ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 2511
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ หลวงปู่แย้ม ปิยวัณโณ วัดตะเคียน ~

[คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kit007 เมื่อ 2014-6-5 03:35



ประวัติหลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน  
(พระครูปิยนนทคุณ)
หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน  

เป็นชาวจังหวัดสมุทรสาคร โดยกำเนิดเกิดที่ ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว  จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พุทธศักราช 2459  ในครอบครัวชาวนา
นามเดิมว่า แย้ม ปราณี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันทั้งหมด 4  คน ท่านเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของครอบครัว โยมบิดาชื่อเพิ่ม โยมมารดาชื่อเจิม  (ปัจจุบัน โยมบิดา โยมมารดา พี่ น้อง ต่างก็เสียชีวิตไปหมดแล้ว  โดยเฉาะโยมมารดาเสียชีวิตตั้งแต่หลวงปู่อายุได้ 10 ขวบ)  หลวงปู่แย้มเมื่อตอนเป็นเด็กชายแย้ม  ก็เหมือนกับเด็กทั่วไปคือต้องเข้าเรียนหนังสือ เด็กชายแย้มได้เข้าศึกษาหาความรู้  ที่โรงเรียนประชาบาลวัดหลักสองของ อำเภอบ้านแพ้ว แต่เรียนได้แค่ชั้นประถม 1  เท่านั้นเอง เพราะต้องอยู่บ้านเพื่อช่วยบิดาทำนาหาเลี้ยงชีพ ครั้นอายุได้ 14  ปี ก็ต้องลาออกจากโรงเรียนอย่างเด็ดขาด เพราะว่าโตเกินกว่าที่จะไปโรงเรียนแล้ว  จึงได้ออกมาช่วยบิดาทำนาเรื่อยมา จวบจนกระทั่งอายุได้ 20 ปี บริบูรณ์  โยมพ่อต้องการให้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาตามประเพณีนิยมของคน  ไทยตั้งแต่ครั้งโบราณกาล และเพื่อเป็นการสร้างบุญสร้างกุศล  เฉกเช่นชายไทยทั่วไป “ฉันก็เต็มใจนะ  เพราะจะได้แผ่กุศลไปให้กับโยมแม่ที่เสียไปตั้งแต่อายุฉันได้ สิบขวบด้วย  ได้กำหนดวันกันเอาไว้เป็นที่เรียบร้อยแต่พอถึงเวลาเข้าจริงๆ โยมพ่อก็เปลี่ยนใจ  บอกว่าเอาไว้ปีหน้าเถอะปีนี้ทำนาก่อน และ มาเลื่อนกันง่ายๆ ฉันก็ไม่ว่ากระไร  เอาไงก็เอากัน ฉันเป็นคนตามใจพ่ออยู่แล้ว”  หลวงปู่เล่าความหลังให้ฟัง หลังจากนั้นก็ทำนาเรื่อยมา จวบจนมาเสร็จสิ้นเอาใกล้ๆ  จะเข้าพรรษา โยมพ่อก็เอ่ยปากบอกว่า “บวชเสียเถอะนะ ไปอาศัยบวชกันนาคอื่นเขาก็ยังดี”  “ฉันก็ตามใจอีก โยมพ่อจะให้ทำยังไงก็เอากัน แล้วโยมพ่อก็นำเงินจำนวน 20  บาทไปถวายพระอาจารย์ที่วัดหลักสองราษฎร์บำรุง โดยบอกความประสงค์กับท่านว่า  ให้ช่วยจัดการบวชให้ฉันทีเถอะ ก็เป็นการช่วยจัดหาเครื่องบวชให้นะ  ในสมัยนั้นราคาก็ไม่แพงเท่าไหร่หรอก ไม่ถึง 10 บาทเสียด้วยซ้ำ  จากนั้นอาจารย์ก็จัดของที่ท่านมีอยู่แล้วให้ ส่วนเงิน 20 บาทนั้น  ท่านได้นำเอาไปจ้างช่างต่อเรือขนาด สามมือลิงใหญ่ๆ ซึ่งหมดเงินไป 18 บาท  เพื่อเอาไว้ใช้ในกิจของสงฆ์”

