไปก็ต้องโกรธเป็นธรรมดา”
กฎหมายฉบับใหม่ บทกำหนดโทษสูงสุด 2 ปี แรงเกินไปหรือไม่ แหล่งข่าวจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตอบกลับมาว่า ต้องถามเจ้าของสิทธิ์ว่าถ้าเป็นการทำลายอนาคตของผู้เขียนหนังสือ ช่างภาพ นักร้อง นักแสดง นักแต่งเพลง บทกำหนดโทษ 2 ปี เพียงพอสำหรับคนเหล่านี้หรือไม่เท่านั้นเอง.

* ข้อมูลการบริหารสิทธิ์ หมายความว่า ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลขหรือรหัส แทนข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง

http://www.thairath.co.th/content/515912



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-8-4 06:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รูปภาพ หลวงปู่ชื่น หลากหลายกิริยาบถ

ที่เป็นผลงานการถ่ายภาพของอาจารย์ศรายุทธ

มีลิขสิทธิ์คุ้มครองแล้วนะครับ

ท่านที่แอบอ้างนำไปใช้โดยวิสาสะ ระวังกันด้วยนะครับ



ปล. มีหลักฐานภาพถ่ายเป็นฟิล์มตันฉบับบ
อืม พวกบอกบ้านใกล้วัด พบหลวงปู่บ่อย แต่เอารูปเหล่านี้ไปลง คิดเอาๆ
ยกมาทั้งหมดยังต้องลงเครดิตด้ารท้ายด้วยหรือครับ ...
ขอบคุณที่อธิบาย

ดีแท้
รามเทพ ตอบกลับเมื่อ 2015-8-4 06:49
รูปภาพ หลวงปู่ชื่น หลากหลายกิริยาบถ

ที่เป็นผลงานการ ...

ขอแนะนำว่า หากมีฟิล์มเก่าที่มีความสำคัญ ควรจะนำฟิล์มไป scan ให้เป็น digital ด้วยครับ
ร้าน digital world เพราะการ scan จากเครื่อง scanner เล็กๆ ใช้ตามบ้าน ความละเอียด
ความสวยงามที่ได้จะสวยไม่เท่าเครื่อง scan ตัวใหญ่จากเครื่องปริ๊นท์รูป  การ scan จะคิดเป็นม้วน
ขนาด pixel ธรรมดา และ pixel สูง
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-8-10 08:32 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
yanyong_ykm ตอบกลับเมื่อ 2015-8-6 19:10
ขอแนะนำว่า หากมีฟิล์มเก่าที่มีความสำคัญ ควรจะนำฟิล ...

ครับเดี๋ยวจะนำเสนอให้อาจารย์พิจารณาครับ
รูปภาพ หลวงปู่ชื่น หลากหลายกิริยาบถ

ที่เป็นผลงานการถ่ายภาพของอาจารย์ศรายุทธ

มีลิขสิทธิ์คุ้มครองแล้วนะครับ

ท่านที่แอบอ้างนำไปใช้โดยวิสาสะ ระวังกันด้วยนะครับ


ปล. มีหลักฐานภาพถ่ายเป็นฟิล์มตันฉบับบ
พวกนี้ไม่รู้ความซะแล้ว เห็นในหลายห้องพระเครื่องใน FB เลย
จะ‘โลกจริง’หรือ‘ออนไลน์’ ‘กร่าง-เกรียน’…ระวัง‘คุก’!

ว่ากันว่าสังคมสมัยนี้ “อยู่ยาก” เพราะมองไปทางไหนเจอแต่ “ความรุนแรง” เห็นได้จากข่าวสารตามสื่อต่างๆ เดี๋ยวก็ “ฆ่า” และทำร้ายกันด้วยสารพัดเหตุผลแห่ง “โมหะ” ขณะเดียวกันโลกยุคนี้เป็นยุคแห่ง “ออนไลน์” ผู้คนติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เนต ผลคือปัญหาความรุนแรงได้ขยายตัวเข้าไปใน “สังคมเสมือน” นี้ด้วย เห็นได้จากมีการโพสต์ข้อความด่าทอเสียดสีกันไปมา อีกทั้งยังโพสต์ภาพอาวุธทั้งปืน มีดและอื่นๆในเชิง “ข่มขู่-ประกาศศักดา” ผู้ใดอย่าได้มาท้าทายลูบคม

