ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ที่มาของ "เบี้ยแก้"
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 4068
ตอบกลับ: 3
ที่มาของ "เบี้ยแก้"
[คัดลอกลิงก์]
นาคปรก
นาคปรก
ออฟไลน์
เครดิต
1143
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2015-6-8 04:59
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
พันธุ์แท้พระเครื่อง
โดย
ราม วัชรประดิษฐ์
"เบี้ยแก้"
ชื่อเรียกวัตถุมงคลชนิดหนึ่งที่ผู้คนให้ความนิยมและศรัทธามาแต่โบร่ำโบราณ ว่ามีความเข้มขลัง สามารถป้องกันสิ่งเลวร้ายและภยันตรายต่างๆ ได้ฉมังนัก
แต่เดิม "เบี้ย" คือ เปลือกหอยที่พ่อค้าชาวอาหรับและเปอร์เซียโบราณที่ค้าขายแถบชายฝั่งทะเล นำเข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ
เนื่องจากเปลือกหอยดังกล่าวมีความสวยงามคงทนและหายาก ระยะแรกนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ โดยนำมาจากหมู่เกาะมัลดีฟส์ ซึ่งเป็นหมู่เกาะที่เกิดจากปะการังจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังปรากฏมีการนำหอยเบี้ยจากฟิลิปปินส์เข้ามาด้วย ต่อมาจึงหามาแลกข้าวของสินค้าจนนิยมกันใช้เป็นเงินตรา ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยกล่าวถึง "พนมเบี้ย พนมหมาก พนมดอกไม้" ซึ่งหมายถึง การนำเบี้ยมากองเป็น "พนม" หรือ "ภูเขา" เล็กๆ ลักษณะเหมือนบายศรี
เมื่อ "เบี้ย" ถูกนำมาใช้เป็นเงินตรา เบี้ยจึงมีความสำคัญและผูกพันกับคติความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถใช้แก้บน ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวาอารักษ์ ตลอดจนผีสางนางไม้ได้
ตัวอย่างเช่น ในงานวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนได้กล่าวถึงตอนนางเทพทองจะคลอดขุนช้างว่า "บ้างก็เสกมงคลปลายข้าวสาร เอาเบี้ยบนลนลานเหน็บฝาเกลื่อน" และยังนิยมนำเบี้ยจั่นมาทำเครื่องห้อยในแบบเครื่องรางโดยประดับอัญมณี
จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความเกรงว่าเครื่องห้อยหากประดับอัญมณีมีค่าดังกล่าวสืบทอดไป คนจะเข้าใจว่าเป็นราชตระกูล และอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย ถึงกับมีประกาศห้ามราษฎรประดับประดาเหรียญเสมาห้อยคอและภควจั่น ด้วยเพชรพลอยและลงยาราชาวดี (การลงยาสีน้ำเงินหรือสีฟ้า อันเป็นสีในพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ จนเป็นธรรมเนียมการนับเป็นสีกษัตริย์เรียกว่าสีราชาวดี)
ดังนั้น จึงอาจอนุมานได้ว่าคำว่า "เบี้ยแก้" เดิมมาจากคำว่าเบี้ยแก้บน เนื่องจากใช้เป็นเงินบนบานศาลกล่าว และเกิดสัมฤทธิผลความหมายจึงพ่วงการแก้ไขจากร้ายให้กลายเป็นดี จึงมีอานุภาพทางแก้กันสิ่งอาถรรพ์ ที่จะให้โทษและทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตน
อีกทั้งคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ให้ความสำคัญกับหอยทะเลโดยกล่าวถึง
"สังข์อสูร"
ที่ลักลอบกลืนคัมภีร์พระเวทของพระพรหมลงไป ร้อนถึงพระนารายณ์ต้องตามมาล้วงคัมภีร์จากท้องหอยสังข์ จึงบังเกิดเป็นร่องพระดัชนีจากพระหัตถ์ขององค์นารายณ์บริเวณร่องกลางของ เปลือกหอยส่วนท้อง พราหมณ์อินเดียจึงเคารพและนำหอยสังข์ที่มีต้นกำเนิดอยู่ในมหาสมุทรอินเดียมา ประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์
