ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระองค์ที่ ๑๑ : สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 5008
ตอบกลับ: 13
พระองค์ที่ ๑๑ : สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-6-13 09:55
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
พระประวัติและปฏิปทา
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
พุทธศักราช ๒๔๖๔-๒๔๘๐
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
หัวข้อ
• พระประวัติในเบื้องต้น
• ทรงบรรพชาและอุปสมบท
• ทรงเป็นกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย
• ทรงครองวัดราชบพิธ
• คำประกาศ
• การสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
• ประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
• คำเรียกตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมี ๓ อย่าง
• การจัดพิมพ์พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ
• สำเนาจากราชกิจจานุเบกษา
• มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
(Mahamakuta Rajavidyalaya Foundation Under Royal Patronage)
• มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ในปัจจุบัน
• งานนิพนธ์
• พระอวสานกาล
• ประวัติและความสำคัญของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-13 09:56
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระประวัติในเบื้องต้น
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
มีพระนามเดิมว่า
“หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท”
พระนามฉายาว่า
“สิริวฑฺฒโน”
เป็นพระโอรสใน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้นหนึ่ง กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์
กับ
หม่อมปุ่น ชมพูนุท
ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม ๗ ค่ำ
ปีมะแม จุลศักราช ๑๒๒๑ ตรงกับวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๐๒
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนอักขรสมัย
ในสำนักเจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นย่า ในขั้นเริ่มต้นพอเขียนและอ่านได้
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
หลังจากพิธีโสกันต์ (โกนจุก) แล้วพระองค์ก็เสด็จเข้าไปประทับอยู่ในวัง
และได้เรียนภาษาอังกฤษกับฝรั่งเพื่อเตรียมตัวเสด็จออกไปศึกษาในต่างประเทศ
ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
พระอุปัชฌาย์ในคราวทรงบรรพชา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖
พ.ศ. ๒๔๑๔ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตามเสด็จไปในเรือพระที่นั่งบางกอก คราวเสด็จประพาสอินเดีย
เรือพระที่นั่งแวะพักแรมที่เมืองสิงคโปร์ ให้อยู่เล่าเรียนในโรงเรียนแรพฟัล
พร้อมกับหม่อมเจ้าองค์อื่นๆ อีกราว ๒๐ องค์ที่เสด็จไปในคราวเดียวกัน
ทรงศึกษาอยู่ที่เมืองสิงคโปร์เป็นเวลา ๙ เดือน จึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ
ขณะนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษสำหรับเจ้านายขึ้น
ในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๕ แล้วจึงมีรับสั่งให้พระองค์เข้าเรียน
ในโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษนั้น โดยไม่ต้องกลับไปเรียนต่อที่สิงคโปร์อีก
จึงนับได้ว่า พระองค์มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ
ขนาดเขียนได้ อ่านได้ และพูดได้ เป็นบางคำ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
พระกรรมวาจาจารย์ในคราวทรงบรรพชาและอุปสมบท
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-13 09:57
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร
พระอุปัชฌาย์ในคราวทรงอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๒
ทรงบรรพชาและอุปสมบท
ก่อนครบกำหนดผนวชเป็นสามเณรตามพระราชประเพณี
ได้ทรงเล่าเรียนหนังสือขอมจากพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ครั้นถึงปีระกา ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๖ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา
ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โดยมี
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ขณะทรงดำรงพระยศกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
และ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
แต่ยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระราชาคณะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เมื่อทรงผนวชแล้วได้เสด็จไปประทับอยู่ที่วัดราชบพิธ
ทรงเล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อมา จนถึงพระชนมายุครบอุปสมบท
จึงทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โดยมี
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร
เป็นพระอุปัชฌาย์
และ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ เอกศก จุลศักราช ๑๒๔๑
(พ.ศ. ๒๔๒๒) เวลาบ่าย ๒ โมง ๕๐ นาที มีพระนามฉายาว่า
“สิริวฑฺฒโน”
เมื่อทรงอุปสมบทแล้วก็เสด็จประทับ ณ
วัดราชบพิธ
ตามเดิม
ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม ๒ ครั้ง ได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๓๐ เมื่อทรงอุปสมบทได้ ๘ พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ตั้งเป็นพระราชาคณะที่
พระสถาพรพิริยพรต
ทรงฉายร่วมกับพระเถระกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ชุดแรก พ.ศ. ๒๔๓๖