นายแย้มจึงได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาที่วัดหลักสองบำรุงราษฎร์  ตามที่โยมพ่อและตัวของท่านเองได้ตั้งศรัทธาเอาไว้  มีพระครูคณาสุนทรรนุรักษ์เจ้าคณะอำเภอบ้านแพ้ว เป็นพระอุปัชณาย์ เจ้าอธิการเหลือ  เจ้าคณะตำบลเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ชื่นเป็ฯพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า  “ปิยวณฺโณ” หลังจากเสร็จสิ้นการบวชแล้ว ด้วยพระภิกษุแย้ม  เป็นพระหนุ่มที่มีหน้าตาดี จึงมีการกล่าวหยอกล้อกันว่า พระภิกษุแย้ม  ไม่น่าจะบวชได้นานเกิน 2 พรรษาหรอก จึงเป็นเรื่องให้มีการท้าพนันกันว่า  ถ้าพระภิกษุแย้มบวชแล้วอยู่ได้นานเกิน 2 พรรษา แล้วเมื่อถึงเวลาลาสิกขา  จะออกเครื่องสึกทั้งหมดให้
“ฉันก็ไม่ได้รับคำท้านั้นหรอกนะเพราะว่ามันเป็นการพนันและอีกอย่างก็ถือว่า  เป็นการพูดล้อกันเล่นมากกว่า  ส่วนในใจของฉันนั้นนะมีความศรัทธาอยู่ว่าจะบวชสักสองพรรษาก็คงพอ”  หลวงปู่อธิบาย



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 03:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ระหว่างครองเพศบรรพชิตอยู่  พระภิกษุแย้มก็เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติเป็นอันมาก  รวมทั้งยังตั้งใจศึกษาธรรมะอย่างเอาจริงเอาจัง  จนทำให้สามารถสอบได้นักธรรมตรีในพรรษาแรกเท่านั้น
พอย่างพรรษาที่สองพระภิกษุแย้มก็เกิดป่วย  “เรียกว่าป่วยหนักเลยนะ ในชิวิตฉันไม่เคยเป็นเช่นนี้มาก่อนเลย ฉันป่วยจนแทบจะตายแนะ  มันเป็นใข้นะ ต้องนอนซมอยู่กับที่เวลาลุกขึ้นทีไรเป็นหน้ามืดทุกที  ต้องดมพิมเสนทุกที ช่วงนั้นไม่มีใครเขามาดูแลฉันหรอก ฉันต้องต้มยาฉันเอง  จนโยมพ่อทราบเรื่อง จึงมารับฉันกลับไปรักษาตัวที่บ้าน โดยเอาฉันใส่เรือให้นอนไป  บ้านฉันกับวัดก็ไกลอยู่เหมือนกันราวๆ 4 กิโลเมตรได้นะ  หมอนุ่มเป็นคนต้มยาสมุนไพรไทยของเรานี่แหละให้ฉัน ทำการรักษาฉัน  หมอนุ่มนี่เขาเก่งมากนะ จัดหายามาต้มให้ฉันเพียง 2 หม้อเท่านั้นเองฉันก็หายเลย  แต่ก็ต้องพักรักษาตัวอยู่เกือบเดือน  จึงค่อยกลับไปจำพรรษาที่วัดได้ตามเดิม” ที่วัดหลักสองบำรุงราษฎร์  พระภิกษุสมัยนั้นจะเก่งในเรื่องช่าง ไม่ว่าจะเป็นช่างไม้ช่างปูน ช่างทาสี  พระภิกษุเหล่านี้จะเป็นที่โปรดปรานของเจ้าอาวาสมาก  พระภิกษุแย้มเองก็มีงานช่างทำเหมือนกันคือเป็นช่างพิมพ์กระเบื้องในโรงงาน ของวัด  วันหนึ่งต้องพิมพ์ให้ได้ถึง 530  แผ่นทีเดียวเพื่อให้ทันเวลาที่จะนำไปสร้างกุฏีสงฆ์หลังใหม่ที่ทางวัดได้ สร้างขึ้น  จนอาจกล่าวได้ว่ากระเบื้องทุกแผ่นที่วัดหลักสองใช้สร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ  หรือกุฎีสงฆ์  เป็นฝีมือของพระภิกษุแย้มทั้งสิ้น

