ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2018
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก วรวิหาร จ.อ่างทอง

[คัดลอกลิงก์]


พระพุทธไสยาสน์
พระประธานในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
วัดป่าโมก วรวิหาร ต.ป่าโมก อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง


วัดป่าโมก วรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ต.ป่าโมก อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง
ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจาก อ.เมืองอ่างทอง ไป ๑๘ กิโลเมตร
ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ สายอ่างทอง-อยุธยา
เดิมมีวัด ๒ วัดตั้งอยู่ติดกัน คือ วัดตลาด กับ วัดชีปะขาว

เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย
มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท ๒๒.๕๘ เมตร
ก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความ เป็นมาน่าอัศจรรย์ เล่าขานมาว่า
ได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่ง แม่น้ำ

ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนจะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราชได้ เสด็จมาชุมนุมพลและถวาย
สักการะ บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ ในปีพ.ศ. ๒๒๖๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้ เสด็จมาควบคุมการชลอองค์พระให้พ้นจาก
กระแสน้ำเซาะตลิ่งพังไปไว้ ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาด ห่างจากฝั่ง แม่น้ำ ๑๖๘ เมตรแล้ว โปรดให้รวมทั้งสองวัดเป็นวัดเดียวกันพระ
ราชทานนามว่า วัดป่าโมก เพราะบริเวณ นั้นมีต้นโมกมากมาย

พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ซึ่งมีชื่อเดิมว่า วัดตลาด อยู่ที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง วัดป่าโมก เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร

พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ มีความเก่าแก่คู่กันมากับวัด มีขนาดใหญ่โตและงดงามมาก สร้างก่อนรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จมาประชุมพลก่อนจะเสด็จไปรบกับ พระมหาอุปราชา ได้เสด็จมาทรงสักการะพระพุทธไสยาสน์ก่อน เมื่อปี พ.ศ. 2135

เดิมองค์พระพุทธไสยาสน์และพระวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อยห่างจากที่ตั้งปัจจุบัน 4 เส้น 4 วา เนื่องจาก ที่ตั้งนั้นเป็นคุ้งน้ำ น้ำจึงเซาะตลิ่งพังลงไปจนใกล้ถึงองค์พระ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ พระราชสงครามเป็นนายกองดำเนินการชะลอพระพุทธไสยาสน์ ให้ลึกเข้ามาจากฝั่ง 4 เส้น 4 วา แล้วสร้าง พระวิหารสำหรับพระพุทธไสยาสน์ เรื่องราวการชะลอพระพุทธไสยาสน์นี้มีปรากฎอยู่ในศิลาจารึก ติดไว้ที่ฝา ผนังพระอุโบสถของวัดป่าโมก มีใจความดังนี้

เมื่อปี พ.ศ. 2271 พระเจ้าปราสาททอง เสด็จพระราชดำเนินมายืนบกชะลอพระพุทธไสยาสน์ ณ อำเภอ ป่าโมก ให้พ้นอันตรายจากน้ำเซาะตลิ่งพัง โดยชะลอให้ห่างฝั่งแม่น้ำ 4 เส้น 4 วา แล้วให้สร้างพระวิหาร สำหรับองค์พระพุทธไสยาสน์ที่วัดตลาด เนื่องจากพระวิหารเดิมฝาผนังและหลังคาชำรุดทรุดโทรม

นอกจากนั้นยังมีโคลงพระราชนิพนธ์ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ เรื่อง การชะลอพระพุทธไสยาสน์ เมื่อครั้งเป็นกรมพระราชวังบวรฯ นิพนธ์ ถวายสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นจำนวนโคลง 69 บท มีสำนวนตามบทที่ 2 ดังนี้
ตะวันลงตรงทิศทุกัง
เซราะฝั่งพงรหุรหาย
ขุดเขื่อนเลื่อนทลมทลาย
ผนังแยกแตกแตนซ้ำ
        แทงสาย
รอดน้ำ
ริมราก
รูปร้าวปฏิมา

