ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
ธัมมวโรวาท : พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2256
ตอบกลับ: 2
ธัมมวโรวาท : พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-10-15 14:01
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
ธรรมโอวาท
ของ
พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
ธัมมวโรวาท
- หากเรามีปัญญา ไม่ว่าทางสรรเสริญ หรือ นินทา ถ้านำมาสอนจิต
มาพินิจพิจารณา มันก็เป็นธรรมะ
- การภาวนาไม่ใช่แต่จะนั่งหลับตาเท่านั้น จึงจะทำได้ เดินไปก็ได้ นั่งอยู่ก็ได้
ทำการงานอันอื่นก็ได้ ภาวนาดูจิตดูใจของตัว ทำไมจะทำไม่ได้
ถ้าหากเราเลื่อมใส เรายินดี เราเต็มใจ
- ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นของกลาง เรามีสิทธิ์ทุกคน
ไม่ใช่ว่านักบวชเท่านั้นจะประพฤติปฏิบัติได้ฆราวาสก็ปฏิบัติได้
เมื่อใครมีอรรถ มีธรรมปฏิบัติถูกต้องตามศาสนา ความสุขความสบายในตัวจะเกิดขึ้น
- ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะประพฤติปฏิบัติได้ ยังไม่สายเกินไป เพราะเรายังมีลมหายใจอยู่
- การประพฤติปฏิบัติจะอยู่ในสถานที่ใด กำหนดจิตกำหนดใจ
บทธรรมสอนใจของตนอยู่สม่ำเสมอ ไม่ปล่อยวันเวลาให้หายไปเปล่า
บุคคลนั้นแหละจะเอาชนะเรื่องกิเลสตัณหาได้
- เรื่องของธรรม ความสุขเกิดขึ้นจากการละ ไม่เกิดขึ้นจากการได้มา
ส่วนโลกเกิดขึ้นจากการได้มา ถือว่ามีความสุขความสบาย
- ที่เราถือว่าเรา ว่าของของเรา จะไม่ให้ทุกข์แก่บุคคลผู้เข้าไปยึดถือไม่มี มีแต่จะให้ทุกข์
มีมากเท่าไร ยิ่งทุกข์ใจมากเท่านั้น สิ่งใดที่เราหวงมากห่วงมาก สิ่งนั้นแหละจะทำให้เราเกิดทุกข์
- ท่านผู้รู้ทั่วไปก็เหมือนกัน อาศัยธาตุขันธ์เป็นทางประพฤติปฏิบัติ
เมื่อธาตุขันธ์ขัดข้องก็เยียวยารักษากันไปแต่ไม่ถือว่า ธาตุขันธ์เป็นตัวของท่าน
ไม่ถือว่าท่านเป็นธาตุเป็นขันธ์ ถึงคราวมันแตกมันสลายไป ท่านก็ไม่มาแบกมาหามมันอีก
- อานิสงส์ที่เราทำลงไปนี้ ไม่ใช่มีแต่ในปัจจุบันทันตาเท่านั้น ในอนาคตต่อไป
เมื่อเรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร จะต้องอาศัยบุญกุศลที่ตนทำไว้
ส่งเสียให้ได้รับความสุขความสบายในภพชาติต่างๆ
- คนทุกคนอยากได้ดี อยากมีปัญญา ไม่อยากมีโรคภัยไข้เจ็บ
แต่ทว่ามันเป็นไปไม่ได้ อำนาจของกรรมที่ทำมาไม่เหมือนกัน คนจึงผิดแผกแตกต่างกัน
- การเวียนว่ายตายเกิดไปอีก ก็จะต้องอาศัย บุญกุศลสนับสนุนให้
ทานมัย ศีลมัย ภาวนามัย ที่ท่านกล่าวเอาไว้ เป็นที่เกิดขึ้นซึ่งบุญซึ่งกุศล
เมื่อเรายังมีลมหายใจอยู่ เราจงรีบเร่งขวนขวายทำคุณงามความดี
- ใจของเราที่ไม่ชอบยินดีในคุณงามความดี ก็ให้ฝืนมัน ทำความดีต่อไป