นอกจากงานด้านช่างแล้วพระภิกษุแย้ม  ยังได้แอบศึกษาวิชาหมอยา เพื่อสงเคราะห์ชาวบ้านแถบนั้นด้วย  เป็นเพราะท่านมีเมตตาไม่อยากให้ชาวบ้านเดือดร้อนมากนัก  กล่าวถึงการเป็นหมอยาของหลวงปู่แย้ม สมัยก่อนเมื่อประมาณ 70 ที่แล้วนั้น  พวกเราลองคิดดูว่าการไปมาหรือการเดินทางนั้นจะลำบากสักขนาดไหน  ครั้นเมื่อมีเวลาญาติพี่น้องเจ็บใข้ได้ป่วยก็ต้องช่วยกันคนละไม้ละมือ  เพื่อที่จะช่วยเหลือเขา วิธีที่ดีและรวดเร็วที่สุดก็คือ หมอยากลางบ้านนั้นแหละ  และก็ตัวยาสมุนไพรทั้งนั้น พระภิกษุแย้มของญาติโยมก็เลยมองเห็นความสำคัญในข้อนี้  จึงลงมือศึกษาค้นคว้าในเรื่องของตัวยาสมุนไพรและคาถาอาคมที่จะใช้เสกกำกับลง  ไปในตัวยาเพื่อใช้สำหรับการรักษา  จนท่านมีความมั่นใจในตัวยาสมุนไพรที่ท่านได้ศึกษาจากตำราและค้นคว้าด้วยตัว เอง  ท่านก็เริ่มลงมือช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือนร้อนได้ทันที ในพรรษาที่ 2  ของการเป็นพระภิกษุนั้นเอง
หลังจากนั้นมา ชาวบ้านที่ได้รับการช่วยเหลือ  ก็เกิดศรัทธา สาเหตุเพราะว่าท่านสามารถรักษาชาวบ้านให้หายได้ จากคนเดียว เป็นสองคน  จนถึงหลายๆคนในเวลาต่อๆมา  ยังไม่พอเพียงเท่านั้นชาวบ้านที่รักษาหายแล้วต่างพากันเรียกร้องให้ท่านช่วย  รดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ขับใล่สิ่งเลวร้ายที่อยู่ในตัวของตนให้หมดไป  จนพากันเข้าใจว่า พระภิกษุแย้ม เป็นพระเกจิอาจารย์ไปเลยทีเดียว  หลังจากนั้นมาท่านก็ไม่สามารถขัดญาติโยมได้อีก ทำให้ท่านต้องดั้นด้นเรียนรู้  หาวิธีศึกษาในทุกๆทางจากทุกๆที่ เพื่อจะได้ทำให้มีวิชาเข้มขลังยิ่งขึ้น  จนกระทั่งท่านได้พบกับหลวงพ่อสายวัดทุ่งสองห้อง ท่านได้เมตตาช่วยสอน  พร้อมทั้งแนะนำให้ความรู้ทั้งเรื่องยันต์และเรื่อง เวทมนต์พระคาถาอาคม  ทุกอย่าง คำกล่าวที่ว่าความพยายามอยู่ที่ใหนความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น  พระภิกษุแย้ม ก็ได้พบเจอกับความจริงข้อนี้ หลังจากเพียรพยายามศึกษา  อยู่นานทำให้ท่านสำเร็จ  และได้วิชาทุกตัวจากหลวงพ่อสายโดยไม่มีตกหล่นแม้แต่สักตัวเดียว จากนั้นชื่อเสียงของท่านก็บรรเจิดขึ้นตลอดเวลา  จนกระทั่งบวชได้ 10 พรรษา  โยมลุงได้ นิมนต์ให้มาอยู่จำพรรษาที่วัดตะเคียน
“โยมลุงของฉันชื่อว่า เคลิ้ม  เป็นพี่ชายของโยมแม่เขามามีเหย้ามีเรือนอยู่แถววัดตะเคียนนี้  ทีนี้เขาจะบวชลูกชายก็ไปนิมนต์ฉันมาเป็นพระคู่สวดให้ ฉันก็มาตามนิมนต์  แต่พอพระบวชแล้วโยมลุงก็นิมนต์ให้ฉันอยู่จำพรรษาที่วัดตะเคียนนี่สักพรรษา หนึ่งก่อน  เพื่อจะได้อยู่เป็นเพื่อนพระลูกชายของแก ฉันมองดูแล้วก็น่าเห็นใจอยู่  เนื่องจากที่วัดตะเคียนนี้มีพระจำพรรษาอยู่เพียงองค์เดียวเท่านั้นคือหลวง พ่อแดง  เจ้าอาวาสนั้นเอง ฉันก็เลยตอบตกลง แต่ผ่านไปเพียง  เจ็ดวันหลวงพ่อแดงเจ้าอาวาสก็เกิดมามรณภาพไป  หลังจากงานศพหลวงพ่อแดงแล้วฉันก็เลยเดินทางมาจำพรรษาที่วัดตะเคียน  และไม่นานนักเจ้าคณะอำเภอก็ให้ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาส  และต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่นั้นมา”  หลวงปู่เล่าถึงสาเหตุที่ต้องมาอยู่ที่วัดตะเคียน จวบจนปัจจุบัน หลวงปู่แย้ม เป็นเจ้าอาวาสวัดตะเคียนมาร่วม 60 ปี จากวัดร้าง  ที่ไม่น่าอยู่ไม่น่าพิสมัย ได้พัฒนาให้กลับกลายเป็นวัดที่สวยงาม  ด้วยตลอดเวลาที่ผ่านมาท่านได้พัฒนาวัดมิได้หยุดหย่อน  แม้จะเป็นวัดที่อยู่ห่างไกลความเจริญ  ทว่าในปัจจุบันการเดินทางมาทีวัดตะเคียนสามารถทำได้โดยง่ายดาย  เนื่องจากทางการได้ทำการตัดถนนสายใหม่ ผ่านทางเข้าวัด คือถนนพระรามที่ 5  (นครอินทร์) ช่วยให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น


