ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระอาจารย์ของเสด็จเตี่ยฯ

[คัดลอกลิงก์]
ขอบคุณครับ
     
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-20 07:56 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี



หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ วัดหนองบัว (วัดอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี จากการบันทึกของพระโสภณสมาจารย์ (เหรียญ สุวรรณโชติ) ซึ่งเป็นศิษย์ก้นกุฏิ และเป็นสมภารรูปต่อจากหลวงปู่ยิ้ม ได้ความว่า หลวงปู่ยิ้ม ท่านเป็นชาววังดัง จ.กาญจนบุรี เกิดปีมะโรง เดือนห้า วันอังคาร พ.ศ. 2387 เป็นบุตร นายยิ่ง นางเปี่ยม บิดามารดาประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ล่องไปขายที่ปากอ่าวแม่กลอง จนเป็นที่รู้จักของชาวแม่กลองเป็นอย่างดี ครั้นได้อายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดทุ่งสมอ อ.พนมทวน พระอาจารย์กลีบ วัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง วัดเหนือ และ
พระอาจารย์อินทร์ วัดทุ่งสมอ เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า "จนฺทโชติ"
เมื่อบวชแล้วท่านได้เรียนหนังสือขอม บาลี มงคลทีปนี มูลกัจจายน์ พระเจ้า 10 ชาติ สูตรสนธิ จนชำนาญ อีกทั้งยังสามารถท่องปาฏิโมกข์ได้ตั้งแต่พรรษาที่ 2 ด้วยตัวท่านชอบเกี่ยวกับวิชาความรู้และวิทยาคมจึงได้รับคำแนะนำจากอาจารย์แดงพระคู่สวดว่า ที่จังหวัดสมุทรสงคราม มีพระเกจิอาจารย์เก่งๆ อยู่หลายรูป ท่านได้เดินทางไปหาอาจารย์รูปแรกคือ หลวงพ่อพระปลัดทิม วัดบางลี่น้อย อ.อัมพวา ท่านเป็นอุปัชฌาย์เก่าแก่ของวัดบางช้าง เรียนทางทำน้ำมนต์โภคทรัพย์ อยู่ปากอ่าวแม่กลองได้เรียนวิชาทำธงกันอสุนีบาต (สายฟ้า) และพายุคลื่นลม วิชาหลายลงอักขระทำรูปวงกลม เวลาไปทะเลแล้วขาดน้ำจืดให้เอาหวายโยนลงไปในทะเลแล้วตักน้ำในวงหวายน้ำจะจืดทันที ลูกอมหมากทุยก็เป็นที่เลื่องลือ เพราะท่านได้สำเร็จจินดามนต์ เรียกปลาเรียกเนื้อได้
อีกรูปคือ หลวงพ่อกลัด วัดบางพรม เรียนทางมหาอุตม์ ผ้าเช็ดหน้าทางมหานิยม เชือกคาดเอว เครื่องรางรูปกระดูกงูกันเขี้ยวงา ทางคงกระพันชาตรี หลวงพ่อกลัดรูปนี้สามารถย่นระยะทางได้ และรูปสุดท้ายคือ หลวงพ่อแจ้งวัดประดู่อัมพวา ได้เรียนทางแพทย์แผนโบราณ มีดหมอ ทางมหาประสานเชือกคาดชื่อตะขาบไฟ หรือ ไส้หนุมาน มีตะกรุดคู่อยู่หัวเชือก
"หลวงปู่ยิ้ม" เป็นพระที่ชอบทางรุกขมูลธุดงควัตรออกพรรษา แล้วท่านมักจะเข้าป่าลึกเพื่อหาที่สงบทำสมาธิท่านรู้ภาษาสัตว์ทุกชนิด ชื่อเสียงกิตติศัพท์ของท่านโด่งดังไปทั่วเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ อาทิ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งโปรดทางวิชาไสยศาสตร์ ได้ไปหาท่านถึง 2 ครั้ง เลื่อมใสและนับถือท่านเป็นอาจารย์ ขอเรียนวิชาจากท่านได้มีดหมอจากท่าน 1 เล่ม ไว้ประจำพระองค์ มีดหมอมีสรรพคุณปราบภูตผีปีศาจ และปราบคนที่อยู่ยงคงกระพัน ถ้าได้ถูกคมมีดของท่านแล้วต้องเป็นอันได้เลือด ไม่ว่าคนนั้นจะเก่งเพียงไร ก็ไม่สามารถคุ้มครองได้
เสด็จในกรมฯ ทรงโปรดเป็นอันมาก ทั้งๆ ที่ว่าท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท มาแล้ว ก็ยังเกรงวิชาของหลวงปู่ยิ้ม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเคยธุดงค์มาจำวัดกับหลวงปู่ยิ้ม ที่วัดหนองบัว และได้แลกเปลี่ยนวิชากันหลวงปู่ยิ้มท่านเป็นพระสมถะไม่หลงวิชาอาคม จำนวนศิษย์ของท่านเท่าที่ปรากฏคือ 1. พระโสภณสมจารย์ (เหรียญ) วัดอุปลาราม (วัดหนองบัว) 2. พระเทพมงคลรังษี (ดี) วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) 3. พรกาญจนวัตรวิบูลย์ (ล่อน) วัดลาดหญ้า 4. พระโสภณสมณกิจ (หัง) วัดเหนือ 5. พระครูวัตตสารโสภณ (ดอกไม้) วัดดอนเจดีย์ 6. พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ 7. พระอธิการ (แช่ม) วัดจุฬามณีอัมพวา) 8. พระครูสกลวิสุทธิ (เหมือน รัตนสุวรรณ) วัตถุมงคลของท่านตลอดจนเครื่องรางของขลังต่างเป็นที่ต้องการของบรรดาลูกศิษย์ อาทิ พระปิดตา พิมพ์ใหญ่ (อ่าวจุฬา) พิมพ์สังกัจจายน์ใหญ่ พิมพ์สังกัจจายน์เล็ก, พิมพ์แข้งซ้อนใหญ่, พิมพ์แข้งซ้อน, พิมพ์เข่าบ่วง, พิมพ์เข่าบ่วงใหญ่, พิมพ์ขัดเพชร เป็นต้น


