ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 5346
ตอบกลับ: 16
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ทำใมถึงต้องบวชนาค

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2013-5-29 05:47



คำว่า นาค คนที่จะบวชเขาเรียกว่า นาค แปลว่า ผู้ประเสริฐ หรือ ผู้ไม่ทำบาป เหตุที่ได้ชื่อว่า นาค เรื่องเดิมมีอยู่ว่า พญานาคแปลงตัวเป็นมนุษย์มาบวช ในพระพุทธศาสนาเวลานอนหลับกลับเพศเป็นนาคตามเดิม วันหนึ่งพวกภิกษุไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสเรียกเธอมาถาม ได้ความว่าเป็นเรื่องจริง จึงสั่งให้สึกเสียพญานาคมีความอาลัยในเพศบวช จึงกราบทูลขอฝากชื่อนาคไว้ ถ้าผู้ใดจะเข้ามาบวชขอให้ เรียกชื่อว่านาค คำว่านาค จึงเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชจนถึงทุกวันนี้
การเป็นบุตรที่ดี ย่อมมีความกตัญญูกตเวทิตา เป็นองค์ประกอบหนึ่ง
ความกตัญญู หมายถึง การที่เรารู้จักบุญคุณท่าน ว่าท่านให้เกื้อหนุน อบรมเลี้ยงดูเรามา ทำให้เราเติบโต ได้รับความรัก ความเอาใจใส่เอื้ออาทร และพ่อแม่ให้ความเมตตาแก่บุตรอย่างไม่มีข้อจำกัด
การกตเวทิตา หมายถึง การที่เราตอบสนองแทนคุณท่าน ซึ่งทำด้วยกันได้หลายวิธี การเป็นลูกที่ดีเชื่อฟังคำสั่งสอน ให้การเลี้ยงดูท่าน เอาใจใส่ให้ความรัก ไม่ทำร้ายทำลายท่าน ด้วยกาย วาจาใจ
อนึ่ง หลักธรรมในพุทธศาสนาตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ในมงคลชีวิต ได้สรรเสริญคุณของบิดามารดาว่ามีคุณหาที่เปรียบเปรยมิได้ เพราะท่านได้ให้เราเกิดและเลี้ยงดูเรา การได้เกิดเป็นมนุษย์ มีโอกาสได้ทำความดีให้ยิ่งขึ้นไป พ่อแม่ที่มอบชีวิตจึงมีบุญคุณมาก เราเป็นบุตรจักทำอย่างไรที่จะตอบคุณท่านได้อย่างไร ท่านก็ได้ชี้แนะวิธีเอาไว้ ดังนี้
แม้เราเป็นบุตรจักแบกบิดามารดาไว้บนบ่าทั้งสองข้างของตน แล้วเลี้ยงดูท่านไว้อย่างนั้น โดยที่ท่านทำธุระทั้งหลายอยู่บนไหล่ของเรา ทั้งการกิน การนอน ตลอดจนปัสสาวะและขับถ่าย โดยมิให้ท่านได้ลงจากบ่าเลย ทำเช่นนี้ตลอดทั้ง 100 ปี มิได้ขาดสักวันเดียว ถึงอย่างนี้แล้วก็ตอบแทนคุณบิดามารดาไม่หมด
แล้วเราจักตอบแทนคุณบิดามารดาอย่างไรจึงได้ชื่อว่ากตเวทิตาอย่างแท้จริง
พระท่านก็ว่า การจะตอบแทนคุณท่านให้ได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี ดีที่สุด ก็คือ... การที่เราสามารถปิดประตูอบาย เปิดทางสวรรค์ให้แก่ท่าน ให้ท่านได้มีสุขทั้งชาตินี้ ชาติหน้า ไม่ตกต่ำไปในทางมิชอบ เพื่อประโยชน์สุขของท่าน ในสุขที่แท้จริง ซึ่งมีวิธีการขั้นตอนง่ายๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาทรัพย์วัตถุมาก เหมือนที่เราเข้าใจในปัจจุบัน ว่าการเป็นลูกที่ดีนั้น ต้องขยันขันแข็งทำมาหาเลี้ยง บางครั้งก็ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าพ่อแม่ด้วยซ้ำ โดยอ้างว่า นี่แหละคือวิธีการตอบแทนคุณบิดามารดา

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 05:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นอกจากเลี้ยงดูท่านอย่างดี ให้ความเคารพ วิธีการเป็นลูกที่ดีอย่างง่ายๆ โดยถูกวิธี ถูกหลักธรรม ก็คือ...