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-13 09:58
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทรงเป็นกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๓๖
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ขณะทรงดำรงพระยศ
กรมหมื่น
ได้ทรงพระดำริจัดตั้งสถาบันการศึกษาแบบใหม่
สำหรับภิกษุสามเณร ตลอดถึงจัดตั้งโรงเรียนสำหรับกุลบุตรขึ้น
เรียกว่า
มหามกุฎราชวิทยาลัย
เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระนามาภิไธย
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อจัดการศึกษาสำหรับ
ภิกษุสามเณรและกุลบุตรให้ทันสมัย และเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
ขณะทรงดำรงพระสมณศักดิ์ที่
พระสถาพรพิริยพรต
ก็ทรงเป็นกรรมการพระองค์หนึ่งในกรรมการชุดแรกของมหามกุฎราชวิทยาลัย
นับว่าทรงเป็นผู้ร่วมบุกเบิกกิจการของมหามกุฎราชวิทยาลัยมาแต่เริ่มต้น
และได้ทรงเริ่มมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของมหามกุฎราชวิทยาลัย
ให้เจริญก้าวหน้ามาจนตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์
พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่เสมอชั้นเทพ
พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม
ที่
พระธรรมปาโมกข์
ในราชทินนามเดิม
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
ทรงครองวัดราชบพิธ
พ.ศ. ๒๔๔๔
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ
สิ้นพระชนม์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงครองวัดราชบพิธสืบต่อมา
นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ ๒
พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้ารองที่
พระพรหมมุนี
เจ้าคณะรองในคณะกลาง ในราชทินนามเดิม
พร้อมทั้งทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
พ.ศ. ๒๔๕๓ ในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนาพระอิสริยยศเป็น
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์
ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ
ที่
สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
5
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-13 09:58
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์
คำประกาศ
*
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาค ๒๔๕๔ พรรษา
กาลปัตยุบันจันทรโคจร โสณสัมพัตสรกาฬปักษ์ อัฐมีดิถีรวิวาร สุริยคติกาล
รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ มกราคมมาศ พาวีสติมสุรทิน โดยกาลนิยม
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ ฯลฯ
พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต
ได้ทรงผนวชในพระบวรพุทธศาสนามาล่วงแล้วได้หลายพรรษกาล
ประกอบด้วยพระวิริยภาพ แลทรงสติปัญญาสามารถ
ทรงชำนาญในพระปริยัติธรรม ได้ทรงเป็นอาจารย์สั่งสอนบริษัท
ให้รอบรู้จนได้เป็นเปรียญแล้วเป็นอันมาก
ทั้งได้ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นหลักฐานมั่นคงสมควรแก่ตำแหน่ง
น่าที่พระบรมวงศานุวงศ์แลบรรพชิตผู้ใหญ่
ทำให้เปนที่น่าเสื่อมใสแห่งบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต
ทรงปกครองสมณบริษัทแลศิษย์ของพระองค์ด้วยน้ำพระไทยอันโอบอ้อมอารี
มีเมตตาเผื่อแผ่ทั่วถึงกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสังเกตเห็นพระคุณสมบัติแน่ชัดแล้ว
จึงได้ทรงพระกรุณายกย่องให้ได้เลื่อนอิศริยศักดิ์ขึ้นเปนลำดับ
ดังปรากฏอยู่ในคำประกาศพระบรมราชโองการ
เมื่อทรงสถาปนาพระอิศริยยศเป็นพระองค์เจ้าพระนั้นแล้ว
ส่วนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อทรงผนวชในพระบวรพุทธศาสนา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต
ได้ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ แลได้ถวายโอวาทตามตำแหน่งอาจารย์ทุกประการ
ไม่เฉภาะแต่ในขณะเมื่อทรงพระผนวช
ถึงต่อมาก็ยังได้ทรงตามเป็นธุระตามกาลอันควร
ทั้งได้ทรงเป็นพระอุปัธยาจารย์ กุลบุตรที่ได้บรรพชาอุปสมบท
นับว่าพระองค์เปนสุนทรพรตอันประเสริฐ
พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา
แลดำรงคุณธรรมสม่ำเสมอเช่นนี้ ในเวลานี้มีน้อยพระองค์
จึงนับว่าทรงเปนอัจฉริยบุรุษพระองค์หนึ่ง
สมควรที่จะได้เพิ่มภูลพระอิศริยยศให้ปรากฏในราชตระกูล
แลในสมณศักดิให้ใหญ่ยิ่งขึ้น
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนา
พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต
ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ ขัติยพงศ์พรหมจารี
ประสาทนียคุณากร สถาพรพิริยพรต อังคีรสศาสนธำรง ราชวงศ์วิสุต
วชิราวุธมหาราชอภินิษกรมณาจารย์ สุขุมญาณวิบุล สุนทรอรรคปริยัติโกศล
โศภนศีลสมาจารวัตร มัชฌิมคณิศรมหาสังฆนายก
พุทธศาสนดิลกสถาวีรบพิตร สิงหนาม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
6
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-13 09:59
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ทรงศักดินา ๑๑๐๐๐ อย่างพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าต่างกรม
ตามพระราชกำหนดกฎหมาย ทรงสมณศักดิที่สมเด็จพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะใหญ่
บัญชาการคณะกลาง พระราชทานนิตยภัตรเปนยศบูชาราคาเดือนละ ๔๐ บาท
ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธศาสนา เปนภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์
แลอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์สามเณรในพระอารามทั้งปวง
