ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2647
ตอบกลับ: 5
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

เพ่งพิศ พินิจลายสลัก ปราสาทหินโบราณ พิมาย

[คัดลอกลิงก์]
เพ่งพิศ พินิจลายสลัก ปราสาทหินโบราณ พิมาย เดินทางมาถึงตอนสุดท้ายแล้วครับ ในตอนนี้ก็ถือว่าเป็นการเก็บตกสำหรับภาพสลักทับหลังที่พบในปราสาทโบราณแห่งนี้ ถึงแม้บางชิ้นไม่อาจระบุตำแหน่งได้ว่าเคยประดับอยู่ที่ไหน บริเวณใด ทับหลังบางส่วนถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พิมาย เรามาตามไปดูกันครับ



ภาพสลักบนทับหลังชิ้นนี้ถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ครับ เป็นภาพบุคคล แสดงท่าทางเสมือนการต่อสู้ บุคคลบริเวฯด้านซ้ายทำท่าแผลงศรมองเห็นได้ชัดเจน บุคคลด้านข้างทางซ้ายมือถือคันศรเช่นเดียวกัน เเป็นที่น่าเสียดายเศียรของทั้งคู่ได้หายไป ส่วนด้านซ้ายสลุดสลักเป็นภาพสตรี อยู่ในท่านั่ง ส่วนบุคคลเรียงแถวทางด้านขวาเป็นภาพคล้ายอสูรยืนถืออาวุธ ขวาสุดเป็นสตรียืนอยู่เช่นกัน สันนิษฐานว่าภาพสลักดังกล่าวเล่าเรื่องรามายณะ บุคคลทั้งสามทางซ้ายอาจเป็นพระราม พระลักษณ์และนางสีดา แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นตอนใด


ที่มา http://sedthapong.blogspot.com/2013/10/6_6.html
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-6 02:25 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ทับหลังชิ้นที่สองถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เช่นกันครับ ซึ่งเหมือบกับทับหลังที่อยู่ในมณฑปของปราสาทประธาน ซึ่งเป็นภาพสลักพุทธประวัติเล่าเรื่อง ตอน มารวิชัย พระพุทธรูปตรงกลางทับหลังถือว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่เก่าที่สุดที่ถูกค้นพบเลยก็ว่าได้ครับ ส่วนรายละเอียดภาพบนทับหลังได้เล่าไปแล้วในตอนที่สองครับ

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-6 02:27 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้



ภาพสลักบนทับหลังชิ้นต่อไปแสดงภาพพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืน ปางแสดงธรรมภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว ตัวทับหลังแตกหักเป็นสองส่วน องค์พระห่มจีวรที่มีลักษณะเฉพาะ สบงมีริ้วคล้ายหางปลาอยู่ด้านหน้า คล้ายเครื่องนุ่งห่มสตรี สันนิษฐานว่าเป็นพระในนิกายมหายาน แต่ไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าเป็นนิกายมหายานใด

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-6 02:28 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ทับหลังแสดงภาพขบวนทัพ ปรากฎบุคคลนั่งอยู่บนคานหามที่ด้านหน้าเป็นนาคหลายเศียร มีหมู่พลลิงเป็นผู้แบก ด้านข้างมีลิงที่มีขนาดเล็กกว่าประโคมดนตรี ลักษณะคล้ายฆ้อง   สันนิษฐานว่าเป็นภาพสลักเล่าเรื่องรามายณะ ตอนสุครีพ เดินทัพไปช่วยพระรามเพื่อไปกรุงลงกา

