ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 3058
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่อดำ วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา

[คัดลอกลิงก์]


หลวงพ่อดำ
พระประธานในพระอุโบสถ วัดพุทไธศวรรย์ (พระอารามหลวง)
ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


พระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง มีเขตตอนเหนือติดกับจังหวัดลพบุรีและอ่างทอง ด้านตะวันออกติดกับจังหวัดสระบุรี ด้านใต้จรดจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม ส่วนทางตะวันตกจรดจังหวัดสุพรรณบุรี เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ

ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า"

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นโบราณสถาน ได้แก่ พระราชวังและวัดต่างๆ

ณ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก มีวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง นาม "วัดพุทไธศวรรย์" เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง

2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-7-8 10:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของพระมหาราชวังโบราณสถานประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ใน ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นในบริเวณท้องพระโรงของตำหนักเวียงเหล็ก สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1896 มีอาณาเขตพื้นที่ 46 ไร่ 2 งาน 46 ตารางวา เพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อครั้งพระองค์เสด็จฯ มาตั้งพระนครอยู่ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นอนุสรณ์ความสำคัญของพื้นที่แห่งนี้

ปัจจุบันยังมีโบราณสถานเหลืออยู่ เช่น พระปรางค์องค์ใหญ่ วิหารครอบพระปรางค์ และตำหนักสมเด็จพระโฆษาจารย์ ต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ยอดพระปรางค์ในสมัยรัชกาลที่ 5

เมื่อปี พ.ศ.2441 มีชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาร่วมบริจาคเงินซ่อมแซมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งในปัจจุบันที่บริเวณหน้าศาลาการเปรียญของวัดได้มีการจัดสร้าง รูปหล่อของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ ที่มีประวัติความเป็นมาในการกอบกู้เอกราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีความผูกพันกับวัดพุทไธศวรรย์ทั้งสิ้น

วัดพุทไธศวรรย์ ได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันทรงครองราชย์ ครบ 60 ปี ปัจจุบันมีพระครูภัทรกิจโสภณ หรือหลวงพ่อหวล พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.พระนครศรีอยุธยา ด้านอยู่ยงคงกระพัน เจ้าตำรับเหล็กไหล เป็นเจ้าอาวาส

วัดแห่งนี้เป็นสถานที่ที่คนนิยมนำวัตถุมงคลมาทำพิธีปลุกเสกบ่อยครั้ง จนมีชื่อเสียงไปทั้งประเทศ ใกล้กับพระวิหารด้านขวายังเป็นที่ประดิษฐานขององค์พ่อจตุคามรามเทพขนาดใหญ่ ที่ประชาชนจากทั่วสารทิศศรัทธาไปกราบไหว้

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพุทไธศวรรย์ เป็นโบราณสถาน ได้รับประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478

วัดพุทไธศวรรย์ ยังเป็นที่ประดิษฐานของ "หลวงพ่อดำ" พระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ลักษณะปูนปั้นทาด้วยสีดำ พระพักตร์รูปไข่ เป็นศิลปะอู่ทอง หรืออยุธยาตอนต้น เชื่อว่าสร้างควบคู่มาพร้อมกับการสร้างพระอุโบสถ ที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากมาจนถึงปัจจุบันนี้ว่า "หลวงพ่อดำ" ด้วยการสร้างในสมัยก่อน นิยมลงรักด้วยสีดำทั้งองค์ โดยไม่มีการนำสีทองมาทาจนนานมาก เมื่อชาวบ้านเข้าไปสักการบูชา ชาวบ้านเลยเรียกกันติดปากว่าหลวงพ่อดำ

มีตำนานเล่าขานต่อกันมาว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา ใครเจ็บป่วยไข้ เมื่อผ่านมาที่วัดแห่งนี้จะขึ้นไปสักการะหลวงพ่อดำ เพื่อขอให้หายเจ็บป่วย และทุกคนที่ไปบอกกล่าวจะหายเจ็บหายไข้

นอกจากนี้ ชาวบ้านยังนิยมมาขอพรหลวงพ่อดำให้ช่วยดลบันดาลให้คนที่อยากจะมีบุตร ได้มีบุตรสมความปรารถนา ซึ่งส่วนมากจะประสบผลสำเร็จ ทำให้เป็นที่กล่าวขวัญกันเรื่อยมาจนถึงในปัจจุบัน

วัดแห่งนี้ตามประวัติศาสตร์ยังเป็นสถานที่ฝึกอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารก่อนจะออกศึกสงคราม ในปัจจุบันเป็นสำนักดาบวัดพุทไธศวรรย์ ซึ่งคนโบราณมักจะพูดกันว่าสถานที่แห่งนี้หรือดินแดนแห่งนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เกี่ยวกับทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ส่วนสิ่งของที่นิยมนำไปสักการบูชาหลวงพ่อดำ จะเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมสีสันสวยงาม เช่น ดอกมะลิ ดอกจำปี เป็นต้น



หนังสือไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน
ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ ::
เว็บไซต์น้ายักษ์
http://www.naryak.com/forum                                                                                       
...............................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=46022

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้