ซึ่งขึ้นในคณะโดยสมควรแก่พระกำลัง แลอิศริยยศซึ่งพระราชทานมานี้
จงทรงเจริญพระชนมายุ พรรณ ศุข พละ ปฏิภาณ คุณสารสมบัติ
สรรพศิริสวัสดิพิพัฒมงคล จิรฐิติกาลในพระพุทธศาสนาเทอญฯ
เมื่อทรงกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เลื่อนพระอิศริยยศดังนี้แล้ว
จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทรงตั้ง
เจ้ากรมเป็นหมื่นชินวรสิริวัฒน์ ถือศักดิ์นา ๕๐๐ ปลัดกรมเปนพันพยาพัฎสรรพกิจ
ถือศักดินา ๓๐๐ สมุห์บาญชีเป็นพันลิขิตพลขันธ์ ถือศักดินา ๒๐๐
ให้ผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งทั้ง ๓ นี้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณต่อไป
ให้มีความสุขสวัสดิเจริญเทอญฯ
ฝ่ายสมณศักดิ์นั้น ให้ทรงมีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ ๑๐ รูป คือ
พระครูปลัดสัมพิพัฒพรหมจรรยาจารย์ สรรพกิจวิธานโกศล
โสภณวัตรจรรยาภิรัต มัชฌิมคณิศรสถาวีรธุรธารี มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๓๒ บาท ๑
พระครูธรรมาธิการ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๖ บาท ๑
พระครูวิจารณ์ธุรกิจ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๖ บาท ๑
พระครูวินัยธร ๑
พระครูวินัยธรรม ๑
พระครูโฆษิตสุทธสร ๑
พระครูอมรสรนาท ๑
พระครูสังฆวิธาน ๑
พระครูสมุห์ ๑
พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๑๐ รูป
ขอให้พระครูผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งทั้งปวงนี้
มีความศุขศิริสวัสดิ์สถาพร ในพระพุทธศาสนาเทอญฯ
* หมายเหตุ : อักขรวิธีตามต้นฉบับ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
7
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-13 11:06
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พัดยศสำหรับพระสมณศักดิ์ที่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
การสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔ เวลา ๑๐.๓๕ นาฬิกา นี้
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์
ครั้นถึงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศ
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์
ขึ้นเป็น
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
และทรงสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็น
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปรินายก
นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ครั้นถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
สถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น
กรมหลวง
ประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
มี
พระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ
พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศทราบทั่วกัน
ด้วยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายกปธานาธิบดีสงฆ์
สิ้นพระชนม์ล่วงลับไปเสียแล้ว ทรงพระราชดำริห์ว่า
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
ทรงมีคุณูปการในทางพุทธสาสนกิจ สมควรจะดำรงตำแหน่ง
สนองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสสืบไปได้
จึงทรงพระกรุณาโปรดให้สถาปนา คำนำ พระนาม แล ฐานันดรศักดิ์
ขึ้นเป็น
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายก ปธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักรสืบไป
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศไว้
ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
8
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-13 11:41
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-6-13 11:42
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
คำเรียกตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมี ๓ อย่าง
เมื่อทรงสถาปนา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์
เป็นสมเด็จสกลสังฆปริณายก ประธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักรนั้น
โปรดเกล้าฯ สถาปนาคำสำหรับเรียกตำแหน่งนี้ว่า
“สมเด็จพระสังฆราชเจ้า”
ซึ่งปรากฏพระนามนี้ขึ้นเป็นครั้งแรกในคราวนี้
ฉะนั้น จึงได้มีคำนำพระนามสำหรับตำแหน่ง
สมเด็จสกลสังฆปริณายก
หรือ
สมเด็จสกลมหาสังฆปริณายก
เป็น ๓ อย่างเป็นธรรมเนียมสืบมา คือ
๑. เจ้านายชั้นสูงผู้ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น
สมเด็จสกลสังฆปริณายก หรือสมเด็จพระสังฆราช
มีคำนำพระนามว่า
“สมเด็จพระมหาสมณเจ้า”
ซึ่งมีอยู่ ๓ พระองค์ คือ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า มีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า
“มหาสมณุตมาภิเษก”
เจ้านายผู้ทรงได้รับถวายมหาสมณุตมาภิเษก
เท่าที่ปรากฏมาเป็นชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงพระยศสูงกว่าสมเด็จพระสังฆราชทั่วไป
ทรงเบญจปฏลเศวตฉัตร (ฉัตรขาว) ๕ ชั้น
เกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๖ เมื่อทรงถวายมหาสมณุตมาภิเษก
แด่
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
๒. พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น
สมเด็จสกลสังฆปริณายก หรือสมเด็จพระสังฆราช
มีคำนำพระนามว่า
“สมเด็จพระสังฆราชเจ้า”
ซึ่งมีอยู่ ๒ พระองค์ คือ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(พระนามเดิม หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท)
และ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์)