หลวงปู่ยิ้มมรณภาพ เมื่ออายุ 66 ปี เมื่อพ.ศ.2453 ท่านเป็นอาจารย์องค์ที่3ของเสด็จนายกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักย์จากการแนะนำของหลวงพ่อเงินบางคลานโดยหลวงปู่ยิ้มท่านเป็นคนมีนิสัย กล้าหาญและจะล่องเรือมาทำมาค้าขายกับชาวแม่กลองเป็นประจำเมื่อถึงอายุบวชท่านได้บวชโดยมีพระอธิการรอดแห่งวัดทุ่งสมอและต่อจากนั้น ก็เดินทางไปเป็นศิษย์ของหลวงปู่พวงแห่งวัดลิงขบและเดินทางไปศึกษาไสยเวทย์ต่อที่แม่กลองซึ่งมีพระอาจารย์ซึ่งทรงกิตติคุณอยู่หลายวัดหลัง จากศึกษาวิชาจนจบแล้วก็เดินทางไปศึกษาต่อที่สำนักเขาอ้อจนสำเร็จและเดินทางไปศึกษาวิชาจากหลวงปู่กลิ่นซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือด้านวิชา กำบังกายหายตัวแหวกน้ำดำดินดุจผู้วิเศษทีเดียวซ้ำยังเป็น อาจารย์ของหลวงปู่ศุข หลวงปู่ปาน หลวงปู่ทา หลวงปู่บุญ หลวงปู่เนียม หลวงปู่ม่วง โดยมีหลวงปู่ยิ้มเป็นศิษย์ก้นกุฏิจนหลวงปู่กลิ่นมรณะภาพเมื่ออายุ117 ปี หลวงปู่ยิ้มจึงขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทน
14#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-20 07:57 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

หลวงพ่อจร วัดดอนรวบ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร



ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าจะกล่าวถึง พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์แล้ว ก็จะทราบกันดีว่า ท่านมีพระอาจารย์ที่ท่านเคารพนับถืออยู่หลายท่าน เช่น หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว เป็นต้น แต่ที่ไม่มีคนค่อยรู้จักก็คือพระเกจิอาจารย์ทางใต้ท่านหนึ่ง คือหลวงพ่อจร วัดดอนรวบ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
หลวงพ่อจร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2392 ที่บ้านท่าจาย ตำบลท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โยมบิดา ชื่อปลอด โยมมารดาชื่อคง พออายุได้ 16 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดดอนชาย อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเมื่ออายุครบ 21 ปี จึงอุปสมบทที่วัดดอนชาย โดยมีพระอาจารย์เทศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสสนากรรมฐานตลอดจนวิทยาคมจนแตกฉาน ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาธรรมสูง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนทุกชั้นวรรณะ ท่านได้สร้างสรรค์ความเจริญแก่พระศาสนาไว้มากมาย เป็นที่พึ่งและเคารพศรัทธาของชาวบ้านเป็นอย่างมาก


หลวงพ่อจร ท่านมีกระแสจิตสูงและมีเรื่องราวเล่าขานกันต่อๆ มา มีอยู่วันหนึ่งฝนตกหนัก จนกระทั่งรุ่งเช้าฝนก็ยังไม่หยุดตกพระสงฆ์ก็ออกบิณฑบาตไม่ได้ หลวงพ่อท่านครองจีวรเรียบร้อยก็อุ้มบาตรออกไปบิณฑบาตแต่รูปเดียว โดยเดินฝ่าสายฝนที่ตกหนักไป ท่านออกเดินไปครู่ใหญ่ๆ ก็กลับมาพร้อมกับข้าวเต็มบาตร พอที่พระภายในวัดได้ฉันกันในวันนั้น โดยที่ร่างกายและจีวรของท่านไม่ได้ถูกฝนเลยแม้แต่น้อย
อีกเรื่องหนึ่งคือมีชาวบ้านลากเกวียนมาติดหล่มใกล้กับวัด ทำอย่างไรก็ไม่สามารถนำควายขึ้นจากหล่มได้ จนควายจมโคลนไปจนถึงท้อง เจ้าของควายจึงไปขอให้หลวงพ่อช่วยเหลือ หลวงพ่อจร ท่านก็หยิบเอาสายสิญจน์ไปผูกไว้ที่คอควาย แล้วท่านก็ค่อยๆ ดึงสายสิญจน์ปรากฏว่าควายสามารถขึ้นจากหล่มได้โดยง่าย



เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ เมื่อครั้งเสด็จเมืองชุมพรก็ทรงทราบว่ามีพระเกจิอาจารย์ที่เก่งอยู่ ท่านจึงปลอมตัวเป็นชาวบ้านพร้อมกับองครักษ์ 2-3 คน เสด็จไปหาหลวงพ่อจร พอไปถึงวัดก่อนจะขึ้นไปบนกุฏิก็เห็นว่า มีเสือลายพาดกลอนตัวใหญ่นอนขวางอยู่ องครักษ์ทำท่าจะเผ่นอยู่แล้ว แต่เสด็จในกรมฯ ท่านทรงห้ามไว้ พอหันกลับไปดูอีกทีปรากฏว่ากลายเป็นแมวตัวหนึ่งนอนอยู่ เสด็จในกรมฯ ท่านจึงขึ้นไปบนกุฏิ เห็นหลวงพ่อจร นั่งอยู่กับลูกศิษย์ 2-3 คน ยังไม่ทันที่เสด็จในกรมฯ ท่านจะทรงนั่งลง หลวงพ่อจร ได้พูดทักขึ้นว่า "วันนี้ลูกเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเสด็จมาถึงนี่เชียวหรือ" หลังจากนั้นหลวงพ่อจร ได้ยื่นผ้าเช็ดปากให้เสด็จในกรมฯ ทรงทดลองยิง ซึ่งเสด็จในกรมฯ ท่านเอาผ้าเช็ดปากนั้นไปทดลองยิงข้างล่างกุฏิ ปรากฏว่ายิงออกทุกนัด แต่หารอยกระสุนไม่ได้เลย ครั้นพอเสด็จขึ้นมาบนกุฏิ ปรากฏว่าหลวงพ่อจร ท่านแบมือให้เสด็จในกรมฯ ทอดพระเนตรก็มีลูกกระสุนปืนที่เสด็จในกรมฯ ทรงทดลองยิงนั้นอยู่บนฝ่ามือหลวงพ่อครบทุกนัด เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ท่านจึงเคารพศรัทธาในตัวหลวงพ่อจร เป็นอย่างมาก ทุกครั้งที่เสด็จมาเมืองชุมพร ก็จะทรงแวะนมัสการหลวงพ่อจร ในฐานะลูกศิษย์กับอาจารย์ทุกครั้ง