ในโคลงดังกล่าวยังได้บรรยายว่า พระราชสงครามเป็นผู้ที่มีความสามารถ
เคยทำงานสำคัญมาหลายครั้ง การชะลอครั้งนี้ได้จัดการขุดดิน
ทำร่อง ทำราง ด้วยความยากลำบากจนเป็นผลสำเร็จ
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-20 22:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-20 22:11 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ตำนานเรื่องเล่าพระพุทธรูปพูดได้ วัดป่าโมก วรวิหาร

เรื่องมหัศจรรย์อภินิหารของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนจำนวนมากเคารพนับถือ
มีร่ำลือกันมามากมายหลายเรื่อง แต่เรื่องหนึ่งที่มีการจารึก
ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ก็คือเรื่อง พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง พูดได้ โดยผู้บันทึกก็คือ พระครูปาโมกข์มุนี เจ้าอาวาสวัดป่าโมก

พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ยาว ๒๒.๕๘ เมตร เดิมอยู่ริมแม่น้ำ ไม่มีประวัติว่าใครสร้างและสร้าง
มาตั้งแต่เมื่อใด แต่ใน พ.ศ. ๒๒๖๘ น้ำได้เซาะตลิ่งใกล้เข้ามาจนพระพุทธรูปใกล้จะพังลงน้ำ ขุนนางข้าราชการได้ทูล ขอเสนอ
พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระให้รื้อออกแล้วสร้างใหม่ แต่พระยาราชสงคราม ผู้ถนัดเรื่องช่าง และเป็นผู้ขุดคลองโคกขามที่คดเคี้ยวให้
เป็นเส้นตรง ขอรับอาสาย้ายเข้ามาให้ห่างตลิ่งโดยไม่ทำให้พระพุทธรูปเสียหาย พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระไม่ทรงเชื่อว่าจะย้ายพระพุทธ
รูปใหญ่และหนักขนาดนั้นได้แต่พระยาราชสงครามรับรองด้วยชีวิตและพระราชาต่างคณะต่างก็ไม่เห็นด้วยในการจะทุบทำลาย
พระพุทธรูป พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้ชะลอองค์พระเข้ามาให้ห่างฝั่งตามคำทูลเสนอ

พระยาสงครามได้เริ่มงานชะลอพระพุทธไสยาสน์โดยขุดดินใต้ฐาน แล้วสอดท่อนซุงเรียงเข้าไปหลายท่อนเรียงกันตลอด จากนั้นก็
ใช้กำลังคนชักลากฐานให้เลื่อนไปบนท่อนซุงที่กลิ้งไป เมื่อถึงที่อันเหมาะแล้วพระเจ้าท้ายสระจึงให้สร้างวิหารครอบไว้ยั่งยื่นมาจน
ถึงทุกวันนี้
        

ส่วนเหตุการณ์มหัศจรรย์ที่ถูกจารึกไว้ เกิดขึ้นในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ เวลา
ประมาณ ๖ โมงเย็น โดยอุบาสิกาเหลียน อยู่บ้านเอกราช แขวงป่าโมก หลานของพระ
ภิกษุโต ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าโมก ได้เอาใบ้ไม้มาต้มให้พระภิกษุโตซึ่งเป็นอหิวาตก
โรคฉัน ก็ปรากฏว่าพระภิกษุโตหายจากโรคอหิวาต์อย่างมหัศจรรย์

พระครูปาโมกข์มุนี จึงซักถามอุบาสิกาเหลียนถึงที่มาของยา อุบาสิกาเหลียนก็ว่าขอมา
จากพระพุทธไสยาสน์ และยังคุยว่าพระพุทธไสยาสน์เป็นหลวงพ่อของนาง เมื่อต้องการ
สิ่งใดก็จะไปขออยู่เสมอ แม้แต่ถามไถ่เรื่องต่างๆ ก็จะมีเสียงตอบกลับมาจากพระอุระ
พระครูปาโมกข์มุนี จะขอเข้าไปฟังด้วย อุบาสิกาเหลียนก็ไม่ขัดข้อง

พระครูปาโมกข์มุนีนั่งอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ของพระพุทธไสยาสน์ ห่างประมาณ ๔ ศอก
อุบาสิกาเหลียนก็จุดธูปเทียนและเอาใบ พูล ๑ ใบทาปูนพับเป็นสี่เหลี่ยม หมาก ๑ ซีก
ยาสูบ ๑ มวน ใส่ในพานบูชาแล้วอธิษฐานดังๆ ให้ได้ยินกันทั่วว่า