        เพราะคำว่า “ศักดิ์ศรี” ค้ำคอ จึงต้องวางมาดให้ดู “เก๋า-เจ๋ง-เก่ง-แน่” เข้าไว้!!!
“รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก” คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ฝากเตือนผ่าน “สกู๊ปแนวหน้า” ถึงพฤติกรรมความรุนแรงต่างๆ โดยเฉพาะกับวัยรุ่นอันเป็นวัย “คึกคะนอง” อีกทั้งยังถือคติ “เพื่อนมีเรื่อง เรามีด้วย” ว่าอาจเข้าข่าย “ผิดกฎหมาย” และมีโทษหนัก
        ที่เห็นกันบ่อยๆ คือ เรื่อง “นักเลง-อันธพาล” ยกพวกเข้าทำร้ายร่างกายคู่อริ...ประเด็นนี้ “อาจารย์เจษฎ์” ย้ำว่า “แค่อยู่ร่วมกับกลุ่มผู้ก่อเรื่องในเวลาเกิดเหตุ” แม้ไม่ได้ลงมือเอง หรือเป็นผู้สั่งการ แต่หากพูด หรือแสดงกิริยาอาการใดที่ส่อเจตนา“สนับสนุน-ยุยง-ส่งเสริม” เข้าข่ายมีความผิดแล้วตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288-290, 295-298 ตามผลที่เกิดขึ้นกับผู้ถูกทำร้าย ยิ่งอาการหนักมาก บาดเจ็บมาก โทษก็จะยิ่งหนักขึ้นตามลำดับ และหากผู้ถูกทำร้าย “เสียชีวิต” ผู้ร่วมกระทำผิดอาจได้รับโทษถึงขั้น...

“ประหารชีวิต-จำคุกตลอดชีวิต”!!!

“เมื่อไปเป็นกลุ่ม แม้ไม่ได้ลงมือ แต่การแสดงออกในลักษณะที่ทำให้เห็นได้ว่าเป็นการร่วมกันก็ถือได้ว่าเป็นผู้สนับสนุน หรือในกรณีที่ชัดเจนอาจจะเป็นผู้ใช้ หรือตัวการร่วมก็ได้ หรือในกรณีแม้ไม่ได้กระทำการใดๆ แต่อยู่ร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้ว่าบรรดาบุคคลที่ตนอยู่รวมด้วยจะไปทำอะไร ก็จะเป็นเช่นกรณีแรก บางครั้งผู้เฒ่าผู้แก่จึงมักเตือนลูกหลานมาแต่โบราณว่าอย่าไปอยู่ในที่อโคจร และอย่าไปกับคนพาล เพราะสถานที่หรือคนเหล่านั้น มักพาไปหาผิด ก็ทำนองเดียวกัน” อาจารย์เจษฎ์ กล่าว
        ไม่เพียงผู้กระทำผิดจะได้รับโทษ แต่ “พ่อแม่-ผู้ปกครอง” อาจผิดด้วย หากเป็นกรณี “ผู้กระทำผิดอายุไม่ถึง 18 ปี” เพราะตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26

(3) ระบุว่า “ห้ามผู้ใดก็ตาม บังคับ-ขู่เข็ญ-ชักจูง-ส่งเสริม-ยินยอม” ให้เด็กประพฤติตนอันเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย โดยในมาตรา 78 ระบุโทษไว้ว่า จำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากไม่อาจพิสูจน์ได้ว่า...
“ตั้งใจอบรมบุตรหลานอย่างเต็มที่แล้ว”!!!