หลวงพ่อจร ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2482 ตลอดที่หลวงพ่อจร ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้วัตถุมงคลอื่นๆหลายอย่าง แต่ไม่เคยสร้างเหรียญรูปท่านเลย เหรียญหลวงพ่อจร นั้นสร้างหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว แต่เหรียญรุ่นนี้ก็ได้รับการปลุกเสกโดยยอดพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าของชุมพรหลายท่านด้วยกัน โดยสร้างประมาณปี พ.ศ.2485-2487 เหรียญรุ่นนี้ได้รับความนิยมมากจากจังหวัดชุมพร และที่ประสบการณ์มากมาย สนนราคาเหรียญสวยๆ อยู่ที่หลักหมื่นกลางๆ และจัดว่าเป็นเหรียญยอดนิยมที่หายากเหรียญหนึ่งครับ
15#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-20 07:59 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก





หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หรือ “ท่านพระครูวิสุทธิ ศิลาจารย์” จัดเป็นอีกหนึ่งคณาจารย์ยุคเก่าที่มีลูกศิษย์ทุกระดับชนชั้นมากมายรวมทั้ง “พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักด์” ก็ได้เสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ของท่าน หลวงพ่อพริ้ง เป็นผู้มอบกระดูกหน้าผากนางนากให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งมีความเฮี้ยนมากจนเป็นที่กล่าวถึงของพระโอรสและธิดา ซึ่งเสด็จเตี่ยบอกว่า ไม่ต้องกลัว และความเฮี้ยนของนางนากก็ปรากฏถึง ๒ ครั้ง
ในตำหนักนางเลิ้ง


ในเรื่องกระดูกหน้าผากของนางนากนี้ได้ปรากฏในงานเขียนประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา พ.ศ.2473 บรรยายไว้ว่าหลังจากที่นางนาคออกอาละวาดหนัก สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านรู้เรื่องจึงลงไปค้างที่วัดมหาบุศย์และเรียกนางนาคขึ้นมาคุยกัน ผลสุดท้ายท่านเจาะเอากระดูกหน้าผากของนางมาลงยันต์และทำเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ผีนางนาคก็ไม่ออกมาอาละวาดอีกเลย และในเรื่องนี้ สมบัติ พลายน้อย ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ค้นคว้าและเขียนเรื่องของแม่นาคสรุปเอาไว้ว่า กระดูกหน้าผากแม่นาคนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ประทานให้กับ สมเด็จหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) และประทานให้ หลวงพ่อพริ้ง (พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์) อีกต่อ จนมาถึงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ไม่นานนักแม่นาคก็มากราบลา จากนั้นก็ไม่มีใครพบกระดูกหน้าผากของแม่นาคอีก จึงนับได้ว่าในยุคนั้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้คณาจารย์ใด ๆ ในยุคเดียวกันเลย เนื่องจากหากหน่วยงานราชการในยุคนั้นมีพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญ ๆ แล้ว “หลวงพ่อพริ้ง” ก็จะต้องเป็นคณาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ได้รับการนิมนต์ให้ไปร่วมพิธีทุกครั้ง ชื่อเสียงของท่านจึงขจรระบือไกล
โดยประวัติของท่านมีนามเดิมว่า “พริ้ง เอี่ยมเทศ” เกิดเมื่อ พ.ศ. 2412 เป็นชาวบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ เริ่มเรียนหนังสือด้วยการบวชเป็นสามเณรที่ “วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)” กระทั่งอายุครบ 20 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ “วัดทองนพคุณ” อ.คลองสาน แล้วจึงไปจำพรรษาที่ วัดบางปะกอก จวบกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดบางปะกอกจนกระทั่งมรณภาพ


หลังจากเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว “หลวงพ่อพริ้ง” ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งภาษาไทยและบาลีจนแตกฉาน ประกอบกับเป็นผู้ที่มีความสนใจทางด้าน “วิปัสสนากรรมฐาน” จึงทำการฝึกฝนทางด้านนี้อย่างจริงจังรวมทั้งเรียนด้านวิทยาคมเพิ่มเติมอีกกับคณาจารย์ต่าง ๆ หลายสำนัก ทำให้ท่านมีชื่อ เสียงเด่นดังทั้งทางด้าน คงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยม แถมด้วย วิชาแพทย์แผนโบราณ อีกด้วยเพื่อนำมาสงเคราะห์ต่อชาวบ้านในสมัยนั้น โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่ได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมประกอบพิธีหล่อและพุทธาภิเษก “พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ วัดสุทัศน์ )” ซึ่งมีพระคณาจารย์ชื่อดังหลายสิบรูปมาร่วมพิธีครั้งนี้ปรากฏว่า “แผ่นยันต์ ที่หลวงพ่อพริ้งทำการจารอักขระ” และได้นำไปใส่ในเบ้าหลอมรวมกับของคณาจารย์รูปอื่น ๆ ไม่ยอม “หลอมละลายเลย” เกิดเป็นปรากฏการณ์อันอัศจรรย์ให้เล่าขานมาถึงทุกวันนี้ โดยต้องนิมนต์ท่านมาทำการท่องมนต์กำกับแผ่นจารจึงละลายในเวลาต่อมา หรือในสมัยที่ก่อเกิด “สงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2” (ระหว่าง พ.ศ. 2480–85) วัดบางปะกอกก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่ประชาชนทั่วไปได้มาขอพึ่งพาเป็นที่หลบภัยทั้ง ๆ ที่วัดอยู่ไม่ไกลจากอู่ต่อเรือของทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาสร้างฐานทัพในประเทศไทยเท่าใดนัก โดยช่วงนั้นฝ่ายพันธมิตรได้นำเครื่องบินทิ้งระเบิดเพื่อทำลายฐานที่มั่นของทหารญี่ปุ่นมากมายหลายสิบลูก แต่ไม่มีระเบิดแม้แต่ลูกเดียวที่จะหลงหลุดลอยมาถึงวัดบางปะกอกได้เลย ทั้งนี้เป็นเพราะ “หลวงพ่อพริ้ง” ได้ทำพิธีขจัดปัดเป่าจึงทำให้บริเวณวัดบางปะกอกและใกล้เคียงรอดพ้นจากลูกหลงโดยสิ้นเชิง ทำให้ประชาชนชาวบางปะกอกสมัยนั้นต่างไม่มีใครลืมเหตุการณ์ในยุคนั้นได้เลย


