ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1590
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เจ้าพ่อหอกลอง

[คัดลอกลิงก์]
เจ้าพ่อหอกลอง
(เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์)



รูปเจ้าพ่อหอกลอง
ประวัติเดิม เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) ในรัชกาลที่ ๑ เกิดที่กรุงศรีอยุธยา เป็นทหารเอกในพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพลรบฝ่ายซ้าย ต่อมาได้เลื่อนเป็นพลรบฝ่ายขวา แทนเจ้าพระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งถึงแก่กรรม เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ได้ติดตามพระเจ้าตากสินมหาราชออกรบ มีความเชี่ยวชาญในทางหอก และชอบให้ทหารตีกลองศึกในเวลาออกรบ ทหารทั้งหลายในสังกัด จึงพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า "เจ้าพ่อหอกลอง" ท่านเป็นกำลังสำคัญในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย ต่อมาป่วยเป็นโรคลำไส้ สิ้นชีวิตที่พระราชวังเดิม จังหวัดธนบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๑ อายุ ๕๘ ปี

สมัยเมื่อตั้งกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง ได้แสดงอภินิหารต่าง ๆ เรื่อยมา เมื่อสร้างศาลาว่าการกลาโหม พ.ศ.๒๔๒๕ ได้สร้างหอกลองขึ้นไว้บนปลายสุดของยอดชั้นที่ ๓ ด้านสะพานช้างโรงสี ต่อมาตึกร้าวจึงรื้อออก เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ แล้วสร้างศาลเจ้าพ่อหอกลองขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒



หอกลองซึ่งได้จำลองไว้ ณ ศาลเจ้าพ่อหอกลอง


ศาลเจ้าพ่อหอกลอง
ศาลเจ้าพ่อหอกลองหลังปัจจุบันสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ แทนศาลเดิมที่ได้รื้อออก เนื่องจากชำรุดทรุดโทรม และได้ประกอบพิธีอัญเชิญเจ้าพ่อหอกลองขึ้นประทับศาล เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๑

คำอธิษฐานถวายเครื่องสังเวย แด่เจ้าพ่อหอกลอง
มะอะอุ เอหิ เอหิ พรหมมา เทวตา
ข้าพเจ้าและคณะ ขอถวายเครื่องสังเวยแด่เจ้าพ่อหอกลอง มหาเทวาซึ่งเป็นผู้รักษาเขตในบริเวณนี้ ขอท่านจงรับเอา ณ บัดนี้ และขอให้ท่านประสาทพรให้ข้าพเจ้า และคณะได้รับความร่มเย็นเป็นสุขด้วยเถิด


อารักขเทวสถาน

อารักขเทวสถาน เดิมเป็นห้องคลังครุภัณฑ์ และยุทธภัณฑ์ของหน่วยทหารมาตั้งแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นห้องชั้นล่างของอาคารตึกสามชั้นด้านขวา (ทิศเหนือ) ของโรงทหารหน้า ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ จอมพลมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม - แสงชูโต) ขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นจหมื่นไวยวรนาถหัวหมื่นมหาดเล็ก ผู้บังคับการกรมทหารหน้า เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างและควบคุมการก่อสร้าง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๒๕ ถึง ๒๔๒๗ รวมเวลาการก่อสร้าง ๓ ปี ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ภายใต้ตัวอาคารประกอบด้วย เสาไม้สักทรงกลม ก่ออิฐถือปูนหุ้มทับเสาไว้เป็นส่วนใหญ่ แต่มีเสาไม้สักบางต้นไม่ได้ก่ออิฐถือปูนทับเสา เช่น เสาไม้สักทรงกลมกลางห้องอารักขเทวาสถาน เป็นต้น ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ กรมยุทธโยธาทหารบก ได้ใช้ห้องอารักขเทวาสถานนี้เป็น กองคลังยุทธศาสตร์เก็บอาวุธยุทธสัมภาระ ต่อมากรมพลาธิการทหารบก ได้ใช้เป็นที่ทำการคลังเก็บสิ่งอุปกรณ์ เหล่าทหารพลาธิการ หน่วยสุดท้ายที่ใช้เป็นที่ทำการหน่วยคือ กองประวัติศาสตร์ทหารกรมยุทธการทหารบก ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ ปรากฏว่ามีน้ำมันไหลออกจากเสาไม้สักกลางห้องบริเวณหัวเสา ซึ่งตามโบราณเชื่อกันว่า มีรุกขเทวดานางไม้สิงสถิตอยู่ ข้าราชการที่มีจิตศรัทธาได้นำแผ่นทองคำเปลวมาปิด และนำสิ่งของมาสักการะบูชา โดยที่ผู้มาสักการะดังกล่าว มักประสบความสำเร็จตามความปรารถนาที่ได้อธิษฐานหรือบนบานไว้ ทำให้ห้องอารักขเทวสถาน ถูกนับถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในศาลาว่าการกลาโหม ควรแก่การเคารพกราบไหว้บูชา และเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของข้าราชการ และลูกจ้าง มาโดยตลอด ปัจจุบันภายหลังจากที่กองประวัติศาสตร์ทหาร กรมยุทธการทหารบก ได้ย้ายที่ทำการหน่วยไปเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ บริเวณกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอกแล้ว ทางสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ปรับปรุงและจัดห้องใหม่ให้เหมาะสม และได้มอบให้ สำนักงานกำลังพล กรมเสมียนตรา เป็นหน่วยรับผิดชอบ ดูแลรักษา

ที่มาของข้อมูล :
- หนังสือประวัติศาสตร์หน่วยทหารในกองทัพบก โดยกองประวัติศาสตร์ทหาร กรมยุทธการทหารบก
- ประวัติศาสตร์การกลาโหม โดยกองกลาง สำนักงานสนับสนุน กรมเสมียนตรา
- คำสัมภาษณ์ พลตรี ถวิล อยู่เย็น อดีตผู้อำนวยการกองประวัติศาสตร์ทหาร กรมยุทธการทหารบก
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้