ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 7537
ตอบกลับ: 16
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระมหาธรรมราชา

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-5-12 08:14


พระพุทธมหาธรรมราชา
สถานที่ประดิษฐาน..
*

วัดไตรภูมิ  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดเพชรบูรณ์



พุทธลักษณะ


ศิลปะสมันลพบุรี  เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลพบุรีทรงเครื่อง สร้างด้วยเนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจรดพระอังสะ พระเศียรทรงชฎาเทริด หรือมีกะบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด ทรงประคดเป็นลายสวยงาม



สาเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้ มีนามว่า พระพุทธมหาธรรมราชา
เนื่องจากพระวรกายสวมใส่เครื่องประดับของกษัตริย์นักรบสมัยโบราณ ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานว่า
"พระพุทธมหาธรรมราชา"
















         "พระพุทธมหาธรรมราชา" เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวเพชรบูรณ์เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี  หล่อด้วยเนื้อทองสำริด  หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้วไม่มีฐาน  มีพุทธลักษณะพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ  พระกรรณยาวย้อย  ที่พระเศียรทรงเทริด  หรือมีกระบังหน้าทรงสร้อยพระศอพาหุรัดและรัดประคต  เป็นลวดลายสร้างขึ้นเมื่อไรไม่ปรากฏชัดเจน  แต่จากพุทธลักษณะที่ปรากฏมีความสอดคล้องพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะขอมที่พบในประเทศระยะแรก(ราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 17  ซึ่งมีรูปแบบทางศิลปกรรมโดยรวมคือ  ประทับนั่งขัดสมาธิราบพระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม  พระเนตรมักจะเบิกอยู่เสมอท่อนบนของพระวรกายอาจจะเปลือยเปล่าหรือบางครั้งครองจีวรห่มคลุม  แต่ท่อนล่างจะใส่สบง  สำหรับสบงนั้นทำเป็นขอบนูนขึ้นมาที่บั้นพระองค์  ซึ่งบางครั้งก็ทำเป็นรัดประคตคาดอยู่  เครื่องทรงประกอบด้วยกระบังหน้าเป็นลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน  รัดเกล้าเป็นรูปกรวยอยู่เหนือพระเศียร ทรงกรองศอแผงมี อุบะห้อย  ทรงกุณฑลเป็นตุ้ม  ส่วนพาหุรัดทรงกรและทองพระบาทอาจมีหรือไม่มีก็ได้..





สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัย "พระเจ้าชัยวรมันที่ 7" กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม  เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ขึ้นครองราชย์สมบัติได้พระราชทานพระนางสิงขรมหาเทวีพระธิดาให้เป็นพระชายาและและพระพุทธมหาธรรมราชาให้แก่

"พ่อขุนผาเมือง" เจ้าเมืองราด เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี  ซึ่งพ่อขุนผาเมืองเป็นพระราชโอรสของ

พ่อขุนศรีนาวนัมถมแห่งเมืองสุโขทัยในขณะนั้นได้ยกกองทัพเพื่อขับไล่ขอมออกจากนครเดิด  

ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำป่าสักทางทิศตะวันออกของกรุงสุโขทัยซึ่งเป็นหัวเมืองด้านเหนือของขอม  

จนสามารถยึดนครเดิดได้แล้วจัดการทำนุบำรุงและสร้างเป็นเมืองที่ประสงค์จะอยู่พำนักอาศัย

แต่ด้วยชัยภูมิที่ไม่เหมาะสม  จึงย้ายเมืองขึ้นมาอยู่บริเวณที่ลาดสูงน้ำไม่ท่วมและสถาปนาเมืองขึ้นใหม่ว่า

เมืองลาดหรือเมืองราดในปัจจุบันนี้..


*สันนิษฐานว่าตั้งอยู่บริเวณ  บ้านห้วยโป่ง ตำบลบ้านหวาย  อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์  


ความปรีชาสามารถและความแข็งแกร่งของพ่อขุนผาเมือง  เลื่องลือถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอม

พระองค์จึงต้องสร้างสายสัมพันธ์  โดยยกพระธิดาชื่อ..