                      ทับหลังชิ้นต่อไปเป็นการเล่าเรื่อง การกวนเกษียรสมุทร เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเทพและเหล่าอสูร เป็นที่ทราบดีว่าเทพกับอสูร เจอกันมีอันต้องต่อสู้อยู่ร่ำไปมี ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ เป็นเช่นนี้มาตลอด มาวันหนึ่งก็มีฤาษีทุรวาส ผู้มีฤทธิ์เก่งกล้า ได้พบพระอินทร์โดยบังเอิญ ฤาษีได้ถวายดอกไม้แก่พระอินทร์ ซึ่งพระองค์ก็ได้รับไว้และวางดอกไม้นั้นไว้บนเศียรช้างของพระองค์ ด้วยความรำคาญหรืออย่างไรไม่อาจทราบได้ ช้างเจ้าก็เอางวงดึงดอกไม้มาขยี้ทิ้งเสีย คราวนี้ก็เป็นเรื่องหล่ะครับ ฤาษีเห็นเข้าต่อหน้าต่อตาก็โมโหป็นฟืนเป็นไฟ ไม่ฟังความอะไรทั้งนั้น ด้วยความโกรธ ฆ่าได้แต่อย่าหยาม จึงสาปให้เหล่าเทวดาทั้งปวง ให้รบแพ้อสูรทุกคราที่รบกัน พระอินทร์ที่เป็นหัวหน้าเทวดาก็โดนไปด้วย หลังจากนั้นรบกันทีไรเหล่าเทวดาก็มีอันต้องปราชัยทุกที เมื่อเป็นเช่นนี้พวกเทวดาจึงเห็นว่า สวรรค์คงถึงคราสูญสิ้นเข้าสักวัน จึงไปขอความช่วยเหลือจากพระนารายณ์
                       พระนารายณ์ เมื่อทราบเรื่องก็ทรงสงสาร แนะะนำให้ทำพิธีกวนเกษียรสมุทร เพื่อทำน้ำอมฤต ใครได้ดื่มกินไม่มีวันตาย แต่การกวนเกษียรสมุทรนั้นลำพังเหล่าเทพเทวดาเองไม่สามารถทำได้ ต้องให้พวกอสูรร่วมด้วย  เห็นควรเจรจาสงบศึกชั่วคราว หลังจากที่ได้นำอมฤตแล้วก็จะแบ่งกัน พวกอสูรจึงตกลง การกวนเกษียรสมุทร จึงเกิดขึ้น
                         เนื่องจากเป็นพิธีใหญ่มาก ต้องเอายอดเขา มันทระ มาทำเป็นไม้กวน ใช้พญาอนันตนาคราชมาทำเชือก ให้เหล่าเทพและอสูรดึงกันคนละข้าง ฝ่ายเทพออกอุบายให้พวกอสูรไปดึงทางด้านหัวของพญานาค ส่วนพวกตนดึงด้านหาง แต่เนื่องด้วยการกวนเกษียรสมุทรใช้เวลายาวนาน ยอดเขาที่ใช้กวนจะทะลุพื้นโลก พระนารายณ์จึงต้องอวตารไปเป็นเต่ายักษ์ เพื่อเอากระดองไปรอบรับไว้ แท่งเขามันทระไว้
                         การกวนใช้เวลาเป็นพันปีครับ พญาอนันตนาคราช ต้องทนเจ็บปวดเป็นเชือกถูกดึงไปดึงมา ในที่สุดก็ทนไม่ไหว ต้องสำรอกพิษร้ายออกมา เหล่าอสูรที่ดึงอยู่ด้านหัว จึงโดนพิษได้รับความเจ็บปวดอีกทั้งล้มตายเป็นอันมาก และถ้าพิษตกลงบนโลกจะทำให้เหล่ามนุษย์และสัตว์พากันตายหมด พระศิวะผุ้เปี่ยมด้วยความเมตตาต่อมนุษย์และสัตว์เห็นดังนั้น พระองค์จึงปรากฎกายขึ้นเพื่อดูดเอาพิษร้ายไว้ แต่พิษนั้นรุนแรงมาก ทำให้พระศอของพระองค์เปลี่ยนเป็นสีคล้ำและดำ ด้วยเหตุนี้เอง องค์ศิวะมหาเทพจึงมีอีกสองพระนาม คือ วิษกัณฐ์ หมายถึง ผู้มีพิษอยู่ที่ลำคอ และ นีลกัณฐ์  มีความหมายถึง ผู้มีคอสีดำ นั่นเองครับ

5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-6 02:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พวกเทพกับอสูรยังคงกวนเกษียรสมุทรกันต่อ จนในที่สุดก็ปรากฎของวิเศษขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่อย่างเดียวนะครับ มีทั้งหมด 14 อย่าง ทะยอยปรากฎขึ้นดังนี้


