ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนานพระเกจิอาจารย์แห่งแดนสยาม
»
พระองค์ที่ ๙ : สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
1
2
3
4
/ 4 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
เจ้าของ: kit007
พระองค์ที่ ๙ : สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
[คัดลอกลิงก์]
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
21
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-8 16:08
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
งานพระนิพนธ์
งานพระนิพนธ์ของ
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ก็มีเป็นจำนวนไม่น้อย
ส่วนใหญ่เป็นงานแปลพระสูตร หนังสือเทศนา และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
พระนิพนธ์ต่างๆ ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น ถือกันว่าเป็นงานชั้นครู
ทั้งในด้านเนื้อหา สำนวน และแบบแผนในทางภาษา โดยเฉพาะพระนิพนธ์เทศนา
มีอยู่เป็นอันมากที่ใช้เป็นแบบอย่างกันมาตั้งแต่ครั้งกระโน้นจนถึงปัจจุบัน
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ว่า
“แท้จริง บรรดาเทศนาทั้งหลายของสมเด็จพระสังฆราช วัดราชประดิษฐ์นั้น
พวกบัณฑิตย่อมนับถือกันว่า เป็นหนังสือแต่งดีอย่างเอกมาแต่ในรัชกาลที่ ๔
ถือกันว่าควรเป็นแบบอย่างทั้งในทางถ้อยคำและในทางปฏิภาณโวหาร
เป็นของที่ชอบอยู่ทั่วกัน”
พระนิพนธ์ต่างๆ เหล่านี้ หากได้มีการรวบรวมไว้ให้ครบถ้วน
ก็จักเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในทางพระศาสนาและสารคดีธรรมเป็นอย่างยิ่ง
เท่าที่รวบรวมรายชื่อได้ในคราวนี้ มีดังนี้
ประเภทพระสูตรแปล
๑. กาลามสูตร
๒. จักกวัตติสูตร
๓. จูฬตัณหาสังขยสูตร
๔. ทาฬิททิยสูตร
๕. ทีฆชาณุโกฬิยปุตตสูตร
๖. ธนัญชานีสูตร
๗. ธัมมเจติยสูตร
๘. ปราภวสูตร
๙. ปาสาทิกสูตร
๑๐. มหาธัมมสมาทานสูตร
๑๑. โลกธัมมสูตร
๑๒. สฬายตนวิภังคสูตร
๑๓. สัมมทานิยสูตร
๑๔. สุภสูตร
๑๕. เสขปฏิปทาสูตร
๑๖. อนาถปิณฑโกวาทสูตร
๑๗. อภิณหปัจจเวกขณปาฐะ
๑๘. อภิปปฏิสาสสูตร
๑๙. อากังเขยยสูตร
๒๐. อายาจนสูตร
๒๑. มหาสติปัฏฐานสูตร
ประเภทเทศนา
๑. ปฐมสมโพธิย่อ (๓ กัณฑ์จบ)
๒. เรื่องจาตุรงคสันนิบาตและโอวาทปาติโมกข์
๓. ปฐมสมโพธิ (แบบพิสดาร ๑๐ กัณฑ์จบ)
เรื่องนี้ใช้เป็นหนังสือหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี-เอก อยู่ในปัจจุบัน
๔. อนุปุพพิกถา (๕ กัณฑ์จบ)
๕. สาราทานปริยาย
๖. ธัมมฐิตัญญาณกถา
๗. ฉฟังคุเปกขากถา
๘. กัสสปสังยุตตกถา
๙. กฐินกถา
๑๐. วัสสูปนายิกกถา
๑๑. เทศนาจตุราริยสัจจกถา (๔ กัณฑ์จบ)
๑๒. ธุตังคกถา
๑๓. สัปปุริสธรรม ๗ ประการ
๑๔. อัฎฐักขณกถา
๑๕. อัฏฐมลกถา
๑๖. อัปปมัญญาวิภังคกถา
๑๗. จตุรารักขกรรมฐานกถา
๑๘. ธัมมุเทศกถา
๑๙. นมัสสนกถา
๒๐. ปวรคาถามารโอวาท
๒๑. ภัทเทกรัตตคาถา
๒๒. รัตตนัตตยปริตร (๓ กัณฑ์จบ)
๒๓. สังคหวัตถุและเทวตาพลี
๒๔. สรณคมนูปกถา
๒๕. สัตตาริยธนกถา
๒๖. สัพพสามัญญานุสาสนี
๒๗. อุกกัฎฐปฎิปทานุสาสนี
๒๘. โสกสัลลหรณปริยาย
๒๙. โสฬสปัญหา (๑๘ กัณฑ์จบ)
ต่างเรื่อง
๑. พระภิกขุปาติโมกข์แปลตรงคงตามบทพยัญชนะ
โดยพระบรมราชานุมัติในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒. พระภิกขุปาติโมกข์สิกขาบท
๓. วิธีบรรพชาอุปสมบทอย่างธรรมยุตติกนิกาย
๔. สวดมนต์ฉบับหลวง
๕. แปลธัมมปทัฎฐกถา ภาค ๑ (บางเรื่อง)
รวมพระนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่เป็นงานแปลพระสูตร ๒๐ สูตร
เทศนา ๗๐ กัณฑ์ และพระนิพนธ์เบ็ดเตล็ดต่างเรื่อง ๕ เรื่อง
เท่าที่รวบรวมได้ในขณะนี้ เข้าใจว่าคงยังไม่ครบบริบูรณ์
แต่ก็เป็นจำนวนเกือบ ๑๐๐ เรื่องซึ่งนับว่ามิใช่จำนวนน้อย
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
22
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-8 16:08
