ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3037
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ต้องเชื่อสิ่งที่เห็นได้ด้วยตนเอง (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

[คัดลอกลิงก์]
                                                                                                     


นี่ท่านจะเห็นได้เองทันทีว่า การถามเรื่องเกิดทางเนื้อหนังแล้วตายเข้าโลงแล้วว่า
เกิดหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ท่านไม่ยอมพูดด้วย ที่ว่าไม่เป็นเงื่อนต้น
ของความดับทุกข์นั้น ก็เพราะว่าเมื่อผู้ถามถามอย่างไร ผู้ตอบตอบให้ฟัง ผู้ถามก็
เห็นด้วยตนเองไม่ได้ มันจึงได้แต่โง่ลงเป็นครั้งที่สองอีกคือเชื่อตามที่ผู้พูด พูด
หรือ ผู้บอก บอก ครั้งยังไม่เข้าใจ ก็ถามอีก ผู้บอกก็บอกอีก คนฟังก็ต้องโง่เชื่อไป
ตามคำบอกเรื่อยไปๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะมันไม่อาจจะเห็นได้ด้วยตาว่า ว่าหลัง
จากเข้าโลงไปแล้ว มันจะไปเกิด ได้อย่างไร เป็นคนๆเดียวกัน หรือเปล่า แล้วบุญ
กุศลนั้น มันจะไปถึง จริงหรือเปล่า นี่เป็น เรื่องสำคัญที่สุด ของพุทธศาสนา ว่า
มันไม่ได้หมายถึง "ความเกิด" อย่างนั้น ถามไปเท่าไร มันก็เป็นเรื่อง ไกลออกไป
ทุกที ไกลออกไปทุกที จนไม่มีทางที่จะพูดถึงเรื่องดับทุกข์ แล้วผู้ถามก็ต้องเชื่อ
ตามผู้บอก ซึ่งบอกเรื่อยไป ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประโยชน์อะไร

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-9-4 13:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระพุทธองค์ ตรัสว่า มาพูดถึงเรื่องที่จำเป็น หรือที่สำคัญดีกว่า คือ มาพูดถึง
เรื่องที่ว่า เกิดอยู่นี่มันเป็นทุกข์ แล้วทำอย่างไร จึงจะไม่เป็นทุกข์ อย่าไปพูดว่า
ตายแล้วเกิดหรือไม่เกิด อันเป็นเรื่อง ข้างหน้าโน้น พูดเดี๋ยวนี้ ที่นี่เลยว่า ที่เกิด
อยู่นี่ เป็นทุกข์ หรือ ไม่เป็นทุกข์ ถ้าเป็นทุกข์ ละก็ จะแก้ทุกข์อย่างไร? ท่านทรง
ชี้ให้เห็นว่า ความยึดมั่น ถือมั่น ว่าตัวกู ว่าของกู นี้มันเป็นทุกข์ พูดกันพักเดียว
คนฟังนั้น เขาฟังเข้าใจ ไม่ต้องเชื่อ พระพุทธเจ้า แต่เขาเชื่อตัวเองเท่านั้น พระ
พุทธเจ้า ท่านก็กำชับว่า อย่าเชื่อตถาคต แม้พระสารีบุตร ก็กล้าปฏิญาณ ต่อหน้า
พระพุทธเจ้าว่า ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า แต่เชื่อตัวเอง อย่างนี้ ในกรณีของธรรมะ
เป็นอันว่า ในกรณีของธรรมะ ในพุทธศาสนานี้แล้ว ต้องเชื่อสิ่งที่เห็นได้ด้วยตน
เอง ฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านสามารถ ที่จะทรงแสดง ให้เขาทราบ เขาเห็นด้วย
ตนเอง ว่าการยึดมั่น ถือมั่น ว่าตัวกู ว่าของกู นี้มันเป็นทุกข์ และความเกิด นั่นมัน
เป็น ความเกิด ที่ทำให้เป็นทุกข์ ขึ้นมา ก็ต่อเมื่อ มีความยึดมั่น ถือมั่น ว่าความเกิด
ของกู นั่นเอง