ด้วยเหตุนี้ชื่อเสียงท่านจึงโด่งดังมากเป็นผลให้ประชาชนทั่วสารทิศทั้งใกล้ไกล ต่างมุ่งไปขอวัตถุมงคลจากท่านรวมทั้งไปให้ท่านช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งท่านก็ไม่เคยปฏิเสธผู้ใดไม่ว่าจะเป็นเจ้าใหญ่นายโตหรือประชาชนธรรมดาสามัญ หากไปขอให้ท่านช่วยสงเคราะห์แล้วเป็นได้รับเมตตาช่วยเหลือเสมอเหมือนกันหมดท่านจึงทำการสร้าง “วัตถุมงคล” ขึ้นมากมายหลายชนิดแจกจ่ายกันไปตามแต่ผู้มาขอต้องการ ส่วนที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมเสาะหาก็มีทั้ง “ลูกอมเนื้อผง, ตะกรุด, ผ้ายันต์, เสื้อยันต์, พระพิมพ์ต่าง ๆ”
16#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-20 08:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


หลวงพ่ออี๋ อ. สัตหีบ จ. ชลบุรี



หลวงพ่ออี๋นี่ ในท้องถิ่น อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ท่านดังเรื่องปลัดขิก ลูกศิษย์ของท่านที่เป็นทหารเรือ และชาวประมงมีมากมาย เขาพากันเรียกปลัดขิกของท่านว่า ปลัดฉลามเมิน (เพราะเคยมีคนพกปลัดของท่าน ลอยคออยู่กลางดงฉลามแล้วรอดมาได้) แต่ความจริงท่านไม่ได้เก่งเรื่องนี้อย่างเดียว แต่คนจดจำได้แม่นในเรื่องนี้เพราะมีอภินิหารมาก (กรุณาอย่าว่า กระผมเป็นคนหยาบโลน ที่นำเรื่องนี้มาเรียนเสนอเลยนะครับ เพราะถ้าจะกล่าวถึงหลวงพ่ออี๋ แล้วไม่กล่าวถึงเรื่อง ปลัดขิกของท่าน มันก็คงจะไม่สมบูรณ์ ขอความกรุณาอ่านเป็นความรู้ก็แล้วกันครับ และไหนๆ จะว่ากันแล้ว ก็จะขอเล่าถึงประวัติความเป็นมาของ “ปลัดขิก” เพื่อเป็นความรู้ในโอกาสต่อไป)



หลวงพ่ออี๋ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ ณ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โยมบิดาของท่านชื่อ ขำ ทองขำ โยมมารดาชื่อ เอียง ทองขำ หลวงพ่ออี๋เป็นบุตรชายคนโต ได้รับการศึกษา และอบรมสั่งสอนให้เป็นกุลบุตรที่ดี เป็นที่รักใคร่ของญาติพี่น้อง บิดาของท่านรับราชการ ตำแหน่งที่ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกว่า “นายกอง” ในปี๒๔๓๓ ท่านมีอายุ ๒๕ ปีได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดอ่างศิลานอก โดยมีพระอาจารย์จั่น จันทสโร วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ พระอาจารย์ทิม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระศาสนาว่า “พุทธสโร ภิกขุ” แปลว่า “ผู้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า”
หลังจากบวชเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงพ่ออี๋ได้อยู่เรียนวิชาการ และศึกษาพระธรรม กับ พระอาจารย์แดง วัดอ่างศิลานอก ซึ่งเป็นพระเถระที่มีภูมิธรรมสูง ทั้งยังมีวิชาอาคม แก้อาถรรพ์คุณไสย ตลอดถึงการสักยันต์ พระอาจารย์จั่น พระอาจารย์แดง และพระอาจารย์เหมือน ได้สอนศาสตร์วิชาต่างๆ ให้แก่ลูกศิษย์ของท่านจนหมดสิ้น เป็นเวลา ๖ พรรษาเต็มๆ การที่หลวงพ่ออี๋ ท่านมุมานะศึกษาเล่าเรียน จุดประสงค์ก็เพื่อจะนำมาสงเคราะห์ ญาติโยม ชาวบ้านผู้เดือดร้อนโดยทั่วไป



ต่อมาท่านได้ยินกิตติศัพท์ ของพระอาจารย์สำคัญ อีกองค์หนึ่ง คือพระครูนิโรธาจารย์ หรือ หลวงพ่อปานแห่งวัดคลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ซึ่งท่านเป็นพระที่เชี่ยวชาญทางด้านสมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ถือธุดงควัตร ท่านเป็นพระภิกษุที่พระเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงพระศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก อีกองค์หนึ่ง ภายหลังจากหลวงพ่อปานได้รับตัวเป็นศิษย์แล้ว ท่านก็ได้อบรมและทดสอบจิตใจว่ามั่นคงดีแล้ว ก็พาออกป่าไปเรียนรู้ความจริงของธรรมะ เพราะจิตใจจะได้กล้าแข็ง แข็งแกร่งกล้าหาญเมื่อเผชิญภัยในป่าลึก หลวงพ่ออี๋แม้ว่าท่านจะมีรูปร่าง บอบบาง แต่ด้วยความมานะพากเพียรเป็นเลิศ หลวงปานจึงประสิทธิ์ประสาทวิชาต่างๆ ให้หลวงพ่ออี๋จนหมดสิ้น ท่านพระครูศรีสัตคุณ เจ้าอาวาส วัดสัตหีบ ได้เล่าให้ฟังว่า สมัยที่หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร ท่านได้ติดตามหลวงพ่อปาน เดินธุดงค์ ไปถึงพระพุทธบาท สระบุรี เพื่อจักนมัสการรอยพระพุทธบาทที่นั่น ขณะผ่านไปนั้น หลวงพ่ออี๋ได้ทำสมาธิ เห็นพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุ ประดิษฐานอยู่ใต้ก้นเหวลึก ในแถบจังหวัดสระบุรีนั่นเอง และได้เรียนให้หลวงพ่อปานทราบ ท่านจึงให้ไปอัญเชิญขึ้นมาจากก้นเหวนั้น เพื่อนำไปประดิษฐานในสถานที่อันสมควรต่อไป


