ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 14536
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เจ้าพ่อหอกลอง

[คัดลอกลิงก์]
พาไปไหว้ เจ้าพ่อหอกลอง ในเกาะรัตนโกสินทร์

                                       


ประวัติเดิม
          เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) ในรัชกาลที่ ๑ เกิดที่กรุงศรีอยุธยา เป็นทหารเอกในพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพลรบฝ่ายซ้าย ต่อมาได้เลื่อนเป็นพลรบฝ่ายขวา แทนเจ้าพระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งถึงแก่กรรม เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ได้ติดตามพระเจ้าตากสินมหาราชออกรบ มีความเชี่ยวชาญในทางหอก และชอบให้ทหารตีกลองศึกในเวลาออกรบ ทหารทั้งหลายในสังกัด จึงพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า "เจ้าพ่อหอกลอง" ท่านเป็นกำลังสำคัญในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย ต่อมาป่วยเป็นโรคลำไส้ สิ้นชีวิตที่พระราชวังเดิม จังหวัดธนบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๑ อายุ ๕๘ ปี

สมัยเมื่อตั้งกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง ได้แสดงอภินิหารต่าง ๆ เรื่อยมา เมื่อสร้างศาลาว่าการกลาโหม พ.ศ.๒๔๒๕ ได้สร้างหอกลองขึ้นไว้บนปลายสุดของยอดชั้นที่ ๓ ด้านสะพานช้างโรงสี ต่อมาตึกร้าวจึงรื้อออก เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ แล้วสร้างศาลเจ้าพ่อหอกลองขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒

ศาลเจ้าพ่อหอกลอง
ที่ตั้ง  กรมการรักษาดินแดน ริมถนนอัษฎางค์ ทางด้านคลองคูเมืองเดิม เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ประวัติความเป็นมา
         สร้างขึ้น พ.ศ. 2509 เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง และไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงเจ้าพ่อหอกลอง ตามความเชื่อ และความสำคัญที่ผูกพันกับคนไทยมาช้านาน ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ "กลอง" คือ สิ่งที่ใช้ตีบอกเวลา ส่งสัญญาณ และบอกข่าวสารแก่กัน จากวังสูงบ้าน และแพร่ขยายต่อ ๆ กันไปทั่วกรุงฯ มีหลักฐานว่าในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้มีการสร้างหอกลองไว้หน้าวัดพระเชตุพนฯ มีกลองสำคัญประจำอยู่ 3 ใบ คือ กลองย่ำพระสุรสีห์ ไว้ตีบอกเวลา กลองอัคคีพินาศ ไว้ตีเพื่อบอกเหตุไฟ้ไหม้ และกลองพิฆาตไพรี ไว้ตีเมื่อเกิดศึกสงครามหรือข้าศึกบุกมาประชิดพระนคร
          ทั้งเสียงและจังหวะการตีกลองทั้งสามใบจะแตกต่างกันทำให้ผู้ฟังรู้ทันทีว่าเกิดเหตุอะไรขึ้น มีเรื่องเล่าว่าเจ้าหน้าที่ประจำหอกลองคนแรก ได้เสียชีวิตลงในหน้าที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จึงได้โปรดฯ ให้สร้างศาลไว้ใกล้กับบริเวณหอกลองเพื่อเป็นที่ระลึก
          ในสมัยก่อนเมื่อมีงานราชพิธีสำคัญ ๆ ก็จะมีการอัญเชิญเทพเทพารักษ์มาร่วมบูชาอยู่ด้วยเสมอ ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ศาลเจ้าพ่อหอกลองทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา พระองค์จึงทรงแก้ไขปรับปรุงศาลเทพารักษ์ เจ้าพ่อหอกลอง เปลี่ยนจากมณฑปมาเป็นพระเกี้ยว
          ครั้นต่อมาในรัชการที่ 4 พระองค์ทรงมีประสงค์จะรักษาสภาพศาลนี้ให้คงอยู่ในสภาพดั้งเดิม จึงทรงเปลี่ยนจากพระเกี้ยวมาเป็นมณฑปเช่นเดิม แต่ได้ทรงแก้ไขบางส่วนให้เป็นมณฑปแบบศาลหลักเมืองในสมัยนั้น
          เมื่อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ศาลเจ้าพ่อหอกลองเสียใหม่ และได้ถูกปรับปรุงมาอีกหลายครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ.2498 กรมการที่ดินได้ย้ายมาอยู่ ณ สวนเจ้าเชตุนี้ โดยย้ายมาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สวนเจ้าเชตุในสมัยนั้นก็เป็นที่ตั้งของกองพันทหารอยู่แล้วคือ ร.1 พัน 4 รอ.ในการย้ายกรมการที่ดินมาตั้ง ณ ที่แห่งใหม่นี้ ได้มีการพูดกันว่า สถานที่ที่กรมการรักษาดินแดนย้ายมาตั้งนี้ คือที่ตั้งเดิม ของศาลเทพารักษ์เจ้าพ่อหอกลอง อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์