เมื่อเห็นว่า ความยึดมั่นถือมั่นว่า ตัวกู-ของกู นี้เป็นความทุกข์แล้ว เสร็จไปขั้นหนึ่ง
แล้ว ท่านก็อธิบายต่อไปอีก ขั้นหนึ่ง ว่า ความรู้สึกว่า ตัวกู-ของกูนี้ มันเป็นมายา
มันไม่ใช่ตัวจริง คือมันเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้ เห็นรูป ได้ฟังเสียง ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้ม
รส ที่เรียกว่า สัมผัส แล้วเกิดเวทนา- แล้วเกิดตัณหา- แล้วเกิดอุปาทาน มันเพิ่ง
เกิดหยกๆ ตรงนี้ และชั่วครู่ ชั่วขณะเท่านั้น มันเป็นมายาอย่างนี้ โดยที่แท้จริง
แล้ว มันไม่มี ตัวกู-หรือตัวเรา ของกู-หรือของเรา นี้มันไม่มี มันเป็นความเข้าใจ
ผิด เป็นความยึดมั่น ถือมั่น ที่เกิดขึ้นมาจาก ความไม่รู้ หรืออวิชชา ในขณะที่เห็น
รูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส หรือ คิดนึก ด้วยใจ นั่นเอง ท่านอุตส่าห์ ทรง
พร่ำสอน ตรงนี้ จนผู้ฟังนั้น เห็นเองอีก เห็นได้ด้วยตนเอง ว่า มันไม่มีตัวกู มันมี
แต่ความสำคัญผิด ว่าตัวกู เกิดขึ้นเป็น egoism อย่างที่อธิบายแล้ว แต่วันก่อน
นี้ ขึ้นมาในใจ แล้วไปยึดมั่น ถือมั่น สิ่งนั้นว่า ตัวกู แท้จริงแล้ว ตัวกูไม่มี มีแต่จิต
ที่ประกอบด้วย อวิชชา มันก็ต้องรู้สึกว่า ตัวกู เสมอไป ถ้าประกอบด้วย สติปัญญา
คือ ว่างแล้วก็ไม่มีตัวกู เสมอไป แล้วอันไหนเป็น ความเท็จ อันไหนเป็น ความจริง
ผู้นั้น ก็จะเห็นได้ด้วย  ตัวเองทันทีว่า ที่ว่างจากตัวกู นั่นแหละคือความจริง เลย
กลายเป็น บุคคลที่เห็นได้ว่า ตัวกูไม่มี เมื่อตัวกู มันไม่มีแล้ว ใครมันจะตาย แล้ว
ใครมันจะเกิด การที่มาถามทีแรกว่า ตายแล้วเกิดไหม? นั้นจึงเป็น ปัญหาที่โง่ที่
สุด คือมันไม่เป็นปัญหาเลย มันก็เลยหยุดไปเอง เพราะมันเป็น การตอบเสร็จ ไป
เลยในตัวเอง ว่าไม่มีใครตาย ไม่มีใครเกิด ในทำนองที่ เกิดทางเนื้อหนัง ที่ตาย
เข้าโลง แล้วเกิดอย่างนี้ มันไม่มี มันมีแต่จิต ที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสิ่งปรุงแต่ง
เท่านั้น มีความเกิดขึ้น แห่งความ ยึดมั่น ถือมั่น ว่า ตัวกู-ของกู เท่านั้น พอเรารู้
แจ้ง เห็นจริง ในข้อนี้ เราขจัดมันไป เสียได้ สิ่งที่เรียกว่า ตัวกู-ของกู ไม่มี เรื่อง
ก็จบกัน คือ สิ้นสุดกันลง เพียงเท่านั้น สิ่งที่เหลืออยู่ ก็เป็นเพียง จิตที่ว่าง ไม่มี
ความทุกข์เลย ไม่มีความรู้สึกว่า ตัวกู-ของกู มาวี่แววเลย ปัญหาเรื่อง ตายแล้ว
เกิดหรือไม่ ก็เลยเป็นหมัน

