ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2096
ตอบกลับ: 8
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

"ภาษีพระ" สะท้อน "มาตรฐานแบบไทยๆ"

[คัดลอกลิงก์]
"ภาษีพระ" สะท้อน "มาตรฐานแบบไทยๆ"

ในมุมมองนักวิชาการด้านปรัชญา


แนวคิดเก็บภาษีพระกลายเป็นประเด็นถกเถียงสุดร้อนแรงที่คนในสังคมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างหลากหลาย ลองอ่านความคิดเห็นของผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน หัวหน้าภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ต่อแนวคิดนี้











-  การเก็บภาษีพระส่งผลกระทบอะไรต่อวงการสงฆ์บ้าง?


อย่างแรกคือ  "สถานะของพระสงฆ์" เพราะในทางวัฒนธรรม พระในสังคมไทยอยู่ในฐานะ "ผู้ที่ควรเคารพ"  ซึ่งโดยอุดมคติเราเคารพพระในฐานะผู้สืบทอดศาสนา  ทีนี้พอมาคิดเรื่องภาษีมันจึงทำให้วิธีคิดบางอย่างเปลี่ยนไป  เพราะรัฐจะมองพระในฐานะที่แตกต่างออกไปจากเดิม กล่าวคือ  การเก็บภาษีพระคือการมองพระในสถานะพลเมืองปกติ-ธรรมดาที่เท่าเทียมกันกับบุคคลทั่วไป  ดังนั้นพอเรามองพระในฐานะที่เท่าเทียมกันกับคนทั่วไป คำถามมันจึงอยู่ที่ว่า  แล้วพระมีสิทธิ์ที่เท่าเทียมกันกับพลเมืองทั่วไปจริงๆหรือไม่ เพราะว่าสิทธิ์บางอย่างพระไม่มี อย่างเช่น  สิทธิในการเลือกตั้ง หรือสิทธิในทางการเมืองบางอย่าง เช่นบางทีก็บอกว่าพระห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง  ซึ่งเอาเข้าจริงในสังคมประชาธิปไตย พระต้องเคลื่อนไหวทางการเมืองได้  เพราะฉะนั้นถ้าต้องการจะปฏิบัติให้เหมือนกันกับพลเมืองจริงๆ พระก็อาจจะต้องมีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง  พระจะต้องตั้งพรรคการเมืองได้  และพระอาจจะเคลื่อนไหวทางการเมืองในสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือเรื่องที่มีผลกระทบกับพระได้





-  มีมุมมองอย่างไรต่อการเก็บภาษีพระ?



คือเวลาคิดว่าจะเก็บภาษีพระ  คนที่เก็บภาษีเขาไม่ได้เสนอเหตุผลที่ชัดเจนเท่าไหร่ เขาบอกแค่ว่าพระมีตังค์ พระทำพุทธพาณิชย์  พระไปออกรายการ มีรายได้ เป็นพระมีอีเวนต์ คือทำโน่นทำนี่แล้วมีรายได้ประจำ  แต่ทีนี้เขาไม่ได้พูดถึงเหตุผลที่จะเก็บภาษีคืออะไร แต่เท่าที่ฟังดูซึ่งไม่รู้ว่าจริงเท็จแค่ไหน  ติดตามจากเฟซบุ๊ค เขาบอกว่าก็เพื่อว่าจะไม่ให้พระเข้ามาทำมาหากินในศาสนา ซึ่งวิธีคิดแบบนี้มันไม่ใช่  โดยหลักการการเก็บภาษีมันไม่ควรเป็นแบบนี้ คือมันไม่ควรไปเก็บภาษีเพื่อที่จะลงโทษใคร  มันไม่ใช่หลักการทั่วไป เพราะพระที่มีตังค์อาจจะไม่ใช่พระที่ทำมาหากินก็ได้ แต่ท่านก็ต้องเสียเหมือนกัน  เพราะฉะนั้นหากใช้เหตุผลว่าต้องการป้องกันคนมาทำมาหากินกับศาสนา  มองว่าเป็นการใช้เหตุผลที่คับแคบเกินไป


-  แล้วทางออกเรื่องภาษีพระคืออะไร?


