ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2219
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระภรตมุนี

[คัดลอกลิงก์]
พระภรตฤๅษี (พ่อแก่)




    พระ ภรตมุนี เป็นมหาฤๅษี (มหรรษี) ผู้แต่งตำราฟ้อนรำ เป็นครูนาฏศิลปะ ผู้รวบรวมท่ารำ (กรณะ) ของพระศิวะ ทั้ง ๑๐๘ ท่า พระภรตมุนี ผู้รจนาคัมภีร์ นาฏยศาสตร์ เป็นประโยชน์แก่การศึกษา การฟ้อนรำ ในอินเดีย และประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ซึ่งมีประวัติตามตำนาน ดังนี้


   
      ตำนานการฟ้อนรำของอินเดียตามที่ปรากฏใน "โกยิ่ลปุราณะ" ฉบับอินเดียได้กล่าวไว้ว่า ในกาลหนึ่ง ฤๅษีกลุ่มหนึ่งที่ตั้งอาศรมบำเพ็ญพรตอยู่กับภรรยาในป่า "ตาระคา" ฤๅษีพวกนี้ประพฤติผิดบุตรธิดา ภรรยา และสามีของกันและกัน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนเทวบัญญัติ ร้อนถึงพระอิศวรต้องชวนพระนารายณ์ลงมาปราบ พระอิศวร ทรงแปลงพระองค์เป็นโยคีหนุ่มรูปงาม พระนารายณ์ทรงแปลงพระองค์เป็นสาวแสนสวยภรรยาของโยคีหนุ่ม ทั้งนี้เพื่อล่อให้พวกฤๅษีและภรรยาเกิดความหลงใหล ในความงามด้วยอำนาจราคะจริต จนเกิดทะเลาะวิวาท แย่งชิงกันในหมู่ฤๅษีและภรรยานั่นเอง แต่พระเป็นเจ้าทั้งสองไม่ปลงใจด้วย เมื่อพวกฤๅษีและภรรยาไม่ประสบความสำเร็จ จึงบันดาลโทสะกล่าวคำสาปพระเป็นเจ้าทั้งสอง แต่พระองค์ หาได้รับอันตรายแต่อย่างใด พวกฤๅษีจึงเนรมิตเสือขึ้นเพื่อจะฆ่าโยคีปลอมและภรรยาให้ตาย พระอิศวรฆ่าเสือแล้ว ถลกหนังมาทำเครื่องฉลองพระองค์เสีย พวกฤๅษีพากันเนรมิตพญานาคขึ้นอีก เพื่อพ่นพิษใส่โยคีหนุ่มและภรรยา พระอิศวร ทรงจับพญานาคนั้นมาพันเป็นสังวาลย์ประดับพระองค์ ต่อจากนั้นทรงกระทำปาฏิหาริย์ ด้วยการเต้นรำอยู่ไปมา แต่พวกฤๅษียังไม่สิ้นฤทธิ์ เนรมิตยักษ์ค่อมมีกายสีดำสนิทขึ้น ตนหนึ่งชื่อ "อสูรมูยะละคะ" พระอิศวรเห็นดังนั้น จึงใช้พระบาทขวาเหยียบยักษ์ มูยะละคะจนหลังหักแล้วทรงฟ้อนรำอยู่บนหลังยักษ์ตนนั้นต่อไป จนหมดกระบวน ฟ้อนรำ ฤๅษีเห็นกาลเปลี่ยนเป็นดังนี้ก็สิ้นทิฐิ ยอมรับผิด ทูลขอขมาโทษ และให้ สัญญาว่าจะปฏิบัติตนอยู่ในเทวบัญญัติอย่างเคร่งครัดต่อไป