"พระนางสิงขรมหาเทวี"   ให้อภิเษกสมรสและพระราชทาน   "พระขรรค์ไชยศรี"



รวมถึงพระพุทธรูป  ศิลปะลพบุรี  ต่อมาในภายหลังให้ชื่อว่า "พระพุทธมหาธรรมราชา"

ให้แก่พ่อขุนผาเมืองแต่หลังจากที่พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง(อ.นครไทย) พระสหาย

(ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์) กอบกู้อิสระภาพในดินแดนสุโขทัยให้กับคนไทยจากขอมได้สำเร็จ


ทำให้..พระนางสิงขรมหาเทวี แค้นเคืองถึงกับเผาเมืองราดจนย่อยยับ  จากนั้นตัดสินใจกระโดดแม่น้ำป่าสัก

เพื่อปลิดชีพตน  ทำให้ไพร่พลเสนาอำมาตย์ต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงแพล่องไปตามลำน้ำป่าสัก

เพื่อหลบหนีไฟ  แต่โดยสภาพแม่น้ำป่าสักมีความคดเคี้ยว  และกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก  ทำให้แพที่..

อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาแตกจนองค์พระพุทธรูปจมดิ่งลงสู่ก้นแม่น้ำหายไป




กระทั่งต่อมาชาวบ้านได้ไปพบหลังจากเหตุการณ์ นั้นหลายร้อยปีต่อมา..



     อย่างไรก็ตามในประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องราวแห่งพ่อขุนผาเมืองนั้นมีหลักฐาน


ทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยันได้แก่ ... ศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ระบุว่า


"เมื่อก่อนผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระให้ลูกสาวชื่อนางสิงขรมหาเทวีกับพระขรรค์ไชยศรี

และให้นามแก่พ่อขุนผาเมืองว่า กมรเต็งอัญศรีบดินทราทิตย์"







ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ








         



    ประเพณีอุ้มพระพุทธรูปดำน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์  นับเป็นตำนานที่แสดงเรื่องราวและกิจกรรมอันมีมาช้านาน  เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา  มีลักษณะเป็นไปตามความคิดความเชื่อที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของวิถีชีวิตชาวท้องถิ่นเพชรบูรณ์กับพลังเหนือธรรมชาติและสิ่งศักดิ์สิทธิ์  นับเป็นเรื่องเล่าประจำถิ่นที่เกี่ยวข้องกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธมหาธรรมราชาพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองซึ่งเป็นความเชื่อว่าเป้นเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นจริง  มีสถานที่แห่งการเกิดตำนานในดินแดนเพชรบูรณ์  ตั้งแต่ครั้งประวัติศาสตร์และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน




        นานหลายร้อยปีมาแล้วมีเรื่องเล่าขานกันว่า..


  มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ออกไปหาปลาในบริเวณลำน้ำป่าสัก  เพื่อนำปลาที่ได้มาเป็นอาหาร  


และที่เหลือก็นำไปแลกเปลี่ยนกันภายในหมู่บ้านซึ่งเป็นวิถีชีวิตของผู้คนในบริเวณนี้

อยู่มาวันหนึ่งคุณตาหลวงด่อน ซึ่งมีตำแหน่งเป็นคุณข้าหลวงรับใช้งานราชการของเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ในขณะนั้น

(หลวง หมายถึง บรรดาศักดิ์  ตาด่อนเป็นคำเรียกชายสูงอายุที่ชื่อด่อน)  คุณตาหลวงด่อนเป็นคนชอบทอดแหหาปลา

วันใดว่างจากงานราชการก็จะออกเรือทอดแหหาปลาในลำน้ำป่าสักอยู่เป็นประจำ  วันนี้เป็นวันหยุดงานราชการ

ของคุณตาหลวงด่อน  จึงชวนภรรยาคู่ชีวิตออกไปหาปลากันตั้งแต่เช้า  เมื่อคุณตาหลวงด่อนหันหัวเรือออกไป

ในลำน้ำป่าสักก็เริ่มหาปลาตั้งแต่ในเมืองเรื่อยออกไปซึ่งบริเวณดังกล่าวโดยปกติจะมีปลาชุกชุมมากกว่าบริเวณอื่นๆ

แต่วันนี้กลับทอดแหไม่ได้ปลาเหมือนเช่นทุึกครั้ง เขาพายเรือขึ้นไปทางเหนือเมือง  ก็ยังไม่ได้ปลาแม้แต่ตัวเดียวเหมือนเดิม