ทุกๆอย่างนั้น เห็นได้ด้วยตนเองหมด ว่าที่พระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่า ความเกิด
ความแก่ ความตายนั้น มันหมายถึงอะไร? แล้วก็รีบ ขจัดสิ่งเหล่านี้ ออกไปให้
หมด จนไม่มีการเกิดขึ้นมาเลย แล้วเรื่องก็สิ้นสุดลง ไม่ต้องพูดถึงชาติโน้น ไม่
ต้องพูดถึงชาตินี้ ไม่ต้องพูดถึงชาติที่แล้วมา พูดแต่เรื่องเดี๋ยวนี้ ปัจจุบันอย่างยิ่ง
ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ที่จะต้องรีบศึกษา ให้เข้าใจ จนไม่มีความรู้สึกว่า เป็นตัวกู-หรือ
ของกู นั่นแหละ แล้วร่างกายนี้ อัตตภาพนี้ ซึ่งประกอบอยู่ ด้วยร่างกาย และจิตใจ
นี้ จะเป็นของเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ ของคนแก่ คนเฒ่า อะไรก็ตาม จะสะอาด ปราศจาก
ตัวกู-ว่างจากตัวกู แล้วก็ ไม่มีความทุกข์เลย ในพระบาลี ก็ยังมีพูดถึง ผู้ที่เป็นพระ
อรหันต์ ตั้งแต่อายุเพียง ๑๕ ปี นี้ก็หมายถึงเป็นเด็ก แต่มีน้อยมาก มีแต่ที่พูดถึง
ผู้สูงอายุ ได้เป็นพระอรหันต์นั้น เป็นจำนวนมากที่สุด เพราะว่า สามารถ ผ่านสิ่ง
ต่างๆ มา ประจักษ์ชัด ด้วยตนเอง ทั้งนั้น กล่าวคือ มีความแจ่มแจ้ง ในทางจิต
หรือทางวิญญาณ เป็นเรื่องๆ ไปอยู่เป็นประจำ เรียกว่า spritual experience,
คือว่า experience อันนี้ไม่ใช่สัมผัส ทางเนื้อ ทางหนัง ทางวัตถุ แต่เป็นสิ่งที่
เคย ถูกเข้าแล้ว โดยทางจิตใจ โดยทางวิญญาณ รู้รสมาแล้ว ทางจิตใจ รู้รสมาแล้ว
ทางวิญญาณ ในส่วนลึก ว่า มันเป็นอย่างไร ซึ่งคนเรา ตั้งแต่เกิด ขึ้นมาแล้ว กว่าจะ
ตายนี้ มันประสบ กับสิ่งเหล่านี้ นับไม่ถ้วน ถ้าเขาเป็นคนฉลาด สังเกตแล้ว สิ่งเหล่า
นี้ มันจะมีประโยชน์ มากที่สุด คือ มันจะสอน ให้ทุกคราวไปว่า ไม่มีสิ่ง ที่ควรเรียก
ว่า ตัวกู หรือ ของกู ทุกคราวไป ไม่เท่าไร เขาจะมีความรู้ มากพอ อย่างที่ว่า พระ
พุทธเจ้าตรัส สะกิดคำเดียว เขาก็เป็น พระอรหันต์แล้ว คือไม่กี่นาที ที่ได้คุยกับพระ
พุทธเจ้าก็กลายเป็นพระอรหันต์ไป นี้เรียกว่าเป็นผลของ สิ่งๆเดียว คือความเข้าใจ
ถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เข้าใจถูก เรื่องความทุกข์ หรือในเรื่องที่ว่า "ความเกิด
เป็นตัวความทุกข์" อันเป็นคำ ที่สำคัญ คำแรกที่สุด ที่ท่านทั้งหลาย จะต้องสนใจ
และเข้าใจ.


ธ-มหา-๑ ๓๖/๑๓๙-๑๔๒  


คัดลอกจาก พุทธทาสดอทคอมครับ
.............................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=18711

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้