ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2031
ตอบกลับ: 3
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงพ่ออ่ำ (พระครูสถิตสมณวัตร) วัดอินทาราม (ตลุก) จ.ชัยนาท

[คัดลอกลิงก์]
หลวงพ่ออ่ำ (พระครูสถิตสมณวัตร) วัดอินทาราม (ตลุก) จ.ชัยนาท


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 05:33 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ในจังหวัดชัยนาทนั้นมีอยู่หลายรูปด้วยกัน เราๆ ท่านๆ แต่อาจจะรู้กันดีไม่กี่รูปเท่านั้น วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งซึ่งท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า คือหลวงพ่ออ่ำวัดอินทาราม (วัดตลุก) ต.ตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมชื่อวัดตลุก ซึ่งชาวบ้านก็มักจะเรียกชื่อเดิมของวัดจนติดปากว่าวัดตลุกเช่นเดิม

พระครูสถิตสมณวัตร (หลวงพ่ออ่ำ) ท่านเกิดเมื่อปีพ.ศ.2397 ที่บ้านตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท โยมบิดาชื่อ น้อย โยมมารดาไม่ทราบชื่อ ในสมัยวัยรุ่น หลวงพ่ออ่ำท่านเป็นคนจริง ไปไหนมาไหนมีลูกน้องติดตามเสมอ ชอบเล่าเรียนวิชามวยกระบี่กระบอง และวิทยาคมอยู่เสมอ พออายุครบบวชโยมบิดามารดาจึงนำไปฝากหลวงพ่อเกิด เจ้าอาวาสวัดตลุก ซึ่งเป็นพระพี่ชายแท้ๆ ของท่าน และอุปสมบทที่วัดตลุกในราวปีพ.ศ.2417 ได้รับฉายาว่า "พุทธสโร" เดิมทีเดียวท่านกะว่าจะบวชสัก 15-20 วันเท่านั้น แต่โยมบิดาขอให้ท่านอยู่ให้ได้พรรษา แล้วแนะนำท่านให้ไปเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณ เพื่อนำวิชามารักษาผู้ป่วย ท่านจึงได้ไปศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจากอาจารย์ที่เก่งๆ หลายท่าน

อีกทั้งยังได้ศึกษาวิทยาคมอีกหลายสำนัก เช่นได้เรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพี้ เป็นต้น ครั้นออกพรรษาแล้วท่านก็ยังไม่สึกหาลาเพศ กลับมุ่งมั่นที่จะศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณต่อไปอีก ท่านจึงได้ออกเดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมาไปศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณต่อ อีกทั้งยังได้ศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูปรวมทั้งพระอาจารย์เขมรอีกก็มาก จนท่านมีความชำนาญช่ำชองเรื่องของวิชาแพทย์และสมุนไพร อีกทั้งได้ฝึกฝนวิทยาคมจนเข้มขลัง ท่านได้ธุดงค์ไปเรื่อยๆ ตามป่าเขาลำเนาไพร พบเกจิอาจารย์ดังๆ ท่านก็ไปขอศึกษาด้วยตลอด

3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 05:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 05:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จนกระทั่งถึงปีพ.ศ.2448 ท่านจึงเดินทางกลับมาที่วัดตลุก ก็พอดีกับหลวงพ่อเกิดเจ้าอาวาสวัดตลุกได้มรณภาพ ชาวบ้านและคณะสงฆ์จึงพร้อมใจกันขอนิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนต่อมา เมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้ช่วยรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เสมอจนมีเสียงขจรขจายไปทั่วทุกทิศ ไม่ว่าจะป่วยไข้หรือถูกกระทำมาท่านช่วยรักษาให้หายได้ทั้งสิ้น ส่วนด้านการพัฒนาวัดท่านก็ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด ท่านสร้างพระไตรปิฎกและหอพระไตรกลางน้ำ สร้างกุฏิสงฆ์ และจัดระเบียบใหม่ทั้งหมด สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่วัดตลุก ในปีพ.ศ.2461 ท่านดำริจะสร้างศาลาหลังใหม่ ก็มีชาวบ้านช่วยกันร่วมสร้าง ท่านก็ต้องไปซื้อไม้มาจากนครสวรรค์

ขณะที่ท่านไปนครสวรรค์นั้น พอดีกับเศรษฐีใหญ่ของนครสวรรค์ชื่อสมบุญล้มป่วยอยู่ รักษาอย่างไรก็ไม่หายจนต้องตั้งสินบนให้กับผู้ที่รักษาให้หายได้ถึง 10 ชั่ง แต่ก็ไม่มีผู้ใดรักษาให้หายได้ ญาติๆ ของเศรษฐีผู้นั้นได้ข่าวว่าหลวงพ่ออ่ำขึ้นมาที่นครสวรรค์ และกิตติศัพท์ความเก่งของหลวงพ่ออ่ำจึงพากันไปนิมนต์หลวงพ่ออ่ำ ท่านก็รับรักษาให้ หลวงพ่ออ่ำท่านก็ได้นำยาในย่ามของท่านฝนให้กินอยู่ไม่กี่ครั้งปรากฏว่าอาการดีขึ้น และอีกไม่กี่วันก็หายสนิท เศรษฐีสมบุญเกิดศรัทธาและทราบว่าหลวงพ่ออ่ำท่านกำลังจะสร้างศาลา จึงได้ถวายเงินหลายสิบชั่งและถวายเรือสำเภาลำใหญ่เพื่อให้เอาไม้มาทำศาลาด้วย

เรื่องราวอภินิหารของหลวงพ่ออ่ำนั้นมีมากมายหลายเรื่องมาก ทั้งเรื่องวาจาสิทธิ์ของท่านชาวบ้านแถบสรรพยาต่างรู้กันดีและเลื่อมใสในตัวท่านมาก ในปีพ.ศ.2467 หลวงพ่ออ่ำท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสถิตสมณวัตร บรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านจึงขออนุญาตท่านสร้างเหรียญที่ระลึกเพื่อแจกให้แก่ศิษย์และชาวบ้านในงานฉลองสมณศักดิ์ ท่านก็อนุญาตให้สร้างได้เป็นรูปท่านนั่งเต็มองค์ เหรียญรุ่นนี้จึงถือเป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่สร้างทันท่านครับ ต่อมาวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2468 หลวงพ่ออ่ำท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 71 ปี

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้