ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระองค์ที่ ๑๓ : สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

[คัดลอกลิงก์]
21#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-8-30 18:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
ทรงประทับหน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงฉายเมื่อพระชนมายุ ๗๔ พรรษา



อภิธชมหารัฏฐคุรุ

รัฐบาลแห่งสหภาพพม่า ได้ถวายเฉลิมพระสมณศักดิ์ “อภิธชมหารัฏฐคุรุ”
ซึ่งเป็นสมณศักดิ์สูงสุดของสหภาพพม่า แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ

นายกรัฐมนตรีพม่าซึ่งได้รับเชิญมาร่วมในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษในประเทศไทย
ได้มาประกอบพิธีถวาย ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๐


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
ทรงบาตรสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

22#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-8-30 18:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

ทรงถวายน้ำพระพุทธมนต์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓



พระกรณียกิจพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน

ถวายศาสโนวาทและเบญจศีล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในคราวแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙

ทรงเป็นประธานพระสงฆ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ระหว่างวันที่ ๔-๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
ในพระราชพิธีนี้ ได้ถวายพระครอบพระกริ่งกับพระครอบยันต์นพคุณ
ณ มณฑปพระกระยาสนาน ถวายพระธรรมเทศนาทศพิธราชธรรม

ถวายพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์
ซึ่งประสูติ ณ วันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕

ถวายพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา
ซึ่งประสูติ ณ วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘

ถวายพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
ซึ่งประสูติ ณ วันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐

ถวายพระนาม พระพุทธนาราวันตบพิตร
ที่ได้ทรงสถาปนาและโปรดเกล้าฯ ให้นำมา
เมื่อเสด็จฯ ถวายพุ่ม วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
เพื่อประดิษฐานไว้ ณ พระตำหนักปั้นหยา
อันเป็นที่เสด็จประทับบำเพ็ญสมณปฏิบัติในระหว่างทรงผนวช

ถวายพระนาม พระโพธิ์ใต้แม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑  ว่า
“พระโพธิมหัยยาเขตสุชาตภูมินาถ รัฐศาสนสถาวรางกูร”

(หมายเหตุ - พระโพธิ์ต้นนี้เกิดมาจากพระโพธิ์ที่อันเชิญมาจากศรีลังกา
มาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาได้ตายลง
แต่ก่อนจะตายได้มีพระโพธิ์ต้นใหม่เกิดขึ้นมา เรียกว่า พระโพธิ์ใต้แม่)


พระตำหนักบัญจบเบญจมา ที่ประทับสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
23#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-8-30 18:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประชวรครั้งอวสาน

หลังจากประชวรครั้งใหญ่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้ประชวรกระเสาะกระแสะ
พระวรกายทรุดโทรมเรื่อยมา แต่อาศัยที่ได้ถวายการรักษาพยาบาล
และประคับประคองเป็นอย่างดีอยู่ตลอดเวลา
ประกอบกับมีพระหฤทัยเข้มแข็งปล่อยวาง จึงทรงดำรงพระชนม์มาได้โดยลำดับ

จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงปรากฏพระอาการประชวรมาก
มีพระโลหิตออกกับบังคลหนัก ต้องรีบนำเสด็จสู่ตึกสามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๑ เริ่มปรากฏพระอาการเป็นอัมพาต
แพทย์สันนิษฐานว่า เส้นพระโลหิตในสมองตีบตัน

แต่ต่อมาพระอาการค่อยดีขึ้นบ้าง แล้วก็กลับทรุด


การพระราชทานพัดรัตนาภรณ์ ชั้น ๑

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินถวายพัดรัตนาภรณ์ ชั้น ๑
เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑

