ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1831
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

“ปาฏิโมกขสังวรศีล”

[คัดลอกลิงก์]


๑.สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์


  
“สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์”  นี้มีศัพท์บัญญัติในพระพุทธศาสนาว่า “ปาฏิโมกขสังวรศีล” มีคำศัพท์แยก

ออกมาพิจารณาได้ ๓ คำ คือ
  

คำที่ ๑ “ปาฏิโมกข์” แปลว่า ยังผู้รักษาให้พ้นทุกข์

คำที่ ๒ “สังวร” แปลว่า ความสำรวม การระวังปิดกั้นบาปอกุศล

คำที่ ๓ “ศีล” คำนี้มีคำแปลได้หลายอย่าง เช่น เจตนาในการงดเว้นบาปทั้งปวง ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุม

กาย วาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม ความประพฤติที่ดีทางกาย วาจา เป็นต้น แม้จะมีคำแปลแตกต่างกันก็

ตาม แต่โดยความหมายแล้วเหมือนกัน คือ สนับสนุนให้คนประพฤติกุศลกรรม
  
ดังนั้น “ปาฏิโมกขสังวรศีล” จึงหมายถึง “เจตนาในการสำรวมระวังตน

ให้ประพฤติดีงามทางกายและวาจา เพื่อตนจะได้พ้นทุกข์”





วิธีปฏิบัติ “ปาฏิโมกขสังวรศีล”


นั้นอาจแยกอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายเป็น ๓ หัวข้อ ดังนี้


๑) ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร

๒) มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย

๓) สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย



๑) ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร

ในหัวข้อนี้มีคำศัพท์ที่ต้องแยกพิจารณาอยู่ ๒ คำ คือ “มรรยาท” กับ “โคจร”

คำว่า “มรรยาท” บางที่ก็เขียน “มารยาท” แต่ในตำราพระพุทธศาสนา มักนิยมใช้คำว่า

“อาจาระ” อาจาระนั้นแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ อาจาระที่ดี กับ อาจาระที่ไม่ดี



อาจาระที่ดี คือ การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา นั่นคือการสำรวมระวังในศีลทั้งมวล มีความ

เคารพยำเกรงในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และภิกษุผู้มีพรรคมากกว่า ถึงพร้อมด้วยหิริโอตตัปปะ นุ่งห่มเรียบร้อย

มีอากัปกิริยาท่าทางที่สงบสำรวมงดงาม ดูแล้วน่าเลื่อมใส สำรวมอินทรีย์ รู้จักประมาณในการบริโภค มีความ

เพียร ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ เป็นผู้มักน้อย สันโดษไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ



อาจาระที่ไม่ดี คือ การล่วงละเมิดทางกายหรือทางวาจาหรือทั้งทางกายและทางวาจา พระภิกษุมี

อาจาระไม่ดีย่อมเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะ เช่น การพูดประจบสอพลอ หรือให้สิ่งของเพื่อให้เขารัก

หรือประจบสอพลอด้วยการขออุ้มเด็กเล่น การพูดหยอกล้อที่เล่นที่จริง หรือการอาสารับใช้ทำกิจให้

ฆราวาสโดยหวังอามิสรางวัลจากเขา อาจาระที่ไม่ดีนั้นถือว่าเป็นการประพฤติทุศีลด้วยประการทั้งปวง

นอกจากนี้ อาจาระที่ไม่ดีของพระภิกษุ ยังรวมถึงกิริยาอันไม่สมควรต่าง ๆ เช่น การไม่ทำความเคารพ

พระเถระหรือพระภิกษุผู้มีพรรษาสูงกว่า การยืนหรือนั่งเบียดเสียดในที่ชุมนุมสงฆ์ การนั่งเบียด นั่งบังหน้า

นั่งคลุมศรีษะ บังหน้าพระเถระในที่ประชุม การแกว่งแขนขณะที่พูดกับพระเถระ การสวมรองเท้าเดินจงกรม