ความดีที่เราทำไว้จะอำนวยอวยชัยให้ผล มีความสุขแก่ตนของตนในภพนี้ และภพหน้า
- การปฏิบัติก็คือ ปฏิบัติกาย วาจา จิตของตัว ไม่ได้ไปปฏิบัติที่อื่น
เพราะกิเลสเกิดขึ้นจากกาย วาจา จิตมรรคผลก็เกิดขึ้นจากกาย วาจา จิต
- ธรรมชาติของความสะอาดจะต้องถูกดูแลรักษาอยู่เรื่อยๆ จึงจะสะอาดได้
เรื่องจิตใจของพวกเราก็ทำนองเดียวกัน หมั่นชำระอารมณ์สัญญามานะทิฐิต่างๆ
ให้ตกให้หล่นออกไป ใจจึงสะอาด ไม่อย่างนั้นจะสกปรกโสมมอยู่เรื่อยไป
- ความจริงเรื่องของใจอยู่กับปัญญา ที่จะดีจะชั่วได้ ที่จะเป็นธรรม เป็นโลก
เพราะปัญญารักษาใจ ไม่ใช่ว่ามันดีไปเอง มันชั่วไปเอง
มันจะต้องอาศัยปัญญาชำระกิเลสตัณหาจะเกิดขึ้นก็เพราะขาดปัญญา
ไม่พิจารณาชำระใจของตัว
- อัปปิจฉตา เป็นผู้มักน้อย การมักน้อยนี่พระพุทธเจ้าสอนนั้น
ไม่ใช่มักน้อยอะไร มักน้อยในอารมณ์สัญญามักน้อยในกิเลสตัณหา
มักน้อยในสังขารการปรุงคิด
- คนอื่นเขาชั่ว เขาเสีย เขาเองจะได้รับทุกข์รับโทษ เราชั่ว เราเสีย
เราเองเป็นผู้เป็นทุกข์เป็นโทษ เราจะต้องชำระตัวของตัวเราให้ดี เอาตัวรอดเป็นยอดคน
- อย่าไปคิดเรื่องนอกมากกว่าเรื่องกิเลสในใจของตัว ให้ถือว่ากิเลสเป็นเวร เป็นภัย
เป็นศัตรูใหญ่สำหรับมรรคสำหรับผล
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-10-15 14:03
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
- ถ้าหากมีธรรมะ มีสติปัญญา มันก็สามารถที่จะเกิดความสงบ
ความสบาย ความละ ความถอนได้
- การพึ่งธรรมะเพื่อความสุข ความสงบ ความสบายจากภายใน
ไม่ใช่เราฟังเพียงเพื่ออานิสงส์ คือหวังบุญหวังกุศลจากการฟังเท่านั้น
ฟังเพื่อปฏิบัติจิตใจของเราที่มันมืดบอดให้สว่างไสว ให้เข้าใจในธรรมะ
- ความจำ (ธรรมะ) นั้นถึงจะจำได้มากขนาดไหน กิเลสก็ไม่กลัว
แต่ถ้าประพฤติปฏิบัติเกิดปัญญาขึ้นภายในกิเลสกลัวมาก
เพราะปัญญาเป็นสิ่งที่ตัดกระแสของกิเลสตัณหา
- สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เป็นปัญญาทางโลก สามารถที่จะทำอะไรถูกต้องดีงาม
ไม่ใคร่ผิดพลาดแต่ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาทางธรรม
สามารถแก้ไขจิตใจที่ข้องติดกันให้หมดออกไป ให้สิ้นออกไปให้หายสงสัย
พูดง่ายๆ ก็ให้หมดจากกิเลสได้
- กิเลสก็คือ ความเศร้าหมองของใจ ตัณหาก็คือความอยากของใจ
ราคะก็คือความกำหนัดยินดีในสิ่งต่างๆ
- เราต้องดูเรื่องคนอื่น แล้วย้อนกลับมาดูในจิตในใจของตัว สิ่งที่คนชั่วคนอื่นทำเราตำหนิ
แต่เมื่อเราทำ เรากลับชอบ กลับยินดี อย่างนี้จะเป็นบัณฑิตเป็นผู้ฉลาด เป็นผู้ประเสริฐวิเศษไม่ได้
- ผู้ที่มีธรรมะอยู่สถานที่ใด ไปสถานที่ใด เป็นสิริมงคลแก่สถานที่
ไปสถานที่ใด ทำความสุข ความสบาย ความเยือกเย็นให้ไม่เป็นภัยอันตราย
นี่คือคนที่มีธรรม เป็นสุคโต ไปดี มาดี อยู่ดี กินดี นั่งดี นอนดี