    ต่อมาพญาอนันตนาคราช ซึ่งเป็นบัลลังก์นาคของพระนารายณ์ ได้ทรงฟัง พระนารายณ์ทรงเล่าถึงการฟ้อนรำของพระอิศวรที่ป่า "ตะระคา" มีประสงค์ดูการ ฟ้อนรำของพระอิศวรบ้าง พระนารายณ์ทรงแนะนำให้พญาอนันตนาคราชบำเพ็ญพรต บูชาพระอิศวรเพื่อขอพรพญาอนันตนาคราชก็กระทำตามและเมื่อพบพระอิศวรก็ทูล ขอดูการฟ้อนรำ พระอิศวรทรงรับว่าจะลงมาฟ้อนรำให้ดูในมนุษย์โลก ณ ตำบล "จิทัมพรัม" ครั้นถึงกำหนด พระอิศวรก็เสด็จลงมายัง "ติลไล" หรือตำบลจิทัมพรัม ( ในแคว้นมัทราส ) ทรงเนริต "นฤตสภา" ขึ้นแล้วทรงฟ้อนรำตามที่ทรง ประทานสัญญาแก่พญาอนันตนาคราชอีกวาระหนึ่ง

    ในกาลสมัยต่อมา พระอิศวรมีพระประสงค์ที่จะแสดงการฟ้อนรำให้ปรากฏเป็นแบบฉบับตามคำทูลขอของ พระภรตมุนี ซึ่งเป็นผู้ได้รับพระบัญชามาจากพระพรหม ให้เป็นผู้รวบรวมตำราการฟ้อนขึ้น ในครั้งนี้พระอิศวรทูลเชิญพระอุมาเป็นประธาน เสด็จประทับเหนือสุวรรณบัลลังก์ ให้พระสุรัสวดีดีดพิณ พระอินทร์เป่าขลุ่ย พระพรหมตีฉิ่ง พระลักษมีขับร้อง และพระนารายณ์ตีโทน และพระอิศวรทรงฟ้อนรำ พระภรตมุนีทรงบันทึกท่าฟ้อนรำของพระอิศวรไว้ทุก กระบวนท่ารำเพื่อเป็นตำราการ ฟ้อนรำแก่มนุษย์สืบไป

    จากตำนานที่กล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าพระอิศวรทรงเป็นผู้...วชาญการฟ้อนรำ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ชาวอินเดียจึงนับถือพระอิศวรว่าทรงเป็น "นาฏราช" ในประเทศอินเดีย ที่เมืองจิทัมพรัม (ห่างจากเมืองมัทราส (อินเดีย) ราว ๑๕๐ ไมล์ ) มีเทวาลัยแห่งหนึ่งชื่อ "จิทัมพรัม" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "เทวาลัยศิวะนาฏราช" สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๐๐ ภายในช่องทางที่เดินเข้าสู่ตัว เทวาลัยชั้นใน มีภาพแกะสลักหินเป็นรูปตัวระบำผู้หญิงแสดงท่ารำต่าง ๆ ๑๐๘ ท่า ท่ารำต่าง ๆ เหล่านี้ตรงกันกับที่กล่าวไว้ในตำรา "นาฏยศาสตร์" ซึ่งรจนาโดย พระภรตมุนี ท่าฟ้อนรำเหล่านี้เป็นท่ารำที่นาฏศิลปอินเดียใช้เป็นแบบฉบับในการฟ้อนรำ

