ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 6617
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ พระครูวิริยะโสภิต (หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์) ~

[คัดลอกลิงก์]


พระครูวิริยะโสภิต (หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์) อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
หลวงพ่อศรี เป็นพระเถรจารย์ผู้แก่กล้าวิทยาคม มีตบะเดชะ วาจาศักดิ์สิทธิ์ สำเร็จจินดามณีมนต์ สามารถทำนายวันมรณภาพได้อย่างแม่นยำราวกับตาเห็น
หลวงพ่อศรี ภูมิลำเนาอยู่ อ.แสวงหา จ.อ่างทอง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2413  ชีวิตของท่านในวัยเยาว์ชอบศึกษาทางเวทมนต์คาถาและนิสัยนักเลง ไม่เคยยอมใครง่าย ๆ
หลวงพ่อศรี อุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปี ณ พัทธสีมาวัดโบสถ์ อ.วิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยมีพระอาจารย์มิน วัดโบสถ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจนเชี่ยวชาญ จึงมาจำพรรษาที่วัดพระปรางค์ อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
อุปนิสัยท่านเป็นพระที่สำรวม เคร่งครัดในพระธรรมวินัยยิ่งนัก มีวัตรปฏิบัติเป็นที่น่าศรัทธาเลื่อมใสศรัทธาของผู้คนทั่วไป และท่านชอบให้ความเมตตาความอุปการะแก่ผู้ยากไร้ทั่วไป เวลาว่างของท่านส่วนใหญ่หมดไปกับการจารบทสวดและคัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนพระปาติโมกข์เป็นอักขระภาษาขอม ซึ่งท่านมีความชำนาญเป็นพิเศษ
หลวงพ่อศรี ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อไกร วัดใหญ่ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท และได้รับการถ่ายทอดพุทธาคมและวิชาต่าง ๆ จากพระอาจารย์ไกรมาอย่างหมดไส้หมดพุง นอกจากนี้ท่านยังศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจนเชี่ยวชาญ
หลวงพ่อศรี จัดว่าเป็นพระเถรจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบโดยแท้ มีเกจิหลายท่านไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้คนมากมาย อาทิ หลวงพ่อหร่ำ วัดวังจิก จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นต้น
วัตถุมงคลของหลวงพ่อศรีที่โด่งดังมาก ๆ คือ เชือกคาดเอว ตะกรุดมหาอุด สีผึ้งมหาเสน่ห์น้ำมันมนต์ น้ำมนต์ แหวนและเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ที่สร้างขึ้นเพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่มาร่วมทำบุญสร้างศาลาวัดพระปรางค์ โดยพิธีกรรมการสร้างเหรียญของหลวงพ่อมีความพิถีพิถันมาก ท่านนำทองแดงมาลงอักขระเลขยันต์ก่อน แล้วนั่งปลุกเสก เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปหล่อหลอมรวมกับทองแดงที่จะปั๊มเป็นเหรียญ เมื่อปั๊มเป็นเหรียญเสร็จแล้วท่านก็จะนำมาปลุกเสกแบบเดี่ยวอีกรอบ สรุปแล้ว  วัตถุมงคลทุกชิ้นของท่านต้องดีทั้งนอกและใน
หลวงพ่อศรี ท่านละสังขารเมื่อปีพุทธศักราช 2485 สิริอายุ 72 ปี 52 พรรษา โดยก่อนมรณภาพท่านเคยสั่งเสียลูกศิษย์ทุกคนเอาไว้ชัดเจน พร้อมระบุวันละสังขารได้อย่างถูกต้องแม่นยำอย่างน่าอัศจรรย์ แสดงให้เห็นถึงปาฏิหาริย์แห่ง "พระอภิญญา" โดยแท้.

ที่มา https://sites.google.com/site/pa ... hxng-keci-chux-dang

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-8-1 07:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าของสิงห์บุรีกันบ้างนะครับ ท่านก็คือพระครูวิริยะโสภิต (ศรี) วัดพระปรางค์ ซึ่งท่านเป็นอาจารย์ของ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองครับ เรามาร่วมศึกษาประวัติและวัตถุมงคลของท่านกันนะครับ



วัดพระปรางค์เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ใกล้กับตลาดชัณสูตร วัดพระปรางค์นี้ที่มาของชื่อเนื่องจาก วัดแห่งนี้มีองค์พระปรางค์เก่าแก่ทรงฝักข้าวโพด อยู่ใกล้กับตัวพระอุโบสถอยู่หนึ่งองค์ จึงสันนิษ ฐานว่าวัดนี้คงสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา



หลวงปู่ศรี อดีตเจ้าอาวาส วัดพระปรางค์ ประวัติของท่านไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงค่อนข้างกระท่อนกระแท่น สืบค้นจากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งอดีตผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่สงวน ฉิมพาลี ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในละแวกวัดพระปรางค์ และเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ศรี บอกเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่ศรีท่านเกิดประมาณปี พ.ศ.2413 และท่านเป็นชาวบ้านในตำบลแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ไม่ทราบชื่อของโยมบิดา-มารดา