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระกรณียกิจพิเศษ
สมเด็จพระสังฆราช (สา)
ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ถวายพระมงคลวิเสสกถา
ซึ่งเป็นเทศนาพิเศษอย่างหนึ่ง เริ่มมีมาแต่ในรัชกาลที่ ๔
ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
และได้ถวายต่อมาในรัชกาลที่ ๕ จนตลอดพระชนมชีพของพระองค์ท่าน
เทศนาพระมงคลวิเสสกถา (วิเศษกถา)
เป็นเทศนาพิเศษอย่างหนึ่ง
ซึ่งพรรณนาพระราชจรรยาของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเพื่อประโยชน์
จะได้ทรงพระปัจจเวขณ์ (คือพิจารณา) ถึงแล้ว เกิดพระปีติปราโมทย์แล้ว
ทรงบำเพ็ญราชธรรมนั้นยิ่งๆ เป็นการอุปถัมภ์พระราชจรรยาให้ถาวรไพบูลย์
พระเถระที่จะรับหน้าที่ถวายพระมงคลวิเสสกถาในครั้งนั้น
สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เช่นในรัชกาลที่ ๔ ก็ทรงอาราธนา
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ แต่ครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่
พระสาสนโสภณ
เป็นผู้ถวาย
และได้ถวายต่อมาจนถึงในรัชกาลที่ ๕
เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ สิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรงอาราธนา
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
แต่ครั้งยังทรงดำรงพระยศ กรมหมื่น เป็นผู้ถวาย
และได้ถวายต่อมาจนถึงในรัชกาลที่ ๖
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
เมื่อสมเด็จพระสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้นสิ้นพระชนม์แล้ว
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
ได้เป็นผู้ถวายต่อมา เป็นต้น
ในปัจจุบัน
การถวายพระมงคลวิเสสกถา
เป็นหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราช
หรือพระเถระรูปใดรูปหนึ่งที่สมเด็จพระสังฆราชทรงมอบหมาย
นอกจากนี้ ยังทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
เมื่อคราวเสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖
และทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์ในการทรงผนวช
ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า และพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้า
ในพระบรมราชวงศ์จักรีหลายพระองค์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
23
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-8 16:09
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอัธยาศัย
เกี่ยวกับพระอัธยาศัยส่วนพระองค์นั้นเล่ากันว่า
ทรงปกครองบริษัทด้วยพระกรุณาอนุเคราะห์
และยกย่องสหธรรมิกด้วยธรรมและอามิสตามควรแก่คุณานุรูป
มีพระอัธยาศัยค่อนไปข้างทรงถือพระวินัยละเอียดลออมาก
หากเกิดความสงสัยในอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
แม้จะไม่เป็นอาบัติแท้ ก็จะทรงแสดงเสียเพื่อความบริสุทธิ์
กล่าวได้ว่า
เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา)
ทรงเป็นพระมหาเถระ
ที่เชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก และทรงธรรมทางวินัยอย่างแท้จริงพระองค์หนึ่ง
จึงทรงเป็นที่เคารพสักการะแห่งพุทธบริษัททุกหมู่เหล่าเป็นอย่างยิ่ง
นับแต่องค์สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้นตลอดจนคณะสงฆ์และพุทธบริษัททั่วไป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
24
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-8 16:10
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอวสานกาล
ในตอนปลายแห่งพระชนม์ชีพ
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ประชวรด้วยพระโรคบิดประกอบกับพระโรคชรา
สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๔๒
ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๒ ปีกุน