ต่อมาในปี พ.ศ.2509 ท่านเจ้ากรมรักษาดินแดน พล.ท.ยุทธ สมบูรณ์ จึงได้มอบหมายให้ พ.ต.ฟื้น แสงรักษ์ เป็นผู้ดำเนินการในการจัดสร้างศาลเจ้าพ่อหอกลองขึ้น โดยได้สร้างแบบจตุรมุข และมีมณฑปแบบของเดิม ส่วนองค์เจ้าพ่อหอกลองนั้น ไม่ได้อัญเชิญองค์เดิม มาจากศาลหลักเมือง เพราะเกรงว่าจะผิดพระราชประสงค์ขององค์รัชการที่ 5 จึงได้สร้างองค์เจ้าพ่อหอกลองขึ้นมาใหม่ โดยคณาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิวิทยาคมหลายท่าน ช่วยตรวจดูพระรูปลักษณะของเจ้าพ่อหอกลอง พระคณาจารย์ได้เห็นพ้องต้องกันว่า ให้สร้างพระรูปเจ้าพ่อหอกลองเป็นแบบคนโบราณนุ่งผ้ากระโถงผ้าขาวม้าพาดไหล่ซ้าย นั่งขัดสมาธิ มือทั้งสองข้างวางบนเข่า ทั้งซ้ายและขวา องค์หล่อด้วยทองเหลือง หน้าตักกว้าง 29 นิ้ว ประทับนั่งบนแท่นแปดเหลี่ยม

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-1-4 20:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


      นอกจากนั้นยังได้อันเชิญกลองโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากวัดสุวรรณดาราราม อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาประดิษฐานไว้ ณ ที่แห่งนี้อีกด้วย กลองใบนี้มีชื่อว่า “กลองหาญชาญชัยศึก” ครั้นเมื่อศาลเจ้าพ่อหอกลองใหม่ได้สร้างเสร็จลง ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศก็พากันมาร่วมเฉลิมฉลองงานที่ได้จัดขึ้นอย่างใหญ่โตมโหฬาร นับตั้งแต่นั้นมา ศาลเจ้าพ่อหอกลองจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีประชาชนเคารพบูชากันมาโดยตลอด ตราบจนทุกวันนี้ และมักจะมีการมาแก้บนกันด้วยว่าว และประทัด หากได้ทุกสิ่งตามที่มาขอกับเจ้าพ่อ จนเป็นศาลที่งามสง่าอย่างที่เห็นในปัจจุบัน รูปเหมือนของเจ้าพ่อหอกลองในศาล มีผู้เลื่อมใสเดินทางมีกราบไหว้อย่างมากมาย ไม่แพ้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ในเกาะรัตนโกสินทร์



หอกลอง



  • รถประจำทาง : สาย 2 9 12 43 47 60 70 80 86
  • รถปรับอากาศ : สาย 1 3 6 7 44
  • เรือโดยสาร : เรือด่วนเจ้าพระยา ขึ้นที่ท่าช้างและท่าเตียน
  • เวลาเปิดทำการ : ทุกวัน 06.00-20.30 น.
  • ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าธรรมเนียม
  • ที่จอดรถส่วนบุคคล : บริเวณด้านหน้าศาล

ที่มา:http://board.postjung.com/840749.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้