ส่วนในรัชกาลอดีต ในรัชกาลที่ ๕ ไม่ปรากฏหลักฐาน

ในรัชกาลที่ ๖ ได้พบหลักฐานเพียงว่าเตรียมพัดรัตนาภรณ์ ชั้น ๓ สำหรับพระราชทาน
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ และได้รับพระราชทานพัดรัตนาภรณ์ ชั้น ๒ เมื่อไรยังไม่พบหลักฐาน

ในรัชกาลที่ ๗ ได้รับพระราชทานพัดรัตนาภรณ์ ชั้น ๑
เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑


สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร

24#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-8-30 18:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอวสานกาล

ครั้นเวลาหลังเที่ยงคืนของวันที่ ๑๐ นับเป็นวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๐๑
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ประทับหน้าพระแท่นบรรทมในห้องประชวร
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ก็ได้สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา ๐๑.๐๘ นาฬิกา
มีพระชนมายุ ๘๕ พรรษา ๑๑ เดือน และ ๑๙ วัน
ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา ๑๓ ปี กับ ๙ เดือน ๑๑ วัน  


พระโกศพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ในพระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑



การพระศพ

เวลาเช้าวันนั้น เชิญพระศพกลับสู่วัดบวรนิเวศวิหาร เชิญขึ้นสู่พระตำหนักจันทร์ชั้นบน  
ครั้นเวลาบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ถวายน้ำสรงพระศพ
แล้วเชิญพระศพลงสู่โกศเชิญขึ้นประดิษฐานเหนือชั้นแว่นฟ้า
ภายใต้ฉัตรตาดทอง ๕ ชั้น ณ พระตำหนักเพชร
ประกอบพระลองทองน้อย แวดล้อมด้วยเครื่องสูงตามพระเกียรติยศ พระสงฆ์สดับปกรณ์

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม กลางวันกลางคืน
กำหนด ๓๐ วัน ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก ๓๐ วัน

ในทางราชการ ได้มีประกาศให้สถนที่ราชการทุกแห่งลดธงครึ่งเสา ๓ วัน
แลให้ข้าราชการไว้ทุกข์มีกำหนด ๑๕ วัน

อนึ่ง ทางฝ่ายรัฐบาล มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นประธาน
ได้มาเฝ้าถวายความเคารพพระศพในคืนวันสิ้นพระชนม์นั้นแต่เวลาก่อนสว่าง
ได้กราบบังคมทูลแสดงความเศร้าสลดใจ ได้รับสนองพระราชกรณีย์ในการต่างๆ
ตลอดถึงการพระเมรุ  โดยความเคารพเอิ้อเฟื้อ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย
ในสัตตมวารที่ ๑ ในวาระ ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน เป็นงานหลวงโดยลำดับ


พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ
สมาคมและองค์การต่างๆ และพระสงฆ์ได้มาทรงบำเพ็ญ และบำพ็ญกุศลถวาย

ประชาชน และนักเรียนโรงเรียนต่างๆ ตลอดถึงฑูตานุทูตได้มาถวายสักการะพระศพ
ต่อเนื่องกันมาเป็นอันมาก และเมื่อพ้นกำหนดพระสวดอภิธรรมของหลวงแล้ว

วัดธรรมยุตในจังหวัดพระนคร-ธนบุรี ได้จัดพระมาสวดถวายจนถึงร้อยวัน

ต่อจากนั้น พระภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ผลัดเปลี่ยนกัน
เฝ้าพระศพทั้งกลางวันและกลางคืน จนถึงวาระพระราชทานเพลิงศพ

25#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-8-30 18:40 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ ณ วัดเทพศิรินทราวาส
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อการพระราชทานเพลิงพระศพ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นปฐม



คณะสงฆ์ก็ได้ประชุมกันสวดมนต์อุทิศถวายทั่วสังฆมณฑล
เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒
เมื่อครบรอบปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จฯ มาประทับเป็นประธาน ในการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย
ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๒