3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 03:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ประวัติหลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน เจ้าของตำนาน ตะกรุดคอหมา  อันโด่งดัง ได้สร้างชื่อประดับวงการพระเกจิเมืองไทย ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย  ทั่วแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะเป็นคนยากจน หรือมหาเศรษฐี ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน  นักการเมือง ผู้ที่ทราบถึงความศักดิ์สิทธิของท่าน  ต่างก็เดินทางมาหาท่านเพื่อขอพรขอบารมีจากท่านกันมิได้ขาดสายอยู่ทุกวี่ทุกวัน วัตถุมงคล  เครื่องรางของขลัง หลวงปู่แย้ม  วัดตะเคียนที่ท่านได้จัดสร้างขึ้นมา รุ่นแล้วรุ่นเล่า  ต่างถูกสั่งจองและเช่าซื้อหากัน จนทำให้ราคาพุ่งขึ้นๆ ทุกวัน  เหตุที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะสืบเนื่องมาจากครั้งเมื่อท่านได้ทำตะกรุดคอหมา  คล้องคอให้ให้กับหมาในวัดของท่านทุกตัว เพื่อป้องกันภัยให้หมาของท่าน  แต่แล้วคนก็มาแย่งหมาไปบูชากันเองจนหมดสิ้น
อันว่าตะกรุดที่ท่านได้ดำริริเริ่มสร้างผูกคอหมา  ก็เนื่องมาจากว่า หลวงปู่แย้มท่านเป็นคนที่มีเมตตาต่อสรรพสัตว์สูง  ท่านได้เลี้ยงหมาไว้หลายตัว  บางครั้งหมาที่ท่านเลี้ยงไว้อาจไปทำความเดือนร้อนให้ชาวบ้านไกล้ๆ  วัดบ้างทำให้หมาของท่านถูกทำร้ายด้วยการปาก้อนหิน หรือรุนแรงจนถึงขั้นให้ปืน  ใช้มีดดาบทำร้าย ทำให้หมาบางตัวได้รับความทุกข์ทรมาณเป็นอย่างมาก  ครั้นหลวงปู่จะไปห้ามโยมไม่ให้ตีหมา ทำร้ายหมาก็คงไม่เป็นผลอะไร คิดดังนั้นแล้ว  จึงจัดเตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำตะกรุด  ด้วยพิธีกรรมที่ไม่เหมือนใครคือท่านจารตะกรุดในน้ำด้วยสมาธิจิตอันแน่วแน่ของท่าน  เมื่อทำเสร็จแล้วจึงนำไปผูกคอหมาที่ท่านเลี้ยงไว้จนครบทุกตัว
หลังจากนั้นหมาของท่านก็ไม่เคยได้รับความรุนแรงใดๆ  อีกเลย ทำให้ชาวบ้านแถวนั้นเกิดความสงสัย  ก็สอบถามกันไปสอบถามกันมาได้ความว่าหลวงปู่แย้ม ได้ผูกตะกรุดวิเศษไว้ที่คอหมาทุกตัว  ก็เลยทำให้บรรดานักเลงแถวนั้นเกิดความอยากลองของ  ว่าจะแน่สักแค่ใหนก็นำปืนมาลองยิงหมาดู ปรากฏว่าปืนแตก  ! เป็นเหตุให้เกิตความฮือฮาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว คนที่ต้องการตะกรุดแบบเร็วๆ  ก็แย่งเอาที่คอหมา คนที่มีศีลธรรมดีหน่อยก็ไปบอกกล่าวขอกับ หลวงปู่แย้ม  วัดตะเคียน เองกิติศัพท์ของหลวงปู่ก็กระฉ่อนแต่นั้นมา จนชาวบ้านเรียกขานว่า “ปู่แย้ม ตะกรุดคอหมา”