ก็ต้องใช้หลักการที่ว่า  ถ้าถือว่าพระทุกรูปเท่าเทียมกันหมด แล้วพระก็เสียภาษีเหมือนชาวบ้าน ดังนั้นสิทธิบางอย่างที่พระควรจะมี  ก็ควรจะได้ด้วย มันถึงจะชอบธรรม ไม่ใช่ว่าคิดว่าอยากเก็บก็เก็บ เพราะเห็นว่าวัดนี้มีเงินเยอะ  ก็เลยอยากได้เงินจากวัดนี้มาใช้ โดยไม่ได้คิดว่าเวลาเราไปเอาเงินเขามามันชอบธรรมไหม ...  คือการเก็บภาษีพระมันจะดี ก็คือว่าเก็บภาษีแล้วไปทำอะไร  คือเก็บภาษีแล้วรัฐประกันได้ไหมว่าจะเอาภาษีไปทำอะไรต่อ  คือหนึ่งเก็บภาษีแล้วรับประกันได้ไหมว่าภาษีที่เก็บจากพระ จากพุทธศาสนาเนี่ย  เป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ไหม


Q -  ข้อเสนอเรื่องการเก็บภาษีพระสะท้อนอะไร?


ในแง่หนึ่งมองว่ารัฐก็มีความหวังดีว่าอยากทำอย่างนี้เพื่อให้พระปฏิบัติปฏบัติชอบแต่อย่างไรก็ตามในอีกแง่หนึ่งคือเขาคิดโดยภายใต้สถานการณ์สังคมไทยปัจจุบันผมค่อนข้างไม่เห็นด้วยนะถ้าพูดตามตรงคือผมไม่เห็นกับการมาคิดปฏิรูปอะไรก็ตามภายใต้สถานการณ์ที่มันไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นถ้าจะเก็บภาษีพระจริงๆ ก็ต้องให้พระมีส่วนร่วมในการคิด ในการที่จะแสดงความคิดเห็น  ในการพูดคุยกันให้ชัดเจนว่าจะเอาอย่างไร


Q -  การเก็บภาษีพระจะส่งผลต่อสถิติการบวชพระไหม?


ไม่อย่างแน่นอน  คือผมว่าโดยส่วนใหญ่แล้วพระไม่ได้บวชเข้ามาเพื่อหวังรวย และถ้าพูดกันตามตรงก็คือ  การเสียภาษีมันไม่ได้ทำให้พระจนลงหรอก แต่มองว่าการแสดงความคิดเห็นลักษณะนี้เป็นการดูถูกพระเกินไป  เหมือนดูถูกคนที่มาบวชว่าเห็นแก่เงิน


Q -  มองอย่างไรเรื่องข้อเสนอให้มีการโยกย้ายเจ้าอาวาสทุกๆ 5  ปี?


ผมมองสองประเด็น เรื่องแรกคือเขาอาจจะคิดว่าในประเทศไทย  พระกระจุกตัวในเมือง เพราะมันมีวัดจำนวนมากที่ไม่มีเจ้าอาวาส  ดังนั้นวิธีการกระจายเจ้าวาสจึงต้องใช้วิธีการเวียนเจ้าอาวาส คือเวียนไปเรื่อยๆ ส่วนเรื่องที่สองคือ  เขามองว่าการที่พระเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆเป็นการทำให้พระได้เห็นโลกที่กว้างมากขึ้น  แล้วมันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการของพระพุทธศาสนา อย่างเช่น ถ้าเจ้าคณะอยู่ในกรุงเทพตลอดเวลา  ไม่เคยออกไปต่างจังหวัดเลย จะทำให้การวางแผนงานทางด้านพุทธศาสนามีข้อจำกัด  ดังนั้นการส่งพระออกไปยังสถานที่ต่างๆตามสมควร มันน่าจะทำให้ประสบการณ์ต่อการวางแผนของพระดีขึ้น  โดยเฉพาะในแง่ความทุกข์ยากของประชาชนมากขึ้น


Q -  แล้วข้อเสนอการโยกย้ายเจ้าอาวาสมีปัญหาไหม?