- ให้ดูจิตปัจจุบัน สิ่งใดเป็นพิษเป็นภัยให้ขับไล่ออกไป สิ่งใดที่ทำจิตทำใจให้สงบสุข
รีบรักษาเอาไว้ รีบกระทำบำเพ็ญ ให้มีในจิตใจของตน นี่คือคนฝึกฝนภาวนาชนะกิเลส
อย่าไปดูที่อื่น ดูภายใน
- การรักษาใจ รักษายากยิ่งกว่าสิ่งทั่วไปในโลก เพราะใจเป็นนามธรรม เป็นของละเอียด
แต่เมื่อรักษาได้ก็ไม่มีอะไรที่จะประเสริฐวิเศษเท่ากับเรื่องของใจ
ไม่มีอะไรที่จะมีคุณค่าสูงเหมือนการรักษาใจให้ปลอดภัยไป
จากกิเลสตัณหาแม้การรักษาใจจะยากยิ่ง แต่ก็ไม่เหลือวิสัย
- คนที่มีอิทธบาททั้งสี่ประจำอยู่ในจิต ไม่ว่าจะทำการงานชนิดใด
หยาบละเอียดยากง่ายขนาดไหน คนนั้นจะทำสำเร็จผ่านไปได้
- จิตใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าเรื่องของกาย ถ้าหากจิตใจวุ่นวายส่ายแส่
จิตใจที่ไม่มีความสุข ไม่สบายแล้วจะไปสถานที่ใด อยู่สถานที่ใด อิริยาบถไหน
มันก็ไม่มีความสุขความสบายให้ เพราะจิตใจของเราร้อน
จิตใจของเราวุ่นวายให้ระวังรักษามีสติปัญญาดูภายใน คือดูใจของตัว คิดปรุงอะไร
ซึ่งเป็นเพื่อภัยอันตราย หาความสุขความสบายไม่ได้อย่าไปคิดปรุง ไปยุ่งไปเกี่ยว
รีบตัดเรื่องเหล่านั้นให้ตกออกไป หมดออกไป นี่คือการปฏิบัติ
- การรักษาไม่ให้ความชั่วภายนอกเกิดขึ้น จะไปรักษาคนอื่น รักษาทางโลก
มันรักษาไม่ได้ ให้รักษาภายใน รักษาตา หู จมูกลิ้น กาย ใจของตัว
อย่าให้มันมีความชั่วมาเกี่ยวข้อง เมื่อเรารักษาตัวของเราได้ โลกส่วนอื่นมันเป็นอย่างไร
นั่นเป็นหน้าที่ของเขา การปฏิบัติการโอปนยิโก น้อมเข้ามาภายใน ดูกาย ดูใจ ของตัว
- ผู้ประมาทนั้นท่านหมายถึงคนตาย ตายจากคุณงาม ความดี ถ้าผู้ไม่ประมาท
วันคืนเดือนปีผ่านไปอุตส่าห์พยายามขับไล่กิเลสตัณหา ทำความพากเพียรภาวนา
- พระพุทธเจ้าสอนให้พวกเราทุกคนหมั่นฝึกฝนจิตใจของตัวให้สะอาด ให้ผ่องแผ้ว
เพื่อความสุขความเจริญ ไม่ใช่สอนเพื่อความทุกข์จน ไม่ได้สอนให้คนโง่ คนเกียจคร้าน
คนมักง่าย สอนให้คนขยันหมั่นเพียร สอนให้คนอดทนต่อสู้
- พวกเราท่าน ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะประพฤติปฏิบัติได้ อย่าไปอ้างกาล อ้างเวลาว่า
วันนี้ฝนตกทำไม่ได้ วันนี้เวลาใดเราควรจะทำ ทำกันไป ชำระกันไป
เพราะกิเลสมันไม่หากาลหาเวลา มันเกิดขึ้นได้ทุกระยะ
- การซักฟอกจิตใจนั้น จะต้องอาศัยความตั้งมั่นของใจ คือสมาธิ
ฝึกอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นให้สงบ เพื่อจะพินิจพิจารณาสภาวะต่างๆ ให้เห็นตามความเป็นจริง
ถ้าจิตไม่สงบ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่มีกำลังของสมาธิ ถึงจะมีปัญญาเฉลียวฉลาด
เฉียบแหลมขนาดไหน พิจารณาไปก็กลายเป็นสัญญา
ไม่สามารถขับไล่กิเลสตัณหาออกไปจากจิตใจของตัวได้