หลวงพ่ออี๋ ได้ลงไปยังก้นเหว ด้วยการใช้ไม้ไผ่ ๓ ลำ ต่อลูกสลักทำเป็นขั้นบันได ผูกมัดแน่นหนา แล้วก็ไต่ลงไปจนถึงก้นเหวลึก และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุ ขึ้นมาได้สำเร็จ หลวงพ่อปานมีความพึงพอใจในตัวของลูกศิษย์เป็นอันมาก เพราะขณะนั้นหลวงพ่ออี๋ บวชได้เพียง ๕ พรรษา เท่านั้น คณะพระธุดงค์เมื่อได้นมัสการพระพุทธบาทแล้ว ก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป เพื่อหาประสบการณ์ต่อมาหลวงพ่ออี๋ได้กราบลาพระอาจารย์ ออกเดินธุดงค์กรรมฐานด้วยตนเอง ท่านได้ตั้งจิตอธิษฐาน ถือการเดินธุดงค์เป็นวัตร ท่านเดินธุดงค์ไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย เหนือจรดใต้ ตะวันออกจรดตะวันตก และภาคอีสาน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เหตุการณ์ระหว่างการธุดงค์ของท่าน ไม่ได้รับการถ่ายทอดบอกเล่าจากท่าน และบรรดาลูกศิษย์ก็ไม่ได้สนใจไต่ถามแต่อย่างใด ทำให้เราไม่ทราบอะไรมากนักในเรื่องของการธุดงค์ของหลวงพ่อ
17#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-20 08:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงพ่ออี๋ไม่ได้กลับบ้านเลย เป็นเวลา ๑๑ พรรษา เพื่อเล่าเรียนวิชาต่างๆ จนพอสมควรแล้ว ท่านจึงได้กราบลาหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน กลับไป อำเภอสัตหีบ เมื่อไปถึงบ้าน โยมบิดาได้นิมนต์ให้ท่านอยู่เสียในที่สงบแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ชายทะเล ปลูกกระต๊อบเล็กๆ ให้อยู่ปฏิบัติภาวนาธรรม และได้เห็นปฏิปทาของพระลูกชาย ดูน่าเลื่อมใสศรัทธา จึงคิดว่าท่านคงไม่สึกหาลาเพศเป็นแน่ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๐ โยมบิดาของท่านมีโอกาส ไปกรุงเทพฯ และได้เข้าไปยังสำนัก พระบรมมหาราชวังด้วย ได้มีโอกาสกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) เพื่อขอพระบรมราชานุญาต สร้างวัดสัตหีบ ภายในบริเวณที่ดินว่างเปล่า เมื่อได้รับพระกรุณา โยมบิดาแสนจะดีใจ รีบเดินทางกลับมานมัสการให้พระลูกชายทราบ ช่วงปี พ.ศ.๒๔๕๐ – ๒๔๕๑ หลวงพ่ออี๋ โยมบิดา ตลอดถึงชาวบ้าน ได้ทำการก่อสร้างวัด โดยไปหาไม้สวยๆ ในบริเวณใกล้เคียง มาทำเสา ทำฝา และหาดินเหนียวที่บางปะกง ไปเผาทำกระเบื้องมุงหลังคา การสร้างวัดของท่าน ไม่ถึง ๕ ปีก็แล้วเสร็จ เว้น พระอุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ มีการสร้าง ในเวลาต่อๆ มา และได้วิสุงคามสีมา ในปีพ.ศ. ๒๔๖๓ ในปีที่หลวงพ่ออี๋ท่านสร้างวัดใหม่ๆ นั้น กิตติศัพท์ของท่าน ได้ขจรขจายไป ในด้านความศักดิ์สิทธิ์ และอภินิหาร ผู้คนพากันหลั่งไหลไปมากมาย มีทั้งที่ต้องการฟังธรรมะ และ การปฏิบัติสมาธิกับท่าน บางคนต้องการวัตถุมงคล ก็ได้สมความปรารถนาทุกประการ ต่อมา หลวงพ่ออี๋ท่านก็ยังออกรุกขมูลอยู่เป็นประจำ เหมือนครูบาอาจารย์ของท่าน และนี่เองเป็นมูลเหตุ ในการสร้างปลัดขิกของท่านครั้งหนึ่ง หลวงพ่ออี๋เดินทางไปรุกขมูล ท่านได้พบบ่อน้ำแห่งหนึ่ง จึงได้หยุดพักปักกลด เพื่อโปรดทายกทายิกา ในระหว่างนั้น ท่านได้ไปนั่งมองดูบ่อน้ำทุกวัน เพราะหลวงพ่อได้เห็นปลัด ผุดขึ้นมาจากผิวน้ำ เหมือนปลาผุดขึ้นมาหายใจ หลวงพ่อพยายามช้อนปลัด ก็ช้อนไม่ติดสักอัน (ท่านคงมีความรู้จากตำรา ที่ได้เคยศึกษามา) ในขณะที่กำลังช้อนอยู่นั้น มีโยมแก่คนหนึ่งเดินมาถามหลวงพ่อว่า “ทำอะไร”

หลวงพ่อตอบว่า “ช้อนปลัดขิก”
โยมแก่คนนั้นก็หัวเราะ และพูดว่า
“อย่าช้อนเลย ท่านช้อนไม่ได้ดอก ถ้าท่านอยากได้จริงๆ ก็ให้หาหญิงพรหมจารีมาช้อน จึงจะช้อนได้”
หลวงพ่อก็ได้เที่ยวตามหาหญิงพรหมจารี มาได้คนหนึ่ง ได้ขอให้หญิงพรหมจารีนั้นช้อนปลัดให้หลวงพ่อ หญิงนั้นก็ช้อนให้หลวงพ่ออันหนึ่ง ถึงแม้จะพยายามช้อนอันที่สองก็ช้อนไม่ได้ เมื่อหลวงพ่อได้ปลัดแล้ว ก็เดินทางกลับวัด ขณะที่อยู่วัด ท่านพยายามหาวิธีสร้างปลัด โดยจำลองจากที่ท่านได้มา ในการสร้างครั้งแรก เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องสร้างขึ้นถึง ๑๐๘ ตัว เพื่อคัดเลือกหัวโจก หรือจ่าฝูง ครั้นได้จ่าฝูงมาแล้ว การสร้างครั้งต่อไปไม่จำเป็นต้องจำกัดจำนวน ที่ว่าจ่าฝูงนั้น ก็คือตัวที่บินเก่งที่สุด และมันชอบนำลูกฝูงบินเป็นการสมานตัวของพลังปราณ เมื่อได้ปลัดขิกตัวจ่าฝูงแล้ว อยู่มาวันหนึ่งหลวงพ่อจึงได้นำปลัดขิกมาทดลองในบ่อน้ำ ซึ่งอยู่ในบริเวณวัด ปลัดขิกของท่านได้วิ่งอยู่บนผิวน้ำ สั่งให้จมน้ำปลัดขิกของท่านก็จมน้ำ สั่งให้โผล่ก็โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ ทำความประหลาดใจให้แก่พระภิกษุและญาติโยมมาก นับตั้งแต่นั้นมา ชื่อเสียงของหลวงพ่ออี๋ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วไป การปลุกเสกนั้น หลวงพ่ออี๋จะนำปลัดทั้งหมดใส่ลงในบาตร ปลุกเสกจนวิ่งเกรียวกราว และต้องกระโดดออกมาจากบาตรอีกด้วย จึงจะถือว่าขลังและใช้การได้ จึงจะทำการแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหา อันว่าปลัดหลวงพ่ออี๋นี้ มีสรรพคุณมากมายหลายประการ ใช้ผูกเอวป้องกันเขี้ยวงาสารพัด ป้องกันเสนียดจัญไร โรคภัยไข้เจ็บ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม คลาดแคล้วจากภยันตรายทั้งปวง ดังประสบการณ์ จากผู้ที่มีปลัดหลวงพ่ออี๋ อยู่ในครอบครอง ซัก ๒-๓ เรื่อง ดังนี้