อยู่กับพระเถระที่กำลังเดินจงกรมโดยไม่สวมรองเท้า การแย่งชิงขึ้นหน้าพระเถระขณะเดินตามทางหรือ

เดินเข้าประตู การกีดกันอาสนะภิกษุใหม่ หรือเบียดเสียดเพื่อกีดกันพระภิกษุใหม่


  
ภิกษุบางรูป เมื่ออยู่ท่ามกลางสงฆ์ไม่แสดงอาการนอบน้อมต่อพระเถระ เมื่อจะแสดงความคิดเห็นของตน

ก็ไม่ขออนุญาตพระเถระผู้เป็นประธานในที่ประชุมเสียก่อน ในกรณีที่ไปสู่บ้านฆราวาสก็ฉวยโอกาสเข้าไป

ดูตามห้องต่าง ๆ เมื่อพบเด็กก็ลูบคลำศรีษะ เมื่อพบหญิงก็ เข้าไปสนทนาซักถามถึงเรื่องภัตตาหารว่า

เธอจะจัดถวายสิ่งใดให้บ้าง ความประพฤติดังกล่าวแล้วนี้ล้วนเป็นตัวอย่างของอาจาระที่ไม่ดีทั้งสิ้น



ในทางกลับกัน พระภิกษุที่มีความเคารพอ่อนน้อมต่อพระเถระ นุ่งห่มสละสลวย เรียบร้อย สำรวมระวัง

กิริยาในขณะที่เคลื่อนไหวศีลอดเวลา มีอิริยาบถเสงี่ยมงาม มีสายตาทอดลงต่ำ ไม่เหลียวซ้ายแลขวา

หรือแสดงอาการหลุกหลิกลุกลี้ลุกลน มีความปรารถนาน้อย มีความหนักแน่น อดทน จะกล่าววาจา

ใดก็เปี่ยมไปด้วยความสำรวม และเมตตาธรรม เหล่านีคือตัวอย่างของอาจาระที่ดี



อีกคำหนึ่งก็คือ “โคจร”

ซึ่งหมายถึงบุคคลหรือสถานที่ซึ่งพระภิกษุควรไปมาหาสู่ หรือสิ่งที่พระภิกษุควรเข้าไปเกี่ยวข้อง พระภิกษุที่ตั้ง

อยู่ในโคจรย่อมไปมาหาสู่เฉพาะที่ที่ควรไปเท่านั้น เช่น สถานที่ หรือบุคคลที่อำนวยประโยชน์ต่อการศึกษาค้น

คว้าหรือการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุโดยตรง
  
โคจรแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ ๑ ได้แก่      


๑) โคจรที่ควรเข้าไปอาศัย

๒) โคจรที่ควรรักษา

๓) โคจรที่ควรใส่ใจ



๑) โคจรที่ควรเข้าไปอาศัย


หมายถึง กัลยาณมิตรพร้อมบริบูรณ์ด้วยกว่าวัตถุ ๑๐ประการ ได้แก่



๑. อัปปิจฉกถา คือ ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ไม่มักมาก ไม่อยากเด่นอยากดัง

๒. สันตุฏฐิกถา คือ ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษไม่ชอบ ฟุ้งเฟ้อ

๓. ปวิเวกกถา คือ ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจ

๔. อสังสัคคกถา คือ ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่

๕. วิริยารัมภกถา คือ ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียร

๖. สีลกถา คือ ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล

๗. สมาธิกถา คือ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น

๘. ปัญญากถา คือ ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา

๙. วิมุตติกถา คือ ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและ ความทุกข์

๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา คือ ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้ความเห็นในภาวะที่

       หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์



บุคคลที่บริบูรณ์พร้อมด้วยกถาวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ถือว่าเป็นโคจร เป็นผู้ที่พระภิกษุควรเข้า

ไปหา เข้าไปอาศัย เพื่อชักถามปัญหาข้อสงสัยต่าง ๆ





๒) โคจรที่ควรรักษา หมายถึง มรรยาทหรืออาจาระที่ดีงามของพระภิกษุ เช่น การเดินอย่างสงบเสงี่ยม