1. พระจันทร์ พระศิวะหยิบไปปักไว้บนเกศา สังเกตุรูปพระศิวะจะมีพระจันทร์เสียวประดับอยู่บนเกศาเสมอ
2. เพชรเกาสตุภะ ที่พระนารายณ์นำไปประดับพระอุระ
3. ดอกบัวลอยขึ้นมาพร้อมพระลักษมี มีรูปงดงาม ต่อมากลายเป็นชายาของพระนารายณ์
4. วารุณี เทวีแห่งสุรา
5. ช้างเอราวัณ ซึ่งพระอินทร์ได้นำไปเป็นช้างทรง
6. ม้าอุจฉัยศรพ ซึ่งพระอาทิตย์นำไปเทียมรถทรง
7. ต้นปาริชาติ เป็นต้นไม้ทิพย์ที่ใครได้กลิ่นก็จะระลึกชาติได้
8. โคสุรภี ผู้ให้ทุกอย่างตามที่ปรารถนา เหล่าเทวดาได้ยกให้พระวิสิษฐ์มุนี
9. หริธนู
10. สังข์
11. นางอัปสรสวรรค์ ปรากฎขึ้นมามากมาย
12. พิษร้าย บางส่วนกระเด็นตกจนถึงโลกเบื้องล่าง กล่าวกันว่าเหล่านาคและงูได้มาดูดพิษไป
13. แพทย์สวรรค์ ซึ่งเทวแพทย์ ผุดขึ้นมาพร้อมกับได้ทูนหม้อน้ำอมฤตมาด้วย นับเป็นของวิเศษชิ้นสุดท้าย
                      เมื่อได้น้ำอมฤต มาดังต้องการ พระนารายณ์ทรงเห็นว่าถ้าพวกอสูรมาดื่มกินก็จะเป็นอมตะ ซึ่งก็คงเป็นเรื่องไม่ดีแน่ จึงอาศัยช่วงชุลมุล ที่เหล่าเทวดา อสูรแย่งของวิเศษกัน แปลงเป็นนางฟ้าโรหิณี ไปยั่วยวนเหล่าอสูร ซึ่งอสูรก็ไม่ทิ้งลายครับ เห็นหญิงรูปงามก็พากันตามไปเสียหมด
                       แต่มีอสูรตนหนึ่งที่ไม่หลงกลครับ นามว่า ราหู อาศัยช่วงชุลมุลเช่นกันแปลงร่างเป็นเทพ ไปเนียนต่อคิวกินน้ำอมฤตกับพวกเทวดาหน้าตาเฉย  พระจันทร์ กับ พระอาทิตย์เห็นเข้า จึงไปฟ้องพระนารายณ์ พระองค์จึงขว้างจักรไปตัดร่างกายราหูขาดเป็นสองท่อนทันที แต่ราหูกินน้ำอมฤตไปแล้วครับ จึงไม่ตาย แต่ด้วยราหูเพิ่งกลืนน้ำอมฤตลงไป ร่างกายจึงเป็นอมตะแต่เพียงแค่ส่วนบน  ด้วยความแค้น พระจันทร์และพระอาทิตย์ ราหูจึงคอยดักจับพระจันทร์กับพระอาทิตย์กินเสมอ แต่ว่ามีร่างกายครึ่งเดียว เมื่อกลืนลงไป พระจันทร์หรือพระอาทิตย์ก็หลุดออกด้านล่าง เป็นที่มาของการเกิดจันทรุและสุริยุปราคา นั่นเอง พออมเข้าไปก็หลุดออกมาครับ

6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-6 02:29 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ทับหลังการกวนเกษียรสมุทรที่พิมายมีขนาดไม่ใหญ่ครับ อีกทั้งภาพสลักเหล่าเทวดาและอสูรก็มีหน้าตาคล้ายกัน อีกด้วย

                     มาถึงตรงนี้ก็เป็นส่วนสุดท้ายแล้วครับ เรื่องราวบนแผ่นหิน ที่ช่างโบราณได้บรรจงสลักได้ทำหน้าที่ของมัน ผ่านเวลามาเกือบพันปี แม้การชมภาพสลักของปราสาทหินนั้น ส่วนหนึ่งจำเป็นให้ต้องอาศัยการจินตนการ แต่การตีความเพื่อความถูกต้องเพียงอย่างเดียวนั้น อาจไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของผู้สลักภาพเหล่านี้ หากแต่คติความเชื่อ คำสอน ที่แฝงอยู่ในตำนาน เรื่องเล่า ต่างหาก คือวัตถุประสงค์อันแท้จริงที่ให้เราค้นหาและเข้าใจครับ  


ที่มา http://sedthapong.blogspot.com/2013/10/6_6.html
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้