ขั้นที่1 หากท่านยังไม่เชื่อในบาปบุญคุณโทษ ว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ก็ขอให้บุตรได้ปลูกศรัทธานั้นเสีย ให้ท่านเกิดความเลื่อมใสธรรมในพุทธศาสนา ให้เคารพพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ขั้นที่2 หากท่านยังไม่มีศีล ยังไม่รู้จักศีลก็ขอให้บุตรได้มอบเครื่องป้องกันการทำความชั่วนี้ให้ท่าน ช่วยแนะนำท่านว่า การฆ่าสัตว์นั้นเกิดโทษ การลักทรัพย์นั้นเกิดโทษ ให้ท่านได้รักษาอย่างน้อยศีล5
ขั้นที่3 หากท่านเริ่มศรัทธาในการทำความดี การละทำความชั่วแล้ว ท่านเริ่มรู้จักศีลแล้ว ก็แนะนำให้ท่านมีเมตตา บริจาคทาน ให้ใจท่านปล่อยวางจากทรัพย์ ให้เกิดความปิติที่รู้จักการให้ ให้ได้รับสุขในเบื้องต้น ใจก็ฟูขึ้นเมื่อเราได้เป็นผู้ให้ จิตใจได้สัมผัสความดีปลดเปลื้องจากความตระหนี่คับแคบ
ขั้นที่4 ให้ท่านได้ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรมมะ จนเกิดปัญญา ด้วยการเจริญสมาธิภาวนา และการเจริญสติ ได้นำหลักธรรมมาใช้ในชีวิต และสามารถนำปัญญามาใช้เป็นหลักดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง
ทำอย่างนี้จึงเรียกได้ว่า เราเป็นลูกที่ดี สามารถปิดประตูอบาย เปิดประตูสวรรค์ให้พ่อแม่ได้