ปัจจุบันหลวงปู่แย้ม ยังเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาลูกศิษย์  ทั้งศิษย์เก่าศิษย์ใหม่ ต่างไม่เคยลืมแวะเวียนมาหาท่านกันเป็นประจำ ใครมีอะไรใหม่  มีอะไรที่ทำให้ไม่สบายอกไม่สบายใจก็มาหาท่านซึ่งท่านก็เมตตากับทุกคนที่แวะ เวียนมา  บางคนออกรถใหม่ก็นำมาให้ท่านเจิมให้ ด้วยบารมีอันแก่กล้าของท่าน  รับประกันได้ว่ารถคันนั้นจะไม่มีวันเจออุบัติเหตุใหญ่ๆ แน่นอน บางคนทำการค้า การขาย  บางช่วงบางโอกาสเศรษฐกิจบ้านเมืองไม่ดี ก็มาหาท่านขอเช่าบูชาธูปเสก นำไปจุดไหว้  ปรากฏว่าการค้าการขายดีขึ้นเป็นพิเศษ เรื่องธูปเสกของท่านนี้ลูกศิษย์ลูกหา  นิยมบูชากันมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีมาแล้ว เพราะว่าทุกคนไม่เคยผิดหวัง  แถมหลวงปู่ยังย้ำพร้อมรับประกันให้ว่าถ้าไม่ดีจริงให้มาต่อว่าได้เลยพร้อม  ทั้งยังอธิบายวิธีบูชาให้อีกด้วย ...
เมื่อได้พูดถึงตะกรุดคอหมาแล้ว  ว่าคงกระพัน หรือแคล้วคลาดอย่างไร  ก็ทำให้ต้องพูดถึงวัตถุมงคลอีกอย่างที่เข้มขลังไม่แพ้กัน นั่นคือ  “เสือปืนแตก”เล่ากันว่า มีนายตำรวจ ในเขตอำเภอบางกรวย  ได้ทราบข่าวว่าหลวงปู่แย้ม สร้างเสือเนื้อตะกั่วขึ้นมาเพื่อหาปัจจัยสร้างวัด  และมีคนเล่าให้ฟังถึงความขลังของวัตถุมงคลของหลวงปู่ จึงอยากลองของ  ใด้มาขอยืมจากลูกศิษย์ที่อยู่ใกล้วัด เพื่อนำไปลอง ปรากฏว่ายิงนัดแรกไม่ออก  นัดที่สองไม่ออก ยิงอีกครั้งเป็นครั้งที่สาม ปืนแตกใส่มือได้รับบาดเจ็บ  เป็นแผลเป็นมาจนทุกวันนี้ คาถาบูชาเสือปืนแตกหลวงปู่แย้ม