ในรัชกาลที่ ๕ นับพระชนมายุได้ ๘๗ พรรษา โดยปี
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงดำรงอยู่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา ๕ ปี ๑ เดือน ๑๓ วัน
ทรงครอง
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสาราม
๓๔ ปี
หลังจากที่
เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา)
สิ้นพระชนม์แล้ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก็มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกเลยจนตลอดรัชกาล
จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่ถึง ๑๑ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๕๓)
เช่นเดียวกับในครั้งรัชกาลที่ ๔
หลังจากที่
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ซึ่งทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือ สิ้นพระชนม์แล้ว
ก็มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชจนตลอดรัชกาลเช่นเดียวกัน
จึงว่างเว้นสมเด็จพระสังฆราชอยู่เป็นเวลานานถึง ๑๕ ปี
นำให้เข้าใจว่า แต่โบราณมานั้น พระเถระที่จะได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น
เฉพาะที่เป็นที่ทรงเคารพนับถือเป็นพิเศษ โดยฐานเป็นพระราชอุปัธยาจารย์
หรือพระราชกรรมวาจาจารย์ หรือพระอาจารย์เท่านั้น
ดังนั้น ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ซึ่งทรงเคารพนับถือมากโดยฐานทางเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ สิ้นพระชนม์แล้ว
จึงมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีก
และในรัชกาลที่ ๕
เมื่อ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
พระราชอุปัธยาจารย์
และ
สมเด็จพระสังฆราช (สา)
พระราชกรรมวาจาจารย์
สิ้นพระชนม์แล้ว ก็มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใด
เป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกเช่นกันจนตลอดรัชกาล
พระโกศพระศพสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
ประดิษฐาน ณ พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
25
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-8 16:10
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การพระศพ
การพระศพ
เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา)
นั้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ได้พระราชทานพระเกียรติยศเป็นพิเศษ
มาจนตั้งแต่ต้นสิ้นพระชนม์จนถึงการขึ้นพระเมรุ
โดยฐานที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นที่ทรงเคารพอย่างยิ่ง
การพระศพตั้งแต่ต้นจนถึงการพระเมรุพระราชทานเพลิงศพนั้น
ได้มีแจ้งในการแถลงการณ์พระสงฆ์ ดังนี้
นับตั้งแต่ได้เลื่อนเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้วมาได้ ๖ ปีเศษ
ประชวรเป็นโรคบิดมาตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒)
ครั้นต่อมาเป็นพระโรคชรา แพทย์หลวงและแพทย์เชลยศักดิ์
ได้ประกอบพระโอสถถวาย พระอาการหาคลายไม่
ถึงวันที่ ๑๑ มกราคม ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) เวลา ๘ ทุ่ม ๒๐ นาที
สมเด็จพระสังฆราช
ก็สิ้นพระชนม์ พระชนม์ได้ ๘๗ พรรษา
หากคำนวณตามสุริยคติ พระชนม์ได้ ๘๖ กับ ๔ เดือน ๒๑ วัน
เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๑๘ เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากพระราชวังบางปะอิน ทรงเครื่องขาว
และโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์
ที่เป็นอันเตสวาสิก และสัทธิวิหาริก ทรงขาวทั่วกัน
แล้วเสด็จพระราชดำเนินโดยรถพระที่นั่งมาประทับวัดราชประดิษฐ์
เสด็จขึ้นบนตำหนักสูง ทรงจุดเทียนเครื่องทองน้อยสักการะพระศพแล้ว
พระราชทานน้ำสรงแลพระศพ เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์กลองชนะแล้ว
พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการก็ได้สรงน้ำพระศพต่อไปแล้ว
เจ้าพนักงานแต่งพระศพ เชิญพระศพลงในพระรองใน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสวมชฎาพระราชทานแล้วยกรองในพระศพ
ลงมาที่ตำหนักใหญ่ เชิญขึ้นประดิษฐานเหนือแว่นฟ้า ๒ ชั้น
ประกอบพระโกศกุดั่นน้อย ห้อยเศวตฉัตร ๓ ชั้น เบื้องบนแวดล้อมด้วยเครื่องสูง
แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จลงมาประทับตำหนักนั้น
ทรงจุดเทียนนมัสการเครื่องทองน้อยแล้ว ทรงทอดผ้าไตร ๓๐ ผ้าขาว ๖๐ พับ
พระสงฆ์สดับปรณ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับ
พระราชทานเครื่องประโคมพระศพ สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง
กลองชนะแดง ๑๐ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑
แลพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมตามพระเกียรติยศ
เมื่อสิ้นพระชนม์ล่วงมาครบ ๗ วัน ได้มีการพระราชทานกุศลเป็นส่วนของหลวง
มีพระสงฆ์สวดมนต์ฉันเช้า แลเทศนาตามธรรมเนียม
และต่อมาทุกวัน ครบ ๗ วัน พระบรมวงศานุวงศ์ที่เป็นศิษย์ได้ผลัดเปลี่ยน
มีการบำเพ็ญพระกุศลทุกคราวเป็นลำดับมาจนครบถึง ๑๐๐ วัน
ครั้นถึงวันที่ ๒๑ เมษายน ร.ศ. ๑๑๙ เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปที่ตำหนักไว้พระศพ
ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลศราทธพรต มีพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์
พระสงฆ์ ๒๐ รูป สวดสรภัญคาถา เสร็จแล้วเสด็จกลับ
เมื่อพระราชทานเพลิงศพ และพระศพใหญ่เสร็จแล้ว
ทรงพระราชดำริเห็นสมควร ที่จะพระราชทานพระเกียรติยศ
สมเด็จพระสังฆราชให้เป็นพิเศษส่วนหนึ่ง
จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานจัดคฤห์
เป็นที่ประทับทรงบำเพ็ญพระราชกุศลขึ้น
ที่ยกพื้นระหว่างพระเมรุมณฑปและพระเมรุพิมานแต่ก่อนนั้น
และจัดการปลี่ยนแปลงภายในพระเมรุมณฑปดาดเพดานด้วยผ้าขาว
ม่านผ้าขาวลายดอกไม้เป็นต้น แล้วจัดชั้นตั้งแว่นฟ้า ๓ ชั้น
มีฐานคูหาและฐานเบี่ยง สำหรับประดิษฐานในพระเมรุมณฑป
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
26
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-8 16:11
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แลโปรดเกล้าฯ ให้ขอแรงพระบรมวงศานุวงศ์
ซึ่งทรงผนวชและพระราชาคณะผู้ใหญ่
ตั้งเครื่องบูชากระเบื้องฝรั่ง (คือเครื่องกระหลาป๋า)
ที่ม้าหมู่ ๔ ทิศ แลที่ช่องคฤห์ ๕ ช่อง
แลถอนฉัตรทองเป็นต้นออก คงมีแต่ฉัตรเบญจรงค์
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) เวลา ๑๐ ทุ่ม ๒๐ นาที
เจ้าพนักงานจัดตั้งกระบวนแห่พระศพสมเด็จพระสังฆราช
แต่หน้าวัดราชประดิษฐ์ เดินกระบวนแห่ไปหยุดหน้าวัดพระเชตุพน
เชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนราชรถ ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่
มีพุ่มข้าวบิณฑ์ห้อยเฟื่องเศวตฉัตรคันดาล ๓ ชั้น กั้นพระศพเป็นพระเกียรติยศ
รุ่งขึ้นวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ เวลาย่ำรุ่งเศษ
เจ้าพนักงานจัดตั้งกระบวนแห่พระศพต่อไป
กระบวนเคลื่อนแห่อยู่หน้าแล้วถุงเสลี่ยงกง
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ดูพระอภิธรรมและโยงพระศพราชรถ
กระบวนหลังมีศิษย์เชิญเครื่องยศตาม และ
พระครูฐานานุกรม
ในพระศพ
แลพวกข้าราชการราษฎรที่เป็นศิษยานุศิษย์นุ่งขาว
แล้วถึงพระสงฆ์ดำรงสมณศักด์มี
หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต
นั่งเสลี่ยงป่ากั้นกลด
ถัดมา
พระพิมลธรรม
พระธรรมวโรดม
นั่งแคร่กั้นสัปทนโหมด
แลพระราชาคณะนั่งแคร่กั้นสัปทนแดง
รวม ๓๐ คู่ และพระครูบานานุกรมเปรียญพระศพด้วย
เสร็จแล้ว รอเสด็จพระราชดำเนินอยู่
เวลาเช้า ๒ โมง ๒๐ นาที
