ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4899
ตอบกลับ: 12
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระครูพรหมยานวินิต ( กล้าย ทิบภักดี ) วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่

[คัดลอกลิงก์]
ประวัติพระครูพรหมยานวินิต ( กล้าย ทิบภักดี )
อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2434 เวลา 6.50 น ณ บ้านกระดาษ หมู่ที่ 1 ตำบล มดแดง อำเภอ ศรีประจันต์ จังหวัด สุพรรณบุรี บิดาชื่อนายเฉย มารดาชื่อนางกล่ำ ทิบภักดี มีน้องสาวชื่อเพริ้ง ใยเพรช ม่านได้บรรพชาและอุปสมบท เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2453 ณ พัทธสีมาวัดโบสถ์ อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่อเวลา 13.30 น โดยพระอธิการเนตร วัดโบสถ์เป็นพระอุปัชฉายะ พระอาจารย์พลอย วัดโบสถ์เป็นพระกรรมวาจารย์และพระอาจารย์พักตร์ วัดโบสถ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายา "สุวณุณหุโส" เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ จนแกร่งกล้าแล้วจากนั้นหลวงพ่อพักตร์ จึงพาพระครูกล้ายมาฝากพระรัตนมุนี (บาง) อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ซึ่งเป็นพระพี่ชายของหลวงพ่อพักตร์ครับหลังจากนั้นพระครูกล้ายศึกษาวิชาอยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม นอกจากนี้หลวงพ่อกล้ายท่านยังได้ศึกษาวิชาจากอาจารย์ท่านอื่นอีกหลายองค์ ที่ทราบก็คือหลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน พระสังวรานุวงศ์ (ชุ่ม) วัดราชประสิทธารามและยังทันกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคอีกด้วย หลังจากที่ได้ร่ำเรียนวิชาต่างๆมาพอสมควรแล้วหลวงพ่อกล้าย ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีจันต์ ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านและได้เมตตาช่วยเหลือชาวบ้านที่ทุกข์ร้อน โดยใช้พรหมวิหาร 4 ไม่อวดตนข่มผู้อื่น ผู้ใดที่ทุกข์ร้อนมาหาท่านก็ได้รับการช่วยเหลือโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะจึงเป็น ที่รักของชาวบ้านจำนวนมาก ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่ วัดหงส์รัตนารามโดยท่านได้รับสมณศักดิ์ที่ "พระครูพรหมยานวินิจ" ชั้นโท และในปี 2500 จึงได้เลื่อนชั้นเอกในนามเดิม ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ส่วนการสร้างพระท่านได้สร้างพระเมื่อประมาณ ปี 2468 เป็นต้นมายุคต้นของท่านจะไม่มียันต์ ท่านเริ่มมีสัญลักษณ์หลังโดยใช้ยันต์เพราะเริ่มมีพระสงค์หลายรูปที่มาสร้างพระด้วยกันจึงกำหนดยันต์ขึ้นมาเผื่อสดวกแก่การจำว่าของท่านใดสร้างยันต์ของท่านจะมี "อุ" และ ยันต์น้ำเต้า "อิติอุนิ" เป็นยันต์ประจำตัวส่วนยันศรี และยัน นะ นั้นท่านไม่ค่อยได้ใช้มากนัก ( ยันศรี เคยใช้ลงถาดทองเหลือง งานสร้างวัตถุมงคลที่วัดราชโอรส ปี 2508 ) โดย ยันต์ "อุ" ย่อมาจาก "อุณาโลมาปะนะชายะเต อะสังวิสุโลปุสะพะภะ" และยันต์น้ำเต้า "อิติอุนิ"ย่อมาจาก อิ คือ อิสะระนัง โลเกเสฐฐัง ติ คือ ติสะสัพพะ สัพพา อุตตะยะนัง อุ คือ อุเบกขาอังคะสัมภะวัง นิ คือ นิพานัง ปรมังสุขขัง โดยใช้ยันต์ทั้ง 2 นี้ เป็นหัวใจพระคาถาที่หลวงพ่อกล้าย ได้ศึกษาและได้ภาวนาขณะปลุกเสกพระเครื่องของท่านให้มีความเข้มขลังพระที่ ท่านสร้างมีเนื้อผงใบลานและเนื้อดินเผา โดยมีผงของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ผงพระขุนแผน วัดบ้านกร่าง ผงหลวงพ่อเนียมวัดน้อย ผงจากกรุวัดตาล