    การฟ้อนรำตามภาพแกะสลักท่ารำที่เทวาลัยศิวะนาฏราชนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายทั่ว ประเทศอินเดีย และโดยนัยนี้ก็ยังเผยแพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นเอเชีย อาคเนย์ จนเข้ามาในประเทศไทย ท่านผู้ทรงวิทยาคุณทั้งหลายได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ท่ารำชุดนี้เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะในปี พ.ศ. ๑๘๐๐ ที่สร้างเทวาลัย ศิวนาฏราช ไทยเราเพิ่งตั้งกรุงสุโขทัย ท่ารำที่ไทยได้ดัดแปลงจากอินเดียในครั้งนั้น ต้องเป็นท่ารำประดิษฐ์โดยนักปราชญ์สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมารุ่นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้แก้ไขปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ท่ารำของไทยจึงดูห่างไกลจากอินเดีย ดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งถ้าเราเทียบท่ารำของพระอิศวร ทั้ง ๑๐๘ ท่า ตามที่พระ ภรตมุนีรวบรวมไว้ในตำรานาฏยศาสตร์ กับท่ารำแม่บทของไทยแล้ว มีคล้ายคลึงกัน มากที่สุด ๒ ท่า คือ ท่ากินนรเลียบถ้ำ และ ท่าแมงมุมชักใย ทั้ง ๒ ท่าของแม่บทไทย เทียบได้ใกล้เคียงกับ ท่าลตาวฤศจิก และ ท่าคงคาอวตาร ส่วนท่าอื่น ๆ ผิดเพี้ยน กันมาก อย่างไรก็ดี ไทยเรายังสำนึกในพระคุณของพระภรตมุนีว่า เป็นครู เป็นบุพการี จึงประดิษฐ์หัวโขนเป็นลักษณะหัวฤๅษีมีอาการยิ้มอย่างเมตตาไว้บูชา ในฐานะเป็น สัญลักษณ์ของครูแห่งนาฏกร ซึ่งผู้ร่ำเรียนวิชานี้ต้องครอบจากหัวฤๅษีนี้ทุกคน แสดงถึงความศรัทธาอย่างจริงจังต่อพระภรตมุนี


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-7-8 22:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