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องเต็มยศทหารมหาดเล็ก
เสด็จทรงรถพระที่นั่ง แต่พระบรมมหาราชวัง
ไปประทับพลับพลายกริมถนนสามไชย ตรงป้อมเผด็จดัสกร
ทอดพระเนตรกระบวนแห่ เจ้าพนักงานเดินขบวนไปตามถนนสนามไชย
ผ่านหน้าพระที่นั่งไป เมื่อสุดกระบวนพระสงฆ์แล้ว
เสด็จทรงรถพระที่นั่งไปประทับบนพระเมรุ
เจ้าพนักงานเชิญโกศพระศพขึ้นพระประดิษฐาน
แล้วเสด็จประทับที่คฤห์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสดับปกรณ์
เสร็จแล้วเสด็จกลับพระบรมมหาราชวัง
เวลาเช้า ๕ โมงเศษ เมื่อเสด็จกลับแล้วโปรดเกล้าฯ
ให้พวกศิษย์ทอดผ้าสดัปปกรณ์ และมีเทศน์ต่อไป
เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องเช่นวานนี้
เสด็จทรงรถพระที่นั่งแต่พระบรมมหาราชวัง ไปประทับที่พระเมรุ
ทรงทอดผ้าสดับปกรณ์ พระสงฆ์สดับปกรณ์แล้ว
ทรงจุดเพลิงพระราชทานเพลิงพระศพ แล้วเสด็จกลับประทับในพระเมรุพิมาน
พระบรมวงศานุวงศ์แลข้าราชการฝ่ายในฝ่ายหน้า
แลพระสงฆ์กับราษฎรที่เป็นศิษย์ถวายพระเพลิงต่อไป
แล้วเสด็จมาประทับพลับพลาทอดพระเนตรการเล่นต่างๆ เวลา ๒ ยามเศษเสด็จกลับ
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ เวลาเช้า ๒ โมง ๑๕ นาที
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จทรงรถพระที่นั่งแต่พระบรมมหาราชวัง
ไปประทับที่คต โปรดเกล้าฯ ให้พวกญาติและศิษย์เดินสามหาบครบ ๓ รอบ
แล้วโปรยเงิน แล้วเสด็จขึ้นไปประทับที่พระเมรุ
ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์ แล้วทรงโปรยเงิน
และทรงเก็บอัฐิบรรจุลงในพระเจดีย์ศิลาแล้ว
พระราชทานพระทนต์สมเด็จพระสังฆราชให้พระบรมวงศานุวงศ์
แลข้าราชผู้ใหญ่ที่เป็นศิษย์ ส่วนพระอัฐิที่เหลือจากนั้น
โปรดเกล้าฯให้พระสงฆ์และคฤหัสถ์ ที่เป็นศิษย์และญาติวงศ์ไปเก็บไว้สักการบูชา
ส่วนพระอังคารนั้น เจ้าพนักงานเชิญลงไปในพระลุ้ง
เสร็จแล้วเสด็จไปประทับคฤห์ ทรงประเคนอาหารบิณฑบาตแด่พระสงฆ์
ครั้นรับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานเชิญพระอัฐิเจดีย์มาตั้งบนม้าหมู่
จึงทอดผ้าสดับปกรณ์พระอัฐิ
เสร็จการสดับปกรณ์เสด็จกลับพระบรมมหาราชวัง
เวลา ๓ โมง ๔๕ นาที เจ้าพนักงานจัดตั้งกระบวนแห่พระอัฐิแลพระอังคาร
มีพระสงฆ์สมณศักดิ์แลพระอันดับในวัดราชประดิษฐ์แลวัดอื่นบ้าง
พวกคฤหัสถ์ที่เป็นศิษย์บ้าง ตามไปส่งที่วัดราชประดิษฐ์
เป็นการเสร็จการพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระสังฆราชแต่เท่านี้
การพระราชกุศล นับเนื่องในสัตตมวาร
แลการบรรจุพระอังคารสมเด็จพระสังฆราช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เจ้าพนักงานจัดการพระราชกุศล ได้เชิญอัฐิเจดีย์ศิลาทอง
แลลุ้งพระอังคาร บนม้าหมู่เหนือแท่นภายใต้เศวตฉัตร ๓ ชั้น ในพระวิหาร
แล้วจัดตั้งอาสนะสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์พร้อมเสร็จ
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๙ (พ.ศ. ๒๔๔๓) เวลาเช้า
พระสงฆ์ ๑๐ รูปรับประราชทานแล้วมีสดับปกรณ์รายร้อยอีก
เวลาบ่ายพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว
โปรดเกล้าฯ ให้
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
เสด็จไปทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ ๑๐ รูป สดับปกรณ์แลถวายอนุโมทนาแล้ว
เจ้าพนักงานเชิญพระอังคารไปสู่พระปรางค์เขมร ซึ่งตั้งอยู่หลังเจดีย์ด้านใต้
สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธ์วงศ์วรเดช
แต่ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จกรมพระ
เสด็จไปทรงบรรจุพระอังคาร บรรจุพระอังคารแล้วมีเทศนา ๑ กัณฑ์
เป็นเสร็จการพระราชกุศลแต่เท่านี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
27
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-8 16:12