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 03:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ตั้งแต่อดีต หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียนได้พยายามรวบรวมปัจจัย  เพื่อนำมาสร้างเสนาสนะ และบูรณะวัดอยู่อย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด  จวบจนปัจจุบันหลวงปู่ก็ชราภาพลงมากแล้ว  แต่ยังมีภาระซ่อมสร้างเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมอีกหลายอย่าง  ทั้งยังขาดจตุปัจจัยอีกเป็นจำนวนมาก ในการซ่อมสร้างเพื่อให้สำเร็จลุล่วงไป  จึงได้ดำริปรึกษาหารือกับทางคณะกรรมการวัด  ว่าด้วยเรื่องการสร้างวัตถุมงคลขึ้นในคราวฉลองทำบุญครบรอบวันเกิดขึ้นเมื่อ  เดือนพฤษภาคม ปี 2550 ซึ่งถือเป็นโอกาสดีพิเศษยิ่ง จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคล  องค์พ่อจตุคามรามเทพ โดยได้นำผงมวลสารจากจตุคามรามเทพ รุ่นเก่ายอดนิยม  มาผสมด้วย การสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้  ถือเป็นครั้งสำคัญของวัดตะเคียนซึ่งถือเป็นรุ่นแรก  พระที่สร้างในพิธีนี้ทั้งหมดถือเป็นยอดวัตถุมงคลของท่าน  มวลสารทั้งหมดได้จัดเตรียมมานานนับเดือน ก็เป็นเพราะความตั้งใจของหลวงปู่เอง  รวมทั้งได้นำมวลสารพระเครื่องยุคแรกที่ท่านสร้างและบรรจุในกรุนานกว่า 60  ปี มวลสารหลักของพระรุ่นนี้ มีผลอิทธิเจ ผงมหาราชเก่า ผงวิเศษ 108  ที่ท่านจารและเขียนขึ้นเองตามฤกษ์ยามที่ท่านกำหนดและปลุกเสกมานาน  ผงไม้ตะเคียนอินทราณี ผงกะลาตาเดียวลงยันต์ จัน-สูรย์ ไม้มงคลแดง ไม้มงคลดำ ผงใบลาน  ผงทองคำ ผงตะไบชนวน แผ่นจารยันต์พระเกจิอาจารย์ 108 องค์  ผงตะไบชนวนโลหะที่ท่านเก็บไว้ ผงยาจินดาวาสนา รวมทั้งผงกระเบื้องหลังคาโบสถ์  ผงเสาโบสถ์มหาอุด ผงทองพระประธาน เป็นต้น

จากการได้เข้าพบนมัสการ หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน ในครั้งนี้  ผู้เขียนซึ่งนับถือท่านและฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านมานาน ยังได้เห็นความน่ารัก  ความมีเมตตาของหลวงปู่อยู่อย่างเต็มเปี่ยม ใบหน้ายิ้มแย้มตลอดเวลา  ไม่เกี่ยงงอนเมื่อมีญาติโยมมาขอพบ เพื่อขอพรขอบารมี  ไม่ว่าเวลาไหน หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน ยังได้มอบวัตถุมงคลชิ้นล่าสุดของวัด และจัดว่าเป็นวัตถุมงคลล้ำค่าที่หาได้ยากยิ่ง นั้นคือ  “ตะกรุดหนังเสือ” ก่อนที่หลวงปู่จะมอบให้ผู้เขียน หลวงปู่ยังกำชับว่า  “ใครจะยิงให้มันยิงไปเถอะ เดี๋ยวปืนมันก็แตก เอ้า เพี้ยง”  ทำให้ผู้เขียนขนลุกซู่ไปทั้งตัว เนื่องจากก่อนหน้านี้มีผู้หญิงวัยกลางคน พร้อมญาติๆ  ของตนได้เข้ามาขอพบหลวงปู่พร้อมกับเล่าให้ฟังว่า ตนเป็นแม่บ้านทำงานอยู่กับบ้าน  วันหนึ่งได้เกิดอุบัติเหตุแบบไม่คาดฝันขึ้น ตนได้ทำน้ำร้อนที่ต้มเดือดจัด  หกรดขาทำให้ขาโดนลวกเกือบทั้งขาด้านขวา ตนตกใจมากรีบร้องตะโกนเรียกญาติที่อยู่ใกล้ๆ  ให้มาช่วยตนเร็วๆ ทุกคนต่างวิ่งกันมาดูด้วยความตกใจ ครั้นเมื่อตนตั้งสติได้  กลับพบว่าน้ำร้อนนั้นไม่สามารถทำให้ขาของตนพุพองหรือปวดแสบปวดร้อนแต่ประการ ใดเลย  ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น  ตนมานึกขึ้นได้ว่าตัวเองแขวนตะกรุดหนังเสือหลวงปู่แย้มอยู่เพียงอันเดียว  จึงรีบมาที่วัดเพื่อกราบขอบพระคุณหลวงปู่ ในอิทธิบารมีของหลวงปู่แย้ม  วัดตะเคียนในครั้งนี้
5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 03:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


