ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3932
ตอบกลับ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

“ครูบ้านนอก” อุดมการณ์ในวัยหนุ่มของครูปิยะ

[คัดลอกลิงก์]


ครูบ้านนอก อุดมการณ์ในวัยหนุ่มของครูปิยะ
“ครูบ้านนอก” อุดมการณ์ในวัยหนุ่มของครูปิยะ







วั
นครูปีนี้เวียนมาอีกครั้ง หน่วยงานหลายแห่งทางด้านการศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ต่างจัดกิจกรรมเพื่อประกอบพิธีระลึกถึงพระคุณของคุณครูในฐานะของศิษย์มีครู


  
หากย้อนกลับไปยังความเป็นมาของการจัดงานวันครูของเมืองไทยพบว่าเมื่อปี 2499 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้เห็นความสำคัญและบุญคุณของคุณครูในฐานะเป็นผู้ที่ให้ความรู้และแนะนำสั่งสอนลูกศิษย์ตลอดมา คุรุสภาจึงได้พิจารณาและมีมติให้จัดงานวันครูครั้งแรกขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ทั้งนี้โดยถือเอาวันที่มีการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2488 เป็นวันครูของเมืองไทย






เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมมีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก” ในรายการแกะกล่องหนังไทย ทางทีวีไทย  ทีวีสาธารณะ นับว่าเป็นช่วงจังหวะที่ใกล้กับช่วงการจัดงานวันครูพอดี และภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวถือว่ามีคุณค่าด้านเนื้อหาที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวชนบทอีสาน ผ่านฉากและการดำเนินเรื่องอย่างตรงไปตรงมา



ภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก” สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยบริษัทดวงกมลมหรสพ มีกมล กุลตังวัฒนา เจ้าของโรงภาพยนตร์ “เพชรรามา” ที่จังหวัดมุกดาหารในยุคนั้นเป็นผู้อำนวยการสร้าง มีสุรสีห์ ผาธรรมเป็นผู้กำกับการแสดง โดยนำเนื้อหาจากงานประพันธ์ของ  “ครูคำหมาน คนไค”  นักเขียนชื่อดังเมืองอำนาจเจริญมาดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์




นิยายเรื่อง "ครูบ้านนอก" ผลงานของ "ครูคำหมาน คนไค"



คำหมาน คนไค เป็นนามปากกาของสมพงษ์ พละสูรย์ เป็นชาวบ้านดอนเมย ตำบกนาจิก อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดอำนาจเจริญ) โดยกำเนิด หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนเบญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักเรียนทุนเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ธนบุรี จนสำเร็จชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง แล้วจึงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จากนั้นบินลัดฟ้าไปศึกษาระดับปริญญาโทที่ Colorado stae College รัฐ Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา




สมพงษ์ พละสูรย์ หรือ "ครูคำหมาน คนไค" ผู้เขียนเรื่อง "ครูบ้านนอก"


ภายหลังสำเร็จการศึกษา “คำหมาน คนไค”  รับราชการเป็นครูประถมศึกษาที่บ้านเกิด ก่อนที่จะโอนเข้ามาทำงานเป็นศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10 และดำรงตำแหน่งนักวิชาการที่กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่จะเกษียณอายุราชการคือที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษมาหาวิทยาลัยราชธานี และเป็นวิทยากรตามรับเชิญในหน่วยงานทางการศึกษาทั้งในท้องถิ่นและระดับประเทศ

ในด้านงานเขียน “คำหมาน คนไค” เริ่มต้นงานเขียนเมื่อนครั้งเป็นนักเรียนชั้น ม. 6 ที่จังหวัดอุบลราชธานี มีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร “กระดึงทอง” และ “ชาวกรุง” มาตั้งแต่ปี 2510 มีจากนั้นมีผลด้านการเขียนบทความ สารดี หนังสือเด็กและเยาวชน และนวนิยายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีผลงานรวมเล่มเล่มแรกคือ “จดหมายจากครูคำหมาน คนไค”


   
สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก”เป็นการร่วมมือกันครั้งแรกของสองนักพากย์เมืองอีสานคือ “กมล กุลตังวัฒนา” หรือ “ดวงกมล” และสุรสีห์ ผาธรรม หรือ“สกุลรัตน์” ทั้งสองคนมีแนวความคิดที่จะสร้างภาพยนตร์ที่มีการดำเนินเรื่องและใช้ฉากในชนบทอีสานโดยฝีมือของคนอีสาน ซึ่งก่อนหน้าที่จะสร้างภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก” นั้นดวงกมลมหรสพได้ประสบความสำเร็จในด้านรายได้และคำนิยมจากการสร้างภาพยนตร์เรื่อง“มนต์รักแม่น้ำมูล” และ “ลูกทุ่งเพลงสวรรค์” โดยการกำกับการแสดงของ “ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา”




