ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกธรรม เส้นทางสู่ทางสงบในชีวิตและจิตใจ
»
ความรู้ของจิตพิสดารมาก (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1665
ตอบกลับ: 3
ความรู้ของจิตพิสดารมาก (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2014-6-10 15:55
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑
ความรู้ของจิตพิสดารมาก
จิตเป็นของละเอียดมาก รู้สึกจะมีความละเอียดเหนือสิ่งใดๆ จนไม่ปรากฏร่องรอยที่ไปและมา แม้จะท่องเที่ยวอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ร่องรอยของจิตที่พอจะยึดได้ว่าเป็นอย่างนั้นๆ เหมือนด้านวัตถุนี้ไม่มี ท่านเปรียบไว้เหมือนกับนกบินบนอากาศ ไม่มีร่องรอยทั้งนั้น อีกตอนหนึ่งเปรียบถึงท่านผู้บริสุทธิ์ที่ได้พรากจากร่างนี้ไปแล้ว ไม่มีร่องรอยว่าจะไปเกิดหรือไปตั้งอยู่ในสถานที่ใดอย่างนี้อีกเหมือนกัน แม้จิตจะยังมีสมมุติอยู่ภายในตัวที่เรียกว่ากฎแห่งกรรมก็ตาม แต่จิตก็ไปตามธรรมชาติของจิตที่มีความละเอียดประจำตัวอยู่แล้ว แม้จะไปสู่สถานที่ใดหรือไปเกิดในที่ใดๆ การไปของจิตนั้นก็ไม่มีใครสามารถจะทราบได้ นอกจากท่านผู้มีญาณซึ่งควรจะรู้ได้เท่านั้น
ตามธรรมชาติของจิตแล้วมีความละเอียดประจำตนอยู่เสมอเช่นนี้ จึงยากที่จะพิสูจน์ให้ทราบได้ การปฏิบัติบำเพ็ญมีการภาวนาเป็นต้น นี้แลท่านว่าเป็นทางพิสูจน์เรื่องความรู้คือใจของตัวเอง และความเคลื่อนไหวของใจว่าจะกระเพื่อมไปสู่วัตถุหรืออารมณ์ใด ไม่ว่าส่วนหยาบส่วนกลางส่วนละเอียด ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์อดีตอนาคต หรือกำลังปรากฏตัวอยู่ในปัจจุบันคือขณะนี้ จิตที่ตั้งความรู้สึกไว้จำเพาะสถานที่เกิดอารมณ์คือใจของตัวเองนี้ มีทางที่จะทราบได้ในความเคลื่อนไหวของตน
ในเบื้องต้นก็ทันบ้างไม่ทันบ้าง เพราะสติหรือปัญญาเราก็เพิ่งเริ่มฝึกหัด เริ่มตั้งหลักตั้งฐานขึ้นด้วยการพยายามคือการภาวนา ฉะนั้นท่านจึงสอนให้มีสติคอยรับทราบอยู่กับความรู้คือใจดวงนี้ ก่อนจะปรากฏภาพต่างๆ จะเป็นภาพที่มีวิญญาณหรือไม่ก็ตาม จะต้องมีความกระเพื่อมจากความรู้นี้ก่อน ถ้ายังไม่กระเพื่อมภาพก็ยังไม่ปรากฏ ขณะที่จิตกระเพื่อม ก็เป็นขณะเดียวที่จิตจะออกแสดงภาพให้ตัวรู้ตัวเห็น จะเป็นภาพที่น่าเพลิดเพลิน ภาพที่น่าเสียใจหรือภาพที่น่ากลัวก็ตาม จะต้องแสดงออกจากความกระเพื่อมของจิตเป็นสำคัญ นี่พูดถึงขณะที่เราภาวนา
