ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ย้อนอดีต 11 นักรบผู้กล้าแห่งค่ายบางระจัน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 3326
ตอบกลับ: 1
ย้อนอดีต 11 นักรบผู้กล้าแห่งค่ายบางระจัน
[คัดลอกลิงก์]
lnw
lnw
ออฟไลน์
เครดิต
1686
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2015-6-3 08:32
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ย้อนอดีต 11 นักรบผู้กล้า
แห่งค่ายบางระจัน
ฉบับนี้พาท่านฝ่าสายฝนไปชมประวัติความเป็นมาของอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน และอุทยานค่ายบางระจันที่จังหวัดสิงหบุรีกันดีกว่า สถานที่แห่งนี้คนไทยรู้จักกันดี อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 3032 มีพื้นที่ประมาณ 115 ไร่ เป็นสวนรุกขชาติพักผ่อนหย่อนใจ จะเห็นอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง 11 คน สร้างโดยกรมศิลปากรปรากฏสวยเด่นเป็นสง่าอยู่ในสวน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเปิดอนุสาวรีย์นี้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2519
ค่ายบางระจันมีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ ผืนแผ่นดินแห่งนี้ได้บันทึกเหตุการณ์ความกล้าหาญและเสียสละของวีรชนไทยที่เกิดขึ้น เมื่อเดือน 3 ปีระกา พ.ศ.2308 ในครั้งนั้น ชาวบ้านบางระจันได้รวมพลังกันต่อสู้กับกองทัพพม่า ซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล โดยพม่าต้องยกทัพเข้าตีหมู่บ้านนี้ถึง 8 ครั้ง ใช้เวลา 5 เดือน จึงเอาชนะได้ เมื่อวันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ.2309 นับเป็นอนุสาวรีย์ที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง ค่ายบางระจันในปัจจุบันได้สร้างจำลองโดยอาศัยรูปแบบค่ายในสมัยโบราณ และภายในบริเวณยังมีอาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์วีรชนค่ายบางระจัน จัดห้องนิทรรศการโดยแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ ห้องแรก แสดงเรื่องค่ายบางระจัน เครื่องใช้โบราณ แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย หนังใหญ่ ห้องที่ 2 จัดแสดงมรดกเมืองสิงห์บุรี ห้องที่ 3 แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองสิงห์บุรีและของดีเมืองสิงห์บุรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน
ส่วนรายชื่อของวีรชนคนกล้า ของบางระจัน คือ 1.พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมอยู่วัดเขานางบวช แล้วมาอยู่วัดโพธิ์เก้าต้น มีความรู้ทางวิชาอาคม เป็นที่พึ่งทางใจแก่ชาวค่ายบางระจัน 2.นายแท่น เป็นชาวบ้านสีบัวทอง ถืออาวุธสั้น ถูกปืนของพม่าที่เข่าในการรบครั้งที่ 4 เสียชีวิตเมื่อการรบครั้งสุดท้าย 3.นายอิน เป็นชาวบ้านสีบัวทอง 4.นายเมือง เป็นชาวบ้านสีบัวทอง 5.นายโชติ เป็นชาวบ้านสีบัวทอง ถืออาวุธสั้น 6.นายดอก เป็นชาวบ้านกลับ 7.นายทองแก้ว เป็นชาวบ้านโพทะเล 8.นายจัน หนวดเขี้ยว เก่งทางใช้ดาบ เสียชีวิตในการรบครั้งที่ 8 9.นายทอง แสงใหญ่ 10.นายทองเหม็น ขี่กระบือเข้าสู้รบกับพม่า ตกอยู่ในวงล้อมถูกพม่าตีตายในการรบครั้งที่ 8 เช่นกัน 11.ขุนสรรค์ มีฝีมือเข้มแข็งมักถือปืนเป็นนิจ แม่นปืน
นอกจากทั้ง 11 ท่านข้างต้น เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่ไม่ปรากฏชื่อวีรสตรีไทยเลือดนักสู้ระดับหัวหน้าอีก 3 ท่าน ทั้งๆ ที่ได้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับนักรบชายชาวบ้านบางระจัน ได้แก่ อีปล้อง อีแฟง และอีเฟื่อง ด้วยการนำชาวบ้านบางระจันออกสู้รบกับพม่า และช่วยกันส่องคบลวงพม่าแล้วให้นักรบชายจู่โจมเข้าโจมตี ทำให้พม่าถูกฆ่าตายไปเป็นจำนวนมาก แต่ในที่สุดวีรสตรีทั้ง 3 ท่าน ก็ถูกพม่าฆ่าตายในที่สุด
ย้อนกลับมาสู่เรื่องราวอันเป็นวีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เกิดขึ้นนานนับร้อยปีล่วงมาแล้ว เหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นที่เล่าขานกันต่อมาตราบจนทุกวันนี้ มันเป็นสงครามที่ลงเอยด้วยความตาย ไม่มีชาวบางระจันรอดชีวิตจากสงครามในครั้งนั้นแม้แต่คนเดียว แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นที่ค้างคาใจคนไทยรุ่นหลังๆ ก็คือ ทำไมกรุงศรีอยุธยาจึงไม่ให้ปืนใหญ่ชาวบ้านบางระจัน?