( อาจารย์คงซึ่งเป็นอาจารย์ของขุนแผน ) ผงใต้ประธานวัดไก่เตี้ย ผงของหลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ ซึ่งเป็นอจารย์ของท่าน ผงของหลวงพ่อแฉ่งวัดบางพัง ผงของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ผงของพระครูใบกีฎาเกลี้ยง วัดสุทัศน์ ผงที่ท่านลบเขียนเอง ดินจากที่ต่างๆเช่น ดินปิดรูหนู รูปู ดินรังหมาล่าที่ปิดหู ตา จมูก ปากของพระอิธิมงคลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผงของหลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร ผงของหลวงพ่อแซมวัดนวงนรดิศ ผงของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ผงของสมเด็จพระสังฆราช ( ป๋า วัดโพิ์ท่าเตียน ) ผงของพระวัดผลับ ดินหนองช้างตาย กิ่งอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ดิน 7 โป่ง 7 ท่าผงตะใบพระกรื่งของสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่พระครูปรุงมอบให้ ส่วนเนื้อชินได้จากพระของหลวงเนียมวัดน้อย และ ตะปูสังขวานร จากขุนโพที่นำมาถวาย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ว่านยาและเกษรดอกไม้ 108 ดินขุยปูและดินปลาไหลเผือก ผสมปูนเปลือกหอย กล้วย และ น้ำตาล ตำสาวนผสมทั้งหมดจนละเอียดได้ที่ แล้วจึงกดเป็นพิมพ์พระ อนึ่งพระของท่านมักใช้ วิชาปลุกเสก ***เตโชกสิน(ไฟ) ***ปลุกเสก จึงมีสีขาวดำและแดง ท่านสร้างพระมาจนถึงปี 2505 จึงได้เลิกสร้างเนื้องจากท่านชราภาพ และท่านยังสร้างพระแจกแก่สาธุชนโดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใดพระเครื่องที่ท่าน สร้างแจกนั้น เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจให้สาธุชนยึดมั่นในพระพุทธศาสนา สร้างความดีละเว้นความชั่ว และต่อมาจนเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2510 ท่านก็ได้มรณะภาพอย่างสงบ สิริรวมอายุได้ 76 ปี แต่ยังคงเหลือคุณงามความดีให้สาธุชนทั้งหลายได้ระลึกถึงท่านไว้ส่วนพระ เครื่องที่ท่านสร้างแจกนั้น น่าเสียดายใครที่ได้รับแจกไว้เก็บไว้ต่างก็หวงแหน และัไม่ค่อยได้นำออกมาให้บูชากัน จึงไม่ค่อยมีใครรู้จักพระเครื่องของท่านมากนัก ทั้งที่มีมากมายหลายแบบ หลายพิมพ์ มีจำนวนทั้งหมดประมาณ 50000 องค์ และเนื้อชินไม่เกิน 1000 องค์ แม่พิมพ์ด้านหน้าของท่านได้ให้พระเกจิที่นับถือกันนำไปทำใหม่แต่เปลี่ยน ยันต์ที่ด้านหลัง ที่สืบมาได้คร่าวๆคือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ นอกจากนั้นท่านยังได้สอนวิชาต่างๆให้กับเกจิอาจารย์ที่ทราบคือ หลวงพ่อนิ่ม วัดพุทธมงคล หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง ขุ่นแผนพระครูกล้ายวัดหงส์รัตนาราม
- ชมรมพระเครื่องเมืองธนบุรี.....จ๊อตวัดหงส์(DEKHONG)



