ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1539
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

การวางเฉยอย่างถูกวิธี (สมด็จพระญาณสังวรฯ)

[คัดลอกลิงก์]


อันความวางเฉยด้วยความรู้นี้
เกี่ยวแก่การที่ต้องปฏิบัติทำจิตใจให้เกิดความวางเฉยขึ้น
และความวางเฉยด้วยความรู้นี้
เป็นอาการของจิตที่ประกอบด้วยปัญญาเพ่งพินิจ
รู้ จึงหมายถึง รู้เรื่องที่เป็นไป กับ รู้ที่เป็นปัญญา

ดังจะยกตัวอย่าง

อันเรื่องที่เป็นไปนั้น ดังเช่น นินทา สรรเสริญ
กล่าวได้ว่า บุคคลทุกๆ คนจะต้องมีผู้นินทา มีผู้สรรเสริญไม่ใช่น้อย
แต่ว่าไม่ได้ยิน จึงไม่รู้ว่าเขานินทาอย่างไรบ้าง เขาสรรเสริญอย่างไรบ้าง จิตจึงเป็นกลางๆ
ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย เพราะไม่รู้คือไม่ได้ยินเขาพูด ไม่ทราบว่าเขาพูดอย่างนั้นอย่างนี้

ดั่งนี้เป็นลักษณะที่วางเฉยด้วยความไม่รู้จริงๆ แต่อันทีจริงนั้นเขานินทาอยู่แล้ว เขาสรรเสริญอยู่แล้ว
ซึ่งทุกคนก็จะเป็นอย่างนี้ด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งคนที่มีชื่อเสียงมาก
ต้องทำการงานเกี่ยวข้องกับคนเป็นอันมาก ก็จะต้องมีผู้สรรเสริญมาก มีผู้นินทามาก
แต่ว่าเขาพูดลับหลัง ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็เฉยๆ ดั่งนี้เรียกว่า เฉยๆ ด้วยความไม่รู้จริงๆ

คราวนี้เมื่อได้ยินเขาพูด ได้ทราบว่าเขาพูดนินทาบ้างสรรเสริญบ้าง ก็วางเฉยได้
ดั่งนี้ เรียกว่ามีความทนทาน เป็น “การวางเฉยด้วยความรู้” คือรู้เรื่องที่เป็นไป
ซึ่งน่าจะยินดีก็ไม่ยินดี น่าจะยินร้ายก็จะไม่ยินร้าย วางเฉยได้ นี้เป็นความรู้เรื่องที่เป็นไป
มีจิตใจที่ทนทาน มั่นคง ก็วางเฉยได้ รู้ว่าเขาว่าก็วางเฉยได้ เขานินทา เขาสรรเสริญก็วางเฉยได้

อีกอย่างหนึ่ง “การวางเฉยด้วยปัญญา” คือว่าโดยปรกตินั้นก็จะต้องมีชอบใจไม่ชอบใจขึ้นมาก่อน
แต่แล้วก็พิจารณาให้เกิดความรู้ที่เป็นปัญญาขึ้นมา เมื่อเกิดปัญญาขึ้นมาก็เกิดความวางเฉยได้

อันความวางเฉยได้ ด้วยความรู้ที่เป็นปัญญานี้ต้องอาศัยการปฏิบัติอันเรียกว่า โยนิโสมนสิการ
ทำไว้ในใจโดยแยบคาย พิจารณาให้เห็นเหตุเห็นผล เห็นสัจจะคือความจริง
อันนี้แหละเป็นข้อปฏิบัติให้เกิดอุเบกขา ซึ่งเป็นที่มุ่งหมายในทางปฏิบัติธรรม


: อุเบกขา การวางเฉยอย่างถูกวิธี
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก




                                                                                       
..............................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=42989

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้