ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1907
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หัวใจเศรษฐี : ทิฎฐธัมมิกัตถะ

[คัดลอกลิงก์]
ทิฏฐธรรมมิกัตถะประโยชน์ คือประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง ได้แก่

๑. อุฎฐานสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยความหมั่นเพียร ในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี

๒. อารักขสัมปทา คือ ถึงพร้อมด้วยการรักษา หมายถึงรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่นเพียรไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี รักษาการงานของตัวไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี

๓. กัลยาณมิตตา คือ ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว

๔. สมชีวิตา คือ การเลี้ยงชีพตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก

ธรรมะ ๔ ข้อ ข้างบนนี้ เรียกว่า "ทิฎฐธัมมิกัตถะ" แปลว่า ประโยชน์ปัจจุบัน เป็นธรรมะที่คฤหัสถ์ผู้ปฏิบัติแล้ว ย่อมได้รับผลประโยชน์ในปัจจุบัน คือในชาตินี้

- ประโยชน์ปัจจุบัน มีจุดหมายอยู่ที่การตั้วตัวให้เป็นหลักแหล่งไม่เป็นคนหลักลอย และการตั้งตัวนั้น จุดสำคัญอยู่ที่การมีทรัพย์

ธรรมะ ๔ ข้อนี้ อำนวยประโยชน์โดยตรงในการตั้งตัว อาจารย์รุ่นก่อนท่านย่อไว้ให้จำขึ้นใจว่า "อุ-อา-กะ-สะ" คือ ถอดเอาอักขระนำหน้าของธรรมะ ๔ ข้อนั้นแล้วก็ว่ากันว่า สี่คำนี้เป็น "หัวใจเศรษฐี" แต่ละข้อมีความหมายดังนี้

๑. อุฎฐานสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น หมายความว่า เป็นคนมีความขยันขันแข็ง บึกบึน ไม่ย่อท้อ รุดหน้าในการทำงาน บุคคลที่ขาดธรรมข้อนี้ มักเกียจคร้าน จะขยันขันแข็งก็ต่อเมื่อถูกคนอื่นบีบบังคับ และจะขยันได้ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้นเอง ท่านเปรีบคนที่ขาดธรรมะข้อนี้ว่าเหมือน "กิ้งก่า" ซึ่งวิ่งไปหน่อยนึงก็หยุด ไม่เคยที่จะวิ่งไปรวดเดียวเหมือนสัตว์ชนิดอื่น

๒. อารักขสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยการอารักขา หมายความว่าให้มีนิสัยรักและบำรุงรักษาทรัพย์สินของตย ให้ปลอดภัย และเพิ่มพูนตามลำดับ บางคนแม้จะขยันทำมาหากิน มีรายได้มากพอสมควร แต่ไม่อาจตั้วตัวได้เพราะขาดธรรมข้อนี้ คือ รู้แต่จะหาทรัพย์ แต่ไม่รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ ซึ่งรวมความหมายของการอารักขาทรัพย์ดังนี้

(๑) การป้องกันอันตรายแก่ทรัพย์ เช่นระวังผู้ร้าย ตีชิงวิ่งราวหรือลักทรัพย์ ไม่ควรใส่ของล่อตาโจร ไม่ไปในที่เปลี่ยวอาจโดนตีชิงวิ่งราวทรัพย์ และอาจทำให้เราถึงแก่ชีวิต และต้องระวังรักษาที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย ป้องกันอัคคีภัย ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย เป็นต้น

(๒) ทำการสะสมทรัพย์ คือ ให้อดออม มัธยัสถ์ สะสมไว้ทีละเล็กทีละน้อยจนได้มาก

(๓) ป้องกันกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์ของเรา รักษาเอกสารสัญญา รักษาเอกสารสิทธิ์ให้ดี เป็นต้น

(๔) ถนอมทรัพย์ ที่หามาได้ คือ ใช้อย่างทนุถนอม ให้ใช้การได้นานที่สุด

๓. กัลยาณมิตตา แปลว่าความเป็นคนมีมิตรดี คือให้คบคนดี ไม่คบคนชั่ว

๔. สมชีวิตา แปลว่าดำรงชีพอย่างเหมาะสม หมายถึงรู้จักจ่ายทรัพย์ให้เหมาสมกับการเลี้ยงชีพ ให้เหมาะกับรายได้ของตน

ประโยชน์ของการมีทรัพย์ก็คือการจับจ่ายใช้สอยเลี้ยงตน เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงบิดามารดา หาความสนุกเพลิดเพลินเป็นการพักผ่อน และบำเพ็ญบุญกุศล ใครที่มีทรัพย์แล้วไม่ใช้สอยเพราะความตระหนี่ กินอยู่อย่างแร้นแค้น แม้เจ็บไข้ก็ไม่กล้ารักษาตัวหรือทิ้งบิดามารดาให้ตกระกำลำบาก พระพุทธเจ้า ตรัสว่าผู้นั้นเป็นคนโง่ แต่ในขณะเดียวกันพระองค์ทรงสอนให้เรารู้จักประมาณในการใช้ทรัพย์ให้เหมาะสม

คุณธรรม ๔ ประการนี้ ปฏิบัติให้ครบ ฝึกให้เป็นนิสัย ก็สามารถตั้งตัวได้ จนเป็น "เศรษฐี"

อุ อา กะ สะ

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=42808
                                                                                       
.........................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=43937

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้