ส่วนภาพที่ปรุงขึ้นภายในใจตามปรกติของคนทั่วๆ ไปนั้น เป็นเรื่องของความคิด เดี๋ยวปรากฏเรื่องนั้นปรากฏเรื่องนี้ ปรากฏคนนั้น พอเราคิดถึงคนไหนก็ปรากฏภาพคนนั้นขึ้นมาอันนี้ถือเป็นธรรมดา ไม่ค่อยมีอะไรล่อแหลมนัก โลกทั้งหลายก็คิดกันได้ ไม่มีความเสียหายจากความคิดอย่างนั้น แต่ภาพที่ปรากฏขึ้นในขณะภาวนานี้มีส่วนจะทำให้เสียได้ จะอย่างไรก็ตามภาพต้องปรากฏขึ้นในขณะที่จิตกระเพื่อมตัวออกไป ถ้ามีแต่ความรู้ล้วนๆ จะยังไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นจิตเวลาอยู่เฉพาะตัวเอง คือรู้อยู่จำเพาะตัวเองจริงๆ ไม่แสดงตัวออกไปภายนอก สิ่งต่างๆ จึงไม่สามารถจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับใจนั้นได้ ดังท่านเข้าสมาธิ ขณะที่จิตเข้าอยู่ในองค์ของสมาธิคือความสงบแน่วแน่ตามหลักของสมาธิจริงๆ แล้ว จะไม่มีสิ่งใดมาเกี่ยวข้องเลยในเวลานั้น ต่อเมื่อจิตได้ถอนตัวออกมาจากจุดนั้นนั่นแล ถ้ามีเรื่องก็จะเกี่ยวข้องกัน คือมีเรื่องเกี่ยวกับภายนอกก็จะรับทราบได้เหตุได้ผลรู้เรื่องรู้ราวกันในเวลานั้น
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-10 15:56
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ถ้าเทียบอุปมาก็เช่นเดียวกับเราอยู่ในบ้านของเราและปิดประตูบ้านไว้ด้วย แขกคนหรืออะไรจะมาจากที่ไหน มาอยู่ภายนอกฝาเรือนเรานั้น เราจะไม่มีทางทราบได้ เพราะขณะนั้นไม่ใช่ขณะที่เรารับแขก ต่อเมื่อเราออกจากในบ้านของเรา เปิดประตูออกมานั่นแล เราจะทราบเรื่องราวทั้งหลายที่มีอยู่ภายนอก เรื่องของจิตก็ย่อมมีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกัน
ความรู้ของจิตนี้รู้สึกว่าพิสดารมากตามจริตนิสัยของผู้บำเพ็ญไม่เหมือนกัน บางรายก็ไม่ค่อยมีเรื่องแสดงภาพต่างๆ ให้เห็น เช่นเป็นคนเป็นเปรตเป็นผี หรือเรื่องคนล้มคนตายให้ปรากฏในภาวนาอย่างนี้ บางรายไม่ค่อยมี แต่บางรายพอจิตสงบแล้วแสดงขึ้นมาทันที เพราะหลักธรรมชาติที่ปรากฏเช่นนี้นั้นไม่ได้ศึกษามาจากครูจากอาจารย์ แต่จะปรากฏขึ้นกับจริตนิสัยของผู้บำเพ็ญเวลาจิตสงบแล้ว
หากนิสัยมีในทางที่จะรู้เห็นสิ่งต่างๆ ก็ต้องแสดงออกมาให้เจ้าตัวรู้ ต่อเมื่อเราได้รู้ได้เห็นสิ่งนั้นว่าแสดงอาการอย่างไรบ้างแล้วนั้น เรามีทางที่จะศึกษาปรารภหรือไต่ถามครูอาจารย์ได้ ว่าจะควรปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไรบ้าง แต่หลักนิสัยนั้นจะไม่ได้ถาม จะไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนจากผู้ใด แต่จะปรากฏขึ้นมาให้ผู้มีนิสัยในทางนั้นรู้โดยเฉพาะตัวเอง ถ้านิสัยไม่มีก็ไม่รู้ไม่เห็น การไม่รู้ไม่เห็นก็ไม่เป็นการที่จะตัดทอนประโยชน์ของผู้บำเพ็ญในนิสัยเช่นนั้น ผู้ไม่เห็นไม่รู้ก็ไม่สนใจ แต่ผู้เห็นผู้รู้ตามนิสัยของตนก็ต้องปฏิบัติให้ถูกกับจริตของตน ถ้าไม่ถูกก็มีทางเสียได้เหมือนกัน
