บันไดทางขึ้น มณฑป สองยอด
พระพุทธฉาย จากลานวัดเชิงภูเขา มีบันไดคอนกรีต ขึ้นไปยังระเบียงคต ซึ่งล้อมหน้าผา ตอนที่ปรากฏพระพุทธฉาย
ภายในมณฑปสองยอดที่สร้างครอบพระพุทธฉายเอาไว้ ตรงเชิงหน้าผาประดิษฐานพระพุทธรูปข้างละ ๕ องค์
ภาพพระพุทธฉาย เมื่อมองจากด้านตรง องค์พระพุทธฉายเป็นเส้นเงาสีแดงช้ำ แม้ไม่คมชัดก็พอให้เห็นขอบนอก
(ซ้าย) ภาพพระพุทธฉาย (ขวา) ภาพโครงร่างแสดงวิธีดูเงาพระพุทธฉาย ซึ่งสูงประมาณ 5 เมตร
ในส่วนของ รอยพระบาท นั้นเมื่อค้นพบจึงโปรดให้สร้างเป็นมหาเจดียสถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท และโปรดให้สร้างสังฆารามแล้วทรงพระราชอุทิศที่ส่วนหนึ่งโดยรอบพระพุทธบาทและ พระพุทธฉายถวายเป็นพุทธบูชา
ต่อมาถึงรัชสมัยพระเสือ ราว พ.ศ.2246 - 2251 ปรากฏว่า ทรงปฏิสังขรณ์พระมณฑปโปรดให้เปลี่ยนแปลงเป็นพระมณฑป 5 ยอด จากพงศาวดารตำนานที่ปรากฏชัดว่า “สมเด็จพระเจ้าเสือพร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธบาท เป็นต้น จนถึงกษัตริย์พระองค์สุดท้ายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธฉาย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรงุศรีอยุธยาฉบับพันจันทนมาศ (เจิม หน้า 484 ได้ กล่าวไว้ในบท “สมโภชพระพุทธบาท” เกี่ยวกับพระพุทธฉายว่า ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ว่า “ครั้นเดือนอ้ายเสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธฉาย แรมอยู่ 3 วัน ฯลฯ แล้วเสด็จกลับมาสมโภชพระพุทธบาท 7 วัน”) จากประวัติและพระ ราชพงศาวดารดังกล่าวมาแสดงให้เห็นว่า พระพุทธฉายได้เจริญมาสมัยหนึ่งแล้ว ปรากฏจากหลักฐานและวัตถุโบราณนานับประการ ที่ยังปรากฏเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบันนี้ เช่น มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธบาทบนยอดเขาลม รวมอายุของพระมณฑปนับจากสมัยพระเจ้าเสือได้ประมาณเกือบ 400 ปี เหตุ ที่พระมณฑปซึ่งมีอายุเกือบ 400 ปี คงสภาพอยู่ได้ก็คงด้วยอำนาจความศักดิ์สิทธิ์แห่งรอยพระพุทธบาทเป็นแน่แท้ ไม่เช่นนั้นแล้วคงตั้งอยู่ไม่ได้แน่เพราะเหตุมีพายุฝนหลายครั้งหลายหนด้วย กันจนสิ่งปลูกสร้างขึ้นภายหลังยังถูกพายุฝนพัดพังพินาศจนหมดสิ้นคงเหลืออยู่ แต่พระมณฑปหลังนี้เท่านั้นเป็นที่อัศจรรย์ พระมณฑป ๕ ยอด บนยอดเขาลม กาลเวลาได้ผ่านมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการบูรณะฟื้นฟูพระพุทธฉายอีกครั้งหนึ่ง ตามศิลาจารึกที่ค้นพบเป็นหลักฐานว่า “พระพุทธศาสนาล่วงมาได้ 2374 ปีมะโรง นักษัตรจัตวาศก มีพระคุณเจ้าสมภาร 4 วัด คือพระปลัด วัดปากเพรียว 1 สมภารวัดบางระกำ 1 สมภารดวงวัดเกาะเลิ่ง 1 และสมภารวัดบางเดื่อ 1 สมภารทั้ง 4 พร้อมทั้งญาติโยมได้มีอุตสาหะพากันมาบูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธฉาย เป็นเวลาถึง 7 ปี และในปีที่ 8 จึงพระมหายิ้ม ได้มาร่วมกับสมภารทั้ง 4 พร้อมด้วยญาติโยม ได้บูรณะปริสังขรณ์พระพุทธปฏิมากร ระเบียงมณฑป ลงลักปิดทอง บ้างจำลองลายสุวรรณอันบวร ปฏิสังขรณ์พระสถูปเจดีย์ สร้างหอระฆัง สร้างศาลา เป็นต้น ด้านบนยอดเขาได้บูรณะพระมณฑปและลานพระโมคคัลลานะ ขุดบ่อน้ำ บูรณะพระอุโบสถ และตบแต่งสถานที่เป็นเวลาอีก 3 ปี จนถึงปีฉลูจึงเสร็จตามความประสงค์ ได้จัดมหกรรมฉลององค์พระพุทธฉาย เมื่อปีเถาะ เบญจศก” จากศิลาจารึกที่นำมาโดยสังเขปนี้ จะเห็นได้ว่าพระพุทธฉายได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาในระยะหนึ่ง
|