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ด้านหน้าประตูทางเข้าพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐ์ฯ
ประวัติและความสำคัญของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
และ
เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นพระอารามหลวงของพระมหากษัตริย์
ตามโบราณพระราชประเพณี และทรงรับเข้าอยู่ใน
พระบรมราชูปถัมภ์ของพระกษัตริย์ทุกพระองค์สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้
(ตามธรรมเนียมโบราณพระราชประเพณีนั้นมีว่า
ในราชธานีหรือเมืองหลวงจะต้องมีวัดสำคัญประจำ ๓ วัดด้วยกัน
คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบุรณะ และวัดราชประดิษฐ์
เช่นที่สุโขทัย สวรรคโลก พิษณุโลก และพระนครศรีอยุธยา
แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาวัดสลักเป็นวัดนิพพานาราม และเปลี่ยนเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์
แต่ต่อมามีพระราชดำริว่า ในกรุงเทพฯ ยังไม่มีวัดมหาธาตุ
จึงเปลี่ยนชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดมหาธาตุ
และพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ ๑ ทรงบูรณะวัดเลียบ ต่อมาได้นามว่า วัดราชบุรณะ
ขณะนั้นกรุงรัตนโกสินทร์ยังขาดอยู่เพียงวัดเดียวคือวัดราชประดิษฐ์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
นับได้ว่า วัดราชประดิษฐเป็นพระอารามหลวงที่สำคัญยิ่ง
พระอารามหนึ่งในพระบรมราชจักรีวงศ์)
พระวิหารหลวง
พระราชประสงค์อีกประการหนึ่งในการสร้างวัดราชประดิษฐ์ฯ นั้นขึ้น
ก็เพื่ออุทิศถวายแด่พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกายโดยเฉพาะ
เนื่องจากครั้งยังทรงผนวชอยู่ ทรงเป็นหัวหน้านำพระสงฆ์ชำระข้อปฏิบัติ
ก่อตั้งคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายขึ้น
รวมทั้งทรงมีพระราชประสงค์จะสร้างวัดธรรมยุติกนิกายขึ้น
ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง เพื่อพระองค์และข้าราชบริพาร
ที่ต้องการทำบุญกับวัดธรรมยุติกนิกาย ไม่ต้องเดินทางไปไกลนัก
แต่ก่อนหากต้องการจะไปทำบุญกับพระสงฆ์ธรรมยุตต้องไปที่วัดบวรนิเวศวิหาร
ซึ่งเมื่อก่อนนั้นการเดินทางจากพระบรมมหาราชวังไปวัดบวรนิเวศวิหาร
จะต้องลงเรือที่ท่าราชวรดิษฐ์เข้าไปทางคลองรอบกรุง นับว่าไปลำบาก
พระอารามนี้จึงนับเป็นพระอารามแรกของคณะสงฆ์ธรรมยุต
เพราะวัดธรรมยุตก่อนๆ นั้น ได้ดัดแปลงมาจากวัดมหานิกายเดิมทั้งนั้น
วัดราชประดิษฐ์ฯ จึงเป็นเสมือนวัดต้นแบบของคณะธรรมยุติกนิกาย
ที่มีอยู่ในพุทธอาณาจักรบนแผ่นดินไทยนับแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
28
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-8 16:13
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
วัดราชประดิษฐ์ฯ
สร้างขึ้นในที่ดินที่เคยเป็นสวนกาแฟอยู่ริมวังของหลวง
โดยก่อสร้างใน พ.ศ. ๒๔๐๗ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินจากกรมพระนครบาล
เมื่อทรงได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์แล้ว จึงได้ทรงประกาศสร้างวัดธรรมยุตขึ้น
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗ และทรงพระราชทานนามวัดไว้ตั้งแต่กำลังทำการก่อสร้างว่า
“วัดราชประดิษฐ์สถิตธรรมยุติการาม”
มีพระราชประสงค์จะถมพื้นที่ให้สูงขึ้น จึงทรงใช้ไหกระเทียมที่นำมาจากเมืองจีน
หรือเศษเครื่องกระเบื้องถ้วย ชาม ที่แตกหักมาถมที่แทนดินและทราย
ที่อาจจะทำให้พื้นทรุดตัวในภายหลังได้
(วัสดุดังกล่าวมีเนื้อแกร่ง ไม่ผุ ไม่หดตัว และมีน้ำหนักเบาจึงเท่ากับการใช้เสาเข็ม
ที่สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ในปัจจุบันนั่นเอง)
พระพุทธสิหังคปฏิมากร พระประธานในพระวิหารหลวง
วิธีการหาไหกระเทียม และเครื่องถ้วยกระเบื้องทั้งหลายเป็นจำนวนมากๆ นั้น
พระองค์ทรงใช้วิธีออกประกาศบอกบุญเรี่ยไร
