ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2673
ตอบกลับ: 8
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ ~

[คัดลอกลิงก์]


ประวัติและปฏิปทา
หลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ
อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา


ชีวประวัติหลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ อ.มหาราช
ในอดีตแผ่นดินทองของตำบลบางนา อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อันเป็นตำบลหนึ่งที่มีความเป็นซึ่งเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์สลับซับซ้อนอยู่ไม่น้อยทีเดียว

คำว่า "อยุธยา" นั้น ทุกคนย่อมรู้ว่าเป็นเมืองเก่าโบร่ำโบราณ
และเคยเป็นเมืองหลวงของไทยมาแล้วสมัยหนึ่ง
ความยิ่งใหญ่ไพศาลและความสมบูรณ์พูนสุข ทำให้ผู้คนในสมัยกรุงศรีอยุธยา
เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งมีระยะเวลานานโขทีเดียว
ในช่วงระยะเวลาหนึ่งของความรุ่งโรจน์ได้กลับมาเป็นร่วงโรย
ก็เมื่อครั้งเสียกรุงเมื่อปี 2310 นี่เอง

สิ่งที่เป็นพยานโดยประจักษ์ชัดนั้นก็คงได้แก่โบราณสถานอันสำคัญต่างๆ
ในพระราชวังและซากกรุงโดยทั่วไป ซึ่งยังทิ้งความเก่ารกร้างไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เชยชม
ปูชนียวัตถุหรือโบราณวัตถุเหล่านั้นก่อให้เกิดสะท้อนทางอารมณ์ของคนไทยเราไม่น้อยเลยทีเดียว
หลักฐานต่างๆ ถึงแม้จะเป็นเพียงน้อยนิด ก็ยังคงสะกิดใจของคนไทยเราอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้

ตำบลบางนา ในอดีตนั้นเป็นตำบลหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวรามัญ (มอญ)
เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยานั่นชาวมอญเหล่านี้ได้มาตั้งรกรากถิ่นฐานประกอบสัมมาอาชีพที่สุดจริต
โดยการปั้นหม้อดินเผา ปั้นโอ่ง ปั้นไห หม้อ กระปุก จานชาม ครก ต่างๆ
ซึ่งชาวมอญมีความชำนาญมากได้มาทำการค้าขายให้กับคนไทยเราเรื่อยมา

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-14 11:46 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
โดยชาวมอญ ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาจากจังหวัดปทุมธานีบ้างและที่อื่นๆ บ้าง
เพราะชาวมอญทั้งหมดมีปรากฏอยู่ทั่วๆไป เพราะชาวมอญทั้งหมดมีปรากฏอยู่ทั่วไปๆ
เช่น ชาวรามัญปากลัด พระประแดงชาวรามัญหมู่บ้านบางมอญ สิงห์บุรี
ชาวมอญมีนิสัยชอบค้าขายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ประกอบกับมีความชำนิชำนาญในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผาอยู่ก่อนแล้ว
ถึงแม้ว่าการเผาอิฐก็เช่นกัน ชาวรามัญมีความถนัดมากไม่น้อยเลยทีเดียว
นับเป็นอาชีพหลักที่สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษของเขานั่นเอง
การมาตั้งรกรากถิ่นฐานที่ตำบลบางนาแห่งนี้ เขาคงจะเล็งเห็นว่าเป็นตำบลที่ค่อนข้างดี
เหมาะเจาะเกี่ยวกับการค้าขายและการทำไรนาบ้าง
พวกเขาเหล่านั้นจึงเลือกชัยภูมิดังกล่าวในตำบลนี้เป็นที่ตั้งพื้นฐานเพื่อก่อร่างสร้างฐานะของเขา

จากหลักฐานที่น่าจะทำให้คิดและสันนิษฐานว่าแหล่งตำบลบางนาแห่งนี้เป็นที่ตั้งของชาวรามัญนั้น
มีอยู่ว่ามีเตาเผาและวัตถุอันเป็นวัสดุเกี่ยวกับดินเผา นั่นคือ หม้อ โอ่งไห
ฝังจมพื้นที่ดินฝั่งลำคลองบางนาทั้งสองฝั่งฟาก ลำคลองแห่งนี้เป็นลำคลองเก่า
ที่ประชาชนทั้งหลายหมู่เหล่า ได้ใช้เป็นที่สัญจร ไปมาหาสู่กันตลอดมา
ยังไม่มีการชลประทาน เรือยนต์ และเรือจ้างและเรือพาย ก็เป็นปัจจัยสำคัญในครั้งนั้นอย่างมากทีเดียว