อาจจะมีปัญหาครับ  ยกตัวอย่างเช่น บรรดาเจ้าคณะที่อยู่ตามวัดใหญ่ๆที่เป็นเจ้าวาสอาจจะมีปัญหา  เพราะว่าหนึ่งคือพระส่วนหนึ่งต้องอาศัยฆราวาสที่ศรัทธาเป็นหลัก คือในสายทางพุทธ  เรามักคุ้นเคยกับการที่พระอยู่วัดหนึ่งแล้วฐาติโยมก็มีความศรัทธาให้อยู่ได้  เพราะฉะนั้นถ้าพระรูปนี้ถูกย้ายให้ไปอยู่ที่อื่นก็จะมีปัญหา เพราะชาวบ้านก็จะรู้สึกไม่ค่อยดี  คือพระที่จะมาแทนที่พระรูปเดิม ชาวบ้านไม่รู้แน่ว่าเป็นใคร  คือเขากลัวว่าถ้าพระรูปใหม่มาแล้วจะมาทำอะไรที่ฆราวาสไม่ค่อยชอบสักเท่าไหร่


Q - เอาเข้าจริงแล้ว ทั้งข้อเสนอการ "เก็บภาษีพระ" และ  "การโยกย้ายเจ้าอาวาส"  ได้ตอบโจทย์การปฏิรูปศาสนาไหม?


ผมไม่แน่ใจว่าข้อเสนอเหล่านี้จะตอบโจทย์การปฏิรูปศาสนาหรือไม่แต่ในแง่การเก็บภาษีมันจะนำไปสู่การเปิดเผยเรื่องเงินและเรื่องรายได้ของวัดคือเรื่องที่ว่าจะเอาเงินในวัดไปทำอะไรซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้นส่วนกรณีการหมุนเวียนเจ้าอาวาสไปในแต่ละวัดผมมองว่ามันอาจจะตอบโจทย์ในการทำให้พระมีประสบการณ์มากขึ้น แต่การทำให้พระมีประสบการณ์มากขึ้นอาจจะไม่ได้ทำให้การบริหารงานทางด้านพุทธศาสนาดีขึ้น  คือผมว่ามันอาจจะไม่ตอบโจทย์การปฏิรูปก็ได้ ซึ่งที่แน่ๆหากข้อเสนอนี้ถูกนำมาใช้จริง  อันดับแรกในระยะสั้นมันน่าจะนำไปสู่ความวุ่นวาย แต่ท้ายที่สุดแล้ว  ผมว่าการปฏิรูปโดยรัฐมันไม่ประสบผลสำเร็จหรอก  แต่มันจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมันเกิดการปฏิรูปจากคนที่ได้รับผลกระทบหรือจากคนภายในมากกว่า


Q -  เหตุการณ์ในครั้งนี้สะท้อนอะไร?


ผมว่ามันสะท้อน  "ความเป็นมาตรฐานแบบไทยๆ" คือพอคิดว่าตนเองจะทำอะไรก็ใช้วิธีการแบบทางลัด  แต่พอคนอื่นจะทำบ้างก็กลับไม่ให้ทำ จริงๆคือมันมีปัญหาเยอะ  เพราะบรรดาเหล่าผู้ออกกฎหมายในขณะนี้ก็ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง  แต่จะมาจัดการกับพลเมืองของตัวเองโดยไม่ถามความเห็น ผมว่ามันใช้ไม่ได้









http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1432639497
จะเก็บไปเพื่ออะไรอะคับ หรือว่ารัฐบาลถังแตกขนาดหนักแล้ว?
เฮ้อ
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-28 08:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

เงินเขาทำบุญ มันยังจะเอาของเขา อีกหรือ ????

