ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1639
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

จุดไต้กลางวัน : ปริศนาธรรมสมเด็จฯ โต

[คัดลอกลิงก์]


จุดไต้กลางวัน
ปริศนาธรรมสมเด็จฯ โต


ครั้งหนึ่ง เมื่อสมเด็จฯ โต รู้ว่ารัชกาลที่ ๔ ทรงหมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์ ท่านปรารถนาจะตักเตือนให้รู้สึกพระองค์ ครั้นจะทูลเตือนโดยตรงก็เกรงพระทัย จึงจุดไต้เดินถือเข้าไปในพระราชวังกลางวันแสกๆ นี่แหละ เพื่อจะเตือนให้รู้ว่าในวังกำลังจะมืดมัว ไม่มีกลางวัน ไม่มีแสงสว่างแห่งปัญญา

พระจอมเกล้าทอดพระเนตรเห็นแล้ว จึงตรัสตอบว่า “ขรัวโต ข้ารู้แล้วๆ”

สมเด็จฯ โต จึงเอาไต้ทิ่มกำแพง ดับไฟเสีย เดินกลับวัดไปด้วยความสบายใจ

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ โต ก็จุดไต้กลางวันอีก คราวนี้ไม่ได้เดินถือไปในวัง แต่เดินถือไปที่จวนของผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อตอนที่รัชกาลที่ ๕ ขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ นั้น พระองค์มีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ ปี ๗ เดือน กับอีก ๙ วันเท่านั้น นับว่ายังทรงพระเยาว์นัก จึงต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ผู้ที่เป็นก็คืออัครมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ที่ชื่อ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมเด็จฯ โต ได้ข่าวว่าจะมีการกบฏคิดร้ายต่อแผ่นดิน เพื่อยึดอำนาจจากรัชกาลที่ ๕ ท่านจึงจุดไต้เข้าไปยังจวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ตอนกลางวัน

สมเด็จเจ้าพระยาฯ ถามว่า “มีประสงค์อันใดหรือ จึงถือไต้เข้ามาหากระผมเช่นนี้”

“อาตมาได้ยินว่าทุกวันนี้แผ่นดินมืดมัวนัก ด้วยมีคนคิดร้ายจะเอาแผ่นดิน ไม่ทราบข้อเท็จจริงจะเป็นประการใด ถ้าแม้เป็นความจริงแล้วไซร้ อาตมาภาพก็ใคร่จะขอบิณฑบาตเข้าเสียสักครั้งหนึ่งเถิด”

สมเด็จเจ้าพระยาฯ ฟังแล้วก็อึ้งไปนิดหนึ่ง ก่อนจะตอบว่า “ขอพระคุณเจ้าอย่าได้วิตกเลย ตราบใดที่กระผมยังมีชีวิตอยู่ฉะนี้ จะไม่ให้แผ่นดินนั้นมืดมัวหล่นลงไป ด้วยจะไม่มีผู้ใดแย่งแผ่นดินไปได้เป็นอันขาด”

“โยมไม่สู้มืดนักดอกเจ้าคุณ อนึ่งโยมนี้มีใจแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนาแน่นอนมั่นคงเสมอ อนึ่ง โยมทะนุบำรุงแผ่นดินโดยเที่ยงธรรม และตั้งใจประคับประคองสนองพระเดชพระคุณโดยตรงโดยสุจริต คิดถึงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นที่ตั้งตรงอยู่เป็นนิตย์ ขอเจ้าคุณอย่าปริวิตกให้ยิ่งกว่าเหตุ”

เมื่อผู้สำเร็จราชการกล่าวดังนั้น สมเด็จฯ โต ท่านก็เดินทางกลับวัด

เป็นหน้าที่ของพระภิกษุ และนักปราชญ์ราชบัณฑิต ที่จะต้องคอยเอาใจใส่ดูแลเรื่องของบ้านเมืองให้เป็นไปโดยถูกต้องเป็นธรรม เพื่อความผาสุกของประชาราษฎร์ ซึ่งนักปกครองนักบริหารบ้านเมืองที่ดีย่อมจะน้อมรับฟังคำตำหนิติเตียน คำสั่งสอนด้วยความเคารพ


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7739
                                                                                       
.......................................................................

ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=43984

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้