ลำคลองบางนา เป็นลำคลองที่ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งคลองโดยทั่วไป
ความอุดมสมบูรณ์ได้เกิดขึ้นแก่ประชาชนผู้พักอาศัยเป็นอันมาก
คลองนี้เป็นคลองที่แยกมาจากลำแม่น้ำ ลพบุรี ตรงตำบลกระทุ่ม
ไหลล่องใต้มาบรรจบกันกับแม่น้ำป่าสัก ซึ่งไหลมาจากสระบุรีมาบรรจบกันที่ จ.อยุธยา
(คือ แม่น้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก-ลพบุรี)
การทำมาค้าขายของชาวรามัญจึงต้องอาศัยเรือเป็นเรื่องสำคัญในการขนถ่ายสินค้า
หม้อดิน โอ่ง ไห ต่างๆ ไปตามลำห้วย ลำคลอง หนองบึง และที่มีประชาชนอาศัยอยู่
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-14 11:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

วัดบางมอญ

ด้วยเหตุที่ปักหลักในการประกอบอาชีพอย่างเป็นล่ำเป็นสันนี่เอง
จึงทำให้ชาวรามัญทั้งหลายทั้งมวลสร้างวัดขึ้น
เพื่อประกอบศาสนกิจตามควรอันเกี่ยวกับประเพณีนิยมขึ้น
วัดที่ชาวรามัญจัดสร้างขึ้นนั้น คือ วัดบางมอญ ซึ่งอยู่ในตำบลบางนา
หมู่ที่ 4 อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นี่เอง
ในสมัยโบราณชาวบ้านแถบนั้นเชื่อว่าเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวรามัญอย่างแน่นอน
เพราะมีสถานที่เตาเผาหม้อดิน สิ่งเหล่านี้ได้ชำรุดแตกสลายทับถมกันเป็นชั้นเชิง
เนินสูงกองพะเนินอยู่ตามริมฝั่งคลองดังกล่าว
ซึ่งเป็นที่เชื่อและสันนิษฐานได้ว่าเป็นแหล่งที่ชาวมอญอยู่อาศัย

การสร้างวัดวาอารามของชาวมอญ ก็คงจะสร้างคล้ายๆ กับการสร้างวัดโดยทั่วไป
ตามหลักพุทธศาสนาของเรา เพราะมีปรากฏหลายวัดที่ชาวรามัญได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้น
โดยนิมนต์พระภิกษุที่มีเชื้อสายเดียวกันเป็นสมภารเจ้าอาวาส และเชื่อเหลือเกินว่าเมื่อสร้างวัดขึ้นแล้ว
ก็จะต้องตั้งชื่อหรือขนานนามวัดตามตำบลที่อยู่ ทุกคนพร้อมใจกันเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดบางมอญ"
ซึ่งตั้งอยู่บนริมฝั่งคลองบางมอญทางด้านทิศตะวันออก ในเขตหมู่ที่ 4 ตำบลบางนา
อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดบางมอญหรือบางคนเรียกว่าวัดคลองมอญนี้
ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่นอน พื้นที่ของวัดมีเกินกว่า 15 ไร่
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านหลวง กิ่งอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลกระทุ่ม อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพระนอน อำเภอนครหลวง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลโรงช้าง

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-14 11:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
1. พระอุปัชฌาย์จั่น จันทศร

2. พระปุปัชฌาย์แหยม

3. หลวงพ่อเชียว ธรรมโชติ

4. หลวงพ่อเมือง

5. หลวงพ่อพวง ธรรมปัญโญ (เย็นสุข)

วัดบางมอญ มีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นวัดเก่าก็คือ
มีโบสถ์มหาอุตแบบชาวมอญเคยสร้างเช่นที่วัดเชิงท่า ลพบุรี
พร้อมทั้งเจดีย์ก็มีส่วนคล้ายกันมาก และเหมือนกับพระเจดีย์วัดอัมพวัน
ซึ่งหลวงพ่อกวักก็เคยสร้างไว้ อันมีเชื้อสายเดียวกัน ปัจจุบันนี้โบสถ์ได้สร้างใหม่ (รื้อของเก่าออก)
มีเสาหงส์ 2 เสา พร้อมทั้งตัวหงส์อยู่บนยอดเสาเป็นเนื้อโลหะผสม
แต่ก็ได้มีขโมยลักไปเสียแล้วมองกุฏิพื้นไม้ต่างๆ ยังมีลวดลายฉลุให้ปรากฏเห็นว่าเป็นวัดเก่าวัดหนึ่ง
ในตำบลบางนาแห่งนี้ วัดบางมอญ จึงมีพวกมิจฉาชีพเข้ามาลักขโมยของดี
และมีค่ากันครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งชาวบ้านหวาดผวาไปตามๆ กัน

