ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกขลัง หลากหลายเกจิอาจารย์
»
ตำนานหนุมานแกะ หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2516
ตอบกลับ: 1
ตำนานหนุมานแกะ หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2015-7-27 05:10
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
"หลวง พ่อสุ่น ถือได้ว่าเป็นต้นตำนานการสร้าง "หนุมาน" ที่ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัย เมตตามหานิยม ปรากฏเเก่ผู้ที่ครอบครองบูชา"
หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ วัดศาลากุน พระเกจิชื่อดังมีวิทยาอาคมผู้เข้มขลังของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก โดยเฉพาะบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง เหรียญคณาจารย์ และเครื่องรางรุ่นเก่าๆ
เพราะหลวงพ่อสุ่น ถือได้ว่าเป็นต้นตำนานการสร้าง "หนุมาน" ที่ทรงไว้ซึ่งประสบการณ์ปรากฏเเก่ผู้ที่ครอบครองบูชา และ "หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน" นั้น นับเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมสะสมไม่แพ้ "มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ" และ "เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย" ซึ่งเป็นที่เลื่องลือและได้รับความนิยมอย่างสูงในวงการทีเดียว
หลวง พ่อสุ่น หรือ พระอธิการสุ่น เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิด เกิดไม่ไกลจากวัดศาลากุนนัก แต่ไม่ได้มีการบันทึกประวัติของท่านเก็บไว้ ทราบเพียงเมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน และด้วยศีลาจารวัตรของท่านทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาตั้งแต่พรรษา ต้นๆ ที่ยังเป็นพระลูกวัดอยู่
เมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพ ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อ ท่านก็ได้พัฒนาและบูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรืองสืบมา หลวงพ่อสุ่นมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2482
ย้อนไปเมื่อครั้งที่ หลวงพ่อสุ่นยังเป็นพระลูกวัด ท่านได้ปลูกต้นไม้ไว้ในบริเวณกุฏิ 2 ชนิด คือ ต้นรักและต้นพุดซ้อน และหมั่นดูแลรดน้ำ โดยนำน้ำสะอาดมาทำเป็นน้ำมนต์เพื่อรดต้นไม้ทั้งสองทุกครั้งจนเจริญเติบโต
กระทั่ง เมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส จึงเข้าใจกระจ่างว่า เหตุใดท่านจึงให้ความสนใจดูแลต้นไม้ทั้งสองนี้เป็นพิเศษ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตได้ที่ ท่านจึงดูฤกษ์ยามทำพิธีพลีและสังเวยก่อนแล้วลงมือขุดด้วยตัวเอง จากนั้นนำไปตากแดดจนแห้ง แล้วให้ช่างแกะเป็น "รูปหนุมาน" จนหมด รวบรวมห่อด้วยผ้าขาวใส่บาตรเพื่อปลุกเสกในกุฏิ โดยไม่มีผู้ใดทราบว่าท่านทำพิธีการใด
จนถึงวันเสาร์ซึ่งถือ ว่าเป็นวันแรง ท่านก็จะนำเข้าไปทำพิธีบวงสรวงบัดพลีและปลุกเสกในอุโบสถเพียงรูปเดียว โดยปิดประตูและหน้าต่างทั้งหมด มีเวรยามเฝ้าไม่ให้ใครรบกวน ดังนี้เป็นประจำทุกวันเสาร์ จนครบถ้วนกระบวนการตามกำหนดของท่าน จึงเก็บไว้แจกจ่ายบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้ถวายปัจจัยในการบูรณปฏิสังขรณ์ วัด นอกจากหนุมานแกะที่ทำจากต้นรักและต้นพุดซ้อนแล้ว หลวงพ่อสุ่นยังได้แกะหนุมานจาก "งาช้าง" ด้วย แต่สร้างในรุ่นหลัง ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และสนนราคาค่อนข้างสูงมาก
หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น แบ่งแยกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าโขนและพิมพ์หน้ากระบี่
พิมพ์หน้าโขน เป็นฝีมือการแกะอันวิจิตรของช่างแกะ ที่จะเก็บรายละเอียดต่างๆ อย่างครบถ้วน ทำให้มีความสวยงามและแลดูเข้มขลังยิ่งนัก
พิมพ์ หน้ากระบี่ เป็นแบบเรียบง่าย ไม่ค่อยมีเครื่องเครามากมาย แต่ก็ยังคงความงามในอีกรูปแบบหนึ่ง และแลดูเข้มขลังเช่นกัน ด้วยความชำนาญของช่างแกะ
ณ ปัจจุบัน หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น หาดูหาเช่ายากมากทุกเนื้อทุกพิมพ์ ด้วยผู้ที่มีไว้ต่างหวงแหน อีกทั้งสนนราคาสูงเอาการทีเดียว
นอก จากนี้ยังมีการทำเทียมเลียนแบบสูงอีกด้วย ดังนั้น จึงต้องใช้การพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เริ่มจากการดูพิมพ์ทรง ต้องดูลักษณะการแกะให้ดี เพราะของเทียมลักษณะจะแลดูแข็งกร้าวและไม่เป็นเอกลักษณ์ จะไม่สัมผัสถึงความแข็งแกร่งและเข้มขลังเหมือนของแท้
ส่วน ด้านเนื้อหา ถ้าเป็น "เนื้อไม้" ให้นึกถึงสภาพไม้ที่ตากแห้งที่นำมาแกะ เมื่อผ่านกาลเวลาเนิ่นนาน เนื้อจะแห้งสนิท และมีน้ำหนักเบา ถ้าผ่านการสัมผัสจะฉ่ำมัน แต่ตามซอกยังคงแห้งอยู่
ส่วน "เนื้องา" ก็ให้ดูความเก่าของงาให้ดี จะออกเป็นสีเหลืองธรรมชาติ ถ้าผ่านการสัมผัสจะฉ่ำมัน สีดูใสและเข้มกว่าส่วนที่ไม่ผ่านการสัมผัส เวลาคนจะทำงาให้เก่าเขาจะเอาด่างทับทิมมาผสมน้ำแช่งาลงไปแล้วนำขึ้นมาขัดจะ ปรากฏคราบความเก่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่ต้องพินิจพิจารณาให้ดีจึงจะได้ของแท้ ขอปิดท้ายกันด้วยคาถากำกับหนุมาน ครับผม
"นะมัง เพลิง โมมัง ปากกระบอก ยะ มิให้ออก อุดธังโธอุด ธังอัด อะสังวิสุ โรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห"
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1436105510
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Marine
Marine
ออฟไลน์
เครดิต
2853
2
#
โพสต์ 2015-8-24 09:50
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...