ทั้งคู่เริ่มรู้สึกเหนื่อยล้าประหลาดใจ  เขาตะโกนถามหาเรือหาปลาของชาวบ้านลำอื่นๆ ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน

คุณตาหลวงด่อนจึงนำเรือไปจอดอยู่บริเวณวังน้ำทางเหนือของตัวเมือง

(ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ำว่า  วังมะขามแฟบหรือวังขะแมบ) เมื่อจอดเรือแล้วคุณตาหลวงด่อนก็พูดกับภรรยาว่า

"จะลองทอดแหตรงนี้อีกสักครั้ง"  ว่าแล้วก็ทอดแหลงไปแต่คราวนี้ดึงแหไม่ขึ้น  จึงลงน้ำไปตรวจดูว่าเกิดอะไรขึ้น

แต่ไม่พบสิ่งปกติ เขาดำน้ำลงไปดูถึงสองคราวก็ไมสามารถกู้แหขึ้นมาได้  คุณตาหลวงด่อนจึงหยุดพักอยู่ครู่หนึ่ง

ครุ่นคิดหรือจะมีเหตุประหลาดอันใด  จึงพนมมือขึ้นเหนือหัว  แล้วเปล่งเสียงขึ้นเบาๆว่า  

"เจ้าพระคุ้ณ...ข้าแต่เจ้าป่าเจ้า  เจ้าดงพงเจ้าไพร  เจ้าแม่พระคงคาทั้งหลาย  แหของข้าพเจ้าที่ติดแน่นอยู่นี้

ข้าพเจ้าได้ดำน้ำลงไปดูแล้วถึงสองครั้งสองครา  ก็ไม่ปรากฏว่าแหนั้นจะติดสิ่งใดเลย  

หรือว่าข้าพเจ้าได้ทำสิ่งใดไม่ถูกต้อง  หรือหากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่คาดฝันขอสิ่งนั้นได้ปรากฏขึ้นแต่โดยดีเถิด"



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-5-12 08:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
  พูดจบเขายกมือขึ้นเหนือหัวอีกครั้งแล้วเอื้อมมือไปจับจอมแหคู่ชีพเพื่อดึงแหที่ติดอยู่ขึ้นอีกครั้ง

คราวนี้เขานึกประหลาดใจเพราะแหที่เขเคยดึงอย่างแรงจนหัวเรือแทบจะจมน้ำถึง 2 ครั้ง  กลับเบาเหมือนไม่มีอะไรเลย

แต่ทันใดนั้นก็เกิดเหตุมหัศจรรย์ขึ้นเนื่องจากกระแสน้ำที่กำลังไหลในบริเวณนั้นเริ่มหยุดนิ่งอยู่กับที่จากนั้นก็ค่อยๆ

มีพลายน้ำผุดขึ้นมาทีละน้อยจนแลดูคล้ายน้ำเดือดจนกระทั่งกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ใจกลางวังน้ำวนนั้น

มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำสักครู่หนึ่งน้ำเริ่มสงบนิ่งและกลับคืนสู่สภาพปกติดังเดิม

  เหตุการณ์นี้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวบ้านที่หาปลาในวันนั้น  พอตั้งสติได้แล้วคุณตาหลวงด่อนจึงลงไป

อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาไว้บนเรือ  เมื่อคุณตาหลวงด่อนได้พระพุทธรูปขึ้นมาเขาก็

ร้องป่าวประกาศให้พวกที่ไปทอดแหอยู่บริเวณนั้นว่าพวกเรา  ได้พบสิ่งศักดิ์สิทธิ์  

สักพักหนึ่งเกิดเค้าฝนตั้งขึ้นมาท้องฟ้ามืดครึ้ม  ลมเริ่มพัดแรงฝนทำท่าจะตก  คุณตาหลวงด่อนจึงตะโกนว่า

"กลับกันเถอะพวกเรา  ฝนกำลังจะตกใหญ่แล้ว"  เรือลำน้อยใหญ่บริเวณนั้นก็พากันล่องลงมาจาก

วังมะขามแฟบเมื่อมาได้สักคุ้งน้ำหนึ่ง  แลไปด้านหลังเห็นท้องฟ้าดำมืด  ฟ้าฝนตกกระหน่ำ   