คำว่าจิตอันแท้จริงนั้นมีแต่รู้เท่านั้น ไม่ปรากฏว่ารู้ในลักษณะอย่างไรบ้าง เป็นธรรมชาติที่รู้ๆ อยู่เท่านั้นแล นั้นแลเป็นธรรมชาติของจิตแท้ ลักษณะที่แสดงออกเป็นสีสันวรรณะ หรือเป็นภาพต่างๆ นั้น เป็นอาการอันหนึ่งที่แสดงออกมาจากจิตซึ่งไม่ใช่จิตแท้ อาการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เกิด ๆ ดับๆ ตามคติธรรมดาของเขา แต่ผู้ที่รู้ในหลักธรรมชาติของตัวเองนี้จะไม่มีการขาดวรรคขาดตอนในความรู้ ไม่มีการเกิดและดับไป คือการเกิดขึ้นก็ไม่มี การดับไปก็ไม่มี มีแต่เป็นธรรมชาติที่รู้อยู่เท่านั้น นี้แลท่านเรียกว่าเป็นธรรมชาติของจิตแท้ ถ้าได้พิจารณาอบรมให้ถึงแก่นของความรู้อันแท้จริงแล้วนั้น ท่านเรียกว่าความรู้อันดั้งเดิม ความรู้อันนี้หมดการเปลี่ยนแปลง
กิริยาที่เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นอาการอันหนึ่งซึ่งเกิดจากธรรมชาติอันดั้งเดิมนี้ต่างหาก เพราะฉะนั้นจึงมีการเกิดๆ ดับๆ มีการเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นลักษณะต่างๆ ซึ่งเอาแน่ไม่ได้ ไม่ว่าเราจะปฏิบัติธรรมขั้นต่ำขั้นกลางหรือขั้นสูง อาการอันนี้จะต้องมีไปตามๆ กัน คือเวลาใจยังมีสิ่งแวดล้อมหยาบอยู่ อาการที่แสดงอยู่ในขั้นนั้นก็ต้องแสดงอาการหยาบ ภาพก็เป็นภาพที่หยาบ อารมณ์ก็เป็นอารมณ์ที่หยาบ พออาการที่เกี่ยวข้องกับจิต ค่อยเปลี่ยนแปลงตัวเองขึ้นไป อารมณ์ก็ค่อยเปลี่ยนไปสู่ความละเอียด จนจิตเข้าสู่ความละเอียดอย่างเต็มที่ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตซึ่งไม่ใช่จิตเดิมแท้นั้น ก็ต้องแสดงอาการที่ละเอียดอย่างยิ่งเหมือนกัน แต่ทั้งสามอาการนี้เรียกว่าเป็นอาการของจิตทั้งนั้น ไม่ใช่จิตอันดั้งเดิมแท้
ผู้พิจารณาจึงต้องอาศัยอารมณ์เหล่านี้เป็นเครื่องทดสอบ ฝึกหัดสติปัญญา ถือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตนนี้เป็นเหมือนหินลับมีดโกนให้คมกล้าไปเสมอ ปัญญา สติต้องอาศัยเหล่านี้เป็นเครื่องฝึกซ้อม และรู้เท่าทันกันไปเป็นระยะๆ จนหมด ไม่มีอาการใดเหลืออยู่ แฝงอยู่ภายในจิตนั้นเลย สิ่งที่มีอยู่ตามหลักดั้งเดิมของตนก็คือความรู้ล้วนๆ นี่แลเป็นแก่นแห่งความรู้แท้ เป็นความรู้ในหลักธรรมชาติแท้ จึงไม่มีทางที่จะแปรเป็นอื่นได้
ท่านที่บำเพ็ญตั้งแต่ต้น ชำระหรือพิจารณาให้รู้สิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตมาเป็นชั้นๆ จนถึงธรรมชาติอันดั้งเดิมของจิตนั้นแล้ว จิตท่านเป็นอย่างนั้นแล ถึงหลักหรือถึงธรรมชาติอันไม่เปลี่ยนแปลง อันไม่หลอกลวง ท่านจึงหมดความหวั่นไหว เพราะไม่มีสิ่งที่จะมาหลอกลวงหนึ่ง ไม่มีสิ่งที่จะหลงตามสิ่งหลอกลวงนั้นหนึ่ง เหตุที่จะให้เกิดความหลอกลวงก็ไม่มี คือต้นเหตุที่จะให้เกิดความหลอกลวงก็ไม่มี ผลที่จะให้เกิดความลุ่มหลงหรือเดือดร้อนเสียใจไปตามก็ไม่มี