ต้องเก็บทุกศาสนาด้วยนะ อย่าเก็บแต่ศาสนาพุทธ


ไอ้พวกอยากปฎิรูป ทำไมมันไม่ไปบวชเสียเองเลยล่ะ


เผื่อศาสนาจะดีดั่งใจ  มโน.






เก็บภาษีพระ แก้ปัญหาพุทธพาณิชย์ ได้จริงหรือ ?









ที่มา...http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1432737827

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-5-28 08:31 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ถามว่า..แล้วถ้าพระยอมเสียภาษีแล้ว

อยากจะมีสิทธิในการเลือกตั้ง บ้าง จะว่าอย่างไง ???




ถังแตกเต็มที หรือแฝงด้วยการบ่อนทำลายหนอ
บ้าไปแล้ว
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-12 08:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เปิดศึกกับคณะสงฆ์อีกรอบ
ไพบูลย์ นิติตะวัน สปช.โชว์หน่อมแน้ม


จับแพะชนแกะอีกแล้ว รู้ไม่จริงระบบการศึกษา มหาวิทยาลัยสงฆ์ ซัดพระ-เณร


เอาเปรียบชาวบ้านเรียนฟรีทางโลก ไม่เรียนพระธรรมวินัย


พระเทพวิสุทธิกวี รักษาการรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย


แนะว่าถ้าไม่อยากเสียผู้ใหญ่ให้แสวงหาข้อมูลก่อนออกมาพูดจาให้เกิดความเสียหาย...


บรรดา สปช. ที่อยากปฏิรูปคณะสงฆ์ทั้งหลาย ลองลงไปรับฟังข้อมูลดูได้ ภาคีพระนิสิตนักศึกษาฯ


จัดเสวนาใหญ่ อารยะหรือหายนะ : ปัญหาการปฏิรูปคณะสงฆ์ ระดมวิทยากรหลากหลายมาอธิบายความ


ทั้ง พระมหาไพรวัลย์ วรวัณโณ พระนักคิด ผศ.ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ พร้อม ณัฐนันท์ สุดประเสริฐ


และนักวิชาการคนดัง สุรพศ ทวีศักดิ์ ที่มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ถ.เจริญนคร


วันที่ 13 มิ.ย.นี้ ตั้งแต่บ่ายโมงเป็นต้นไป...


ก่อนถึงวันเกิดจริงในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ จิตภัสร์ กฤดากร ณ อยุธยา ทำบุญเลี้ยงพระเพลล่วงหน้า


มี พระเทพคุณาภรณ์ เป็นประธาน ที่วัดเทวราชกุญชร เชิญ พ.ต.สุธี สุขสากล อนุศาสนาจารย์


กรมการทหารสื่อสาร มาเป็นพิธีกร พร้อมเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ผู้ร่วมงาน อิ่มหนำกันถ้วนทั่ว


จากนั้นจะ ปลีกวิเวก ไปปฏิบัติธรรม ณ สถานที่สงัดแห่งหนึ่งเป็นการส่วนตัว...



http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1434041322





9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-6-12 09:07 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นี่ไงปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง







โดย  วงค์ ตาวัน

ระยะนี้ คำว่าควรปฏิรูปก่อนเลือกตั้งกลับคืนมาอีกแล้ว โดยรอบนี้จะให้ปฏิรูปก่อนอีกสัก 2 ปี

แล้วจึงค่อยมีเลือกตั้ง ด้วยเหตุผลที่ว่าการปฏิรูปยังไม่เสร็จสิ้น ควรต้องใช้เวลาอีกสักพัก

แต่ก็นั่นแหละยิ่งพูดยิ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่า แล้วจริงๆ ที่จะปฏิรูปก่อนเลือกตั้งนั้น

