พุทธชัยมังคลกถาที่ ๘ ทรงเทศนาญาณ
ชนะพกาพรหมผู้มีฤทธิ์
“ทุคฺคาหทิฏฺฐิภุชเคน สุทฏฺฐหตฺถํ พฺรหฺมํ วิสุทฺธิชุติมิทฺธิพกาภิธานํ ญาณาคเทน วิธินา ชิตวา มุนินฺโท ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ
พระชินสีห์ผู้เป็นจอมมุนีได้ชนะพกาพรหมผู้มีฤทธิ์ สำคัญ ตนว่าเป็นผู้รุ่งเรือง ด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีอสรพิษคือทิฏฐิที่ตนถือ ผิดรัดรึงไว้ ด้วยเทศนาญาณวิธี ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคล นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงบังเกิดมีแก่ท่าน”
ทรงโปรดพกาพรหม
สมัยเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใหม่ๆนั้น พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับที่ป่าสุภวัน ในครั้งนั้นพระพุทธ องค์ทรงทราบปริวิตกของท้าวพกาพรหม ผู้ที่กำลังหลงในห้วง แห่ง สัสสตทิฏฐิ คือ มีความเห็นว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนเป็นของเที่ยงแท้ไม่แปรผัน จะสุขทุกข์อย่างไรก็เป็นไปตาม นั้น หาใช่ผลแห่งการสร้างบาปสร้างบุญหรือเกิดจากผลแห่ง กรรมของตนแต่อย่างใด อันเป็นความคิดที่ผิดหลักธรรมคำสั่ง สอนของพระพุทธศาสนาซึ่งสอนว่าการประกอบกรรมดีหรือกรรม ชั่ว ผลกรรมนั้นย่อมส่งผลให้สุขทุกข์สนองตามโอกาส ฯลฯ
พระพุทธองค์ทรงมีพระเมตตาปรารถนาจะแสดงธรรมวิโมกข์
ประทานสงเคราะห์พกาพรหมให้มีความเห็นที่ถูกต้อง จึง แสดงปาฏิหาริย์ เสด็จพระพุทธลีลาไปสู่วิมานสถานอันเป็น ที่อยู่ของพกาพรหม ในครั้งนั้นพกาพรหมให้การต้อนรับด้วย ความยินดี กราบบังคมทูลให้เสด็จประทับ ณ พระแท่นอัน วิจิตรตระการ แต่ยังคงยืนยันความคิดของตนว่าถูกต้อง คือ สิ่งใด ๆ ในโลกนี้ล้วนเกิดจากอำนาจแห่งมหาพรหมเป็นผู้ เสกสร้างขึ้นมาทั้งสิ้น แม้ผืนดิน แผ่นฟ้า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงดาวไม่มีสิ่งใดในจักรวาลนี้ที่มหาพรหม จะไม่ล่วงรู้หรือซ่อนเร้นไปได้
ได้ท้าประลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้าครั้งแรกท้าวพกาพรหมเป็น ฝ่ายซ่อนก่อนโดยเนรมิตกายเป็นละอองธุลีละเอียดไปซ่อนเร้น ในเม็ดทรายใต้ท้องทะเลลึกที่เล็กที่สุด แล้วหลบลงไปซ่อนอยู่ ท่ามกลางก้นเกษียณสมุทรที่ดำมืด แต่ก็ไม่อาจหลบพ้นข่าย พระญานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ถึงกระนั้นก็ ยังไม่ยอมสิ้นฤทธิ์กลับทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์แสดง ปาฏิหาริย์
ครั้นถึงคราวที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นฝ่าย
ซ่อนบ้าง พระองค์ทรงเนรมิตพระวรกายให้ย่อเล็กลงเท่า ละอองธุลีเช่นเดียว กัน แต่เสด็จขึ้นไปประทับซ่อนอยู่ในมุ่น มวยผมบนเศียรของท้าว พกาพรหม ท้าวผกาพรหมใช้ทิพย์ เนตรมองค้นหาองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุธเจ้าจนตลอดทั่ว ทั้งไตรภพ ก็ยังไม่สามารถมองเห็น พระพุทธองค์ได้ จึงยอม พ่ายแพ้ พระบรมศาสดาจึงตรัสว่าทรงกำลังเดินจงกรมอยู่บน เศียรของท่านอยู่ แล้วแสดงพระกายให้ปรากฏ
บรรดาพรหมทั้งหลายที่ชุมนุมอยู่ ณ ที่นั้นจึงยอมประนม กรถวายนมัสการชื่นชมในอิทธิปาฏิหาริย์ที่สูงกว่าเทพยดา และพรหมทั้งหลาย ยังผลให้พวกพรหมบรรลุโสดาปัตติผล
กราบนอบน้อมกล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัยละเลิกจาก มิจฉาทิฏฐิอันเคยหลงยึดติดมา แต่กาลก่อน
บางตำนานกล่าวว่าเมื่อท้าวพกาพรหมยอมแพ้แล้วจึง กราบบังคมทูลอัญเชิญให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากมุ่นมวยผมอยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังทรงนิ่งเฉยอยู่ จนเมื่อเหล่าคนธรรพ์พากันประโคมบรรเลงเพลงสาธุการขึ้น
จึงได้เสด็จลงมาจากเศียรของท้าวผกาพรหม ดังนั้นในเวลา ต่อมาเพลงสาธุการจึงกลายเป็นเพลงทีใช้ประโคมบรรเลงใน พิธีเพื่ออัญเชิญองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ
และท้ายสุดผลของการสวดพุทธชัยมงคลคาถาเป็นประจำ
จะส่งผลดีอย่างมากมายทุกด้าน ดังสุภาษิต
เอตาปิ พุทฺธชยมงฺคล อฏฺฐคาถา
โย วาจโน ทินทิเน สรเตมตนฺที
หิตฺวานเนกวิวิธานิ จุปทฺทวานิ
โมกขํ สุขํ อธิคเมยฺย นโร สปญฺโญ
แปลยกศัพท์ว่า
| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ซึ่งอุปัทวอันตรายทั้งหลาย
| | เป็นอเนกคือมิใช่อย่างเดียว
| | | | | | คือความพ้น ความ พ้นซึ่งเป็นสุข ดั่งนี้ |
ข้อมูลจาก...http://www.oknation.net/blog/NVC/2011/01/25/entry-1 |