การใหว้ครูและครอบครู
การใหว้ครูและครอบครู เป็นการแสดงกตเวทีต่อบุพการี ครูบาอาจารย์ในพิธีการนั้น จะต้องจัดให้มีเครื่องสังเวย และครูผู้อ่านโองการตามแบบแผน ส่วนใหญ่จะเลือกกระทำพิธี ในวันพฤหัสบดี
"ประเพณี การไหว้ครูมีมาแต่โบราณ คนไทยเป็นคนที่มีกตัญญูอย่างแรงกล้า และได้รับการอบรมต่อๆกันมาให้เป็นผู้มีกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การที่จะกระทำ กิจการใดๆ ก็ต้องได้รับคำแนะนำจากครู แม้แต่การเลียนแบบหรือลักจำเขามาก็ ต้องเคารพผู้ให้กำเนิด หรือประดิษฐ์สิ่งนั้น ในการศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ ต้องมีการไหว้ครูก่อนทั้งนั้น การไหว้ครูถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการเรียนศิลปการดนตรี และนาฏศิลป์ เป็นพิธีการที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ และมีพิธีรีตองมากกว่าการไหว้ครูทางหนังสือ"พิธี ไหว้ครูที่ปฏิบัติกันเคร่งครัด ได้แก่ พิธีไหว้ครูอาจารย์ทางดุริยางคศิลป์ และ นาฏศิลป์ ถือกันว่าเพลงหน้าพาทย์ ดนตรีบางเพลง และท่ารำบางท่า เป็นเพลง และท่ารำที่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้ายังไม่ได้ทำพิธีไหว้ครู และพิธีครอบเสียก่อนแล้ว บรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายก็ไม่กล้าสอนกล้าหัดให้ศิษย์ ด้วยเชื่อกันว่าจะเกิดผลร้ายแก่ครูผู้สอน และแก่ศิษย์เองด้วย ถ้าเกิดอุบัติเหตุใดๆขึ้นก็จะกล่าวกันว่า "ครูแรง" เหตุนี้โรงเรียนนาฏศิลปของกรมศิลปากรจึงได้กำหนดงานพิธีไหว้ครูและพิธีครอบ ขึ้นเป็นประจำปีละครั้งในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูในตอนต้นภาคเรียนแรกแต่ละปีการศึกษา ทำนองเดียวกับโรงเรียนต่างๆ เพียงแต่มีพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์เพิ่มจากไหว้ครูธรรมดา และมีพิธีครอบประกอบด้วย เพื่อครู ศิษย์ และนักเรียนจะได้เริ่มสอนเริ่มเรียนกันไปอย่างเรียบร้อย และสบายใจ"ความเชื่อ
การ จัดพิธีไหว้ครูนั้น มักนิยมจัดกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือว่าเป็นวันครูอันเกี่ยวข้องกับตำนานเทพเจ้าพระพฤหัสบดี ในปัจจุบันบางครั้งก็นิยมจัดกันในวันอาทิตย์ได้อีก ๑ วัน แต่ไม่ว่าจะจัดวันพฤหัสบดีหรือวันอาทิตย์ จะต้องไม่ตรงกับวันพระเพราะถือว่าครูจะไม่ลงมา และหาซื้อเครื่องสังเวยลำบาก เดือนที่นิยมกระทำพิธีไหว้ครูตามแบบโบราณนั้น นิยมประกอบพิธีในเดือนที่เป็นเลขคู่ ยกเว้นเดือน ๙ เดือนเดียวที่อนุโลม เพราะถือเป็นเคล็ดว่าเป็นเลขที่ดีก้าวหน้า และมักทำกันในวันข้างขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวันฟู ข้างแรมอันถือว่าเป็นวันจมไม่นิยมประกอบพิธีกัน
พิธีไหว้ครู
หมาย ถึง การสำรวมใจรำลึกถึงพระคุณของบรมครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ ศิษย์ และพร้อมใจกันเปล่งเสียงวาจาด้วยความเคารพตามครูผู้กระทำพิธีขณะอ่านโองการ
พิธีครอบครู
เป็น พิธีที่นิยมกันมาช้านาน หมายถึง การนำศีรษะครูมาครอบ (เพื่อรับเป็นศิษย์) และครูจะคอยควบคุมรักษา คอยช่วยเหลือให้ศิษย์มีความจำในกระบวนท่ารำ จังหวะดนตรี หากมีสิ่งใดที่ไม่งามจะเกิดขึ้นกับศิษย์ ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์ พิธีครอบครูนั้นนับว่าเป็นการทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจว่าครูจะคุ้มครองรักษา ครูจะช่วยเหลือแม้จะรำผิดพลาดไปบ้าง จะทำให้ผู้เรียนไม่ตระหนกตกใจจนเกินไป เพราะมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้ทำพิธีครอบครูแล้ว ครูคงให้อภัยในความผิดพลาด อีกประการหนึ่งพิธีครอบครูนั้น ผู้ศึกษานาฏศิลป์ทุกคนถือว่าเป็นพิธีสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติท่ารำที่อยู่ในระดับสูง เช่น การรำเพลงหน้าพาทย์ ก่อนจะรำผู้ศึกษาต้องผ่านพิธีครอบครูก่อนจึงจะต่อท่ารำได้