อนึ่งไม่ว่าลูกหญิงหรือลูกชาย ก็สามารถเป็นลูกที่ดีแนะนำตามขั้นตอนดังที่กล่าวไปแล้ว พาท่านไปทำบุญใส่บาตร พาท่านเข้าวัดฟังธรรม ปฏิบัติภาวนา ตามแต่อุปนิสัยของท่านหากท่านเป็นลูกชาย คำที่ว่า การบวชตอบแทนคุณบิดามารดา ให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ ก็มาจากหลักการตอบแทนคุณดังที่กล่าวไปนั้นแล คือ เมื่อพ่อแม่มาบวชให้เรา ท่านก็จักปลื้ม จิตใจเบิกบาน เราในเพศสมณะ ซึ่งเป็นผู้มีศีลพร้อม ก็สามารถเปิดใจ ชักชวนพ่อแม่ให้ประกอบความดีในข้อที่ได้กล่าวไปเป็นลำดับ ให้ท่านมีศรัทธา ให้ท่านมีศีล ให้ท่านได้มาทำบุญ และให้ท่านได้ปฏิบัติธรรมจนเกิดปัญญา ได้มาทำบุญกับพระลูกชาย พระลูกชายก็มีโอกาสที่จะมอบธรรมมะตอบแทนคุณในขณะที่บวชอยู่นั้นเอง
นี่แหละ คือการบวชเพื่อให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสรรค์ ผู้บวชต้องบริสุทธิ์ก่อน จึงนำธรรมไปบอกพ่อแม่ได้ แล้วตอบแทนคุณท่านให้ท่านได้ทำความดี ละความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ บ่มเพาะหลักธรรมไว้ในจิตใจท่านตอนที่เราบวชนั่นเอง พ่อแม่เมื่อจิตเป็นกุศล ปลื้มปีติมากขณะวันปลงผม ลูกขออโหสิกรรม ถวายบาตร ผ้าไตรจีวร ได้มาถวายไทยธรรมกับพระลูกชาย ภาพเหล่านี้ ยามเมื่อท่านละโลก ก็จะเป็นกุศลนิมิตรเป็นภาพติดตาติดใจที่ได้ทำความดียามจิตใจชุ่มชื่น บุญก็จะพาท่านไปภพภูมิที่ดี
อีกประการหนึ่ง การบวช แม้จะเป็นการบวชระยะสั้นก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ต่ออายุพระศาสนา ได้มาปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้ศึกษาธรรมมะ ได้อบรมขัดเกลาตัวเอง ได้ทำกิเลสให้เบาบางลง ขึ้นชื่อว่าเป็นพุทธบุตร ก็นับว่าตัวเราได้บุญมาก ได้ทำความดีให้ยิ่งขึ้น พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง หมู่มิตร ที่ได้เป็นเจ้าภาพ ที่ได้อนุโมทนาในการบวชของเรา ก็จะได้อานิสงน์นี้ด้วย จักเริ่มได้ทำความดีจากเหตุในการบวชของเรา เมื่อยังมีประเพณีการบวชอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็เท่ากับว่า เราหนึ่งคนก็ได้ให้คนหลายคนได้มาทำความดีเนื่องจากเราปรารภที่จะบวชนั่นเอง
ดังนั้น ลูกชายของพ่อแม่ที่ยังลังเล ไม่เข้าใจว่าบวชไปทำไม ก็ขอให้ตระหนักว่าเรามีโอกาสตอบแทนคุณท่านได้ด้วยการบวชตามที่กล่าวไป ถึงจะเกิดเป็นลูกหญิง หากเราตั้งใจเป็นคนดี ชักชวนพ่อแม่ให้หมั่นทำบุญทำกุศล ย่อมปิดอบาย เปิดสุขคติภูมิ นับว่าเป็นลูกกตัญญูกตเวทีได้เช่นเดียวกัน ลูกที่มีความตัญญู ย่อมเกิดสิริมงคลในชีวิต จะทำอะไรย่อมพบแต่ความเจริญรุ่งเรือง เป็นที่รักและเลื่อมใส เป็นแบบอย่างให้แก่ประชาคมโลก
การบวช
คำว่า บวช มาจากศัพท์ว่า ปะวะชะ แปลว่า งดเว้น ได้แก่ งดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น คือ เว้นจากกิจบ้านการเรือนมาบำเพ็ญเพียรทำกิจพระศาสนา มีสวดมนต์ ภาวนา เป็นต้น การบวชนั้น ถ้าเป็น สามเณร เรียก บรรพชา ถ้าเป็น พระภิกษุเรียก อุปสมบท มี 3 อย่าง คือ
  • พระพุทธเจ้าบวชให้ด้วยเปล่งวาจาว่า มาเถิดพระภิกษุ ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อพ้นทุกข์โดยชอบเถิด เรียก เอหิภิกขุอุปสัมปทา
  • พระสาวกบวชให้ ด้วยเปล่งวาจาว่า พุทธัง สรณังคัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ เรียก ติสรณคมนูปสัมปทา
  • พระสงฆ์ 5 รูป รวมทั้งพระอุปัชฌาย์บวชให้ด้วยการสวดญัตติ 1 ครั้ง อนุสาวนา 3 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง เรียก ญัตติจตุตถกรรมวาจา การบวชข้อที่ 3 นี้ เป็นการบวชที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
มูลเหตุแห่งการบวช
ในสมัยโบราณ คนที่ออกบวชย่อมบวชเพราะชรา เจ็บป่วย จนทรัพย์ สิ้นญาติขาดมิตร สำหรับพระพุทธเจ้าพระองค์ปรารภความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงออกบวช ส่วนคนทุกวันนี้บวชตามประเพณี เมื่ออายุครบก็บวช บวชเป็นการแก้บนบ้าง บวชตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่บ้าง

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 05:48 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คนที่ควรบวชให้คือ
  • คนมีอายุครบ 1
  • มีอาชีพชอบและมีหลักฐานดี 1
  • มีความประพฤติดี ไม่ติดฝิ่น กัญชาและสุรา เป็นต้น 1
  • มีความรู้อ่านออกเขียนได้ 1
  • ปราศจากบรรพชาโทษ และมีรูปร่างสมบูรณ์ ไม่ชรา ทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ 1
คนที่ไม่ควรให้บวช คือ
  • คนมีอายุไม่ครบ 1
  • คนทำความผิดหลบหนีอาญาแผ่นดิน 1
  • คนหลบหนีราชการ 1
  • คนมีคดีค้างในศาล 1
  • คนถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ 1
  • คนถูกห้ามอุปสมบทโดยเด็ดขาด 1
  • คนมีโรคติดต่อ 1
  • คนมีอวัยวะพิการ ไร้ความสามารถจนไม่อาจปฏิบัติศาสนกิจได้สะดวก 1
คนที่มีลักษณะดังกล่าวมานี้ไม่ควรให้บวช