ท่านจึงอยู่เป็นเอกเทศอันหนึ่งโดยหลักธรรมชาติ ไม่ต้องเสกสรร ไม่ต้องระมัดระวัง คือไม่ต้องตั้งท่าตั้งทาง ไม่ต้องมีอาการใดซึ่งเป็นอาการที่จะสงวนรักษาหรือต้านทานกันกับสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย เพราะต่างอันต่างจริง ต่างอันต่างมีอยู่ตามหลักธรรมชาติของตน ทั้งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิต ทั้งจิตผู้รู้สิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย นี่เรียกว่าท่านผู้หมดเหตุหมดปัจจัย รู้อยู่ในหลักปัจจุบันของท่านทุกๆ ขณะ ว่าไม่มีการสืบต่อกับอารมณ์ซึ่งเป็นเหตุให้ยั่วกิเลสให้ฟุ้งขึ้นมา
หลักธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ชี้อุบายแนวทางตั้งแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงจุดหมายปลายทางแห่งความสมมุติและวิมุตติ คือถึงความบริสุทธิ์ของจิต ไม่มีโอวาทใดที่จะสามารถชี้ให้ถูกต้อง และผู้ปฏิบัติได้พ้นภัยไปได้จริงดังสวากขาตธรรมของพระพุทธเจ้า บรรดาผู้ปฏิบัติตามสวากขาตธรรม จนได้รู้แจ้งเห็นจริงถึงภูมิแห่งธรรมขั้นนี้แล้ว แม้จะไม่เป็นอันเดียวกับพระพุทธเจ้าก็ตาม เพราะต่างคนต่างบริสุทธิ์ แต่ก็เป็นเหมือนกับเป็นอันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า เพราะความบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้ากับความบริสุทธิ์ของท่านผู้รู้ตามเห็นตามพระพุทธเจ้านั้น เป็นความบริสุทธิ์เช่นเดียวกัน ไม่มีสิ่งใดหรืออาการใดที่จะผิดแปลกกันไปแม้แต่นิดหนึ่งที่ให้ชื่อว่าสมมุติ เพราะความผิดแปลกท่านเรียกว่าสมมุติทั้งนั้น
อยู่ในสถานที่ใด เราอยู่ฉันใด ก็เหมือนพระพุทธเจ้าอยู่ฉันนั้น เรารู้อยู่ฉันใดเหมือนพระพุทธเจ้ารู้อยู่ฉันนั้น เรารู้อยู่ในขณะนี้ก็เหมือนพระพุทธเจ้ารู้อยู่ในขณะเดียวกัน ฉะนั้นการที่พระพุทธเจ้าจะนิพพานไปกี่เวลา และนิพพานอยู่ในสถานที่ใด นั่นจึงไม่เป็นปัญหาสำหรับท่านผู้รู้องค์แห่งพุทธะอันแท้จริงตามเสด็จพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีกาลมีเวลา ไม่มีสถานที่ นั่นเป็นสถานที่อันหนึ่งต่างหาก ซึ่งเป็นที่ประทับหรือเป็นที่บำเพ็ญของพระพุทธเจ้าที่มีพระกายอยู่ พระกายก็เป็นสมมุติ สถานที่จึงต้องแสดงสมมุติขึ้นมา กาลเวลาจึงต้องแสดงขึ้นไปตามๆ กัน ต่อเมื่อได้ถึงขั้นแห่งความบริสุทธิ์ หมดจุดที่หมายแห่งความสมมุติแล้วนั้น ไม่ว่าสาวกองค์ใดแม้จะตรัสรู้ขึ้นในขณะนี้ก็เป็นเหมือนได้เห็นพระพุทธเจ้าในขณะนี้ ประหนึ่งคำว่านิพพานแล้วนั้นไม่ปรากฏ เพราะนั้นเป็นแต่เพียงร่างที่พรากจากกันไปเท่านั้น
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-10 15:57