พวกที่ไปหาปลาพากันหาที่หลบฝน มองไปดูมืดหมดทั้งท้องฟ้าทั้งแผ่นดินจึงเรียกบริเวณนั้นว่าท่าดินดำมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อลมฝนเริ่มสงบลงก็พากันล่องเรือลงมาจากท่าดินดำ  ประมาณได้สัก 2 คุ้งน้ำ  เริ่มมีแสงสว่างท้องฟ้าเป็นสีแดง

ชาวบ้านที่อยู่ในเรือก็ตะโกนป้องปากร้องกู่หากันเพื่อเป็นสัญญาณของเรือแต่ละลำ  จึงเรียกบริเวณนี้ว่า ปากกู่

ภายหลังเพี้ยนเสียงเป็นปากปู่ (หมู่บ้านปากปู่ในปัจจุบัน)  แล้วก็พากันกลับมาได้อย่างปลอดภัยทุกลำเรือ

วันรุ่งขึ้นคุณตาหลวงด่อนน้ำพระพุทธรูปที่ได้มาไปมอบให้..

เจ้าเมืองเจ้าเมืองจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปไว้ที่วัดไตรภูมิืเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักและอยู่กลางเมืองเพชรบูรณ์สมัยนั้น



  


            ในปีต่อมาพระพุทธรูปได้หายไปจากวัดไตรภูมิในวันสารทไทย (ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10)

ทั้งพระสงฆ์และชาวบ้านช่วยกันออกตามหาแต่ไม่พบ  มีชาวบ้านคนหนึ่งที่อยู่บริเวณวัดโพธิ์เย็น  

เขาไปดักลอบในคลองบริเวณวังมะขามแฟบเป็นประจำ  เช้าวันนี้เขาไปดักลอบดังเช่นปกติที่เคยปฏิบัติมา

ในขณะที่กำลังกู้ลอบที่วางไว้ก็ได้ิยินเสียงเหมือนคนโดดน้ำ  จึงเกิดความสงสัยมาว่าใครโดดน้ำตั้งแต่เช้าจึงเดินเข้าไปดู

ก็เห็นพระพุทธรูปกำลังดำผุดดำว่ายอยู่บริเวณนั้น  จึงรีบมาป่าวร้องว่าได้เจอพระพุทธรูปที่หายไปจากวัดไตรภูมิ

แล้วกำลังสรงน้ำอยู่ที่วังมะขามแฟบชาวบ้านจึงตามกันมาดูก็จะเห็นองค์พระพุทธรูปกำลังดำผุดดำว่ายอยู่จริง

จึงอัญเชิญท่านกลับวัดไตรภูมิครั้นต่อมาก็หายไปอีก  ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันและลงความเห็นว่าเพื่อ

ไม่ให้องค์พระท่านหายไปอีก  จึงจะนำท่านมาสรงน้ำในวันทำบุญสารทของทุกปี  เดิมได้นำท่านไปสรงน้ำที่..

วังมะขามแฟบ (คลองสาขาของลำน้ำป่าสักสายเก่า) เพราะเชื่อว่าท่านคงชอบที่นี่กระมังจึงทำให้ชาวบ้านมาพบท่านที่นี่

ในระยะหลังแม่น้ำป่าสักเปลี่ยนทางเดินทำให้คลองเริ่มตื้นเขินไม่สะดวกในการสัญจร

  จึงต้องนำท่านมาสรงน้ำที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมารและปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมาจนปัจจุบัน








ข้อมูลจาก : หนังสือมหาพุทธานุสรณ์บนแผ่นดินเพชรบูรณ์  พระพุทธมหาธรรมราชาเฉลิมพระเกียรติฯ "หนึ่งเดียวในไทย ร่วม
สาธุครับ
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-11-13 08:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
กราบนมัสการพระมหาธรรมราชา
อยากไปกราบนมัสการสาธุ
{:5_166:สาธุ
7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-3-27 18:52 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-3-27 18:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2015-3-27 18:54

ตำนานพระพุทธมหาธรรมราชา                                 



ตำนานพระพุทธมหาธรรมราชา

        



เพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศ มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน ถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงชาวเพชรบูรณ์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนนำมาด้วยวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรมอันล้ำค่า โดยเฉพาะประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ที่มีการปฏิบัติสืบทอดมายาวนานได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลก ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ประเพณีที่แปลกและทรงคุณค่า ที่ชาวเพชรบูรณ์ร่วมกันปฏิบัติสืบทอดมายาวนานกว่า 400 ปี