วัดบางมอญ เพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดบางสงบ
เมื่อครั้งขุนบริหารชลานันท์ มาเป็นนายอำเภอมหาราชนี่เอง
แต่ประชาชนทั่วๆ ไป ไม่ค่อยจะรู้จักคำว่าบางสงบมากนัก คงเรียกว่าวัดบางมอญอยู่เช่นเดิม
เหตุที่เรียกว่าวัดบางสงบ หรือเปลี่ยนชื่อว่าบางสงบนั้น
เพราะว่าคนแถบวัดบางมอญเองทำมาหากินกันอย่างสงบเสงี่ยมเจียมตัวไม่ค่อยมีนักเลงอันธพาล
มีความร่มเย็นเป็นสุข เรียกว่าอยู่กันอย่างสันติสุข ในการประกอบอาชีพโดยทางสุจริต
จะมีคนถิ่นอื่นเท่านั้นที่ไปก่อเรื่องก่อราวขึ้น ชาวบางมอญทุกคนมีความสมานสามัคคีกันดี
อาชีพหลักของเขาคือการทำนา ท่านผู้ใดจะประสงค์ไปเที่ยววัดบางมอญ
หรือวัดบางสงบนั้นไปไม่ยากเลย เพราะปัจจุบันนี้เส้นทางสัญจรไปมา (การคมนาคม) สะดวก
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-14 11:47 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถ้าท่านมาจากกรุงเทพฯโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือไม่ก็ตาม เมื่อรถวิ่งมาตามถนนสายเอเชีย
กระทั่งถึงทางแยกเข้าตัวเมืองอ่างทอง ท่านหยุดรถตรงสี่แยก
แล้วมองไปทางขวามือทางด้านทิศตะวันออกจะมีถนนอีกสายหนึ่ง
นั่นคือ ถนนสายอ่างทอง-ถนนสายท่าเรือ (สายยาวตัดเชื่อมกัน)
จากนั้นท่านก็เลี้ยวรถวิ่งไปทางขวามือทางทิศตะวันออกประมาณ 12 กิโลเมตร
จะเห็นหมู่บ้านและมีป้ายบอกชื่อวัดบางมอญ อยู่ขวามือ เลยสะพานเลี้ยวขวามือ
มองไปทางทิศใต้ไม่ไกลนักประมาณสัก 1 กิโลเมตรครึ่ง
ท่านจะเห็นโบสถ์วัดบางมอญเด่นสง่างามไม่น้อยทีเดียว (โบสถ์หลังใหม่)
ส่วนของเก่าได้ถูกรื้อเพราะชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

สภาพของวัดบางมอญครั้งอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันมาก
คือ มีของเก่าแก่มากแสดงให้เห็นว่าเคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนและวัดบางมอญนี่เอง
ที่มีพระคณาจารย์ทีมีชื่อเสียงระบือลั่นนามก้องไปทั่วสารทิศ
เกียรติคุณและกิตติศัพท์ของพระคุณท่านนั้นย่อมเป็นที่โจษขานเล่าลือกันมาตลอดไม่เสื่อมคลาย
และยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อกราน วัดโคกโพธิ์ จังหวัดสระบุรี อีกด้วย
ทั้งยังเป็นพระรุ่นที่หลวงพ่อกลั่น (แก่กว่าหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ 10 ปี)
และแก่กว่าหลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า 10 ปี เช่น กัน หลวงปู่จั่นหรือพ่อจั่น
หรืออุปัชฌาย์จั่น แห่งวัดบางมอญนี้นั้น ท่านเป็นเจ้าของเหรียญหล่อรูปเหมือนอันลือลั่น
ได้สร้างนามและเกียรติคุณดังขจรขจายไปทั่วสารทิศ
พุทธคุณของเหรียญนั่นเป็นเลิศด้านมหาอุดและคงกระพัน
มีคนทั่วไปนิยมยิ่ง (หมายถึงของแท้) แม้จะใหญ่ไปสักนิด พุทธคุณล้ำเลิศจริงๆ
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-14 11:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติ

