ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3361
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

สวดมนต์เพื่ออะไร?

[คัดลอกลิงก์]
ไปเจอบทความนี้มา อ่านแล้วรู้สึกว่าดีเลยนำมาแชร์ครับ

เราสวดมนต์กันมาก สวดถูกบ้างผิดบ้าง สวดสิ่งที่ควรสวดบ้าง ไม่ควรสวดบ้าง เพราะความไม่รู้ แล้วแต่ผู้ที่เคารพนับถือจะแนะนำให้สวดอะไรก็มักจะสวดกันไป โดยไม่รู้ความหมายด้วย บางทีก็ใช้เวลานานและยากที่จะจำ แต่ว่าเชื่อมีศรัทธาในบทสวดมนต์ว่าขลังและศักดิ์สิทธิ์ สามารถจะบันดาลประสิทธิ์ประสาทสิ่งที่ต้องการให้ได้ตามคำโฆษณาที่เขาเขียนเอาไว้บ้างพูดเอาไว้บ้างในหนังสือสวดมนต์นั้น ๆ ก็มี

การสวดมนต์เป็น “วิธีการ” อันหนึ่งในการทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ “พิธีการ” วิธีการกับพิธีการไม่เหมือนกัน เดี๋ยวจะอธิบาย

การสวดมนต์ เป็นวิธีการอันหนึ่งในการทำจิตให้สงบ เป็นบริกรรมสมาธิ ถ้าจุดมุ่งหมายอันนี้ จะสวดอะไรก็ได้ เพื่อให้จิตสงบ คือทำสมาธิโดยวิธีบริกรรม หมายถึง สวดเบา ๆ สิ้นมนต์ไปบทหนึ่ง ๆ ว่าซ้ำ ๆ จนจิตใจจดจ่ออยู่กับบทนั้น ไม่วอกแวกไปที่อื่น จะสวดบทเดียวหรือหลายบทก็ได้ ให้จิตใจจดจ่ออยู่กับบทสวดเป็นใช้ได้ เหมือนท่องหนังสือ หรือท่องสูตรคูณ

ตัวอย่างที่นิยมสวดกันทั้งฝ่ายพระ ฝ่ายฆราวาส และเป็นบทที่ดี เช่น บทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ อิติปิโส ภควา ถ้าเราสวดคนเดียว ต้องการให้เป็นสมาธิ ก็สวดเบา ๆ สวดกลับไปกลับมา ๒๐-๓๐ เที่ยวก็ได้

เดิมทีเดียว คำสอนของพระพุทธเจ้ายังไม่ได้จารึกลงเป็นตัวอักษรในใบลาน พระสาวกนำพาพระพุทธพจน์มาโดยการถ่ายทอดจากอาจารย์ไปยังศิษย์โดยการท่องจำ ท่องเป็นกลุ่ม ๆ และช่วยกันจำ ถ้าเป็นหนังสือสมัยนี้ก็เรียกว่าท่องกันเป็นเล่ม ๆ สมัยก่อนนี้เขาบอกกันให้จำ เขาเรียกว่าไปต่อหนังสือ

บางทีวัดหนึ่งก็มีหนังสืออยู่เล่มเดียวที่กุฏิเจ้าอาวาส ลูกศิษย์ไม่มีหนังสือ ลูกศิษย์ก็ต้องไปต่อหนังสือ คืนนี้ได้แค่นี้ พออีกคืนหนึ่งก็ไปต่อ อาจารย์ก็ว่านำ ลูกศิษย์ก็ว่าตาม ท่องจำ ก็จำกันได้เป็นเล่ม สวดมนต์ฉบับหลวงเล่มใหญ่ ๔๐๐-๕๐๐ หน้า บางคนก็จำได้หมด ท่องหลายปี ท่องไปเรื่อย ๆ เพราะว่าบวชอยู่เรื่อย ๆ

คนที่ไม่ได้บวช หรือว่าสึกแล้ว แต่ว่ายังมีฉันทะยังมีศรัทธา ยังอุตสาหะในการที่จะท่องจำ ก็ท่องต่อไปเรื่อย ๆ ก็จำได้เยอะ จำได้มากอย่างไม่น่าจะจำได้ เป็นที่ประหลาดใจของคนที่ได้ยินได้ฟังว่าจำได้อย่างไร ไม่มีเทคนิคลี้ลับอะไรหรอก เพียงแต่ว่ามีฉันทะ อุตสาหะในการท่องเท่านั้น ไปเห็นอะไรดี ๆ ก็ท่องเอาไว้ เพื่อเป็นประโยชน์กับการสวดบ้าง เพื่อการเพ่งพินิจเนื้อความบ้าง ท่องจำแล้วก็ง่ายกับการที่จะเพ่งพินิจเนื้อความ