นอกจากนี้ยังมีหอยทะเลที่เรียกว่า "เบี้ย" ยังได้รับความเคารพจากพวกพราหมณ์ในฐานะสัญลักษณ์แห่ง "ศักติ" อันเป็นลัทธิที่บูชาเทวสตรี เช่น พระลักษมี พระอุมา พระสรัสวดี เรียกกันว่า "ภควจั่น" ซึ่งมาจาก ภควดี หมายถึง อิตถีเพศที่ควรเคารพบูชา ลักษณะของหอยเบี้ยนั้นจะเป็นหอยทะเลกาบเดี่ยว เปลือกแข็ง หลังอูมนูน ส่วนท้องแบนเป็นช่อง ปรากฏรอยขยักคล้ายฟันเล็กๆ บ้างรู้จักกันในชื่อ หอยจั่น หรือหอยจักจั่น และหอยพลู มีหลายขนาดตั้งแต่ใหญ่กว่าหัวแม่มือและขนาดเล็กกว่าปลายนิ้วก้อย
"เบี้ยแก้" นับเป็นเครื่องรางของขลังที่เกิดจากภูมิปัญญาพระเกจิคณาจารย์ของไทยโดยแท้ การสร้างสรรค์คัดเลือก "หอยเบี้ยจั่น" ที่ต้องมีฟันครบ 32 มาลงคาถาอาคม กรอกปรอทลงในตัวเบี้ย ปิดปากด้วยชันโรง ห่อด้วยแผ่นตะกั่ว ลงอักขระเลขยันต์ ห่อหุ้มด้วยด้ายถัก ปิดท้ายด้วยการลงรักเพื่อการเก็บรักษา ทุกขั้นตอนดังกล่าวจะต้องมีการบริกรรมคาถาเพื่อสร้างความเข้มขลังตลอดพิธีกรรม โดยแต่ละเกจิก็จะมีเคล็ดวิชาอาคมที่แตกต่างกันไป
สำหรับความเข้มขลังของ "เบี้ยแก้" ก็คือ การแก้การป้องกันคุณไสย สิ่งเลวร้ายต่างๆ ไม่ให้เข้ามากล้ำกราย รวมถึงเมตตามหานิยม
"ปรอท" คือแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมีความหนักแต่เป็นของเหลว มวลของปรอทจะแน่นหนามาก คุณสมบัติอย่างหนึ่งของปรอทก็คือ การแยกสิ่งที่แปลกปลอมให้ออกไปให้พ้นไป และยังใช้ในการรักษาโรคต่างๆ อีกด้วย คนโบราณจะโปรยปรอทไว้รอบๆ บ้านเพื่อไล่ธาตุที่แปลกปลอม เสนียดจัญไรต่างๆ
ส่วน "ชันโรง" คือรังของสัตว์มีปีกอยู่ในตระกูลผึ้งแต่ตัวมีขนาดเล็ก จะถ่ายมูลทำรังตามต้นไม้ กิ่งไม้ และใต้ดินทำนองปลวก มีลักษณะเหนียวคล้ายชัน สีน้ำตาลเข้ม นับเป็นวัสดุอาถรรพ์ที่นำมาใช้อุดไม่ให้ปรอทหนีออกจากตัวเบี้ย บางสำนักก็ใช้อุดใต้ฐานพระเมื่อบรรจุเม็ดกริ่ง แผ่นยันต์หรือพุทธาคมต่างๆ
เกจิ อาจารย์ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือทางด้านการทำเบี้ยแก้ได้แก่ หลวงปู่รอด วัดนายโรง บางกอกน้อย กทม., พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขันธโชติ) หรือหลวงปู่บุญ หลวงปู่ทอง หลวงปู่เพิ่ม หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว นครชัยศรี นครปฐม, หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ กทม. ฯลฯ ซึ่งแต่ละสำนักล้วนแล้วแต่มีกรรมวิธีการจัดสร้างเบี้ยแก้ตามสูตรโบราณ และมีพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์แก้ไขสิ่งเลวร้ายให้กลายเป็นดีสมดังชื่อจริงๆ ครับผม
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1433694799
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
thanakorn1
thanakorn1
ออฟไลน์
เครดิต
1858
2
#
โพสต์ 2015-6-8 12:50
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณครับ ที่นำมาให้อ่าน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
majoy
majoy
ออฟไลน์
เครดิต
24698
3
#
โพสต์ 2015-6-11 01:02
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณครับผม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
LightGuardian
LightGuardian
ออฟไลน์
เครดิต
1064
4
#
โพสต์ 2015-6-12 14:55
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณคับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...