ท่านเกิดที่ตำบลบางมอญ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ปีกุน พ.ศ.2380 จ.ศ.1199 ร.ศ.56 ค.ศ.1837-8
โดยบิดาของท่านชื่อ ทบ โยมมารดา ชื่อ ทรัพย์

ชีวิตเมื่อครั้งเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านอยู่กับวัด
สมัยก่อนโรงเรียนหายากจึงเล่าเรียน กับพระตามวัด
จนกระทั่งอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและอักษรขอม


การอุปสมบท


ครั้นเมื่ออายุ 23 ปี (พ.ศ.2403) ญาติโยมได้ทำการอุปสมบทให้ที่วัดบางมอญนั่นเอง
โดยมีพระอธิการอินทร์ วัดตาลเอน เป็นพระอุปัชฌาย์
พระมหาต่าย วัดระฆัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์จีน วัดบางมอญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชได้รับฉายาว่า "จันทร"
และได้อยู่วัดบางมอญตลอดมา ปี พ.ศ.2435 อายุได้ 55 ปี
พรรษาที่ 32 ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรอยู่ในเขตอำเภอมหาราช

อุปัชฌาย์จั่น เป็นพระเถระพระคณาจารย์รุ่นเก่า มีอายุสูง พรรษาก็มาก
จนได้รับเกียรติยกย่องว่า เป็นพระที่กอร์ป ด้วยคุณธรรม เมตตาธรรม อย่างสูงส่ง
หลวงพ่ออุปัชฌาย์หรือหลวงพ่อจั่น ได้รับการขนานนามว่าเป็นพระผู้คงแก่เรียน
และได้รับการยกย่องว่าทรงวิทยาคุณในทางไสยาศาสตร์อย่างแท้จริง
คนสมัยเก่าของชาวอำเภอมหาราช ที่ยังมีชีวิตอยู่และเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจั่น
อันมี กำนันบรรจง เฉลยวาเรศ กำนันตำบลบางนา อำเภอมหาราช อยุธยา
และคุณคำรณ ขำคล้อยซึ่งทั้งสองคนเล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนมีนักเลงทุ่งมหาราช
ซึ่งไม่ชอบยอมแพ้ใครง่ายๆ ถึงแม้แต่นักเลงถิ่นอื่นยังขยาดหวาดผวา
ไม่กล้ามาราวีหรือต่อกรด้วย นักเลงสมัยก่อนมีเรื่องขัดใจกันมักจะนัดดวลกับแบบตัวต่อตัว
หรือแบบตะลุมบอนกัน พอฝ่ายหนึ่งหัวร้างข้างแตกย่อมเป็นฝ่ายแพ้
อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ชนะจะไม่ซ้ำเติมและไม่ปฏิบัติการทารุณต่อ
แต่กลับช่วยเหลือทำให้เกิดความเข้าใจและนับถือในอาวุโสของผู้ชนะ

อุปัชฌาย์จั่น ท่านเป็นพระแบบโบราณ ถือเคร่งในธรรมวินัย ยึดถือคำสอนของพุทธองค์ตลอดมา
ท่านยึดสันโดษ ไม่โลภแต่กลับช่วยเหลือ อนุเคราะห์ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก
ดังนั้น ที่วัดของท่านจึงมีสัตว์หลายชนิดมาอาศัยท่านอยู่เป็นจำนวนมาก
อุปัชฌาย์จั่นหรือหลวงพ่อจั่น ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ตั้งแต่พ่อลูกถึงหลานก็ยังมี
ฉะนั้น จึงกล่าวได้โดยไม่ต้องสงสัยว่า ชาวทุ่งมหาราช ยุคก่อนต้องเป็นศิษย์ของท่านกันแทบทั้งนั้น
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-14 11:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่อจั่น เป็นพระนักปฏิบัติ คือ ยึดสมถะและวิปัสสนาธุระ
แม้ว่าท่านจะมรณภาพมาเป็นนานถึง 61 ปีมาแล้วก็ตาม
แต่ตำรับตำราของหลวงพ่อท่านได้มอบให้เป็นสมบัติของวัดเป็นหลักฐานประการสำคัญ
ว่าหลวงพ่อเป็นพระที่ศึกษาค้นคว้าวิทยาการความรู้
ตลอดจนเทิดทูนวิชาการทุกแขนงที่ได้ศึกษามา นอกจากนี้
ยังเป็นการช่วยเหลืออนุชนรุ่นหลังได้มีตำราเก่าๆ ไว้ศึกษาหาความรู้
นับได้ว่าหลวงพ่อท่านมองเห็นการณ์ไกล
จึงรักษาสมบัติอันมีค่าและควรจะต้องถือเป็นแบบฉบับต่อไปในอนาคต

