ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ประกอบกรรมดี

[คัดลอกลิงก์]




พระพุทธรูป

หมายถึง รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา อาจใช้การแกะสลักจากวัสดุต่างๆ เช่น ศิลา งา ไม้ หรือวัสดึอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้การปั้นหรือหล่อด้วยโลหะก็ได้ โดยทั่วไป คำว่า พระพุทธรูปมักจะหมายถึง รูปขนาดใหญ่พอที่จะวางบูชาได้ สำหรับรูปขนาดเล็กมักจะเรียกว่า พระเครื่อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบสามารถเรียกว่า พระพุทธรูป ได้เช่นกัน



กำเนิดพระพุทธรูป


แต่เดิมนั้นพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด ศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดู ซึ่งมีมาก่อนศาสนาพุทธ ก็ไม่มีรูปเคารพเป็นเทวรูปเช่นกัน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา อยากจะมีสิ่งที่จะทำให้รำลึกถึง หรือเป็นสัญญลักษณ์ขององค์ศาสดา เพื่อที่จะบอกกล่าวเล่าขาน เรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงศึกษาค้นคว้าหาทางดับทุกข์ และทรงชี้แนะสอนสั่งผู้คน ถึงการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอยู่ ที่ก่อให้เกิดความผาสุกในหมู่มวลมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก


คราวแรกนั้นชาวพุทธก็ได้แต่นำเอาสิ่งของอันได้แก่ ดิน น้ำ และกิ่ง ก้าน ใบโพธิ์ จากบริเวณสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน),ตรัสรู้ (พุทธคยา), ปฐมเทศนา (สารนาถ) และปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เป็นที่ระลึกบูชาคุณพระพุทธเจ้า


ล่วงมาถึงในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง เมื่อ 2,200 ปีก่อน หรือหลังจากการดับขันธ์ของพระพุทธเจ้ามา 300 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงส่งสมณะทูต จำนวน 500 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาราฐ จึงมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองที่ประสิทธิประสาทวิทยาการต่าง ๆ นับว่า "เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกทางพระพุทธศาสนา"
แต่ก็ยังไม่มีรูปเคารพแทนพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปคน


พระพุทธรูป หรือ รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า เริ่มมีการสร้างขึ้นมาตั้งแต่ระหว่าง พ.ศ. 500 ถึง 550 เมื่อชาวกรีก ที่ชาวชมพูทวีป(อินเดียโบราณ) เรียกชาวต่างแดนว่า "โยนา" หรือ "โยนก" โดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 หรือ พระยามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก ยกทัพกรีกเข้ามาครอบครองแคว้นคันธาราฐ (ปัจจุบันเป็นดินแดนของอัฟกานิสถาน) จากนั้นพระองค์ก็แผ่อาณาเขตไปทั่วบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป และสร้างเมืองหลวงเป็นที่ประทับ ณ เมืองสากล (Sakala) หลังจากที่ได้พบพระสงฆ์ท่านหนึ่งนามว่า นาคเสน จึงมีเรื่องราวแห่งการตั้งคำถามของพระเจ้ามิลินท์ต่อพระนาคเสน จนทำพระเจ้ามิลินท์ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา (คำถามคำตอบปุจฉาวิสัชนา ซึ่งถูกเขียนบันทึกเป็นหนังสือและแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก เรื่องนี้ก็คือ ..

มิลินทปัญหา
- The Milinda Panha or The Questions of King Minlinda) ได้มีการสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรมทางพุทธศาสนามากมายในแคว้นคันธาราฐ ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปนั้นมีลักษณะต่างๆ ตามพุทธประวัติ (ปางพระพุทธรูป)


พระพุทธรูปรูปแรกจึงเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ หรือเมนันเดอร์ที่ 1 ชาวกรีกที่มาครอบครองแคว้นคันธาราฐ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 2,000 ปีที่แล้วนั่นเอง พระพุทธรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกจึงเรียกรูปแบบของพระพุทธรูปนี้ว่า แบบคันธาราฐ โดยถ่ายแบบอย่างเทวรูปที่พวกชาวกรีกนับถือกันในยุโรปมาสร้าง พระพุทธรูปแบบคันธาราฐจึงมีใบหน้าเหมือนฝรั่งชาวกรีก จีวรก็เป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของเทวรูปกรีก และต่อมาในภายหลัง ราวพุทธศตวรรษ ที่ 4-12 มีคตินิยมสร้างพระพุทธรูปเป็นขนาดเล็กๆ (พระเครื่อง) บรรจุไว้ในพุทธเจดีย์



http://th.wikipedia.org/wiki




อานิสงส์การหล่อ/สร้างพระพุทธรูป



สร้างพระ 1 องค์ ได้อานิสงส์ 5 กัป(หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ)....ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สร้างด้วยอะไรก็ตาม หมายความว่าบุญกุศลจะตามหนุนส่งท่านไปทุกภพทุกชาตินานถึง 5 กัป ฯ