เพราะฉะนั้นในองค์ของพหูสูต ท่านจึงมีอยู่ข้อหนึ่งว่า ธตา จำได้ วจสา ปริจิตา ว่าได้คล่องปาก มนสานุเปกฺขิตา เพ่งพินิจในใจ เอาใจไปเพ่งพินิจเนื้อความ ว่าเนื้อความนี้มีความหมายอย่างใด ไม่ต้องไปเปิดหนังสือก็ช่วยประหยัดเวลาได้เยอะ

การท่องจำพระพุทธพจน์นั่นเอง ก็กลายมาเป็นบทสวดมนต์ในภายหลัง

บทสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น ส่วนมากแต่งขึ้นในภายหลัง พระท่านก็จะสวดเหมือนกัน สวดเป็นบทต้น ๆ พอไปกลาง ๆ พระท่านจะสวดพระพุทธพจน์ เช่น ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร ธรรมนิยามสูตร โลกธรรมสูตร อะไรที่มีเนื้อธรรมดี ๆ ท่านจะสวดหลัง ๆ ของการสวดมนต์

ท่านลองเทียบดูกับการสวดปาติโมกข์ก็ได้ คือเป็นการท่องวินัย ๒๒๗ ข้อ ท่ามกลางสงฆ์ทุก ๑๕ วัน ต้องท่องเร็วมากเลย มีผู้ทบทวนอยู่ข้างธรรมมาสน์ องค์ที่สวดก็พนมมือ ไม่มองใคร สวดเรื่อยไป ส่วนมากโดยเฉลี่ยก็ ๔๕ นาทีถึงจะจบ จบแล้วก็เหนื่อย เพราะว่าสวดไม่หยุดเลย เร็วด้วย เร็วกว่าสวดมนต์

เมื่อก่อนนี้ท่านสวดพร้อมกัน และรู้ความหมาย เพราะเป็นภาษาของท่านเอง ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนามาอยู่ในเมืองไทย เราก็สวดเพื่อจะรักษาธรรมเนียมเดิมเอาไว้ นี่หมายถึงการสวดมนต์นะครับ แต่ส่วนมากไม่รู้ความหมายว่าสวดอะไร เพราะไม่ใช่ภาษาของเรา และก็ไม่ได้เรียน ไม่เข้าใจ การสวดปาติโมกข์จึงกลายเป็นพิธีการ ไม่ใช่วิธีการ เป็นพิธีการ พิธีกรรม โดยที่ผู้สวดก็ไม่รู้เนื้อความ ผู้ฟังก็ไม่รู้เนื้อความ แต่ว่าต้องสวดเป็นพิธีการ หรือเป็นวินัยบัญญัติว่าต้องสวดปาติโมกข์ หรือทบทวนวินัยทุก ๑๕ วัน

เมื่อก่อนนี้ ท่านฟังไป ๆ ท่านรู้เรื่อง ถ้าพระองค์ไหนท่านรู้ว่าต้องอาบัติอะไร ก็สะกิดเพื่อนมา ไปปลงอาบัติใกล้ ๆ นั้นเอง และผู้ที่สวดก็ต้องหยุดสวด

แต่ว่าเวลานี้ ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าปลงอาบัติกันไปเสร็จเรียบร้อยแล้ว แล้วค่อยเข้าไปฟังปาติโมกข์

การสวดมนต์หรือสวดพระปริตรต่าง ๆ ส่วนมากก็มุ่งไปทางพิธีการ คือ ทำพิธีมุ่งเอาความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ที่จะบันดาลให้สำเร็จผลด้วยมนต์นั้น แต่จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ไม่มีใครรับรอง มีแต่ความเชื่อ ผู้สวดเองก็ไม่กล้ารับรอง แต่เราก็นิยมเรื่องการสวดมนต์เพื่อความขลังและศักดิ์สิทธิ์อยู่

ศักดิ์สิทธิ์ ตามพจนานุกรม แปลว่า ขลัง แล้วขลังแปลว่าอะไร ขลัง แปลว่า มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์ จริงไม่จริงไม่รู้ แต่ “เชื่อกันว่า” บางทีก็สวดเพื่อเป็นสิริมงคลในโอกาสต่าง ๆ สวดเพื่อป้องกันและทำลายทุกข์โศกโรคภัยและให้สำเร็จสมบัติทั้งปวง ดังคำอาราธนาพระปริตรที่ทำกันอยู่ ท่านว่า

วิปัตติปะฏิพาหายะ
สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะทุกขะวินาสายะ
ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ
สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะภะยะวินาสายะ
ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ
สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะโรคะวินาสายะ
ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง


แปลว่า ขอท่านทั้งหลายสวดพระปริตรเพื่อป้องกันวิบัติ หรือต่อต้านวิบัติ หรือทำลายวิบัติ เพื่อให้สำเร็จสมบัติทั้งปวง เพื่อความพินาศแห่งทุกข์ทั้งปวง เพื่อความพินาศแห่งภัยทั้งปวง