รูปธรรมคืออะไร จะปฏิรูปอะไรที่บอกว่าต้องใช้เวลาอีก 2 ปี


หรือก็แค่ข้ออ้างของคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ดีมีผลประโยชน์



ในสถานการณ์อำนาจพิเศษ


เลยอยากต่อเวลาดีๆ เช่นนี้ออกไปอีก เท่านั้นเอง


เริ่มต้นของคำว่า "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" นั้น มาจากเวทีม็อบนกหวีด


คนที่เห็นด้วยก็มองว่า การเมืองไทยจำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปก่อน


ต้องใช้เวลาจัดระบบระเบียบการเมืองให้ลงตัวเสียก่อน แล้วจึงค่อยเปิดให้มีการเลือกตั้ง

ต้องทำให้บ้านเมืองสงบราบคาบก่อน จึงจะปล่อยให้มีประชาธิปไตยเสรีได้


ขณะที่คนอีกฝ่ายมองว่า ก็แค่คำกล่าวอ้าง เพื่อไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง


แล้วลงเอยก็เป็นเช่นนั้น เพราะการชุมนุมครั้งนั้น จุดหมายปลายทางคือ


ต้องการกดดันให้ทหารต้องออกมาควบคุมการปกครอง!


  ถ้าหากมีเจตนาใช้การขับเคลื่อนขบวนประชาชน เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมือง


แล้วนำพาประชาชนที่ตื่นตัวนั้นเข้าปฏิรูปการเมือง ด้วยพลังของประชาชนเอง


ลงเอยต้องไม่เป็นเช่นที่เกิดในวันนี้


แต่ความเป็นจริงคือ ทำทุกอย่างเพื่อให้กองทัพเป็นผู้เข้ามาจัดระเบียบการเมืองแทน


โดยไม่ต้องการให้มีเลือกตั้ง


ถ้าเป็นเช่นนี้ ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ก็คือ ไม่ต้องการให้มีเลือกตั้งในห้วงระยะหนึ่ง


เพื่อเป็นช่วงของชำระสะสางสิ่งที่ตกค้างบางประการ


ดังที่เราจะเห็นได้ว่า กลุ่มคนที่หลงคิดว่า เมื่อทหารเข้ามาควบคุมการปกครองแล้ว


ก็เป็นช่วงที่พวกตนคือผู้ชนะ


จากนั้นก็ทำทุกอย่างเพื่อจัดการฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นผู้แพ้


ทั้งที่เจตนารมณ์ของคสช. คือเข้ามาปกครองเพื่อทำให้เกิดความสงบ และสร้างความปรองดอง!


  แต่บางกลุ่มบางองค์กรกลับอาศัยช่วงนี้ เร่งเดินเครื่องจัดการกับคนคิดต่าง


อย่างไม่ต้องเกรงใจใครทั้งสิ้น ไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยนอีกต่อไป


กระทั่งได้โอกาสชำระล้างคราบไคล กลุ่มพวกเดียวกันเอง เพื่อให้ผุดผ่อง ก่อนจะกลับไปสู่เวทีเลือกตั้ง


ดังที่เห็นกันอย่างโจ่งแจ้งทั่วบ้านทั่วเมือง การไต่สวนคดีคนตายมากมายกลางเมือง


วางบทให้ดูตื่นเต้น แต่ไม่แนบเนียน!!


  โดยจู่ๆ ก็มีนักลากตั้งหน้าช้ำๆ กลิ่นเดิมๆ ทำทีหอบหลักฐานอ้างว่าใหม่เอี่ยมมาอาสาเสนอตัว


ฝ่ายสอบสวนก็ตื่นเต้น โอ้ย ไม่เคยเห็นมาก่อน


นี่ไง ก็คืออีกกรณีที่เป็นบทหนึ่งของคำว่า "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง"


  แต่เคลียร์ยังไม่เสร็จสักที



เลยต้องขอปฏิรูปออกไปอีกสัก 2 ปี!


http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1434041777
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้