การจัดตั้งหิ้งบูชา
การ จัดตั้งหิ้งบูชา.จะต้องหันหน้าไปทางทิศ
๑.เหนือ
๒.ตะวันออกเฉียงเหนือ
๓.ตะวันออก เท่านั้น
ที่เหลืออีก 5 ทิศเป็นทิศที่ไม่เป็นมงคล ควรไว้รองจากพระพุทธรูป การจัดตั้งเครื่องสังเวยหน้าหิ้งบูชาควรจัดข้าวน้ำ ผลไม้ให้ครบองค์กร กล้วยสุก มะพร้าวอ่อน ขนุน ขนมถ้วยฟู ต้มแดง ต้มขาว คันหลาว หูช้าง ขนมถั่ว-ขนมงา เครื่องกระยาบวช ทั้ง ๕ คือ
๑.กล้วยบวชชี
๒.ฟักทองแกงบวช
๓.เผืกแกงบวช
๔.มันแกงบวช
๕.ขนมบัวลอย
จะทำรวมกันเป็นที่เดียวก็ได้ ถ้าหากมีทุเรียน ทับทิม ฟักเงิน(ฟักทอง) แตงไทย แตงกวา แตงโม สัปปะรด จะเป็นมงคลยิ่ง โดยเฉพาะกล้วยควรใข้กล้วยน้ำไทย หาไม่ได้ก็ไช้ กล้วยน้ำว้า
พิธีเช่นนี้ จะขาดไม่ได้คือ บายสีปากชาม ถ้าหากว่าจะทำได้มากกว่านี้ ก็ยิ่งเพิ่มบารมีมากขึ้นอีก เช่น บายสีพรหม บายสีเทพ บายสีตอ เป็นต้นการจัดตั้งหิ้งถ้าหากเจตนาอัญเชิญเทพไม่ควรจะมีของคาว ควรจะจัดเพิ่มให้มีนม เนย เผือก มัน ทั้งดิบ และสุก ถั่วงา ทั้งสุกและดิบ ให้ครบ
ทุกๆพิธี จะต้องมี น้ำร้อน น้ำชา หมากพลู บุหรี่ น้ำเปล่า ตั้งเอาไว้ประจำไม่ต้องลา ทั้งกล้วย อ้อย มะพร้าวอ่อน ปูอาสนะด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์เครื่องใช้ทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นอะไรทุกอย่างจะต้องเป็นของใหม่ๆ ทุกอย่าง
ผลไม้ที่เป็นมงคล
๑.ขนุน
๒.ทุเรียน
๓.กล้วยหอม
๔.ทับทิม
๕.ลูกอินทร์
๖.ลูกจันทร์
๗.องุ่น
๘.แตงไทย
๙.มะม่วง
๑๐.ลูกเกตุ
๑๑.ลูกตาล
๑๒.ลูกอินทผลัม
๑๓.แอปเปิ้ล
๑๔.ลิ้นจี่
๑๕.ลำใย
๑๖.สัปปะรด
ผลไม้ที่ห้ามขึ้นหิ้งบูชา
๑.ละมุด
๒.มังคุด
๓.พุทรา
๔.น้อยหน่า
๕.น้อยโหน่ง
๖.มะเฟื่อง
๗.มะไฟ
๘.มะตูม
๙.มะขวิด
๑๐.กระท้อน
๑๑.ลูกพลับ
๑๒.ลูกท้อ
๑๓.ระกำ
๑๔.ลูกจาก
๑๕.รางสาด
คาถาบูชาพ่อแก่
นะโม 3 จบ
อุกาสะ อิมัง อัคคีพาหูบุพผัง  อะหังวันทา อาจาริยัง  สัพพะสัยยัง  วินาสสันติ สิทธิการิยะ
อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม  ทุติยัมปิ อิมัง  อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา  อาจาริยัง สัพพะสัยยัง
วินาสสันติ สิทธิการิยะ  อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม ตะติยัมปิ อิมัง  อัคคีพาหูบุพผัง อะหังวันทา
อาจาริยัง สัพพะสัยยัง  วินาสสันติ สิทธิการิยะ   อะปะระปะชา อิมัสมิง ภะวันตุเม
คาถาบูชาพระฤาษี
โอม...อิมัสมิง พระประโคนธัพ  พระมุนีเทวา หิตาตุมเห  ปะริภุญชันตุ  
ทุติยัมปิ...อิมัสมิง  พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา  หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ   
ตะติยัมปิ...อิมัสมิง   พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา  หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ
คาถาบูชาพระฤาษี 108 (รวม)
โอม สรเวโภย ฤ ษิโภย นะมัห
บทอธิฐานขอพรพระฤาษี (ใช้ได้กับทุกๆ พระองค์)
โอม ตวะเมวะมาตา จะบิตา ตวะเมวะ  
ตวะเมวะพันธุศจะ สะขา ตวะเมวะ  
ตวะเมวะวิทะยา ทรวิณัม ตวะเมวะ  
ตวะเมวะสรวัม มะมะ เทวะ เทวะ
คาถาบูชาพระบรมครูแพทย์ชีวกโกมารภัจ
โอม นะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง   
การุณิโก สัพพะ สัตตานัง โอสะถะ   
ทิพพะมันตัง ปะภาโส สุริยา จันทัง
โกมาระภัจโจ ปะกาเสสิ บัณฑิตโต  
สุเมธะโส อะโรคะยา สะมะนา โหมิ


ที่มา  http://www.meeboard.com/view.asp ... mp;rid=84&qid=6
      http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=695

สาธุ ขอบคุณ สาระดีๆ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้