ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1565
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

การแสดงความอวดดีไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด

[คัดลอกลิงก์]
การแสดงความอวดดีไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด

         อวดดี อวดเด่น อวดรู้ อวดฉลาด - แต่ก็ไม่ดีจริง ไม่เด่นจริง ไม่รู้จริง ไม่ฉลาดจริง ต้นตอรากเหง้าของกิเลสตัวนี้ คือ อวิชชา-ความไม่รู้จริง หรือความบรมโง่ ก็ได้ เกี่ยวพันกับกิเลสหลายตัวมาก เพราะมีหลายระดับ หลายชั้น ตั้งแต่ ชั้นหยาบๆ -ชั้นกลางๆ-และชั้นละเอียด คละเคล้าปะปนกันอยู่มากบ้างน้อยบ้างตามส่วน เช่น

         ๑. กิเลสหยาบ - ชั้นนอก (อุปกิเลส ๑๖)
         ปลาสะ     : ตีเสมอ (เข้าทำนองอวดเด่น อวดรู้ อวดฉลาดเท่าเทียมกับผู้ที่เหนือกว่า)
         สารัมภะ   : แข่งดี แย่งดี(ประเภทหน้าใหญ่ใจโต ทำบุญเอาหน้า เอาเด่นกว่าใคร)
         มานะ        : ถือตัว ถือตน
         ถัมภะ       : ดื้อ ด้าน
         อติมานะ  : ดูถูก ดูหมิ่น ดูแคลนคนอื่น
         อิสสา       : อิจฉาริษยาผู้อื่น ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดี

         ๒. กิเลสชั้นกลาง  (อนุสัย ๗ : นอนนิ่งอยู่ในใจ พุ่งหรือฟุ้งขึ้นมาบางขณะตามเหตุปัจจัย)....
         ทิฏฐิ         : ความเห็นผิด (เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด)
         มานะ       : ถือตัว ถือตน ไม่เห็นคนอื่นอยู่ในสายตา
         ภวราคะ   : อยากได้ อยากมี อยากเป็น
(อยากให้คนอื่นยกย่อง เชิดชู ให้เกียรติ เห็นว่าตนดี ตนเด่น)
         อวิชชา    : ความไม่รู้จริง บรมโง่

         ๓. กิเลสชั้นละเอียด  (สังโยชน์ ๑๐ : ทำให้จิตไม่หลุดพ้น)
         สักกายทิฏฐิ  : ติดอัตตา ตัวตน อีโก้สูง ประมาทหลงเมาตนเอง
         มานะ             : ถือตัว ถือตน
         อวิชชา          : ความไม่รู้จริง บรมโง่