หลวงพ่อจั่นท่านเป็นพระที่มีอัชฌาศัยสมถะ มักน้อย เป็นผู้มีเมตตาธรรมและจำใจ
มีศีลาจาราวัตรเคร่งครัด ต่อพระธรรมวินัย ท่านได้ปฏิบัติสมณธรรมอันควรแก่สมณะเป็นอย่างยิ่ง
จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ของบรรพชิตและฆราวาสทั่วๆ ไป
พยายามอมรมบ่มนิสัยให้พระเณรทุกรูปทุกนามปฏิบัติตนให้อยู่ธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
โดยยกเอาอุทาหรณ์และคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง
พร้อมทั้งสั่งสอนประชาชน ในแถบถิ่นใกล้ ไกลวัด
ว่าให้ทุกคนประพฤติดีมีศีลธรรมประจำใจจะทำสิ่งใดอย่ามัวรีรอ
หลวงพ่อเป็นพระที่มีจิตใจมั่นคงในการที่จะทะนุบำรุงพระศาสนาด้วยความมุ่งมั่นเป็นเอก
การเอาใจใส่ดูแลวัดวาอารามของท่านด้วยความมุมานะนี่เอง
จึงทำให้วัดบางมอญในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่เจริญรุ่งเรืองมากวัดหนึ่ง
ในแถบถิ่นตำบลบางนา เป็นวัดที่ใหญ่โต ทั้งกุฏิ ศาลาการเปรียญโรงเรียน

หลวงพ่อจั่น เป็นพระเถรคณาจารย์สมัยเก่า สูงด้วยอายุ มากด้วยพรรษา
และได้รับเกียรติยกย่องว่า เป็นพระที่มีคุณธรรมและเมตตาธรรมอันสูงส่ง
เหรียญของท่านถึงแม้จะสร้างมานานเกินกว่า 67 ปีแล้วก็ตาม
ยังมีผู้นิยมเลื่อมใสศรัทธากันอยู่มาก

หลวงพ่อจั่นหรืออุปัชฌาย์จั่น เป็นพระเถระที่มีศีลาจาวัตรครบถ้วน
การปฏิบัติธรรมวินัยระเบียบแบบแผน ท่านก็เคร่งครัด
เมื่อผู้ใดพบเห็นก็ชวนให้เคารพนับถือกราบไหว้
มาพบท่านครั้งหนึ่งก็พยายามมาหาท่านอีกเป็นครั้งที่ 2-3
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-6-14 11:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
มรณกาล

หลวงพ่อได้บำเพ็ญศาสนกิจด้วยคุณงามความดีมาตลอดชีวิตของท่าน
กระทั่งถึงวันอาทิตย์แรม 3 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ เวลาบ่าย 4 โมง
ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 ท่านได้ถึงกาลมรณภาพ
นับสิริอายุครบ 90 ปี (67 พรรษา) บริบูรณ์
นับได้ว่าชาวอำเภอมหาราชได้สูญเสียพระเถระพระอาจารย์ผู้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรไปอย่างน่าเสียดาย

อนึ่งในงานพิธี ฌาปนกิจศพหลวงพ่ออุปัชฌาย์จั่นนั้น
ปรากฏว่าบรรดาศิษย์และท่านที่เคารพเลื่อมใสต่างมาร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง
แม้วัดบางสงบจะกว้างต่างก็ต้องแออัดไปด้วยผู้คนเพราะใครๆ ก็เคารพเลื่อมใสและศรัทธา
จึงได้มาร่วมพิธีกับอย่างคับคั่ง สรุปพระอุปัชฌาย์จั่นหรือที่ทุกคนเรียกว่าหลวงพ่อจั่น
ท่านได้รับการยกย่องพิเศษสุด 3 ประการด้วยกัน คือ

1. ท่านเคร่งในการปฏิบัติธรรม

2. อมรมสั่งสอนกุลบุตร-ธิดา ให้มีความรู้

3. ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ

จนกระทั่งได้รับการขนานนามว่าหลวงปู่พระผู้ทรงคุณธรรมและกอร์ปด้วยเมตตาบารมี
สมกับเป็นปูชนียบุคคลที่ควรสักการะเคารพยกย่องอย่างแท้จริง


ที่มา
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44218

กราบนมัสการครับ

ขอบพระคุณข้อมูลครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้