ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1545
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ซุปเปอร์ฟูลมูนคืนพรุ่งนี้ ใหญ่สุดในรอบปี- ลุ้นฝนดาวตกคืนวันแม่

[คัดลอกลิงก์]
ซุปเปอร์ฟูลมูนคืนพรุ่งนี้ ใหญ่สุดในรอบปี- ลุ้นฝนดาวตกคืนวันแม่

                                        ชวนชม ซุปเปอร์ฟูลมูนคืนพรุ่งนี้ ใหญ่สุดในรอบปี- ลุ้นฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์คืนวันแม่
วันนี้(9 ส.ค.) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยคืนวันที่  10 สิงหาคม ดวงจันทร์กลมโตและมีขนาดใหญ่ที่สุดในรอบปี เหตุเพราะโคจรมาใกล้โลกที่สุดและเป็นคืนเดือนเพ็ญ และร่วมฉลองวันแม่กับฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ ในคืนวันที่ 12 สิงหาคม จนถึงเช้ามืดวันที่ 13 สิงหาคม คาดจำนวน 75-100 ดวงต่อชั่วโมง แต่อาจไม่เห็นเนื่องจากแสงจันทร์รบกวน
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วงวันแม่ในเดือนสิงหาคมมีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจคือ ในคืนวันที่ 10 สิงหาคม 2557 เวลาประมาณ 00.46 น. ตามเวลาในประเทศไทยดวงจันทร์จะโคจรมาเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบปีที่ระยะห่าง 356,896 กิโลเมตร ประกอบกับเป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงพอดี คนบนโลกจึงสามารถมองเห็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ประมาณ 10%


ซุปเปอร์ฟูลมูน


ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก คนทั่วไปมักเรียกว่า Supermoon มีผู้นิยามว่า หมายถึง ดวงจันทร์เต็มดวงที่มีระยะห่างจากโลกน้อยกว่า 360,000 กิโลเมตร เกิดครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2557 ที่ระยะห่าง 358,258 กิโลเมตร แต่ในคืนวันที่ 10 สิงหาคมนี้ ดวงจันทร์เต็มดวงจะใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่าง 356,896 กิโลเมตร จึงเรียกว่า “Super Full Moon”
การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ทิศทางของแรงกระทำต่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น น้ำลง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ดังนั้นการที่ผู้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนที่มีวงโคจรมาใกล้โลกนับว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์และไม่มีผลกระทบรุนแรงใดๆ ต่อโลก       ดร.ศรัณย์กล่าวย้ำ


นอกจากนี้ ช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 12 ถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 สิงหาคม 2557 เวลาประมาณ 01:00-04:00 น. มีปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ บนท้องฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จุดศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณระหว่างกลุ่มดาวค้างคาว (Cassiopeia) และกลุ่มดาวเพอร์เซอุส (Perseus) ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจมีจำนวนดาวตกที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าถึง 75-100 ดวงต่อชั่วโมง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในเดือนสิงหาคมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นช่วงกลางฤดูฝน และในคืนวันที่ 12 สิงหาคม 2557 มีแสงจันทร์รบกวน ทำให้สภาพท้องฟ้าไม่เอื้ออำนวยต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ อาจทำให้ในปีนี้ไม่สามารถมองเห็นฝนดาวตกมากเท่าที่ควร

ที่มา: http://news.mthai.com/general-news/373898.html

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้