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ร่างของพระพุทธเจ้ากับร่างของสัตว์โลกเป็นธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟอันเดียวกัน แต่ธรรมชาติที่รู้นั้นกับผู้ที่รู้ขึ้นในขณะนี้ไม่มีอะไรผิดแปลกกัน นี่แลการที่ว่าพระพุทธเจ้านิพพานไปนานเท่าไรหรือไม่นั้นจึงไม่เป็นปัญหา ไม่มีกาล ไม่มีสถานที่ ไม่มีบุคคล เป็นแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ อยู่เท่านั้น แล้วกาลเวลาไม่สามารถจะเข้าไปเกี่ยวข้องได้อีก ว่าธรรมชาติที่บริสุทธิ์นี้จะตั้งอยู่ได้นานเท่าไร เพราะธรรมชาตินี้ไม่ใช่กายดังที่ได้อธิบายผ่านมาแล้วนี้ ใครจะให้ชื่อให้นามว่าอย่างไรก็ตาม ธรรมชาตินี้ก็คือธรรมชาตินี้อยู่นั่นแล ไม่เป็นไปตามความสมมุติชื่อเสียงที่ตั้งให้
แต่เป็นธรรมดาของโลกที่มีสมมุติจะไม่ให้ชื่อไม่ให้นาม ไม่มีกรุยหมายป้ายทางย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นหลักธรรมะที่พระองค์ท่านแสดงไว้ทุกบททุกบาทจึงเป็นกรุยหมายป้ายทางเพื่อผู้ดำเนินจะได้รู้วิธีปฏิบัติและหยิบยกขึ้นมาประพฤติปฏิบัติตามจริตนิสัยและความสามารถของตน ดังนั้นธรรมจึงต้องเป็นสมมุติไปเช่นเดียวกับโลกที่มีสมมุติ ทางเหตุก็ต้องมีสมมุติ ผลที่แสดงไปเป็นลำดับๆ ก็ต้องเป็นสมมุติแต่ละประเภทๆ จนกระทั่งถึงหลักธรรมชาติอันแท้จริงแล้วนั้น นั่นไม่เป็นปัญหา จะเอาชื่อให้มีสมมุติเหมือนโลกทั่วๆ ไปก็ตาม ไม่ตั้งชื่อให้ก็ไม่เป็นปัญหา เช่นเดียวกับเรารับประทานมีความเพียงพอกับธาตุขันธ์แล้ว จะตั้งชื่อให้ว่าอิ่มหรือไม่อิ่มก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับผู้พอแก่การรับประทานแล้ว ย่อมจะทราบตนได้อย่างชัดเจน นั่นละท่านเรียกว่าของวิเศษคือจิตดวงนี้
พยายามเอาหลักธรรมะนี้แลเข้าไปเป็นเครื่องขัดเกลา แก้ไขดัดแปลงเข้าไปทุกระยะ ใจชอบกดขี่บังคับ ต้องอาศัยการกดขี่บังคับกันบ้าง ถ้าหากใจไม่ชอบแล้วเราก็เคยปล่อยตามอำเภอใจมาบ้างเป็นบางกาลบางเวลา ก็พอจะทราบผลว่าแสดงตัวขึ้นมาอย่างไรบ้าง เมื่อเราได้ปล่อยให้เป็นไปตามความชอบใจ โดยไม่ต้องมีการกดขี่บังคับหรือดัดแปลง ผลก็ย่อมเป็นไปตามยถากรรม ไม่เห็นปรากฏขึ้นมาเป็นที่พอใจเรา ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะปรากฏผลขึ้นมาให้เป็นที่พอใจ ก็เนื่องจากการดัดแปลงแก้ไขให้ได้อย่างใจของตัว คือบำเพ็ญเหตุให้ถูกต้องตามผลที่เราต้องการ ผลก็แสดงตัวขึ้นมาเพราะอำนาจของเหตุเป็นเครื่องเสริม
ใจของเราก็เหมือนกัน ต้องอาศัยการฝึกอบรม การขู่เข็ญดัดแปลง หรือให้มีกฎเกณฑ์ขอบเขตบังคับไว้บ้างในกาลที่ควรจะทำ จิตจะได้รู้ขอบเขต จะได้รู้ว่าตนมีเจ้าของเสียบ้าง ถ้าปล่อยเลยตามเลยไปธรรมดาก็เหมือนสัตว์ไม่มีเจ้าของ ไม่ทราบเป็นตาย อันตรายจะเกิดขึ้นมาแก่สัตว์ประเภทนั้นๆ เมื่อไร เพราะทุกสิ่งทุกอย่างถ้ามีเจ้าของแล้ว คนอื่นหรือสัตว์อื่นก็เกรงขามเหมือนกัน ไม่กล้าอาจเอื้อมเข้ามาทีเดียว ใจที่ทำตัวให้มีเจ้าของ สิ่งที่จะมาทำลายหรือมาทำให้ชอกช้ำหรือรังควาญรังแกอย่างนี้ ก็ไม่กล้าเข้ามาให้ถึงตัวอย่างง่ายดาย เพราะมีขอบเขตมีรั้วกั้น มีสิ่งคอยจะต้านทานกันอยู่