หลวงพ่อฤาษีลิงดำ กล่าวว่า"การสร้างสมเด็จองค์ปฐมทำได้ยาก คือ ว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต้นพระพุทธเจ้าทั้งหมด การสร้างองค์ปฐมนี้ ท่านเปลี่ยนบัญชีใหม่ โดยใช้บัญชีสีทอง เป็นทองคำล้วนทั้งเล่ม จดบันทึก(เป็นอีกเล่มหนึ่งจากที่จดธรรมดา) ก็แสดงว่า คนที่จะสร้างพระพุทธเจ้าองค์ปฐมได้นี้ ต้องเป็นคนมีบุญมาก และไปนิพพานได้เร็วมาก" เพราะบัญชีสีทอง หลวงพ่อฯบอกว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องโมทนาหมด



ผู้ใดสร้างรูปพระพุทธเจ้า จะเป็นองค์เล็กเท่าต้นคาก็ดี ใหญ่กว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์ หมื่นชาติแสนชาติ ถ้าเป็นมนุษย์ จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหมื่นชาติ แสนชาติ จะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลย ตราบจนกว่าเข้าสู่นิพพาน(หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว)



การสร้างพระ เปรียบได้กับธนาคารบุญ ซึ่งจะเกิดบุญกุศลกับผู้ที่มีส่วนในการสร้าง โดยบุญกุศลนั้น จะเกิดขึ้นทุกครั้ง ที่มีผู้มากราบไหว้ สักการะบูชา เท่ากับจำนวนคน และจำนวนครั้ง(หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา)



การที่ผู้สร้างพระพุทธรูปได้เกิดศรัทธา จนถึงสละเงินออกมาสร้างพระพุทธรูปได้ และออกมาทำทาน ในงานฉลองพระพุทธรูปได้ ชื่อว่าเป็นผู้มี"ความเห็นตรง เห็นถูกแท้" เพราะเป็นบุญของตนเอง ไม่ใช่บุญของใครเลย ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ชื่อว่า เป็นผู้ได้เตรียมตัวก่อนตาย(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)


ถวายสังฆทาน 100 ครั้ง อานิสงส์ไม่เท่ากับถวายวิหารทาน 1 ครั้ง

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2013-10-27 11:04




การสร้างพระเครื่องให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมาก

สำหรับบรรจุในพระพุทธเจดีย์ เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง

วัตถุต่างๆ พังทลายยังสามารถพบรูปสมมุติของพระพุทธเจ้า


เพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา เป็นหลักฐานทางวัตถุว่า

ที่นี่มีพระพุทธศาสนา มีผู้ศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตาม

เป็นพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ รวมทั้งเป็นสิ่งระลึกอันประเสริฐของบุคคล

ผู้คนรุ่นแต่ก่อน ปัจจุบันและต่อไปในอนาคต "



ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความเชื่อและคตินิยม ในการสร้างพระเครื่อง

ซึ่งอาจจะรวมถึงรูปสมมติของพระโพธิสัตว์ พระอริยสงฆ์

และเทพเจ้าที่มีขนาดเล็กด้วยบรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ หรือฝังลงดินไว้ตามสถานที่ต่างๆ

พระกรุจึงถือเป็นมรดกของชาติ ที่เพียบพร้อมด้วยความศักดิ์สิทธิ์

อันบริสุทธิ์ของพลังอำนาจแห่งพระพุทธคุณ





อนุโมทนาครับ
โมทนาสาธุครับ
"ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าติดวัตถุอัปมงคล"


หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
27#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-11-22 08:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
รามเทพ ตอบกลับเมื่อ 2013-10-29 08:06
"ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าติดวัตถุอัปมงคล"


เยี่ยม
รามเทพ ตอบกลับเมื่อ 2013-10-29 08:06
"ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าติดวัตถุอัปมงคล"


ครับ
สาธุ กราบๆๆ
อนุโมทนาสาธุกับทุกๆท่านในผลบุญครั้งนี้ครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้