18#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-20 08:01 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วิ่งแข่งกับเรือ



ครั้งหนึ่งมีงานฉลองกุฏิที่วัด บรรดาสาวแก่แม่ค้าชาวสัตหีบที่มีศรัทธาปสาทะ ก็มาช่วยงานโรงครัวหรือไม่ก็งานเบ็ดเตล็ด ครั้นเสร็จงานหลวงพ่อก็หาของที่ระลึกมาแจก โดยท่านห่อกระดาษไว้ บอกให้ไปแกะดูที่บ้าน ปรากฏว่าแม่ครัวเหล่านั้นมาถึงกลางทาง อยากรู้จนอดใจไม่ได้ ก็แกะห่อออกดู เห็นเป็นปลัดขิกแกะจากแก่นกัลปังหาตัวเล็กๆ น่ารัก น่าเอ็นดู แจกให้เพียงคนละตัว ทำให้บรรดาสาวแก่แม่นางเหล่านั้น หัวเราะกันคิกคักด้วยความเหนียมอาย ก็พากันโยนลงทะเลหมด แต่ปลัด ของวิเศษ คิดว่าเขาท้าแข่ง ก็เลยว่ายแข่งไปกับเรือไม่ยอมแพ้ จนเป็นเหตุให้สาวแก่แม่นางเกิดความเสียดาย ต้องหยุดเรือเก็บไว้อย่างเดิม ทั้งเกิดการตื่นเต้นในอภินิหาร ซึ่งไม่เคยประสบพบเห็นมาก่อน

ควายขวิดไม่เข้า


ครูบุญช่วย รร.วัดสัตหีบ ได้ปลัดหลวงพ่อมา มักไม่ชอบนำติดตัว ได้เก็บไว้ที่บ้าน พอตกกลางคืนเวลาดึกสงัดจะมีเสียงเหมือนคนเดินอยู่เสมอก็นึกว่าขโมยขึ้นบ้าน จึงได้ลุกขึ้นคอยนั่งจับขโมย แต่ก็มองไม่เห็นมีขโมยสักคน นอกจากเสียงฝีเท้าคนเดิน ใจหนึ่งก็กลัวนึกว่าผีหลอก จึงตัดสินใจฉายไฟดู ก็ไม่พบเห็นอะไร นอกจากปลัดวางอยู่ข้างหน้า ห่างประมาณ ๑ ศอก จึงหยิบขึ้นมาแล้วนำไปไว้ใต้หมอนหนุนศีรษะ รุ่งเช้าครูบุญช่วย จึงได้นำปลัดติดตัวไปโรงเรียนด้วย ในระหว่างเดินมาตามทาง เห็นควายสองตัวกำลังขวิดกันอยู่ในทุ่งนา ที่จะต้องเดินผ่าน พอดีควายตัวหนึ่งวิ่งหนี อีกตัวก็ไล่ขวิด ตัวที่ไล่แลเห็นครูบุญช่วยมายืนขวางหน้า ก็ตรงรี่เข้าขวิดครูบุญช่วยจนกระทั่งล้มลง แล้วก็เข้ามาขวิดอีกจนครูบุญช่วยกลิ้งไปกลิ้งมา ตามแรงเขาควายที่ขวิด จนเสื้อกางเกงขาดหมด เนื้อตัวเปรอะเปื้อนไปด้วยฝุ่นและดิน ครูบุญช่วยจึงร้องขอความช่วยเหลือ จากชาวบ้านแถวนั้น มาช่วยไล่ควายให้หนีไป แต่น่าอัศจรรย์ที่ตัวครูบุญช่วย ไม่ได้มีบาดแผลจากเขาควายตัวนั้นเลย

อีกเรื่องหนึ่ง


คุณสำราญ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อคนหนึ่ง ได้ปลัดมาจากหลวงพ่อ ไว้ใช้ติดตัวเพื่อป้องกันอันตราย วันหนึ่งได้ชวนพวกเพื่อนๆ มานั่งคุยที่หน้าบ้าน เพื่อนคนหนึ่งก็ชักปืนขึ้นมาล้อเล่น เผอิญปากกระบอกปืนหันมาตรงหน้าคุณสำราญพอดี เพื่อนอีกคนหนึ่งก็ปัดปืนไป เพื่อไม่ให้เอามาล้อเล่นกัน ในขณะที่ปัดปืนนั้นเสียงปืนก็ดังปังขึ้น กระสุนถูกหน้าอกคุณสำราญอย่างจังถึงกับตัวงอ คุณสำราญเอามือกุมหน้าอกด้วยความเจ็บ เมื่อเพื่อนๆ เข้ามาช่วยเหลือไม่เห็นมีเลือดออกมาเลย นอกจากรอยถูกปืนที่หน้าอกเสื้อเท่านั้น เมื่อถูกสอบถามจากบรรดาเพื่อนๆ ว่ามีของดีอะไร คุณสำราญไม่บอก แต่ควักปลัดของหลวงพ่ออี๋ให้ดู
แคล้วคลาด


นายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ได้เล่าว่าเมื่อครั้งยังประจำการอยู่ที่สัตหีบ ได้ขับรถมาบ้านในกทม. ในระหว่างขับรถมาตามทาง ได้ถูกรถบรรทุกพุ่งชนท้ายรถอย่างแรง รถเลยเสียหลักการทรงตัว ได้พลิกคว่ำลงข้างทางหลายตลบ รถพังยับเยินใช้การไม่ได้ ตัวเองหน้าอกได้กระแทกกับพวงมาลัย สลบไป คนขับรถบรรทุก ไม่ได้ช่วยเหลือ กลับขับหนีไป ชาวบ้านต้องพากันมาช่วย นำตัวออกมาทางกระจกหน้ารถ เพราะประตูรถใช้การไม่ได้ เมื่อฟื้นจากสลบก็คลำหน้าอก เนื้อตัวไม่ได้รับอันตรายใดๆ เลย ท่านกล่าวว่า “ทั้งเนื้อ ทั้งตัว ผมมีปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ ห้อยคออยู่เพียงอันเดียว”