“กรณีผู้ปกครองคงต้องมีความชัดเจนในระดับหนึ่งว่า ทราบถึงการกระทำของบุตรหลานแล้วไม่ได้ห้ามปราม ว่ากล่าว ตักเตือน หรือกระทำการใดๆ เลย อันนี้คงต้องถือว่าเข้าข่ายเป็นการยินยอมให้ไปกระทำการต่างๆ เหล่านั้นได้” อาจารย์เจษฎ์ ระบุ

        อีกด้านหนึ่งกับพฤติกรรม “กร่าง-เกรียน” บนโลกออนไลน์ จำพวกโพสต์ข้อความข่มขู่บุคคลอื่น โพสต์ภาพตนเองถืออาวุธพร้อมข้อความ “ประกาศศักดา”...ประเด็นนี้ ทนายความชื่อดังอย่าง “นายประมาณ เลืองวัฒนะวณิช” กล่าวว่า แม้ทั้ง 2 กรณีไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 โดยตรง เพราะไม่ใช่การโพสต์หมิ่นประมาท ใส่ความในเรื่องอันเป็นเท็จ, โพสต์เรื่องลามกอนาจาร, โพสต์ข้อความปล่อยข่าวลือจนสังคมเกิดความตื่นตระหนก และโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดอาญาในหมวดความมั่นคงหรือการก่อการร้าย
        แต่อาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอื่นๆได้!!!

“ทนายประมาณ” อธิบายว่า หากการข่มขู่นั้นทำให้อีกฝ่ายรู้สึก “ตระหนกตกใจกลัว” ผู้ข่มขู่อาจเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากการข่มขู่นั้นเป็นไปเพื่อ “ให้ผู้อื่นกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใด” ผู้ข่มขู่อาจเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 โทษจะหนักขึ้น คือ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        ส่วนการโพสต์ภาพโชว์อาวุธ...“ทนายประมาณ” กล่าวว่า หากเป็นอาวุธอื่นๆ เช่น มีด ดาบ ฯลฯ กรณีแบบนี้ยังไม่ถือเป็นความผิด ตราบเท่าที่ไม่เข้าข่าย “พกพา” ไปในที่สาธารณะ หรืออย่างปืนอัดลม , “บีบีกัน” ที่ไม่มีความผิดฐานครอบครอง แต่จะมีความผิดหากนำไปใช้ก่ออาชญากรรม
        ทว่า...หากอาวุธที่โพสต์นั้นเป็น “ปืนจริง” อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 และหากพบว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็น “ปืนเถื่อน” ไม่มีใบอนุญาตครอบครอง จะเข้าข่ายมาตรา 7 ว่าด้วยการมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งใน มาตรา 72 วรรค 1 ระบุโทษไว้ว่า จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

        หรือแม้ว่าปืนกระบอกดังกล่าวจะเป็นปืน “ถูกกฎหมาย” เช่น ลูกหยิบปืนของพ่อที่มีทะเบียนและใบอนุญาตครอบครองถูกต้องมาถือโชว์ แล้วโพสต์อวดบนสื่อออนไลน์ อาจสุ่มเสี่ยงเข้าข่ายที่เรียกกันว่า“ปืนผิดมือ” ซึ่งในมาตรา 72 วรรค 3 ระบุโทษไว้ว่า จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท
“เรื่องโพสต์ภาพปืน ถ้าเป็นปืนจริงคนโพสต์ภาพอาจถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับการครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วถ้าสถานที่โพสต์เป็นนอกบ้าน จะมีความผิดฐานพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือแม้แต่พ่อมีปืนถูกกฎหมาย มีใบอนุญาต แต่ลูกเอาปืนพ่อมาครอบครอง อันนี้มีความผิดฐานครอบครองปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต เขาเรียกว่าปืนผิดมือ ต่อให้อยู่ในบ้านก็ผิด” ทนายประมาณ กล่าว

        คงต้องบอกว่า “ใจเย็นๆ” กันเสียหน่อยดีกว่า เพราะถ้า “ใจร้อน วู่วาม” ทำอะไรที่ไปเข้าข่ายผิดกฎหมายย่อมมีโทษทัณฑ์ และบางข้อหาโทษร้ายแรง “เสียเวลา-เสียประวัติ” ยังไม่นับ “ความผิดทางแพ่ง” ที่จะต้อง “ชดใช้” ให้ผู้เสียหาย

        อีกทั้งการกระทำของลูกยังส่งผลถึง “บุพการี” ซึ่งแม้พ่อแม่ผู้ปกครองอาจไม่ผิดตามกฎหมาย แต่ก็กลายเป็น “จำเลยสังคม” ถูกตำหนิติเตียนว่า “ลูก...พ่อแม่ไม่สั่งสอน” จะมาเสียใจภายหลัง

        หรือบอกว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” ก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว!!!


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้