นี่คือจุดมุ่งหมายแห่งการสวดพระปริตรเพื่อความพินาศแห่งทุกข์ทั้งปวง แห่งโรคทั้งปวงแห่งภัยทั้งปวง เพื่อให้ประสบความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง

จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่าไม่มีใครรับรอง แต่ก็มีความเชื่อ ถ้าจะถามว่าการสวดพระปริตรจะให้สำเร็จผลตามประสงค์ได้หรือไม่
ในคัมภีร์มิลินทปัญญา พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามเรื่องนี้กับพระนาคเสนเหมือนกัน พระนาคเสนก็ถวายพระพรตอบว่า

จะให้สำเร็จผล ต้องมีเงื่อนไข ๓ อย่าง คือ
๑. ต้องมีความเชื่อ
๒. ไม่มีกรรมเป็นเครื่องกางกั้น เรียกว่า กรรมวรณ์
๓. ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกางกั้น เรียกว่า กิเลสาวรณ์

ถ้าไม่เชื่อ พระปริตรก็ไม่สำเร็จ หรือถ้ามีกรรมเป็นเครื่องกางกั้น คือ กรรมชั่วมันจะให้ผล ป้องกันก็ไม่ได้ เพราะ นัตถิ กัมมะ สมัง พลัง ไม่มีกำลังใดเสมอด้วยกำลังกรรมหรือว่ามีกิเลสเป็นเครื่องกางกั้น คือว่ากิเลสรุนแรง เดี๋ยวจะเล่าเรื่องให้ฟังให้เห็นว่ากิเลสรุนแรง มันป้องกันไม่ได้อย่างไร

ปัญหาว่าองค์ ๓ ที่ว่านั้นเป็นของใคร คือ เป็นของผู้สวด ผู้ทำพิธี หรือว่าเป็นของผู้รับทำพิธี

หมายความว่า ที่ว่าไม่เชื่อนั้นใครไม่เชื่อ ผู้สวดไม่เชื่อหรือผู้รับพิธีไม่เชื่อ เช่น นิมนต์พระมาทำพิธี ท่านที่สวดเองท่านก็ไม่เชื่อ หรือว่าคนฟังไม่เชื่อ

ที่ว่ากรรมนั้นเป็นกรรมของใคร กรรมของผู้ทำพิธี หรือกรรมของผู้รับพิธี

ที่ว่ากิเลสนั้นเป็นกิเลสของใคร กิเลสของผู้ทำพิธี หรือว่าเป็นกิเลสของผู้รับพิธี

นี่ทิ้งเอาไว้ให้คิดกันดูนะครับ

วศิน อินทสระ
ขอบคุณ จร้า ชอบจังเลย


ถ้าจะถามว่าการสวดพระปริตรจะให้สำเร็จผลตามประสงค์ได้หรือไม่
ในคัมภีร์มิลินทปัญญา พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามเรื่องนี้กับพระนาคเสนเหมือนกัน พระนาคเสนก็ถวายพระพรตอบว่า

จะให้สำเร็จผล ต้องมีเงื่อนไข ๓ อย่าง คือ
๑. ต้องมีความเชื่อ
๒. ไม่มีกรรมเป็นเครื่องกางกั้น เรียกว่า กรรมวรณ์
๓. ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกางกั้น เรียกว่า กิเลสาวรณ์

ถ้าไม่เชื่อ พระปริตรก็ไม่สำเร็จ หรือถ้ามีกรรมเป็นเครื่องกางกั้น คือ กรรมชั่วมันจะให้ผล ป้องกันก็ไม่ได้ เพราะ นัตถิ กัมมะ สมัง พลัง ไม่มีกำลังใดเสมอด้วยกำลังกรรมหรือว่ามีกิเลสเป็นเครื่องกางกั้น คือว่ากิเลสรุนแรง เดี๋ยวจะเล่าเรื่องให้ฟังให้เห็นว่ากิเลสรุนแรง มันป้องกันไม่ได้อย่างไร


ขอบคุณครับ ชอบพระนาคเสน
ผมเป็นคนสมาธิสั้น
พยายามสวดมนต์เพราะหวังว่าจะมีสมาธิ
สมาธิสั้น แต่ความจำยาวละป่าวอ้ายเมธ
ยังจำทะเบียนรถฮอนด้าที่ชัยนาทได้ละป่าว
ขอบคุณครับ
TATIE ตอบกลับเมื่อ 2013-6-13 11:55
สมาธิสั้น แต่ความจำยาวละป่าวอ้ายเมธ
ยังจำทะเบียนรถฮ ...

ความจำสั้น แต่ความรักของพี่เมธยาวเหยียด
TATIE ตอบกลับเมื่อ 2013-6-13 11:55
สมาธิสั้น แต่ความจำยาวละป่าวอ้ายเมธ
ยังจำทะเบียนรถฮ ...

ขบคุณน่ะขอรับ ฮอดด้า ซีตี้ ทะเบียน กค ภค4888
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้