19#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-20 08:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดสัตหีบ ในอดีต เป็นแหล่งธรรม และยังเป็นสถานที่ให้ความร่มเย็นแก่ญาติโยม ผู้เดินทางมาพึ่งพาอาศัย คนป่วยจากจังหวัดต่างๆ ได้รอนแรมมาเพื่ออาศัยอิทธิบุญบารมี ของหลวงพ่ออี๋ ได้ช่วยขจัดปัดเป่าทุกข์ให้ ด้วยอำนาจแห่ง อภิญญาญาณของท่าน ก็สามารถช่วยเหลือชีวิตผู้เจ็บป่วย ให้หายวันหายคืนจนกลับสู่บ้านเรือนของตนได้ รวมทั้งคนเจ็บป่วยที่ต้องคุณไสยร้ายแรง หลวงพ่อท่านก็ช่วยปัดเป่าให้รอดชีวิตกลับไปได้ จึงเป็นที่เลื่องลือในหมู่ชนทั่วไป
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ อำเภอสัตหีบ คือที่มั่นของกองทัพเรือ และเป็นจุดสำคัญแห่งหนึ่ง จึงเป็นที่หมายของข้าศึก บรรดาชาวบ้านโดยทั่วไป ต่างก็ยึดเอาตัวของ หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร เป็นที่พึ่ง วันหนึ่งๆ ชาวบ้าน และผู้คนในอำเภอสัตหีบ จะมาหลบภัยอยู่ในวัดสัตหีบกันจนหมดสิ้น ด้วยเกรงว่าข้าศึกจะมาทิ้งระเบิด ปรากฏว่า เครื่องบินฝ่ายพันธมิตร ได้นำระเบิดมาทิ้งที่สัตหีบถึง สามครั้ง แต่ลูกระเบิด ไม่ระเบิดเลยสักลูกเดียว เพราะไปตกลงในทะเลเสียหมด
เมื่อเวลาเครื่องบินมาทิ้งระเบิด หลวงพ่ออี๋ ท่านจะออกไปยืนอยู่กลางแจ้ง แล้วเพ่งมองขึ้นไปเบื้องบน กำหนดกสิณลม พัดเอาลูกระเบิดหนักเป็นตันๆ นั้น ไปตกลงในทะเล ลูกระเบิดเหล่านั้น ไม่ทำงาน เพราะเมื่อเครื่องบินฝูงใหญ่มาถึง หลวงพ่ออี๋ท่านก็เดินลงไปที่ลานวัด เอาผ้าอาบน้ำฝน ที่ท่านพาดบ่าไว้นั้น สะบัดโบกไปมา ท่านเพ่งกสิณน้ำ ไปที่ชนวน และดินระเบิด ลูกระเบิดเมื่อเปียกน้ำ ก็เหมือนลูกเหล็ก หนักๆ ลูกหนึ่งเท่านั้นเอง เมื่อหลวงพ่ออี๋ ยืนบริกรรมเฉยอยู่ ฝูงเครื่องบิน พอบินมาถึง ตลาดสัตหีบ ก็โปรยลูกระเบิดเปียกน้ำลงมา พอผ่านฐานทัพเรือ ก็โปรยลูกระเบิดลงมา ก็ไม่มีผล ลูกระเบิด ถูกลมหอบพัดไปตกลง กลางทะเลหมด การทิ้งระเบิดทั้งสามครั้ง ระเบิดแม้ลูกเดียวก็ไม่ทำงาน ประชาชนจึงเชื่อในปาฏิหาริย์ ของท่านยิ่งนัก ทหารเรือทั้งหลาย นอกจากจะมีความเคารพ ในหลวงปู่ศุข กรมหลวงชุมพรฯ แล้ว ก็มีหลวงพ่ออี๋ พุทธสโร อีกองค์หนึ่ง ที่เป็นที่เคารพ สักการบูชา



20#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-20 08:08 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ปาฏิหาริย์ของ หลวงพ่ออี๋