  
สุรสีห์ ผาธรรม ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง "ครูบ้านนอก" ในวัยหนุ่ม


หลังจากประสบความสำเร็จจากภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องดวงกมลมหรสพจึงได้สร้างภาพยนตร์เรื่องต่อมาคือ “ครูบ้านนอก”  มอบหมายหน้าที่ให้สุรสีห์ ผาธรรม เป็นผู้กำกับการแสดง มีปิยะ ตระกูลราษฏร์ และวาสนา สิทธิเวช เป็นดารานำ นอกจากนั้นยังมีสมชาติ ประชาไท, เพียงพธู อำไพ และนพดล ดวงพร  ร่วมแสดง โดยใช้สถานที่คือบ้านดอนเมย ตำบลนาจิก อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดอำนาจเจริญ) ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ “คำหมาน คนไค”  เป็นสถานที่ถ่ายทำ


ครูปิยะเดินทางสู่บ้านหนองหมาว้อในวันแรก



2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-8-1 12:22 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
“ครูบ้านนอก” เป็นภาพยนตร์แนวสะท้อนสังคมชนบทอีสาน และได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการภาพยนตร์เมื่อสามสิบปีก่อน ในด้านรายได้ในประเทศ และได้รับความชื่นชมจากนักวิจารณ์ระดับแนวหน้าของเมืองไทย ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการและผู้ที่เกี่ยวข้องมีการคัดค้านการนำภาพยนตร์เรื่องนี้ไปฉายยังต่างประเทศ ด้วยกลัวว่าจะเสียภาพพจน์อันดีงามของประเทศ เพราะมีเนื้อหาแสดงแสดงออกถึงวิถีการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของชนบทอีสานที่ไม่พัฒนาทัดเทียมกับนานาประเทศ



ครูพิศิษฐ์ในวันแรกที่สู่บ้านหนองหมาว้อ
ครูดวงดาวในวันเดินทางสู่บ้านหนองหมาว้อ



เนื้อหาในภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก” กล่าวถึงเรื่องราวของหนุ่มสาวที่สำเร็จการศึกษาสู่โลกภายนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในชนบทภาคอีสาน ซึ่งนอกจากจะต้องเผชิญกับปัญหาจากธรรมชาติ ความแห้งแล้ง แล้วยังประสบกับปัญหาของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ภาพยนตร์เปิดเรื่องในงานเลี้ยงส่งนักศึกษาในวิทยาลัยครูแห่งหนึ่ง ทุกคนสนุกสนานกับการสังสรรค์จากการจัดงานอำลาสถานบันจากวงดนตรีสมัยใหม่ ในขณะที่ครูปิยะเดินเลี่ยงออกจากงานมายืนชมนิทรรศการวิถีชีวิตของชาวอีสานอย่างสนใจ  นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาตัดสินใจสอบบรรจุเป็นเพื่อรับราชการครูที่ภาคอีสาน โดยบรรจุครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านหนองหมาว้อ พร้อมกับครูดวงดาวหญิงสาวรูปร่างบอบเบา และครูพิสิษฐ์ ครูหนุ่มมาดสำอางค์  โดยมีครูคำเม้าเป็นครูใหญ่




สภาพโรงเรียนบ้านหนองหมาว้อ ตำบลผักอีฮีน



โรงเรียนบ้านหนองหมาว้อมีเพียงอาคารเรียนชั่วคราวชั้นเดียวพื้นติดดิน นักเรียนต้องเรียนรวมกันโดยไม่มีการแบ่งกั่นห้องเป็นพื้นที่เป็นสัดส่วนในแต่ละห้อง สภาพนักเรียนสวมเสื้อผ้าขาด ร่างกายมอมแมม
*
ครูปิยะคือตัวแทนของหนุ่มสาวที่มีความมุ่งมั่นในอุดมการณ์เพื่อพัฒนาการศึกษาและสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้า มีการนำความรู้ภูมิปัญญาการเล่านิทานในท้องถิ่นของผู้เฒ่าแห่งหมู่บ้าน มาเป็นประยุกต์เป็นการสอนการท่องจำในชั้นเรียน  ในขณะที่ครูใหญ่คำเม้าครูรุ่นเก่าที่ทำหน้าที่สอนหนังสือโดยยึดหลักปรัชญา “เลข คัด เลิก”  ส่วนครูพิสิษฐ์ครูหนุ่มเจ้าสำราญที่เคยใช้ชีวิตในสังคมเมืองที่ต้องจำใจมาสอบบรรจุครู ต่อมาครูพิสิษฐ์มีคำสั่งให้ย้ายไปสอนในเมืองเพราะมีเรื่องชกต่อยกับเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจราชการที่โรงเรียนลวนลามครูดวงดาว