สายตาทอดต่ำลงไม่เหลียวช้ายแลขวาดูหญิงดูชายหรือสิ่งต่าง ๆ หรือแหงนดูเบื้องบน หรือก้มหน้าดูข้างล่าง

จนปราศจากความสำรวมเหล่านี้คือโคจรที่ควรรักษาของพระภิกษุ



๓)  โคจรที่ควรใส่ใจ หมายถึง สติปัฏฐาน ๔ คือ



๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติตามเห็นกายในกาย คือ กายต่าง ๆ ที่ซ้อนกันอยู่ใน

    กายมนุษย์นี้นับตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดหรือกายฝัน จนกระทั่งถึงกายธรรมระดับต่าง ๆ

๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติตามเห็นเวทนาในเวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์

    หรือไม่สุขไม่ทุกข์ของกายต่าง ๆ ที่ซ้อนกันอยู่ในกายมนุษย์นี้

๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติตามเห็นจิตในจิต คือ ดวงจิตของกายต่าง ๆ ที่ซ้อนกัน

    อยู่ในกายมนุษย์

๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติตามเห็นธรรมในธรรม คือ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่าง ๆ

    ตั้งแต่กายมนุษย์จนถึงกายธรรม




ตรงกันข้ามกับโคจร คือ อโคจร



“อโคจร”หมายถึง บุคคลและสถานที่ซึ่งพระภิกษุไม่ควรไปมาหาสู่ มี ๖อย่าง คือ



    หญิงแพศยา (โสเภณี)


    หญิงหม้ายสาวเทื้อ (สาวแก่)


    ภิกษุณี บัณเฑาะก์ (กะเทย)   



    และร้านสุราในสภาพสังคมปัจจุบัน



อโคจนั้นมีอยู่มากมายเกินกว่าอย่างดังกล่าว เช่น โรงมหรสพ สถานเริงรมย์ต่างๆ และศูนย์การค้าต่างๆ

เป็นต้น พระภิกษุที่ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร ย่อมไม่ไปสู่ที่โคจร เพราะละอายใจและกลัวเสียชื่อเสียง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวเปรียบพระภิกษุผู้เที่ยวไปในอโคจรว่า “เหมือนโคที่เที่ยวไปในถิ่นเสือและราชสีห์

หรือเหมือนเต่าปลาอันเที่ยวไปในเขตที่ดินของชาวประมง เป็นต้น”๒



อย่างไรก็ตาม สำหรับอโคจร ถ้าเขาเชื้อเชิญนิมนต์ด้วยกิจอันสมควร พระภิกษุก็สามารถไปปฏิบัติหน้าที่

ในฐานะนักบวชได้ แต่จะต้องไม่ไปด้วยเรื่องอื่น นอกจากกิจนิมนต์ เช่นไม่ไปสนทนาปราศรัยอย่างสามัญชน

ทั่วไป เพราะอาจจะถูกเข้าใจว่ามีความประพฤติผิดไปจากพระธรรมวินัย เป็นพระภิกษุน่ารังเกียจ พระภิกษุ

มีอาจาระดีและตั้งอยู่ในโคจร ดังได้พรรณนามาแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า “ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร”









๒) มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย


   “โทษ” ในที่นี้ หมายถึง ความชั่วหรือความผิด ขึ้นชื่อว่าโทษแล้ว แม้จะมีเพียงน้อยนิดเท่าใดก็ย่อมเป็น

โทษอยู่นั่นเองไม่มีทางจะเป็นคุณไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น โทษภัยแม้เพียงเล็กน้อยยังสามารถเป็นเชื้อแพร่กระจาย

ทำให้เกิดโทษภัยลุกลามกว้างขวางใหญ่โตออกไปอีกด้วย อุปมาเหมือนลูกไฟ แม้เล็กนิดเดียวหากกระเด็นไป

ถูกวัตถุไวไฟเข้าก็อาจจะเผาบ้านเมืองได้





พระภิกษุบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ก็เพราะมีจุดมุ่งหมายที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์