ท่านพระครูศรีสัตคุณ เจ้าอาวาสวัดสัตหีบ ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออี๋ รุ่นสุดท้าย ท่านได้เล่าให้ฟังว่า “แต่ก่อนนี้นะโยม ชาวบ้านแถวสัตหีบนี่ ก็คือบ้านป่าที่อาศัยชายทะเล มีอาชีพการจับป่าเป็นหลักเท่านั้นแหละ ไร่สวนก็ปลูกไว้กินเอง ถนนหนทางก็มีทางเกวียน และทางเกวียนนั้นไปมาก็ลำบากมาก เพราะเป็นป่าดงพงไพร มีต้นไม้ใหญ่สูงๆ ทั้งนั้น ต้นยาง ต้นไม้แดง ต้นไม้พะยอม ละก็มาก การเดินทางไป อย่างกับชลบุรี และกรุงเทพฯนี่นะต้องไปเรือ คราวหนึ่งอาตมาต้องไปธุระที่จังหวัด ชลบุรี ก็นั่งเรือไปกับเขาด้วย พอนั่งเรือมาถึงช่วงอำเภอศรีราชานั่นเอง ทะเลเกิดคลื่นลมจัด มีพายุพัดกระหน่ำเรือ อีกทั้งฝนฟ้าก็ตกอย่างหนัก หนักเข้าเรือล่มจมน้ำ คนในเรือก็ต้องช่วยตัวเองละคราวนี้ ลูกน้ำเค็มมันเค็มจริงนะโยม สำลักน้ำทะเล ถูกคลื่นลมพายุพัด ซัดกระจายไปคนละทางสองทาง ตัวอาตมาเองต้องลอยคออยู่กลางทะเล ท่านกลางดงฉลามด้วยนะในช่วงนั้น แล้วก็จีวรกับน้ำนี่เขาพบกันได้ที่ไหน จีวรเจอน้ำเป็นกอดกันแน่น คนกลางคือตัวอาตมานี่ซี จะจมน้ำทะเลตายแหล่ มิตายแหล่ ใจก็นึกถึงหลวงพ่ออี๋ท่าน มันกลัวตายอยู่นะตอนนั้นน่ะ ในความรู้สึกเพราะใกล้จะหมดแรงจมน้ำนั้น คล้ายกับมีใครมาอุ้มพยุงตัวเอาไว” ๖ ชั่วโมงที่ลอยคออยู่ ก็ปรากฏว่ามีเรือประมงชาวศรีราชา เขาออกจากฝั่งเพราะคลื่นลมสงบหมดแล้ว เขามาพบอาตมาลอยคออยู่ ก็ช่วยไว้ได้” ก่อนที่เจ้าของเรือประมงจะออกจากฝั่ง เขามีความรู้สึกเหมือนมีผู้มาดลใจ ตามที่เขาเล่าไว้
“ขณะที่ฉันและพรรคพวก จะนำเรือออกทะเลโน้น มีพระสงฆ์องค์หนึ่ง ท่านยืนอยู่บนผิวน้ำ ฉันเป็นเจ้าของด้วย เป็นไต้ก๋งด้วย ก็สั่งลูกน้องให้ตรงไปข้างหน้า พวกลูกน้องคงไม่เห็นอย่างฉันเห็นแน่
ฉันยืนอยู่บนเสากระโดง คอยมองปลา จึงแล่นเรือเข้าไป ก็ไปพบกับหลวงพ่อพระครูเข้า ก็เลยเหมาเอาว่า ท่านต้องมีอะไรดีแน่ๆ ครั้นพอท่านส่งวัตถุนิยมของหลวงพ่ออี๋ให้เป็นรางวัล ก็เกิดศรัทธา เพราะตั้งใจมานานแล้วว่า อยากได้ แม้จะเป็นผ้าเช็ดเท้าก็จะบูชาเอาไว้” เจ้าของเรือลำนั้น ท่านพระครูศรีสัตคุณบอกว่า “เขาชื่อนายสง่า เป็นเจ้าของเรือ อยู่ศรีราชานี่เอง อาตมาเชื่อความบริสุทธิ์ของหลวงพ่ออี๋ท่านมาก เพราะอาตมาเคยเห็นท่านมาตั้งแต่เป็นเด็กวัด มาอยู่กับท่านตั้งแต่อายุ ๗-๘ ขวบเท่านั้น อาตมาเป็นลูกกำพร้านะ มีโยมบิดาเลี้ยงท่านก็ดีมาก ชีวิตผันเข้ามาในพระศาสนา ก็นับว่าดีแล้ว ไม่ขาดทุน ยิ่งได้มาเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออี๋ ก็ถือว่าเคยร่วมกุศลมากับท่าน ตั้งแต่อดีตชาติ มาพบกันอีก ช่วยกันอีก นี่แหละโลกนะ มันควรค่าแก่การเรียนรู้ดีแท้”
หลวงพ่ออี๋เป็นพระผู้ทรงอภิญญา เป็นที่เลื่องลือไปไกล แต่ความอัศจรรย์นี้ คนรุ่นสมัยใหม่ ไม่สู้จะเชื่อนัก ยิ่งทางด้านไสยศาสตร์ เขายิ่งไม่เชื่อเอาเสียเลย ถือว่าเป็นเรื่องล้าสมัย แต่ก็มีหลายท่าน ที่จนปัญญาจะพิสูจน์ได้ ก็ต้องยอมนับถือท่าน ท่านพระครูศรีสัตคุณ ได้เล่าให้ฟังว่า “น่าอัศจรรย์มาก สมัยที่อาตมายังเล็กอยู่ โยมบิดาเลี้ยงของอาตมา ท่านป่วย หมอรักษาไม่ได้อีกแล้ว แต่หลวงพ่ออี๋ ท่านรักษาได้ทั้งยา และวิชาอาคมจนหายเป็นปกติ โยมบิดาก็ให้ช่างเขียนรูปหลวงพ่ออี๋ขนาดใหญ่ ไว้บูชาที่บ้าน โยมบิดานั้นท่านเคารพสุดที่จะบรรยายเลยละ ตอนนั้นเลยได้มาเป็นลูกศิษย์ ติดตามรับใช้หลวงพ่ออี๋ไปทุกแห่ง เพื่อจะได้รับใช้ท่านตามความประสงค์ ของโยมบิดา”
ธรรมะของหลวงพ่ออี๋ มีมากมาย เช่น “หลักวาจาดี มีคุณประโยชน์” ท่านไม่เคยพูดว่าใครให้แสลงหู และท่านไม่ค่อยจะพูดอะไรออกไปมากนัก เพราะวาจาที่ท่านพูดออกไป มักจะเป็นจริงดังนั้นเสมอ ท่านจึงพูดแต่คำที่เป็นสิริมงคลโดยตลอด พลังจิตอัศจรรย์ ของหลวงพ่ออี๋นั้น พระอาจารย์แง (พระครูภาวนาโกศล) วัดเจริญสุขาราม ศิษย์ของหลวงพ่อปานเหมือนกัน ได้เล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน (บางเหี้ย) ท่านสอนศิษย์ทุกรูปให้มีพลังจิตแก่กล้า โดยเอาพลังจิตรวมไว้ที่นัยน์ตา แล้วเพ่งออกไป ตาไม่กระพริบ ทำอย่างนั้นให้คล่องแคล่ว แล้วก็อาศัยจิตเข้าผนวกกัน เพื่อดำเนินจิตเข้าทางกสิณ คุณไสยที่ถูกส่งมา เช่น เขาส่งหนังควายเสกบินเป็นแมลง คนที่มีจิตแก่กล้าอย่างหลวงพ่ออี๋ ท่านมองเท่านั้น แผ่นหนังตก คลายสภาพทันที และถ้าท่านไม่รู้เห็น นอนหลับ เข้ามาใกล้ท่านสามวา ของเหล่านั้นจะอ่อนกำลัง กลับไปหาเจ้าของอย่างรวดเร็ว หลวงพ่ออี๋ท่านเป็นพระรุ่นพี่ ที่สามารถที่สุด ในบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายของหลวงพ่อปาน ทำให้พวกที่ชอบเล่นไสยศาสตร์ครั่นคร้าม ไม่กล้าจะยุ่งเกี่ยว ถึงจะรู้ว่า ท่านเป็นผู้แก้ไข คุณไสยที่เขาส่งไปทำร้ายคนเจ็บ ที่ท่านรักษาให้ เมื่อท่านรักษาคนป่วยหายแล้ว ท่านก็ให้รับศีล ป้องกันการแก้แค้น แล้วก็ให้พรว่า “เอาละ ต่อไปไม่มีอะไรมา ทำร้ายได้อีกแล้ว”
พระอาจารย์เล่าต่อไปว่า
ตอนนั้น มีพระร่วมธุดงค์ ๖ องค์ หลวงพ่อปาน เป็นพระอาจารย์หัวหน้า ได้ไปพักอยู่ที่โน้น ใกล้เมืองเขมร เช้านั้นออกบิณฑบาต ก็มานั่งฉันกันที่ละเมาะป่า กำลังฉันกันอยู่ หลวงพ่อปานท่าน ก็ว่า
“อื้อ... อื้อ... ”
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้