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ทรงหนักแน่น เคร่งครัด ละเอียดถี่ถ้วนในพระธรรมวินัย
มีพระอัธยาศัยตรง มีพระวาจาและการปฏิบัติตรงไปตรงมา มีพระหฤทัยเข้มแข็ง
ประกอบด้วย ยุติธรรม แน่วแน่ เป็นหนึ่ง น้อมไปในความปล่อยวางไม่สะสม

ทรงบำเพ็ญการบริจาคเสมอ
โดยปกติได้ประทานฉลากแก่พระภิกษุสามเณรทั้งวัด
จับเลือกบริขารปีละ ๒ ครั้ง คือ
ในวันมหาปวาราณา ถวายกุศลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และในวันตรงกับวันประสูติ

พอพระราชหฤทัยในทาง ลูขัปปมาณิกา ปฏิบัติพระองค์อย่างพระธรรมดาสามัญ
รักษาสมณสารูป และระเบียบ ทรงเห็นกาลไกลตลอดจนถึงฐานะอฐานะ

สิ่งที่ทรงทักไว้ว่าอย่างไร ไม่ค่อยพลาด
ทรงศึกษาพระธรรมวินัยด้วยการใช้วิจารณ์เหตุผล
และด้วยการปฏิบัติอันพึงเห็นได้จากพระนิพนธ์ต่างๆ

ทรงมุ่งสามัคคีในสังฆมณฑล  ให้เป็นธรรมสามัคคี  วินัยสามัคคี
ดำรงพระองค์ในฐานะพระสังฆบิดรพระสังฆปริณายกตาม หลักอปริหานิยธรรม

ทรงประสาธน์กรณีย์อันเกี่ยวแก่คณะสงฆ์ แลพระพุทธศาสนาให้สำเร็จผลด้วยดี

ทรงเป็นที่พึ่งร่มเย็นของคณะสงฆ์ทุกฝ่าย
ทรงเป็นที่เกิดเจริญพระราชศรัทธาปสาทะอย่างยิ่ง
แห่งองค์พระประมุขของชาติ เอกอัครสานูปถัมภก
พร้อมทั้งพุทธศาสนิกชนทุกชั้น
ทรงประกอบด้วยพระคุณในลักษณะต่างๆ อันไม่อาจกล่าวให้ทั่วถึงได้


อาจกล่าวได้ว่า

ทรงเป็นผู้รักษาพระพุทธศาสนา เป็นที่เคารพบูชา
และอุ่นใจของพุทธศานิกชนทั่วไป


ในวาระขึ้นพุทธศักราช ๒๕๐๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก
ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสแก่ประชาชนชาวไทย
มีข้อความในพระราชกระแสตอนหนึ่งว่า

“ในขวบปีที่ผ่านมา.....สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลสังฆปริณายก
ก็ได้มาสิ้นพระชนม์ลงในเดือนพฤศจิกายน นับเป็นการศูนย์เสียอย่างใหญ่
แก่ประชาชาติของเรา และพุทธศาสนิกชนทั่วไป
ความวิปโยคที่บังเกิดขึ้น ทำให้เราทุกคน รวมทั้งข้าพเจ้าด้วย
รู้สึกเศร้าสลดใจ และอาลัยในพระองค์ท่านเป็นที่สุด.....”



พระรูปหล่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร


    

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

หมายเหตุ : โปรดติดตามอ่าน

๑. ประวัติและความสำคัญของวัดบวรนิเวศวิหาร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=26031

๒. ประวัติและความสำคัญของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=21082

๓. ประวัติมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=20842

๔. วัดประจำรัชกาลที่ ๖ : วัดบวรนิเวศวิหาร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19342

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
หนังสือชุดพระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ :
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์)
วัดบวรนิเวศวิหาร, สุเชาวน์ พลอยชุม เรียบเรียง, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
http://www.dharma-gateway.com/
http://mahamakuta.inet.co.th/
http://www.mbu.ac.th/
http://www.watbowon.org/


กระทู้ในบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13779                                                                                       
.................................................................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=20236

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้