มีนักประวัติศาสตร์บางท่านวิเคราะห์เอาไว้น่าฟังว่า ในยุคสมัยนั้นคำว่า “ชาติไทย” ยังไม่มี กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงก็จริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหัวเมืองต่างๆ จะต้องเชื่อฟังคำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินเสมอไป รวมทั้งชาวบ้านบางระจันก็ไม่ได้ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน
การใช้ชีวิตของชาวบ้านบางระจันเป็นไปอย่างอิสระ ผู้ชายไม่ได้สนใจเรื่องที่จะไปเป็นทหารอยู่ในวังหลวงเสียด้วยซ้ำไป ภาษีหรือที่เรียกว่า จังกอบ…ชาวบ้านบางระจันก็ไม่ได้นำส่งเข้าเมืองหลวง ด้วยเหตุนี้ทำให้กรุงศรีอยุธยามีความไม่พอใจชาวบ้านบางระจัน เมื่อเกิดสงครามระหว่างชาวบ้านบางระจันกับฝ่ายพม่า กรุงศรีอยุธยาจึงไม่ส่งกำลังทหารมาช่วย รวมไปถึงปืนใหญ่ที่ชาวบางระจันขอมา กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ให้ไป โดยอ้างเหตุผลว่า กลัวฝ่ายทหารพม่าจะดักปล้นระหว่างทาง
นักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องราวของชาวบ้านบางระจัน ต่างมีความเห็นตรงกันว่า แท้จริงแล้ว การที่กรุงศรีอยุธยาไม่ให้ปืนใหญ่ไปนั้น เกิดจากความไม่แน่ใจว่ามากกว่า ว่าหากเกิดศึกสงครามขึ้นมาในภายภาคหน้า ชาวบ้านบางระจันจะอยู่ข้างฝ่ายใดกันแน่ หากชาวบางระจันไปเข้ากับฝ่ายพม่า ก็เท่ากับเป็นการเสริมเขี้ยวเล็บให้กับฝ่ายศัตรู ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท ทางกรุงศรีอยุธยาจึงไม่ให้ปืนใหญ่กับชาวบ้านบางระจัน จนทำให้เกิดเหตุการณ์วิปโยคไปทั้งหมู่บ้าน ส่งผลให้กรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชในเวลาต่อมา ไม่มีตัวเลขยืนยันว่า ชาวบ้านบางระจันเสียชีวิตไปกี่คน แต่สิ่งที่เชื่อถือได้อย่างแน่นอนก็คือ ไม่มีผู้ใดรอดชีวิตจากสงครามในครั้งนั้นแม้แต่คนเดียว
เชื่อหรือไม่ว่า ทุกวันนี้ยังมีเรื่องราวแปลกๆ ลี้ลับ ให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะภายในบริเวณวัดโพธิ์เก้าต้น ประหนึ่งจะบอกให้รู้ว่า ณ สถานที่แห่งนี้ยังมีดวงวิญญาณของเหล่านักรบกล้า สิงสถิตอยู่จนชั่วนิจนิรันดร์ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่!!
http://www.banmuang.co.th
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
lnw
lnw
ออฟไลน์
เครดิต
1686
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2015-6-3 08:33
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...