เพื่อให้ถึงซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐ ดังนั้นจึงต้องพยายามละเว้นความชั่วทุกอย่าง ด้วยการระมัดระวังมิให้

ประพฤติผิดพลาดอย่างเด็ดขาดแต่ถ้าเมื่อใดเกิดประพฤติผิดพลาดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยโดยมิได้เจตนา

ก็จะต้องตระหนักว่านั่นคือตนได้ก่อบาปอกุศลขึ้นแล้วจำเป็นที่จะต้องระมัดระวัง แก้ไข ปรับปรุง หรือหลีกเลี่ยง

การปฏิบัติเพื่อที่จะไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้นอีกในภายหน้า





ทั้งจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ความผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังเป็นความผิดอยู่นั้นเองถึงแม้จะมีโทษ

เพียงเล็กน้อย ก็ยังเป็นโทษอยู่นั้นเองไม่มีทางจะเป็นคุณไปได้เลย หากพระภิกษุตั้งอยู่ความประมาทมองข้าม

ภัยของโทษแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจจะประสบความหายนะได้ ขึ้นชื่อว่าอสรพิษแล้ว ไม่ว่าจะตัวเล็กแค่ไหน

ก็มีอันตรายไม่แพ้ตัวใหญ่ ด้วยเหตุนี้พระภิกษุจึงต้องฝึกตนให้เป็นผู้ “มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย”







๓) สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

    “สมาทาน” หมายถึง การรับเอาเป็นข้อปฏิบัติ “สิกขาบท” หมายถึงศีลแต่ละข้อ ๆ พระภิกษุใน

พระพุทธศาสนา เมื่อสำเร็จญัตติจตุตถกรรม๓ ในท่ามกลางสงฆ์ ได้รับความยินยอมจากพระภิกษุทั้งปวง

ในองค์ประชุมสงฆ์ในพิธีอุปสมบท ให้มีภาวะเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมถือว่าได้สมาทานศีล

สิกขาบทน้อยใหญ่ไว้สมบูรณ์เรียบร้อยแล้วทันที ไม่ต้องมีการสมาทานกันอีก



ดังนั้น พระภิกษุจึงจำเป็นต้องศึกษาเจตนารมณ์ หรือจุดมุ่งหมายของสิกขาบทแต่ละข้อ ๆ ที่พระพุทธองค์

ทรงบัญญติไว้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งต้องจำได้ขึ้นใจ เพื่อให้สามารถปฏิบัติสิกขาบทแต่ละข้อ ก็ได้โดย

บริบูรณ์บริสุทธิ์ไม่มีผิดพลาดจึงจะได้ชื่อว่า “สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย”





พระภิกษุผู้มีการปฏิบัติพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย และสมาทาน

ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดังได้พรรณนามาแล้วนี้ ย่อมได้ชื่อว่า “สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์”

หรือบริบูรณ์พร้อมด้วย “ปาฏิโมกขสังวรศีล”



มีสิ่งที่น่าพิจารณาอยู่อย่างหนึ่ง คือ การสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ของพระภิกษุจะประสบความสำเร็จได้

ก็ด้วยศรัทธาของพระภิกษุเอง ไม่มีใครบังคับได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงกำชับพระภิกษุสงฆ์ ให้เป็นผู้มี

ความเคารพี รักในศีลดังที่ทรงให้โอวาทไว้ว่า

  

  “.. นางนกต้อยติวิด รักษาฟองนิดฉันใดแลทราย ย่อมรักษาขนหาง มารดาย่อมรักษาบุตรยอดรัก คนเอก

จักษุย่อมรักษานัยน์ตาข้างเดียวไว้ฉันใด เธอทั้งหลายจงรักษาศีลให้เหมือนอย่างนั้น จงเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก

มีความเคารพจงดีทุกเมื่อเถิด”๔



        

  ดังนั้น พระภิกษุมีปณิธานย่อมจะยังพระปาฏิโมกข์ให้บริสุทธิ์หมดจด

แม้จะต้องสละชีวิตก็จะไม่ยอมล่วงละเมิดศีล ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้