จิตที่มีความพากเพียรมีเหตุมีผลเป็นเครื่องรักษาหรือต้านทานกันอยู่ สิ่งที่จะทำให้จมลงไปก็ไม่มีโอกาส หรือไม่สามารถจะมาทำเอาอย่างง่ายดาย ฉะนั้นหลักธรรมพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานเอาไว้ก็เพื่อเป็นรั้วกั้นจิตใจความประพฤติของเรา ให้มีขอบเขตมีทางเดิน เราจะไม่เป็นผู้จนตรอกจนมุมทั้งในปัจจุบันวันนี้วันหน้า ชาตินี้และชาติหน้า เพราะเราไม่ได้สร้างความจนตรอกจนมุมไว้เพื่อตน นอกจากจะสร้างความสมหวังไว้เท่านั้น ผลจะเป็นที่สมหวังขึ้นมาเป็นระยะๆ นับแต่ปัจจุบันวันนี้ถึงวันหน้า ชาตินี้ถึงชาติหน้า จนกระทั่งถึงอวสานสุดท้าย จะปรากฏแต่สิ่งที่พึงปรารถนาทั้งนั้น เพราะการทำความดีทั้งมวลจะเป็นการทำด้วยการบังคับหรือความชอบใจก็ตาม ผลจะต้องแสดงออกมาให้เป็นที่พึงพอใจเช่นเดียวกันหมด
จิตไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อยพอเราจะมองข้ามไป แต่เป็นเรื่องใหญ่โตมาก เรื่องภพเรื่องชาติ เรื่องเกิดแก่เจ็บตาย เรื่องทุกข์เรื่องทรมานทั้งหลาย ถ้าไม่ใช่เรื่องของจิตจะเป็นเรื่องอะไร จะมีมาจากที่ไหน ถ้าไม่ใช่จิตเป็นสาเหตุก่อเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาให้ปรากฏแก่ตัวเรา เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตจึงไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อย ถ้าเห็นทุกข์ไม่เป็นของสำคัญ เวลาทุกข์มาถูกต้องตัวเราก็อย่าแสดงอาการทุรนทุราย เพราะทุกข์ไม่สำคัญถึงกับจะทำเราให้ทุรนทุราย หรือหวั่นไหวไปตาม แต่ที่เป็นทั้งนี้ก็เพราะว่าทุกข์เป็นของสำคัญ
ทุกข์มีสาเหตุเป็นมาจากไหน ถ้าไม่ใช่เป็นมาจากจิตที่ไม่รู้เท่าถึงการณ์กับตัวเองและสิ่งที่เกี่ยวข้องพอจะให้เกิดความความทุกข์ขึ้นมา เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงต้องมองดูต้นเหตุที่จะก่อเรื่องขึ้นมาด้วยการกำหนดการพิจารณา หาอุบายวิธีแก้ไขจิตใจของเราให้พ้นจากความจนตรอกจนมุมให้ได้ ไม่มากก็น้อยผลต้องแสดงขึ้นมา เพราะเราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าผู้ฉลาดผู้เชี่ยวชาญที่สุด ในไตรโลกธาตุไม่มีใครเสมอเหมือน ธรรมะที่ตรัสไว้ทุกบททุกบาทเป็นธรรมะของท่านผู้ฉลาดเชี่ยวชาญทั้งนั้น เราเป็นลูกศิษย์ตถาคตจึงสมควรแล้วที่จะหยิบยกเอาธรรมะที่ฉลาดเข้ามาเป็นเครื่องประดับจิตใจของเรา อย่าให้เสียเล่ห์เหลี่ยมแก่ตัณหาอาสวะที่จะฉุดลากให้เราเข้าสู่ความจนตรอกจนมุม