ครูปิยะได้เก็บความสงสัยไว้ในใจเกี่ยวกับรถขนไม้ที่วิ่งผ่านเข้ามาในหมู่บ้าน เพราะครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์ท่อนซุงขนาดใหญ่หล่นจากรถบรรทุกตกลงมาในสนามโรงเรียน ครูปิยะจึงพบว่าทั้งหมดเป็นไม้เถื่อน จึงแอบเข้าไปถ่ายรูปในปางไม้ของผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นเพื่อส่งข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ จึงทำให้ครูปิยะต้องหนีภัยมืดออกจากบ้านหนองหมาว้อไปอาศัยอยู่กับหลวงตาอยู่ในเมือง

แต่ด้วยอุดมการณ์และจิตสำนึกของความเป็นครู ครูปิยะจึงกลับคืนมาสอนที่โรงเรียนโรงเรียนบ้านหนองหมาว้ออีกครั้งท่ามกลางการต้อนรับของครูและนักเรียน เพียงแต่ครูปิยะขี่จักรยานเข้าสู่รั้วโรงเรียนเท่านั้นมือปืนหน้าเหี้ยมได้สาดกระสุนสู่ร่างของครูปิยะจนจักรยานล้มลงสู่พื้นดิน ท่ามกลางความตกตะลึงของครูและนักเรียน






  
      
      



ดารานำจากภาพยนตร์เรื่อง "ครูบ้านนอก" ปิยะ ตระกูลราษฏร์, นพดล ดวงพร, สมชาติ ประชาไท และวาสนา สิทธิเวช
ภายหลังครูปิยะเสียชีวิตครูคำเม้า และครูดวงดาวยังคงสานต่ออุดมการณ์ของครูปิยะ และหนุ่มสาวที่มีอุดมการณ์แรงกล้าเหมือนกับครูปิยะในภาพยนตร์เรื่องกดังกล่าว นับวันที่จะหาได้ยากในสังคมไทย ท่ามกลางกระแสสังคมที่สับสนและวุ่นวาย สังคม ชุมชน และโรงเรียนยังรอครูพันธุ์ใหม่เช่นเดียวกันกับครูปิยะพันธุ์ใหม่มาคอยเยียว




วาระสุดท้ายแห่งชีวิตของครูปิยะ



“ครูบ้านนอก” นับเป็นภาพยนตร์ที่ทรงคุณค่าที่แหวกการสร้างหนังไทยในยุคนั้นผ่านนักแสดงหน้าใหม่นำเสนอผ่านเรื่องราววิถีชีวิตของชาวอีสานตามความเป็นจริง จึงไม่แปลกที่ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถทำรายได้สูงถึง 9 ล้านบาท เมื่อปี 2521 และยังได้รับรางวัล “ภาพยนตร์สร้างสรรค์” และ “ผู้กำกับยอดเยี่ยม”  จากประเทศรัสเซีย คือรางวัลแห่งคนกล้าในอุดมการณ์ในวัยหนุ่มของสุรสีห์ ผาธรรม และไม่แปลกเลยหากจะกล่าวว่าครูบ้านนอก เป็นภาพยนตร์ในดวงใจของผู้ชมหลายคนรวมทั้งผมด้วย



โปสเตอร์ภาพยนตร์ที่กำกับการแสดงโดยสุรสีห์ ผาธรรม (ยกเว้นมนต์รักแม่น้ำมูล)

ภายหลังที่ภาพยนตร์เรื่อง “ครูบ้านนอก” ประสบผลสำเร็จ ดวงกมลมหรสพได้สร้างภาพยนตร์ในยุคต่อมาคือ “หนองหมาว้อ” “7 สิงห์ตะวันเพลิง” “ทุ่งกุลาร้องไห้” “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ จึงยุติงานสร้างภาพยนตร์ในเวลาต่อมา ส่วน สุรสีห์ ผาธรรม ได้ผันตัวเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ให้กับผู้อำนวยการสร้างรายอื่นในยุคต่อมา เช่น ครูวิบาก, ครูดอย, ผู้แทนนอกสภา, หมอบ้านนอก, ครูชายแดน, สวรรค์บ้านนา รวมทั้งเป็นนักแสดงในเรื่อง “15 ค่ำ เดือน 11”  และผลิตสารคดีเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวอีสานมาจนถึงปัจจุบัน

ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก                                          http://www.onsorn.com/kommarn.html     http://www.thaifilm.com/imgUpload/reply837941_23.17.00.jpg     http://www.geocities.com/huangua2546/pic0m.html


ที่มา..http://www.oknation.net/blog/print.php?id=383052

ขอบคุณครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้