ในวัยเด็กท่านสนใจในด้านเวทวิทยาคม และเป็นคนจริงสักหน่อย ต่อมาเมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบท โดยมี พระอาจารย์ มิน วัดโบสถ อำเภอวิเศษชัยชาญ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชเรียนแล้วท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและปัสสนาธุระจนเชี่ยวชาญ ต่อมาหลวงปู่ศรีท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระปรางค์ ซึ่งในสมัยนั้นเป็นวัดที่สงบเงียบร่มเย็น อยู่ห่างไกลความเจริญ อุดมไปด้วยป่าไม้น้อยใหญ่ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร หลวงปู่ศรีท่านมาอยู่ที่วัดพระปรางค์ในฐานะพระลูกวัด และได้เดินทางมาฝาก ตัวเป็นศิษย์กับ หลวงพ่อไกร วัดใหญ่ท่านฉนวน อำเภอมโนรมณ์ จังหวัดชัยนาท หลวงพ่อไกรท่านรับหลวงปู่ศรีไว้เป็นศิษย์ แต่มีข้อแม้ว่า ต้องให้หลวงปู่ศรีขึ้นครูวิปัสสนากับท่านเสียก่อนจึงจะเรียนวิทยาคมจากท่านได้ หลวงปู่ศรีก็ได้รับขึ้นวิปัสสนากับหลวงพ่อไกรจนสำเร็จแล้วจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระปรางค์ตามเดิม และเดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างวัดพระปรางค์กับวัดใหญ่ท่านฉนวนเป็นประจำเพื่อศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อไกร จนสำเร็จหมดสิ้นทุกแขนง



หลวงปู่ศรีท่านเป็นพระสงฆ์ที่สำรวม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีวัตรปฏิบัติเป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง หลังจากที่วัดพระปรางค์ว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านและคณะสงฆ์ต่างรวมใจกันนิมนต์หลวงปู่ศรีขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน เวลาว่างหลวงปู่ท่านก็จะจารบทสวดมนต์ต่างๆ เป็นอักขระขอมไว้มากมาย หลวงปู่ศรีท่านมีเมตตาธรรมสูง ท่านให้การอุปการะแก่ผู้คนยากไร้ทั่วไป เป็นที่พึ่งแก่ชาวบ้านและผู้ยากไร้ ต่างก็มาพึ่งพิงที่วัดท่านมากมาย



หลวงปู่ศรีท่านมีวาจาสิทธิ์ พูดอย่างไรจะเป็นอย่างนั้น ใครๆ ต่างก็รู้และเคารพนับถือท่านมาก มีเรื่องราวเกี่ยวกับวาจาสิทธิ์ของท่านมากมาย ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสท่านได้สร้างถาวร วัตถุและเสนาสนะมากมาย ที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ท่านสร้างไว้แทบทั้งนั้น



ในปี พ.ศ.2476 หลวงปู่ท่านได้สร้างศาลาวัดพระปรางค์ขึ้นใหม่ ในการนี้ลูกศิษย์ลูกหาของท่านได้ขออนุญาตสร้างเหรียญรูปท่านไว้เป็นที่ระลึกในงานนี้ด้วย เหรียญ รุ่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน ด้านหน้าเป็นรูปท่านนั่งเต็มองค์ วางมือซ้ายไว้บนหัวเข่าแบบสะดุ้งกลับ ด้านล่างเขียนว่า "หลวงพ่อพระครูศรี" ด้านหลังระบุว่า "ที่ระลึกในงานสร้างศาลาวัดพระปรางค์ พ.ศ.2476" ในสมัยที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกแก่ศิษย์และชาวบ้านหลายอย่าง เช่น ตะกรุดมหาอุด เชือกคาดเอว ขี้ผึ้งมหาเสน่ห์ น้ำมันมนต์และแหวนทองเหลืองหัวเมฆพัด เป็นต้น



หลวงปู่ศรีท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2485 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52 ในงานศพของท่านนั้นมีลูกศิษย์ลูกหามาร่วมทำบุญกันมืดฟ้ามัวดิน จนแน่นขนัดไปทั้งวัด และในงานฌาปนกิจศพทางวัดได้ออกเหรียญที่ระลึกไว้อีกหนึ่งรุ่น เป็นแบบเหรียญกลม ขอบหยักแบบพัดยศ เป็นรูปท่านครึ่งองค์ เหรียญรุ่นนี้ก็มีประสบการณ์มากอยู่เช่นกันครับ



ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.2476 มาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ

ด้วยความจริงใจ

ที่มา http://www.khaosod.co.th/view_ne ... XhNakF6TURrMU5nPT0=

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้