ให้ประชาชนนำไหกระเทียมมาร่วมพระราชกุศล
โดยเก็บค่าผ่านประตูเป็นไหกระเทียม ไหขนาดเล็ก ขวด ถ้ำชา
และเครื่องกระเบื้องอื่นๆ และทรงอนุญาตให้ประชาชนไปดูการนำไหลงฝัง
เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าพระองค์จะทรงใช้ไหกระเทียมเหล่านั้น
บรรจุเงินทองฝังไว้ในวัด
เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงได้เปลี่ยนเป็น
“วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม”
เพื่อให้เหมาะสมกับเป็นที่ประดิษฐานหลักศิลา
ซึ่งเป็นสีมามีจารึกคาถาบาลี และภาษาไทย ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์รวม ๑๐ หลัก
ปรากฏในประกาศเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ เรื่องประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐ์ให้ถูก
อนึ่ง ในอดีตได้มีผู้เรียกวัดราชประดิษฐ์ว่า
วัดราชบัณฑิต
บ้าง
หรือ
วัดทรงประดิษฐ์
บ้าง ซึ่งไม่ถูกต้องกับที่พระราชทานนามไว้
จึงทรงกำชับว่า ให้เรียกชื่อวัดว่า
“วัดราชประดิษฐ์”
หรือ
“วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม”
ถึงกับทรงออกประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า
ต่อไปถ้ามีผู้อุตริเรียกชื่อวัดผิดหรือเขียนชื่อวัดไม่ตรงกับที่ทรงตั้งชื่อไว้คือ
“วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม”
แล้วให้ปรับผู้นั้นเป็นเงิน ๒ ตำลึง เพื่อเอาเงินมาซื้อทรายโปรย
ในประกาศฉบับนี้มีข้อความน่าอ่านมาและเป็นฐานในแง่ของประวัติศาสตร์โบราณคดี
จึงขอคัดลอกนำมาลงให้อ่านทั้งฉบับ ดังนี้
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
29
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-8 16:14
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ปาสาณเจดีย์ พระเจดีย์หินอ่อนทรงลังกาองค์ใหญ่
• ประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐ์ฯ ให้ถูก
ณ วันจันทร์ เดือน ๙ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก
มีพระบรมราชโองการบารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท
ให้ประกาศแก่ข้าทูลฉลองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายใน
ผู้ใหญ่ผู้น้อยทุกหมู่ทุกกรมทุกพนักงาน และพระสงฆ์สามเณร
ทวยราษฎร์ทั้งปวงในกรุงเทพฯ แลหัวเมืองให้ทราบทั่วกัน
พระอารามซึ่งทรงบริจาคพระราชทรัพย์ให้จัดซื้อที่
แล้วทรงสถาปนาสร้างขึ้นในทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง
พระราชทานนามไว้ว่า วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
ตามธรรมเนียมโบราณซึ่งเคยมีมาในเมืองใหญ่ๆ ที่ตั้งเป็นกรุงมหานคร
อย่างเมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิษณุโลก และกรุงเก่า
คือ มีวัดมหาธาตุ วัดราชประดิษฐ์ และวัดราชบุรณะ
เป็นของสำหรับเมืองทุกเมือง
และนามชื่อวัดราชประดิษฐ์ในครั้งนี้แต่เดิมเริ่มแรกสร้างก็ได้โปรด
ให้เขียนในแผ่นกระดาษปักไว้เป็นสำคัญ
ภายหลังโปรดให้จาฤกชื่อนั้นลงในเสาศิลาติดตามกำแพงนั้นก็มี
แต่บัดนี้มีผู้เรียกและเขียนลงในหนังสือตามดำริห์ของตนเองว่าวัดราชบัณฑิตบ้าง
วัดทรงประดิษฐ์บ้าง เปลี่ยนแปลงไปไม่ถูกต้องตามชื่อที่พระราชทานไว้แต่เดิม
ทำให้เป็นสองอย่างสามอย่างเหมือนขนานชื่อขึ้นใหม่
เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้สืบต่อไป ห้ามอย่าให้ใคร
เรียกร้องและกราบบังคมทูลพระกรุณา
และเขียนลงในหนังสือบัตรหมายในราชการต่างๆ ให้ผิดๆ ไป
จากชื่อที่พระราชทานไว้นั้นเป็นอันขาด
ให้ใช้ว่าวัดราชประดิษฐ์ ฤาว่าให้สิ้นชื่อว่า
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ให้ยั่งยืนคงอยู่ดังนี้
ถ้าผู้ใดได้อ่านและฟังคำประกาศนี้แล้วขัดขืนใช้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนแปลงไป