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงพระยศสูงกว่าสมเด็จพระสังฆราชทั่วไป
ทรงฉัตรตาดเหลือง ๕ ชั้น พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงโปรดเกล้าฯ
สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เท่าที่ปรากฏมาเป็นชั้นหม่อมเจ้าลงมา
เกิดมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๖ เช่นกัน โดยทรงสถาปนา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์
ในตำแหน่ง
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
เป็นพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๓. ท่านผู้ได้รับสถาปนาเป็น
สมเด็จสกลสังฆปริณายก
ที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ เรียกว่า
“สมเด็จพระสังฆราช”
ซึ่งมีมาแต่โบราณจวบจนปัจจุบัน ทรงเศวตฉัตร ๓ ชั้น
สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ทรงได้รับสถาปนาเป็น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
หรือ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
นั้น
จะมีพระนามเฉพาะสำหรับแต่ละพระองค์ไป
เช่น
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
เป็นต้น
แต่สำหรับผู้ที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น
มีพระนามสำหรับตำแหน่งเหมือนกันทุกพระองค์มาแต่โบราณ คือ
“สมเด็จพระอริยวงษญาณ”
ซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงแก้ไขเป็น “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”
ดังที่ปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน
อนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชผู้มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์
แต่มีพระนามสำหรับตำแหน่งเป็นพิเศษ
ไม่ใช้พระนามว่า
“สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”
มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น คือ
“สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ปัจจุบัน ซึ่งเสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
9
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-13 11:44
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แถวหน้า องค์ที่ ๓ จากซ้าย : สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
ทรงฉายร่วมกับสมเด็จพระราชาคณะ
แถวหน้า องค์ที่ ๔ จากซ้าย : สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
ทรงฉายร่วมกับสมเด็จพระราชาคณะ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
10
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-13 11:47
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระไตรปิฎกฉบับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ปีพุทธศักราช ๒๔๓๖
การจัดพิมพ์พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ
พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้มีการจัดสร้างพระไตรปิฎก
เพื่อถวายเป็นพระอนุสาวรีย์เชิดชูพระเกียรติยศ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระและจัดพิมพ์ขึ้นใหม่
เรียกว่า
“พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ”
ต้นฉบับสำหรับตรวจชำระ และจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ครั้งนี้
ใช้พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖
จำนวน ๓๙ เล่มเป็นพื้น พร้อมทั้งตรวจชำระเพิ่มคัมภีร์
ที่ยังมิได้จัดพิมพ์เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ ให้ครบบริบูรณ์ด้วย
รวบเป็นพระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ครั้งนี้ จำนวน ๔๕ เล่มจบบริบูรณ์
ในการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กราบทูล
อาราธนา
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
ทรงเป็นประธานในการตรวจชำระ
พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนา
พระเถระผู้ชำนาญพระไตรปิฎกอีก ๘ รูป เป็นกรรมการตรวจชำระ
การตรวจชำระและจัดพิมพ์ระไตรปิฎกครั้งนี้
เริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ พิมพ์เสร็จบริบูรณ์เมื่อ พ .ศ. ๒๔๗๓
นับเป็นพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ที่สมบูรณ์ฉบับแรก
ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ในการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ดังกล่าวนี้
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
นอกจากจะทรงเป็นประธานในการตรวจชำระแล้ว
พระองค์ยังได้ทรงตรวจชำระคัมภีร์อังคุตรนิกาย แห่งพระสุตตันปิฎก
ตลอดพระคัมภีร์ด้วยพระองค์เอง รวมเป็นหนังสือ ๕ เล่มอีกด้วย
นับเป็นพระเกียรติคุณในทางพระปริยัติธรรมอีกประการหนึ่ง
ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ พระองค์นั้น
อนึ่ง พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ดังกล่าวนี้
เมื่อได้ตรวจชำระและจัดพิมพ์ขึ้นเรียบร้อยแล้ว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานกรรมสิทธิ์ในหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐนี้
แก่
“มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์”
ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา
เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยในขณะนั้น
เพื่อประโยชน์แก่ความเจริญก้าวหน้าของการศึกษาทางพระพุทธศาสนา
เพื่อพระปริยัติธรรมสืบไป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
/ 2 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...