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 05:49 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
นาค
คำว่า นาค คนที่จะบวชเขาเรียกว่า นาค แปลว่า ผู้ประเสริฐ หรือ ผู้ไม่ทำบาป เหตุที่ได้ชื่อว่า นาค เรื่องเดิมมีอยู่ว่า พญานาคแปลงตัวเป็นมนุษย์มาบวช ในพระพุทธศาสนาเวลานอนหลับกลับเพศเป็นนาคตามเดิม วันหนึ่งพวกภิกษุไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสเรียกเธอมาถาม ได้ความว่าเป็นเรื่องจริง จึงสั่งให้สึกเสียพญานาคมีความอาลัยในเพศบวช จึงกราบทูลขอฝากชื่อนาคไว้ ถ้าผู้ใดจะเข้ามาบวชขอให้ เรียกชื่อว่า นาค คำว่านาค จึงเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชจนถึงทุกวันนี้

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 05:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การประเคนนาค
เมื่อบุตรหลานมีอายุครบพอที่จะบวชเป็นพระหรือเณรได้แล้ว พ่อแม่จะนำไปฝากไว้กับเจ้าวัดก่อนบวช ประมาณหนึ่งเดือน เพื่อให้ศึกษาเล่าเรียน ทำวัตรสวดมนต์ ท่องบ่นขานนาค ทำพินธุ ปัจจุอธิษฐาน เรียนหนังสือธรรม การนำลูกหลานไปฝากไว้กับเจ้าวัด เขาจัดดอกไม้ ธูปเทียนใส่ขันนำตัวนาคไป เมื่อท่านรับขันแล้วก็ตีโปง หรือ ระฆัง ให้ชาวบ้านได้อนุโมทนาสาธุการนี้ เรียกว่า การประเคนนาค

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 05:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การปล่อยนาค
อีก 2-3 วัน จะถึงวันบวชนาคจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปลาญาติพี่น้อง เพื่อสมมาลาโทษผู้หลักผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ และไปสั่งลาชู้สาว ถ้ามี หากมีหนี้สินติดตัวก็รีบชำระชดใช้เสีย เพื่อจะได้เป็นคนบริสุทธิ์ การปล่อยนาคให้ไปไหนมาไหนก็ได้มีกำหนด 3 วัน เรียกว่า ปล่อยนาค ทั้งนี้เพื่อให้นาคได้มีโอกาสเวลาบวช แล้วจะได้ตั้งหน้าบำเพ็ญกุศลต่อไป

7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 05:51 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กองบวช
เครื่องใช้ที่จะนำมาบวชเรียกกองบวช ที่จำเป็นจะขาดเสียไม่ได้คือ บริขาร 8 มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าสังฆาฏิ บาตร มีดโกน เข็ม ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ บริขารนอกนี้ มีเสื่อ สาด อาสนะ ร่ม รองเท้า เต้า โถน เตียง ตั่ง จะมีหรือไม่มีก็ได้ไม่จำเป็น ถ้าทำพร้อมกันหลายกองให้ขนมารวมกันไว้ที่วัด ตอนค่ำสวดมนต์ เสร็จแล้วบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแด่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว กลางคืน มีมหรสพ ตอนเช้าถวายอาหารบิณฑบาต ถ้าทำบ้านใครบ้านมัน ตอนค่ำนิมนต์พระไปสวดมนต์ที่บ้าน กองบวชใช้เม็ง คือ เตียงหามออกมา เตียงนั้นใช้เป็นเตียงนอนของพระบวชใหม่ เมื่อกองบวชมารวมกันแล้ว ก่อนจะสู่ขวัญนาค
สู่ขวัญนาค ต้องบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้ตายแล้วด้วย