ที่มา : http://thonburitalisman2.blogspot.com/2012/11/blog-post_30.html
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-8-28 16:16 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตัวอย่างพระที่สมเด็จพระครูกล้ายได้สร้างไว้ครับ



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
หลวงพ่อกล้าย ท่านเป็นพระองค์แรกที่หลวงปู่คง (อาจารย์ของขุนแผน)
มานิมิตให้ไปขุดผงที่เจดีย์เก่าให้นำขึ้นมา

ก่อนอาจารย์ชุมเสียอีก
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย taka_jipata เมื่อ 2014-10-22 23:22

พระขุนแผนประทับกุมารทองของหลวงปู่กล้าย วัดหงษ์รัตนาราม ฝั่งธนบุรี

พระรุ่นนี้ออกที่วัดศรีจันทร์ ปี 2498 ซึ่งมีพระปลุกเสกมากมาย อาทิ หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม หลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง หลวงพ่อกาพย์วัดวรจันทร์ หลวงพ่อถิร วัดป่าเลย์ไลย์ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อสม วัดดอนบุปผา หลวงพ่อแดงวัดทุ่งคอก หลวงพ่อหรุ่น วัดเสาธงทอง เป็นต้น ซึ่งในปี 2498 หลวงปู่กล้าย ได้กลับวัดศรีจันทร์ สุพรรณบุรี บ้านเกิดนั่งสมาธิพบผงธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่วัดร้างมีเจดีย์ครอบอยู่ พออธิษฐานบวงสรวงรื้อเจดีย์ออกพบตาน้ำและบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เมื่องมลึกลงไปพบผงสีขาวขุ่นตรงตามนิมิต(ผงนี้ต่อมาทราบว่าเป็นผงศักดิ์สิทธิ์ที่ปุ่คงอาจารย์ขุนแผนทำไว้สมัยอยุธยา วิญญาณปู่คงเข้าทรงอาจารย์ชุม ไชยคีรี นำมาขุดพบตรงตามนิมิตหลวงปู่กล้ายพร้อมกัน) ในสมัยนั้นพระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง ยังหาง่าและมีชิ้นส่วนที่แตกหักจำนวนมาก วัดศรีจันทร์ห่างจากวัดบ้านกร่าง 4-5กิโลเท่านั้น หลวงปู่กล้ายจึงได้เก็บพระขุนแผนที่ชำรุดบ้างไม่ชำรุดบ้างมาบดเก็บไว้เป็นตุ่มมังกร หลวงปู่กล้ายเป็นพระที่เก่งมาก(ศพท่านไม่เน่าเปื่อย) ได้บรรจงเขียนผงวิเศษอีก 5 ชนิด ภายในกุฏิของท่านอีก 3ปีกว่า แล้วนำผงพุทธคุณทั้งหมดใส่โอ่งและปลุกเสกต่อไปอีกยาวนานเมื่อสำเร็จแล้วก็ได้นำผงวิเศษของปู่คงกับผงพระกรุวัดบ้านกร่าง รวมกับผงวิเศษของท่านที่เขียนขึ้น สร้างเป็นพระขุนแผนพรายกุมารขึ้น หลวงปู่กล้ายได้ปลุกเสกอยู่หลายปี ในสมัยนั้นหลวงปู่ถิรวัดป่าเลย์ไลย์ ดังมากแต่ในเรื่องพุทธคุณท่านยอมให้หลวงปู่กล้ายองค์เดียว ต่อมาหลวงปู่กล้ายได้นำพระทั้งหมดไปให้พระเกจิในยุคนั้นปลุกเสกที่วัดหงษ์ฯบ้างวัดศรีจันทร์บ้าง หรือคราวใดมีพิธีเสกใหญ่ท่านก็จะนำเข้าร่วมพิธี

ตัวอย่างพระที่ดังๆพูดเกี่ยวกับพระขุนแผนรุ่นนี่

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ได้กล่าวว่า "หลวงพ่อผมเสกไม่เข้าแล้วนะ"

หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง ได้พูดกับหลวงปู่กล้ายว่า "ขุนแผนของพระครูพอๆกับพระกรุเลยนะ"

หลวงพ่อจงได้บอกกับลูกศิษย์ที่ถามท่านถึงพระรุ่นนี้ว่า "ดีมากจ๊ะดีมาก"

หลวงพ่อเต๋ได้พูดกับหลวงปู่กล้ายว่า "หลวงพ่อครับพระของหลวงพ่อเสกเต็มหมดแล้วไม่มีที่ว่างผมจึงลงวิชาตุ๊กตาทองให้
                                                เพราะที่ใต้พระเป็นกุมารทองนอนอยู่นี้"

ส่วนหนึ่งที่แจกออกไปมีประสบการณ์มากมายแต่เด่นมากทางด้านเมตตา มหาเสน่ห์ ค้าขาย ความรักแรงเป็นที่สุด แคล้วคลาด ป้องกันตัวเป็นยอดขนาดเด็กโดนรถชนยังไม่เป็นไร คนขาขาดร่างกายพิการใช้พระขุนแผนยังได้เทพีสงกรานต์มาหลงรัก ธุรกิจเสื้อผ้าใกล้เจ๊งกับฟื้นขึ้นมาได้อย่างประหลาด พระขุนแผนนี้สุดยอดจริงๆครับ ไม่ว่าจะเป็นส่วนผสม หรือพระที่ปลุกเสก ดังนั้นใช้แทนพระกรุได้เลย

ทุกวันนี้พระขุนแผนรุ่นนี้หายากแล้วครับ พระขุนแผนรุ่นนี้ได้หมดจากวัดไปนานแล้วครับ มีคนเข้าไปถามหาที่วัดอยู่ตลอด เนื่องจากประสบการณ์เป็นที่เลื่องลลือนั่นเอง

ที่มา : http://board.palungjit.org/f15/% ... 1332.html?langid=34

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
เพิ่มเติมครับ

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขอบคุณครับ แจ่มแท้
พระดีที่ถูกลืม
พระดียังมีอีกมากมายที่ไร้คนรู้จัก...พระที่ผู้คนรู้จักมากมายก็ใช่ว่าดีทั้งหมด...สาธุ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้