          จากตำนานเล่าต่อกันว่า ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ออกหาปลาในแม่น้ำป่าสัก อยู่มาวันหนึ่งไม่สามารถหาปลาได้แม้แต่ตัวเดียว เมื่อมาถึง
วังมะขามแฟบหรือบริเวณท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมารในปัจจุบัน เกิดเหตุมหัศจรรย์ขึ้นเนื่องจากกระแสน้ำในบริเวณวังมะขามแฟบที่กำลังไหลเชี่ยวกราก เริ่มหยุดนิ่งอยู่กับที่

          จากนั้นก็ค่อยๆ มีพรายน้ำผุดขึ้นมาทีละน้อย จนแลดูคล้ายน้ำเดือด กระทั่งกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ ค่อยๆ ดูดเอาองค์พระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำ และมีลักษณะอาการคล้ายดำผุดดำว่ายตลอดเวลา ทำให้ชาวประมงกลุ่มนี้ต้องลงไปอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่
วัดไตรภูมิ
           แต่ในปีถัดมา ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ วันประเพณีสารทไทย พระพุทธรูปดังกล่าวหายไป จนชาวบ้านต้องช่วยกันระดมหา ในที่สุดไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวกลางแม่น้ำป่าสัก บริเวณวังมะขามแฟบ สถานที่ชาวประมงพบพระพุทธรูปองค์นี้ในครั้งแรก กำลังอยู่ในอาการดำผุดดำว่าย จึงได้ร่วมกันอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิเป็นครั้งที่สอง

           พร้อมร่วมกันถวายนามว่า
พระพุทธมหาธรรมราชาและกำหนดให้พ่อเมืองเพชรบูรณ์ ต้องอัญเชิญองค์พระไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำทุกปี เนื่องในวันสารทไทย หรือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เพราะต่างมีความเชื่อว่า หลังประกอบพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว จะทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนต่างอยู่เย็นเป็นสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหาร มีความอุดมสมบูรณ์ และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ผลดี แต่หากปีใดมีการละเลย นอกจากจะทำให้เกิดความแห้งแล้งแล้ว ยังมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีกด้วย






          “ พระพุทธมหาธรรมราชา ” เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี หล่อด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน มีพุทธลักษณะพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจนจรดพระอังสา ที่พระเศียรทรงชฎาเทริดหรือมีกะบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัดและประคดเป็นลวดลายงดงาม อีกทั้งแลดูน่าเกรงขามอย่างยิ่ง






           ส่วนประวัติการสร้างนั้นไม่ปรากฏเด่นชัด แต่ชาวเพชรบูรณ์มีความเชื่อว่า พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด อำเภอหล่มสักปัจจุบัน ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งนครธม ให้นำไปประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง หลังจากทรงอภิเษกสมรสกับพระนางสิงขรมหาเทวี




แต่หลังจากพ่อขุนผาเมืองร่วมกับพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง อำเภอนครไทยปัจจุบัน พระสหาย กอบกู้อิสรภาพ ทำให้พระนางสิงขรมหาเทวีแค้นเคืองถึงกับเผาเมืองราดจนย่อยยับ จากนั้นตัดสินใจกระโดดแม่น้ำป่าสักฆ่าตัวตาย ทำให้ไพร่พลเสนาอำมาตย์ต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ลงแพล่องไปตามแม่น้ำป่าสักเพื่อหลบหนีไฟ

           ปรากฏว่าแม่น้ำป่าสักมีความคดเคี้ยวและกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ทำให้แพที่อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาแตก องค์พระจมดิ่งลงสู่ก้นแม่น้ำหายไป กระทั่งต่อมาชาวประมงได้ไปพบ จนก่อให้เกิดตำนานมหัศจรรย์และ
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

            การอัญเชิญองค์พระพุทธมหาธรรมราชา และประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ต้องเป็นพ่อบ้านพ่อเมือง หรือผู้ที่มีวิญญาณแก่กล้าเท่านั้น ที่กระทำได้ ปัจจุบันคือผู้ว่าราชการจังหวัดนั่นเอง



ที่มา...http://student.nu.ac.th/kungaomam

9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-3-27 19:21 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คงจะมีวาสนา

ได้นมัสการ พระพุทธมหาธรรมราชา สักครั้ง


กราบสักการะพระพุทธมหาธรรมราชา สาธุ สาธุ สาธุ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้