จะให้ปรับไหมแก่ผู้นั้นเป็นเงินตรา ๒ ตำลึง
มาซื้อทรายโปรยในพระอาราม วัดราชประดิษฐ์นั้นแล
ประกาศมา ณ วันจันทร์ เดือน ๙ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก
พระปรางค์ขอม ที่บรรจุพระอังคารของอดีตเจ้าอาวาส
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
kit007
kit007
ออฟไลน์
เครดิต
32163
30
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-6-8 16:15
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
• ทรงอาราธนาพระสาสนโสภณมาเป็นเจ้าอาวาส
หลังจากทรงสร้างเสร็จแล้ว ได้ทรงอาราธนา
พระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว)
หรือสามเณรสา ผู้สอบเปรียญ ๙ ประโยคได้ขณะเป็นสามเณร
เป็นสามเณรนาคหลวง สายเปรียญธรรมรูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์
จากวัดบวรนิเวศวิหาร มาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ ปีฉลู
ทรงกระทำการสมโภชทั้งเจ้าอาวาสและวัดใหม่เป็นเวลา ๓ วัน
กล่าวกันว่า ที่ทรงเจาะจงอาราธนา
พระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว)
มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกปกครองวัดราชประดิษฐ์ ก็เพราะพระสาสนโสภณ
เป็นศิษย์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดมาก
เมื่อมีเจ้าอาวาสปกครองวัดเรียบร้อยแล้ว
หน้าที่ในการทะนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์และบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม
ก็เป็นอันพันไปจากพระราชภาระ แต่ก็มิได้ทรงทอดทิ้ง
ยังใฝ่พระทัยในวัดราชประดิษฐ์อยู่เสมอ โดยทรงรับเข้าอยู่ใน
พระบรมราชูปถัมภ์เป็นพิเศษยิ่งกว่าวัดหลวงอื่นๆ ตลอดรัชสมัยของพระองค์
ดังความตอนหนึ่งที่
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงเล่าถึงพระราชประเพณีถวายพุ่มพระในวัดต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ไว้ว่า
“วัดราชประดิษฐ์นั้น ในพระบรมราชาธิบายว่าตั้งแต่สร้างวัด
ทูลกระหม่อมก็เสด็จไปถวายพุ่มพระทั้งวัดทุกปี ดูทำนองอย่างเป็นเจ้าของวัด
ที่เสด็จไปถวายพุ่มพระวัดราชบพิธทั้งวัดในรัชกาลที่ ๕
ก็ทำตามอย่างวัดราชประดิษฐ์ นั่นเอง...”
เมื่อการสร้าง
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
สำเร็จเรียบร้อยสมบูรณ์
ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทุกประการ
คือทรงซื้อที่สร้างวัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
เริ่มสร้างวัดราชประดิษฐ์ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๗
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้ประกอบพระราชพิธีผูกพัทธสีมา
ในวันที่ ๗-๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๐๘
และทรงอาราธนาศิษย์เอกผู้ทรงคุณวุฒิ คือ
พระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว)
พร้อมทั้งพระอนุจรอีก ๒๐ รูป มาเป็นเจ้าอาวาสและพระลูกวัด
ตุ๊กตาอับเฉาจีนด้านข้างพระวิหารหลวง
ต่อจากนั้น ก็ทรงทะนุบำรุงรับวัดราชประดิษฐ์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
เป็นพิเศษยิ่งกว่าวัดหลวงอื่นๆ ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์
วัดราชประดิษฐ์ก็เจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
นั้น
เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นโรงเรือนที่อยู่อาศัยของข้าราชการ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงขอซื้อที่เพื่อสร้างวัดธรรมยุติกนิกาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗
เพื่อสำหรับเจ้านาย ข้าราชการ ฝ่ายหน้า-ใน ได้บำเพ็ญกุศลสะดวกขึ้น
เนื่องเพราะตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
หน้าถัดไป »
1
2
3
4
/ 4 หน้า
ถัดไป
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...