บัดนี้เป็นกาลอันควรอย่างยิ่งที่เราจะได้บำเพ็ญ หรือประดับสติปัญญาของเราให้มีความรู้ความฉลาดทันกลมายาของจิตที่แสดง และฉุดลากเราไปสู่สิ่งที่ไม่ต้องการมาเป็นเวลานาน ให้ได้ประสบพบเห็นความสมหวังเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ด้วยการฝึกหัดดัดแปลง ฝึกฝนทรมานตนเอง จะยากลำบากเราก็ทนเอา เพราะทนเพื่อจะก้าวให้พ้นจากอุปสรรคหรืออันตราย จะทุกข์ยากลำบากก็ต้องฝืน ทุกข์เป็นสิ่งที่สัตว์ไม่พึงปรารถนาแต่กลับกลายเป็นความสุขขึ้นมาให้เป็นที่พึงปรารถนา นี้ชื่อว่าทุกข์เปลี่ยนแปลงตัวเองไป สัจจะก็ไม่จริง แต่นี้ไม่เป็นเช่นนั้นเกิดในขณะใดก็ต้องเป็นทุกข์ขณะนั้น ไม่ว่าจะเกิดในสัตว์ในบุคคลและเกิดในเวลาใด ต้องเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ทำผู้สงบสุขให้ได้รับความทุรนทุรายไปทันที
เรื่องความสุขก็ย่อมเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เกิดในสมัยใดกาลใด เกิดกับบุคคลหรือสัตว์ตัวใด ย่อมเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา เมื่อสรุปความแล้วดีกับชั่วในสมัยโน้นกับสมัยนี้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตัวเอง เป็นสิ่งที่สัตว์พึงปรารถนาและเป็นสิ่งที่สัตว์ขยะแขยงเช่นเดียวกันตลอดมา ทุกข์เป็นสิ่งที่น่าขยะแขยงหรือน่ากลัว ตั้งแต่โน้นมาถึงสมัยปัจจุบันนี้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตัวเอง เป็นสิ่งที่น่าขยะแขยงหรือน่ากลัวเหมือนกันหมดตลอดสาย ความสุขเป็นสิ่งที่สัตว์พึงปรารถนาก็ย่อมเป็นอย่างนั้นตลอดมาจนถึงบัดนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้นความพ้นจากทุกข์จะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปที่ไหน ถ้าไม่เป็นบรมสุขดังที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ และทรงรู้ทรงเห็นมาแล้ว
ผู้ใดได้ทำตัวให้รู้แจ้งเห็นจริงตามหลักธรรมชาติ ผู้นั้นก็คือเป็นผู้สมหวังเป็นผู้พ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวงเช่นเดียวกับครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ธรรมที่กล่าวนี้ทั้งหมดมีอยู่กับเราทุกๆ ท่าน ไม่ได้ไปที่ไหน แม้ขณะนี้ก็ฟังอยู่รู้อยู่เห็นอยู่ คือผู้รู้ๆ อยู่นี่แลจะค่อยขยายตัวเองสู่ความละเอียดแยบคายไปเป็นลำดับ หากได้รับการอบรมปฏิบัติตนอยู่เสมอ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ได้รับการบำรุงลำต้นเสมอ ก็มีวันที่จะผลิดอกออกผลให้ได้รับประโยชน์แก่ผู้เป็นเจ้าของฉะนั้น ดังนั้นในอวสานแห่งการแสดงธรรมก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา จึงขอยุติเพียงเท่านี้
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1746&CatID=2
.....................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=45069
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
sriyan3
sriyan3
ออฟไลน์
เครดิต
2969
4
#
โพสต์ 2014-6-25 08:17
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
สาธุ ขอบคุณครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...