ประวัติหลวงปู่แย้ม ชาติภูมิของหลวงปู่แย้ม  ชื่อและสกุลเดิมคือ "แย้ม ปราณี" เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๕๙ ที่  ต.เจ็ดริ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร บิดาชื่อ "เพิ่ม" มารดาชื่อ "เจิม" อายุครบ ๒๐  ปี อุปสมบทตามประเพณี และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้มารดาที่ล่วงลับไปแล้ว  ที่วัดหลักสองบำรุงราษฎร์ มีพระครูคณาสุนทรนุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอบ้านแพ้ว  เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการเหลือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ชื่น  เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปิยวณฺโณ" พรรษาที่ ๒ หลวงพ่ออาพาธหนัก  ต้องกลับไปรักษาตัวที่บ้านด้วยยาต้มแผนโบราณ หายดีแล้วจึงกลับไปอยู่วัดตามเดิม  ต่อมาท่านจึงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจนแตกฉาน รักษาชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดัง  ประมาณพรรษาที่ ๑๐ หลังจากเรียนคาถามาจากหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง จ.สมุทรสาคร  ท่านบอกว่าใช้เวลาเรียนไม่นาน เนื่องจากวิชาที่เรียนมีมาก  จึงเลือกเรียนเพียงบางวิชาเท่านั้น ถ้าเรียนทุกอย่างคงไม่ไหว เพราะวิชามีเยอะแยะ  ท่านจึงเลือกเรียนวิชาทำตะกรุด เพราะเอาไว้ป้องกัน  และรักษาตัวจากภยันตราย วัดตะเคียนเมื่อสมัยก่อนเป็นป่าสวนส้มเขียวหวานเกือบทั้งหมด  ถนนหนทางไม่สะดวกสบายเหมือนสมัยนี้ ส่วนวัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อของ หลวงปู่แย้ม มีหลายอย่างเช่น พระขุนแผนยอดขุนพล  พระนางพญา พระขุนแผนใบบัว เสือปืนแตก และตะกรุดคลองตะเคียน โดยท่านได้จารยันต์ คาถาพระเจ้า ๕  พระองค์ หรือเรียกว่า "แม่ธาตุใหญ่" ซึ่งมีพุทธคุณเหนือยันต์ทั้งปวงลงในตะกรุด
รวมทั้งความเชื่อสืบต่อกันว่า ผู้ใดที่ท่องหรือบริกรรมพระคาถาบทนี้ด้วยจิตอันสงบ และมั่นคงแล้ว  จะมีพุทธคุณคุ้มครองครอบจักรวาล  หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ  มีพุทธคุณครบทุกด้าน เช่น เมตตามหานิยมแคล้วคลาด ป้องกันภัย มหาเสน่ห์ มหาอุด รวมทั้งไล่ภูตผี  และใช้กันเสนียดจัญไรได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังมียันต์อีกตัวหนึ่ง  ซึ่งอาจจะเรียกว่า เป็นยันต์เฉพาะตัวของหลวงปู่แย้ม คือ "ยันต์มหาเบา" เป็นตำราจาก  หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง กับ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
พระสงบ ยังบอกด้วยว่า เนื่องจากหลวงปู่อายุมาก สุขภาพไม่ค่อยดีนัก  วัดจึงเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์และผู้ที่เคารพศรัทธาเข้ามากราบไหว้ได้วันละ ๑  รอบเท่านั้น คือ เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. ส่วนวันพระงดให้เข้ากราบไหว้  ในขณะที่บางวันท่านได้รับกิจนิมนต์ปลุกเสกวัตถุมงคลนอกวัด  เพื่อความสะดวกติดต่อสอบถามได้ที่ วัดตะเคียน ถนนนครอินทร์ (พระราม ๕) ต.บางคูเวียง  อ.บางกรวย จ.นนทบุรี โทร. ๐-๒๕๙๕-๑๘๕๑, ๐๘-๑๙๒๑-๐๙๔๖

ที่มา http://www.tumsrivichai.com/inde ... rticle&Id=538663909


6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2014-6-5 03:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียนมรณภาพแล้ว พระครูปิยนนทคุณ หรือหลวงปู่แย้ม หลวงปู่แย้ม ปิยวัณโณ เจ้าอาวาสวัดตะเคียน ถนนนครอินทร์ (พระราม 5) ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ได้มรณภาพเมื่อเวลา 09.20น.ของวันที่ 4 มิถุนายน 2557 ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ สิริอายุ 98 ป

กราบหลวงปู่แย้มครับ
กราบหลวงปู่ครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้