ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1455
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย

[คัดลอกลิงก์]


ตำนานพระธาตุดอยตุงกล่าวว่า เมื่อหลายร้อยปีก่อน พระมหากัสสปเถระได้นำเอาพระบรมอัฐิธาตุ ๕๐๐ องค์ กับพระรากขวัญหรือกระดูกด้ามมีดเบื้องซ้ายมาถวายให้แก่พญาอชุตตราช ผู้เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองโยนกเชียงแสน ที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าสิงหนวัติ พญาอชุตตราชและพระมหากัสสปเถระจึงได้อัญเชิญพระธาตุขึ้นสู่ดอยตุงในบริเวณที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับในครั้งพุทธกาล ซึ่งบริเวณนี้มีก้อนหินก้อนหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายมะนาวผ่าครึ่ง

บริเวณดอยตุงดังกล่าวนี้เป็นที่อยู่ของชนเผ่ามิลักขุหรือลัวะ ซึ่งมีหัวหน้าชื่อ ปู่ลาวจก เมื่อพญาอชุตตราชได้บรรจุพระธาตุ ณ ดอยตุงแล้ว ก็ได้พระราชทานทองคำให้แก่ปู่ลาวจกเพื่อแลกกับที่ดินอันกว้างใหญ่รอบพระธาตุนี้สำหรับถวายเป็นคามเขตแด่องค์พระธาตุ โดยแผ่พื้นที่ออกไปด้านละ ๓,๐๐๐ วา พร้อมทั้งถวายมิลักขุ ๕๐๐ ครอบครัว ให้เป็นข้าพระธาตุ เพื่อดูแลรักษาพระบรมธาตุด้วย ส่วนพระมหากัสสปเถระก็ได้อธิษฐานตุงทิพย์ยาว ๗,๐๐๐ วา เพื่อประดิษฐานไว้ ณ ที่แห่งนี้ จนต่อมาจึงเป็นที่มาของ ดอยตุง ตามชื่อของตุงทิพย์ดังกล่าว

ช่วงเวลาต่อมา ได้มีฤาษีสุรเทวะตนหนึ่งนำพระบรมอัฐิธาตุ ๑๕๐ องค์ มาถวายแก่พญามังรายผู้เป็นกษัตริย์ในรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองเมืองโยนกเชียงแสน พญามังรายจึงได้ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุเหล่านั้นไว้บนดอยตุงในบริเวณที่มีก้อนหินรูปมะนาวผ่าครึ่งนั้น พร้อมทั้งถวายที่ดินและเหล่ามิลักขุ ๕๐๐ ครอบครัวแด่พระธาตุเช่นครั้งแรก

ซึ่งจากการที่มีการประดิษฐานพระบรมอัฐิธาตุถึงสองครั้งสองคราว จึงทำให้บนดอยตุงมีพระธาตุเจดีย์ตั้งอยู่เคียงคู่ถึงสององค์สืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

ภายหลังจากนั้น ได้มีตำนานกล่าวถึงการสืบทอดเชื้อสายกษัตริย์จากวงศ์ลวะจักกะหรือปู่เจ้าลาวจก มาจนถึงกษัตริย์ล้านนาในราชวงศ์มังราย ที่ได้คอยทำนุบำรุงพระธาตุดอยตุงอยู่เสมอมา ตำนานกล่าวอ้างถึงพระนามพญามังราย พญาชัยสงคราม พญาแสนภู พญาคำฟู พญาผายู พญาเจ็ดพันตู พญามหาพรหม พญาแสนเมืองมา และพญากือนา ที่ระบุว่าได้ถวายที่ดินและมิลักขุ ๕๐๐ ครอบครัว พร้อมทั้งคำสาปแช่งแก่ผู้ที่คิดจะมาล้มล้างการกระทำของพระองค์

กล่าวถึงพญาติโลกหรือพระเจ้าติโลกราชที่ได้ทรงถวายที่ดินและข้าบริวารเพื่อบำรุงพระธาตุ โดยทรงมีพระราชโองการเป็นตราหลาบเงิน หรือการจารพระราชโองการลงบนแผ่นเงินไว้ รวมทั้งได้ทรงโปรดให้เขียนตำนานความเป็นมาเป็นไปของพระธาตุดอยตุงไว้ด้วย

เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๒ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดินแดนล้านนาอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ลูกเจ้าฟ้ามังทราจากเมืองหงสาวดีได้เข้ามาปกครองอาณาจักรนี้ไว้ และได้จารึกตราหลาบเงินอีกฉบับหนึ่งเพื่อถวายทานแก่มิลักขุ และถวายที่ดินตามประเพณีที่พระมหากษัตริย์ล้านนาได้ทรงปฏิบัติสืบต่อกันมา

แนวคิด


จากเรื่องราวที่เล่าขานกันต่อเนื่องมาตั้งแต่ในอดีต จึงเกิดความเชื่อที่ว่าพระธาตุดอยตุงนั้นเป็นปฐมอารามแห่งแรกของพระพุทธศาสนาที่ได้เข้ามาตั้งมั่นอยู่ในแคว้นโยนกนาคพันธ์ และทำให้บรรดาพระมหากษัตริย์ขัตติยะที่สืบราชวงศ์ปกครองอาณาจักรล้านนาต่อกันมา ช่วยกันดูแลทำนุบำรุงอย่างต่อเนื่องมิได้ขาด เพื่อให้พระธาตุดอยตุงอยู่เป็นศรีคู่ดินแดนแห่งนี้สืบไป

ที่มา http://www.tumnandd.com/%E0%B8%9 ... %E0%B8%B8%E0%B8%87/


ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้