- ศาสนานี้เป็นของดีมีคุณค่าจริงจัง ไม่ใช่ของหลอกลวงโลก คนที่ไม่มีศาสนา
ไม่มีธรรมะในใจเท่านั้น ที่วุ่นวายเดือดร้อนคนที่มีธรรมะในจิตใจจริงจังแล้ว
ท่านจะไม่มีความเดือดร้อนวุ่นวายอะไร
-จงมีสติระลึกอยู่ตลอดเวลา เวลาภาวนา เวลาทำความเพียร
อย่าไปปล่อยให้สัญญาอารมณ์ต่างๆ มายั่วยุชักจูงเอาไป ให้ตั้งใจกำหนดจิตของตัวไว้
มีปัญญาแนะสอนใจ การคิดไป ปล่อยไป มันไม่เกิดสาระประโยชน์
- คนที่ทำบุญสุนทานอยู่บ่อยๆ แทนที่เขาจะอดอยากยากจน ไปขอเขาอยู่เขากิน
ไม่เป็นอย่างนั้น เขาแสวงหาสมบัติพัสถานต่างๆ ก็ได้มาสมบูรณ์พูนสุข
คนที่ตระหนี่เหนียวแน่นกอบโกยกันอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยทำบุญสุนทานอะไร แทนที่เขาจะรวย
มั่งมี เขาก็ไม่มีเท่าไร คนที่เขา ทำบุญสุนทาน แทนที่เขาจะยากจนเขาก็ไม่ยากจนเท่าไร
ยังพอเป็นพอไป ด้วยอำนาจผลของทานดลบันดาลมาให้
- ศีลเราก็ควรรักษา เพราะศีลเป็นเรื่องมนุษย์ทุกถ้วนหน้าจะต้องรักษา
มนุษย์ที่ไม่มีศีลก็ไม่แปลกอะไรกับสัตว์ศีลอยู่ในกายในใจ
คนมีศีลเท่านั้นก็มีความสุขความสบายได้
- คนเราเกิดมาจะต้องตายด้วยกันทุกถ้วนหน้า จะแสวงหามาได้มากมายขนาดไหน
ไม่มีทางที่จะห้ามกั้นความตายได้ เพราะความตายไม่ได้ยินดีในสินบนที่คนจะเอาไปให้
- การภาวนาจึงเป็นเรื่องสำคัญ คือดูจิตดูใจของเราเอง ไม่ต้องไปดูที่อื่น
ดูอารมณ์สัญญาเดี๋ยวนี้ว่า มันคิดมันปรุง มันเป็นอารมณ์ดี หรืออารมณ์ชั่ว
จะทำให้ตัวเสียหรือจะทำให้สุขสบาย ต้องตรวจตราพิจารณาดูอารมณ์ของใจ
- ถ้าหากไม่ถึงที่สุด หลุดจากกิเลสตัณหา อย่างนั้นอย่าพากันประมาทเมินเฉย
รีบกระทำบำเพ็ญคุณความดีเอาเสียในเมื่อเรายังไม่ตาย
- เวลายังไม่ตาย ทานเราก็ต้องให้ ศีลเราก็ต้องรักษา
ภาวนาเราก็ต้องกระทำบำเพ็ญไปตามอุปนิสัย
- การแนะสอนใจของตัว คือ จ้องดูความปรุงคิดของจิตของใจ
อารมณ์ที่ผ่านไปไหลมาเห็นในจิตในใจแล้วตรวจตราพิจารณาดูว่าอารมณ์ส่วนนี้
เป็นอารมณ์ที่ทำจิตทำใจของเราให้เจริญรุ่งเรืองไปในทางธรรมหรือไม่
หรือเป็นไปเพื่อทางเสื่อมทางเสีย
- สอนใจด้วยสติด้วยปัญญาพิจารณาเพื่อแก้ไข นี่คือการปฏิบัติขับไล่กิเลส
ปฏิบัติตามอรรถตามธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน ถ้าหากขาดสติปัญญาเสียอย่างแล้ว
มันไม่มีทางที่จะประพฤติให้จิตของตัวดีวิเศษได้
ที่มา...หนังสือ ธัมมวโรวาท
ธรรมโอวาทของพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
.......................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=28984
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
taka_jipata
taka_jipata
ออฟไลน์
เครดิต
1788
3
#
โพสต์ 2014-10-15 19:11
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...