8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 05:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การแห่นาค
การแห่นาคทำตามศรัทธาของเจ้าภาพจะแห่ด้วยช้าง ม้า รถ เรือก็ได้ ที่แห่ด้วยม้าคงจะถือเอาอย่างพระสิทธัตถะคราวออกบวชเป็นตัวอย่าง นาคทุกคนต้อง โกนผม โกนคิ้ว นุ่งเสื้อผ้าให้เรียบร้อย ถ้าตั้งกองบวชไว้ที่บ้าน ให้แห่กองบวชมารวมกันที่วัดเมื่อพร้อมกันแล้วก็แห่รอบศาลาอีกครั้งหนึ่ง การสู่ขวัญนาค เมื่อแห่รอบศาลาแล้วนาคทุกคนเตรียมเข้าพาขวัญ ญาติพี่น้องนั่งห้อมล้อมพาขวัญพราหมณ์เริ่มทำพิธีสู่ขวัญ เสร็จแล้วผูกแขนนาคนำเข้าพิธีบวชต่อไป

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 05:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การบวชนาค
เวลาจะเข้าโบสถ์ พ่อจูงมือซ้าย แม่จูงมือขวา ถ้าพ่อแม่ไม่มีให้ญาติพี่น้องเป็นผู้จูงถึงภายในโบสถ์แล้วนาคจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชาพระ เสร็จกลับมานั่งที่ พ่อแม่จะยกผ้าไตรส่งให้นาค ก่อนจะรับผ้าไตรนาคต้องกราบพ่อแม่ก่อน แล้วอุ้มผ้าไตรเดินคุกเข่าประนมมือเข้าไปท่ามกลางสงฆ์
กล่าวคำขอบรรพชาต่อ พระอุปัชฌาชย์ แล้วออกมาครองผ้า แล้วเข้าไปขอศีลกับพระอาจารย์เป็นอันได้บวชเป็นสามเณรแล้ว ต่อจากนั้นอุ้มบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์กล่าวคำขอนิสัย เมื่อท่านเอาบาตรคล้องคอแล้วมอบบาตรจีวรให้ ให้ออกไปยืนข้างนอก ตอนนี้พระอาจารย์คู่สวดจะสมมุติตนเป็นผู้สอน และซักซ้อมนาค แล้วออกไปซักถามนาค พอถามแล้วก็เรียกนาคเข้ามาถามต่อหน้าสงฆ์ พระอุปัชฌาย์ทำหน้าที่บอกเล่าสงฆ์ แล้วอาจารย์สวดเป็นผู้ถามพอถามเสร็จก็สวดญัติ 1 ครั้ง และอนุสาวนา 3 ครั้ง เรียก ญัตติจตุตถกรรมวาจา เป็นอันว่านาคนั้นได้บวชเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์แล้ว

10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-29 05:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การบอกอนุศาสน์
เมื่อบวชแล้ว พระอุปัชฌาย์จะบอกอนุศาสน์ คือ บอกกิจที่พระควรทำและไม่ควรทำ
กิจที่ควรทำมี 4 คือ
  • นุ่งห่มผ้าบังสุกุล 1
  • เที่ยวบิณฑบาต 1
  • อยู่โคนไม้ 1
  • ฉันยาดองด้วยน้ำมูตร 1
กิจที่ไม่ควรทำมี 4 คือ
  • เสพเมถุน 1
  • ลักของเขา 1
  • ฆ่าสัตว์ 1
  • พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน 1
การกรวดน้ำ
พอพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์จบแล้วถือว่าเสร็จการบรรพชาอุปสมบทแล้ว ต่อจากนั้นพระใหม่จะนำจตุปัจจัยไปถวายพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระสงฆ์ เสร็จแล้วออกไปนั่งท้ายอาสนะ คอยรับอัฏฐะบริขาร ถ้าผู้ชายถวายให้รับด้วยมือ ถ้าผู้หญิงถวายให้ใช้ผ้ากราบรับเสร็จแล้วเข้ามานั่งที่เดิม เตรียมกรวดน้ำไว้ เมื่อพระอุปัชฌาย์ว่า "ยถา..... " พระใหม่เริ่มกรวดน้ำพอท่านว่าถึง "............ มณีโชติรโส ยถา........ " ให้กรวดน้ำให้หมด การกรวดน้ำในพิธีนี้ถือว่า เป็นการแผ่ส่วนกุศลแด่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นอันเสร็จพิธีเกี่ยวกับบวชแต่เท่านี้ เมื่อครบ 3 วันแล้วจะมีการฉลองพระบวชใหม่ การฉลองก็คือจัดอาหารคาวหวาน มาเลี้ยงพระ และสู่ขวัญให้พระบวชใหม่

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้