"นิมนต์หลวงพ่อเอาของในพานนี้ไปฉันด้วยเถิด"

ประมาณ ๒ นาที ของที่ถวายอยู่ในพานก็หายไปอย่างน่าอัศจรรย์ พระครูปาโมกข์มุนี ยังไม่หายสงสัย ถามอุบาสิกาเหลียนว่าจะขอ
พูดกับหลวงพ่อเองได้หรือไม่ ก็มีเสียงตอบมาจากพระอุระว่า "ได้"
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-20 22:12 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ท่านพระครูจึงถามว่า "หลวงพ่อสุขสบายดีหรือ?"
มีเสียงตอบว่า "สบายดี"
พระครูถามต่อไปว่า "หลวงพ่อสุขสบายแล้วจะให้ความสุขสบายแก่กระผมบ้างไม่ได้หรือ?"
มีเสียงตอบว่า "พระครูก็สุขสบายอยู่แล้ว"
พระครูถามต่อไปว่า "จะให้สุขสบายยิ่งขึ้นกว่านั้นได้หรือไม่"
มีเสียงตอบว่า "ไม่ได้"
พระครูซักอีกว่า "เหตุใดจึงไม่ได้"
หลวงพ่อตอบว่า "เดือนยี่กับเดือนห้าจะเกิดอหิวาตกโรค"
พระครูซักต่อไปว่า "ทำไมท่านจึงทราบได้ แล้วไม่ทราบเรื่องหยูกยาบ้างหรือ ถ้าทราบช่วยบอกให้คนทั้งปวงด้วย"
หลวงพ่อตอบว่า "ไม่ต้องกินยาหรอก กินน้ำมนต์ก็หาย"
พระครูถามต่อว่า "เดือนยี่กับเดือนห้ายังอีกนาน จะเวียบเทียนถวายจะชอบหรือไม่"
หลวงพ่อบอกว่า "ชอบ"
พระครูถามว่า "จะให้ทำข้างขึ้นหรือข้างแรม"
หลวงพ่อตอบว่า "ข้างแรม"
พระครูถามว่า "เครื่องดีดสีตีเป่าจะต้องใช้หรือไม่"
หลวงพ่อไม่ตอบ ....
พระครูถามต่อว่า "คนที่มาเวียนเทียนจะขอน้ำมนต์ไปดื่มตั้งแต่เดือยอ้าย จะคุ้มไปถึงเดือนยี่ เดือนห้าได้หรือไม่"
หลวงพ่อยืนยันว่า "ได้"

สักขีพยานทั้ง ๓๐ คน ต่างได้ยินคำโต้ตอบนี้โดยทั่วถึงกันวันต่อๆ มาพระครูโมกข์มุนียังมาสนทนากับพระพุทธไสยาสน์อีกโดยมี
สักขีพยานมาร่วมฟังด้วยทุกครั้ง จึงได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ไว้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เพื่อยืนยันว่าพระพุทธไสยาสน์ วัด
ป่าโมกข์ เมืองอ่างทองพูดได้

เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ ๕) แวะมานมัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก ได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

"มีอำแดงคนหนึ่งไปบอกหลวงพ่อพระนอน ขอให้ช่วยรักษาลุงซึ่งป่วย พระนอนนั้นบอกตำรายา แต่มิได้ตอบทางพระโอษฐ์เสียงก้อง
ออกมาจากพระอุระ พระครูไม่เชื่อจึงได้ลองพูดดูบ้าง ก็ได้รับคำตอบทักทายเป็นอันดี แต่นั้นมาพระครูได้รักษาไข้เจ็บป่วยด้วยยา
นั้น เป็นอะไรๆ ก็หาย ห้ามมิให้เรียกขวัญข้าวค่ายา นอกจากหมากคำเดียว"




หนังสือไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน


ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ
(๑) http://www.fotocoffees.com/board/
ผลงานสร้างสรรค์โดย คุณ krit2510
(๒) http://www.muangthai360.com/


นอนอย่างไรจึงเรียก “สีหไสยาสน์” : มหานาลันทา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=28581                                                                                       
.....................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=38925

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้