ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3094
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อักษรไทยฝักขาม

[คัดลอกลิงก์]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


อักษรไทยฝักขามหรืออักษรฝักขาม เป็นอักษรที่เคยใช้ในล้านนาและภาคอีสานของไทย มีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรไทยน้อยหรืออักษรลาวในปัจจุบัน คาดว่าพัฒนาไปจากอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และแพร่หลายเข้าสู่ล้านนาในสมัยพญาลิไท พบจารึกภาษาไทเขียนด้วยอักษรฝักขามในล้านนาชิ้นแรกคือจารึกวัดพระยืน อายุราว พ.ศ. 1954 และคาดว่าใช้มาจนถึงประมาณ พ.ศ. 2124 จึงเปลี่ยนมาใช้อักษรธรรมหรืออักษรล้านนาแทน อักษรชนิดนี้เป็นต้นแบบของอักษรเง่อันในประเทศเวียดนามด้วย
ในทางศาสนา อักษรฝักขามเป็นอักษรที่ใช้ในหมู่พระภิกษุนิกายลังกาวงศ์เก่า ส่วนอักษรธรรมใช้ในหมู่พระภิกษุนิกายลังกาวงศ์ใหม่ ในสมัยพระเจ้าติโลกราชขึ้นเสวยราชย์เมือ พ.ศ. 1984 ทรงสนับสนุนนิกายลังกาวงศ์ใหม่ และน่าจะเริ่มมีจารึกด้วยอักษรธรรมในรัชกาลนี้ เมื่อสิ้นรัชกาล กษัตริย์เชียงใหม่องค์ต่อมาให้ประชาชนนับถือศาสนาตามใจชอบ ทำให้ฟื้นฟูนิกายลังกาวงศ์เก่าขึ้นมาอีกและใช้อักษรฝักขามอีกครั้ง จนกระทั่งหลัง พ.ศ. 2000 นิกายลังกาวงศ์ใหม่ฟื้นฟูการเขียนคัมภีร์ทางศาสนาด้วยอักษรธรรมประกอบกับเป็นช่วงที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ล้านนาจึงใช้อักษรธรรมเป็นหลักเรื่อยมา ในสมัยพระเจ้ากาวิละพยายามฟื้นฟูอักษรฝักขามขึ้นอีกแต่ไม่สำเร็จ



อักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่คาดว่าเป็นต้นกำเนิดของอักษรฝักขาม ในภาพเป็นสำเนาของศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้