         ผู้ปฏิบัติธรรม จำนวนไม่น้อยติดหลงอยู่กับ กิเลส อวิชชา เหล่านี้ คิดว่าตัวเองบรรลุธรรมแล้ว ดีแล้ว ดีกว่าคนอื่น ๆ การแสดงตัวว่ารู้ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จริง ก็เป็นการบ่งบอกให้คนอื่นรู้ได้ในที่สุดเองว่า ตนเองเป็นอย่างไร หรือดีแค่ไหน ดังนั้น ผู้รู้จริง เขาจึงไม่โอ้อวด แสดงตนว่ารู้มาก และไม่ตำหนิติเตียนผู้อื่น หากแต่เข้าใจ และสงสาร ช่วยได้ท่านก็ช่วย ช่วยไม่ได้ ท่านก็ปล่อยไปตามเรื่องของแต่ละคน
         คนสูง (คนดีจริง) ทำตัวต่ำ (สามัญธรรมดา สมถะ เรียบง่าย ไม่ถือตัว) แต่คนต่ำ (คนชั่ว คนไม่ดีจริง) ทำตัวสูง (พยายามยืดชูคอให้สูงกว่าปกติธรรมดาเข้าไว้ อวดเบ่ง อวดเก่ง คุยโม้โอ้อวด ทั้งๆที่ไม่มีดีจะอวด นอกจากความโง่ของตนเท่านั้นเอง)
         ในข้อนี้จะเรียนให้ท่านทั้งหลายทราบพอเป็นคติเล็กน้อย สำหรับท่านผู้กำลังประพฤติปฏิบัติธรรมภายในใจอยู่ และอาจมีกรุ่น ๆ หรือปริ่ม ๆ อยู่บ้างภายในใจ ในเมื่อมีโอกาสอาจระบาย หรือประกาศโฆษณาออกได้ โดยไม่มีความกระดากอายว่าใครจะตำหนิติเตียนอย่างใดบ้าง เพราะความอยากดังอยากเด่นอันเป็นเรื่องของกิเลสมันผลักดัน จึงขอนำคติของปราชญ์ ที่ท่านทำตามหลักที่พระพุทธเจ้าพาดำเนินมาแสดงเป็นทัศนคติบ้าง เช่น พระอัสสชิได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งองค์ ในจำนวนปัญจวัคคีย์ทั้งห้าที่เป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า มีพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นต้น พระอัสสชิเป็นองค์ที่ห้า ท่านบรรลุธรรมแล้ว
         ตอนนั้นท่านอุปติสสะ คือ พระสารีบุตรที่เป็นพระอัครสาวกข้างขวาของพระพุทธเจ้านั่นเอง แต่ก่อนที่ท่านยังไม่ได้เป็นพระสาวกท่านกำลังออกบวชในสำนักปริพาชก บำเพ็ญไปตามประเพณีของคนสมัยนั้น เวลามาเห็นพระอัสสชิที่มีความสวยงามมากด้วยกิริยามารยาท ก้าวหน้า ถอยกลับ เหลือบซ้าย แลขวา เป็นผู้มีอากัปกิริยาที่สำรวมน่าเคารพเลื่อมใสมาก จึงพยายามแอบด้อมตามหลังท่านไป พอพ้นจากหมู่บ้าน ก็เรียนถามสำนักที่อยู่อาศัยของอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่าน ท่านก็พูดให้ฟังเพียงย่อ ๆ เกี่ยวกับเรื่องธรรมของศาสดาหรือครูอาจารย์ท่านสอนอย่างไร ท่านว่า
                       “เราไม่มีความรู้อันกว้างขวาง จะแสดงให้ท่านฟังได้เพียงย่อ ๆ เท่านั้น
                         “เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา” เป็นต้น “ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ เมื่อดับ
                        ก็ต้องดับเหตุก่อน” พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้”


         เพียงเท่านี้พระสารีบุตรที่เป็นปริพาชกท่านได้บรรลุพระโสดาขึ้นทันที
         ส่วนพระอัสสชิผู้เป็นอาจารย์นั้น ท่านหาได้ประกาศตนไม่ว่าท่านเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ท่านไม่ปริปากพูดเลย ส่วนพระสารีบุตรอาจทราบภูมิธรรมท่านได้ในขณะที่ได้ฟังธรรมย่อ เพราะภูมิพระโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลนี้ สามารถจะหยั่งทราบความจริงของท่านที่มีภูมิสูงกว่าตนได้ จึงสามารถสอนธรรมประเภทอัศจรรย์ไม่เคยฟังให้แก่ตนจนได้บรรลุ แต่ไม่ปรากฏในตำนานว่าพระสารีบุตรท่านได้ทราบจากพระอัสสชิเล่าให้ฟังว่าท่านเป็นพระอรหันต์ เพราะพระอัสสชิไม่ได้แสดงตัวออกมาว่าท่านเป็นพระอรหันต์ นี่ข้อหนึ่งเป็นเครื่องสาธกพอหยิบยกเทิดทูน

ที่มา
ในหนังสือ “พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

สาธุธรรมครับ

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้